โครงการลงทุนของธุรกิจไทยในกัมพูชาที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2537 ถึง 3 0 ตุลาคม 2554 มีจำนวนเท่าเดิมกับปี 2553 คือจำนวนรวม 82 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 363.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเงินลงทุนเฉพาะในส่วนของนักธุรกิจไทย 227.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 62.63 ของมูลค่าเงินลงทุนรวมในโครงการ ทั้งนี้เพราะในระยะ 10 เดือนแรกของปี 2554 ไม่มีโครงการลงทุนของไทยแต่อย่างใด สรุปการลงทุนในแต่ละประเภทดังนี้
จำนวนเงินทุน (ล้าน USD)
ประเภท จำนวน (โครงการ) รวม ไทย Food Processing 9 20.56 17.54 Wood Processing 2 27.50 23.62 Chemical 2 1.40 0.89 Media 2 1.16 1.07 Petroleum 2 1.05 0.30 Assembly Plant 1 2.00 2.00 Electricity Plant 2 11.20 8.00 Hospital 1 0.49 0.24 Medical 1 10.0 10.0 Gas 2 1.00 0.54 Mining 6 7.36 5.98 Construction 1 1.33 1.33 Hotel 9 138.40 63.15 Telecom 2 17.60 16.40 Textile 2 1.50 0.74 Garment 7 5.65 6.65 Agro-Industry 11 75.70 40.44 Industry 14 18.75 13.65 Services 4 18.50 13.55 Shoes 2 2.00 1.50 TOTAL 82 363.35 227.59 โครงการที่ดำเนินการ
นักลงทุนไทยเข้ามาลงทุนและทำการค้าในกัมพูชาตั้งแต่ก่อนเปิดประเทศเริ่มจากเข้ามาตัดไม้ร้านอาหาร โรงแรม นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายและซื้อของเก่า (เศษเหล็ก กระดาษ ฯลฯ) เพื่อส่งกลับเข้าไปไทย จากสถิติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (CIB) ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2537 ถึง 30 ตุลาคม 2554 นั้น พบว่าโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้ดำเนินการจริงบางโครงการ และจำนวนเงินลงทุนที่แท้จริงก็ไม่เป็นดังที่แจ้งขอไว้
โครงการลงทุนของไทยซึ่งดำเนินการ ได้แก่
1.สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในนามบริษัท K.C.S Cambodia (ลำดับที่ 5 และ 22)
2.สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ลงทุนร่วมระหว่างกลุ่มกันตนาและกลุ่มบริษัทไทยนครพัฒนา ในนามบริษัท Mica Media (ลำดับที่ 8)
3.โรงงานจำหน่ายก๊าซ LPG จำนวน 2 โครงการ คือ บริษัท Khmer Unique Gas (ลำดับที่ 6) และ World Gas (ลำดับที่ 31)
4.บริษัทรับเหมาก่อสร้างนพวงศ์ (ลำดับที่ 9)
5.โรงแรมจำนวน 8 แห่ง คือ Inter Continental (ในนามบริษัท Regency ลำดับที่ 10) โรงแรม Royal Angkor ใน จ. เสียมราฐ (ลำดับที่ 24 ของกลุ่มบริษัทไทยนครพัฒนา) โรงแรม Imperial Angkor Palace ใน จ. เสียมราฐ (ลำดับที่ 36 ของกลุ่มบริษัท TCCC) โรงแรม Phokeethra Resort & Spa (Cambodia) ในกรุงพนมเปญ (ลำดับที่ 61 ของกลุ่มบริษัทไทยนครพัฒนา สร้างแทนโรงแรม Royal Phnom Penh ซึ่งถูกเผาในเหตุการณ์จราจลเมื่อ 29 มกราคม 2546) โรงแรมของบริษัท V&V ของกลุ่มบริษัทไทยนครพัฒนา เพื่อสร้างโรงแรมและสนามกอล์ฟในกรุงพนมเปญ (ลำดับที่ 65)
โรงแรมในอำเภอปอยเปต จ. บันเตียเมียนจัย ได้แก่โรงแรม Poi Pet International Club (ลำดับที่ 49) โรงแรม Star Vegas Resort & Club (ลำดับที่ 51) โรงแรม Angkor Plaza (ลำดับที่ 54)
6.โรงพยาบาลจำนวน 1 โครงการ(ลำดับที่ 66) ลงทุนโดยโรงพยาบาลกรุงเทพ ในนาม Royal Angkor International Hospital ในจ.เสียมเรียบ และ Royal Rattanak ในกรุงพนมเปญ
