ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า (ธันวาคม 2554)
หน่วยงาน Statistic Canada ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแคนาดาในภาพรวมล่าสุด ดังนี้
1. Real GDP: +/- 0% % (ต.ค. 2554) จากเมื่อเดือนที่ผ่านมา Real GDP คงที่เดือนต.ค.2554
2. อัตราการว่างงาน: 7.4 % (พ.ย. 2554) - เทียบกับ 7.3 % ในเดือนต.ค. 2554
3. การนำเข้า: เพิมขึ้น 1.9 % (ต.ค. 2554) จากเมื่อเดือนที่ผ่านมา
4. การส่งออก: ลดลง 3.0 % (ก.ย. 2554) จากเมื่อเดือนที่ผ่านมา
5. ภาวะเงินเฟ้อ: ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.1% (พ.ย. 2554) จากเมื่อเดือนที่ผ่านมา
อัตรา GDP ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนตุลาคม 2554 หลังจากมีการปรับตัวในทิศทางเพิ่มขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน โดย:
ปัจจัยสนับสนุนจาก :
- ภาคการผลิตสินค้า: เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 โดยเฉพาะการผลิตเครื่องมือสำหรับงานขนส่ง (อาทิชิ้นส่วนสำหรับเครื่องยนต์) , ผลิตภัณฑ์ไม้, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ผลิตภัณฑ์ยาง, ผลิตภัณฑ์อาหาร
- ธุรกิจค้าปลีก: ขยายตัวร้อยละ 0.6 เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัวมากขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ รถยนต์และชิ้นส่วน, อาหารและเครื่องดื่ม, ของใช้เพื่อสุขภาพและส่วนตัว
- ธุรกิจการเงินและการประกันภัย: ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากการจำหน่ายกองทุนต่าง ๆ ตลอดจนธุรกรรมทั่วไปของธนาคาร
- ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์: เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากธุรกิจจำหน่ายบ้านมือสองตลอดทั่วประเทศแคนาดา
ปัจจัยเสี่ยงทิศทางลบจาก:
- การขุดเจาะเหมืองแร่ และพลังงาน (Mining & Oil and Gas Extraction): ลดลงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นผลมาจากการลดปริมาณความต้องการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ
- ธุรกิจก่อสร้าง: ลดลงร้อยละ 0.4 ทั้งในส่วนอาคารสำหรับบ้านเรือนและการค้า
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-พ.ย. 54) เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออก 20 อันดับแรก ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 17 รายการ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (+23.46%) ยางพารา (+85.78%) เครื่องโทรสารโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+3,28.81%) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (+20.43%) เครื่องนุ่งห่ม (+9.46%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (+2.23%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+17.99%) อัญมณีและเครื่องประดับ (+28.54%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+26.39%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัฌฑ์(+3.40%) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (+299.37%) เครื่องกีฬาและเครื่องเกมส์(+10.89%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+70.20%) เตาอบไมโครเวฟ (+15.78%) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ (+90.53%) เครื่องยนต์สันดาป แบบภายในและลูกสูบ (+56.23%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (+28.19%)
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวลดลง (ม.ค.- พ.ย 54) ตามลำดับจากมูลค่าสูงสุด (20 อันดับแรก) มีเพียง 3 รายการ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (- 39.93%) ข้าว (-4.17%) เลนซ์(-20.49%)
แหล่งข้อมูล : Statistics Canada (As of December 30, 2011) RBC Economic
สคต. นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th