7.การลงทุนของบริษัทซีเมนต์ไทย จำกัด และบริษัทในเครือรวม 5 โครงการ ได้แก่ โรงงานปูนซีเมนต์ Kampot Cement (K. Cement Brand) ในจังหวัดกัมปอต (ลำดับที่ 60) โรงงานผลิตซีเมนต์ผสมสำเร็จรูป (Mixed Cement Plant ลำดับที่ 57) โรงงานผลิตซีเมนต์บล๊อก CPAC Monier (ลำดับที่ 58)การปลูกยูคาลิปตัสเพื่อทำกระดาษในนามบริษัท CPAC Agro Industry (ลำดับที่ 59) และบริษัท CPAC Monier เพื่อผลิตกระเบื้องมุงหลังคา (ลำดับที่ 47)
8.การให้บริการโทรคมนาคม - จำนวน 1 โครงการ คือ Cambodia Shinawatra ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Mfone ให้บริการคลื่นโทรศัพท์ไร้สายแบบ Fixed Phone และ Mobile Phone (ลำดับที่ 45)
9.โรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ Honda (ลำดับที่ 40)
10.โรงงานพลาสติก จำนวน 2 โรงงาน ได้แก่ โรงงาน Modern Plastic Packaging (MPP ลำดับที่ 23) และโรงงาน Modern Development (ลำดับที่ 63)
11.โรงงานผลิตน้ำดื่มยี่ห้อ LYYON ของกลุ่มบริษัทไทยนครพัฒนา ในนามบริษัท Cambodia Development (ลำดับที่ 56)
12.โครงการปลูกอ้อยบนพื้นที่สัมปทานจำนวน 6 โครงการ ได้แก่ของกลุ่มบริษัทน้ำตาลขอนแก่นในนามบริษัท Koh Kong Plantation (ลำดับที่ 70), Koh Kong Sugar Industry (ลำดับที่ 75) ของกลุ่มบริษัท TCCC ได้แก่ MRT-TCC Sugar Investment (ลำดับที่ 72) ของกลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล ได้แก่ (Cambodia) Cane and Sugar Valley (ลำดับที่ 77) Angkor Sugar (ลำดับที่ 78) และ Tonle Sugar Cane (ลำดับที่ 79)
13.โครงการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่ของกลุ่มบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในนาม C.P. (Cambodia) (ลำดับที่ 20)
14.การลงทุนของบริษัทสามารถเทเลคอม จำนวน 3 โครงการได้แก่ การให้บริการวิทยุการบินในนาม Cambodia Air Traffic Service (ลำดับที่ 52) การสร้างโรงงานไฟฟ้า Kampot Power Plant เพื่อขายไฟให้แก่โรงงานกัมปอตซีเมนต์ (ลำดับที่ 67) และโครงการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จ. เสียมเรียบ (ลำดับที่ 55)
15.โครงการโรงไฟฟ้าขนาด 10 MKW ของกลุ่มบริษัท TCCC 1 โครงการ ในนาม Suvannaphum Investment (ลำดับที่ 76)
16.โรงงานผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม Lim Line International (Cambodia) Garment จำกัด (ลำดับที่ 82)
17.โรงงานผลิตรองเท้า 2 โครงการ คือ Dance Supply (Cambodia) (ลำดับที่ 71) และ Cambo Shoes (ลำดับที่ 81)
เหตุการณ์สำคัญในปี 2554 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลงทุนของไทยในกัมพูชา ได้แก่
1. บริษัท K Cement ฉลองความสำเร็จที่ได้รับ ISO 9001:2008 และได้รับรางวัล CO2 Reduction Cement Plant เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2554
2. บริษัท KKN Apparel ซึ่งประกอบธุรกิจเสื้อผ้ากีฬาส่งออกมา 28 ปี โดยมีโรงงาน 6 โรงในไทย และจีน ได้ลงนามเช่าที่ในนิคมอุตสาหกรรมเกาะกงเพื่อสร้างโรงงาน Garment จำนวน 4 โรงงาน
ในพื้นที่ 20 เฮคตาร์ คาดว่าจะจ้างงานถึง 10,000 คน โรงงานที่ 1 คาดว่าจะเปิดในปี 2012 โรงงานที่ 2 ในปี 2013 โรงงานที่ 3 ในปี 2015 และโรงงานที่ 4 ในปี 2017
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ ณ กรุงพนมเปญ
ที่มา: http://www.depthai.go.th