หากกล่าวถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในจีนตะวันตก โดยเฉพาะในนครเฉิงตู และมหานครฉงชิ่ง จะพบว่าผู้บริโภคโดยทั่วไปจะนิยมการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องของการแต่งตัว การใช้สินค้าแบรนด์เนม การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารนอกบ้าน และการท่องเที่ยวพักผ่อน เป็นพื้นฐาน ยิ่งในสังคมปัจจุบัน พฤติกรรมการ จับจ่ายในสังคมเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้บริโภคจะลดความถี่ในการใช้จ่าย แต่จะใช้เวลาจับจ่ายนานขึ้น และ ใช้จำนวนเงินในการซื้อสินค้ามากขึ้นเช่นกัน ยิ่งสินค้าที่มีกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การลดราคาสินค้า การซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง การให้บัตรคูปองส่วนลด หรือแม้กระทั่งการทำบัตรสะสมแต้ม เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก
"ฉงชิ่ง" เป็นมหานครหนึ่งเดียวในเขตภูมิภาคตะวันตกที่มีการพัฒนารุดหน้าอย่างมาก ทั้งในด้านการคมนาคม เศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม และด้านอื่นๆ ซึ่งการพัฒนานี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่า เศรษฐกิจของนครฉงชิ่งมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด แต่กระนั้น การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ต้องกระทำควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย
ฉะนั้นษเพื่อให้เข้าใจถึงระดับความพึงพอใจ (หมายรวมถึงความสุข) ของชาวฉงชิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ในปี 2554 ตลอดจนเพื่อทราบผลสะท้อนการทำงานของภาครัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การก่อสร้างระบบคมนาคม การรักษาสิ่งแวดล้อม สภาพความเป็นอยู่ สุขภาพ ตลอดจนระดับความมั่นคงทางสังคม ศูนย์สำรวจภาพรวมประชาชนในสังคม และศูนย์วิจัยด้านความคิดและจิตใจแห่งนครฉงชิ่ง จึงได้ร่วมมือกันจัดทำการสำรวจความพึงพอใจของชาวนครฉงชิ่ง ซึ่งผลปรากฏว่า "จากคำถาม 19 ข้อ ชาวฉงชิ่งพอใจ 12 ข้อ ทั้งยังมีความคาดหวังอีก 7 เรื่อง"
1. ชาวฉงชิ่งพอใจในด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่มากถึง 90.2% ขยายตัวขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 0.9 และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ที่ตัวเลขความพึงพอใจในด้านนี้ก้าวขึ้นมาถึงเลข 90
2. พึงพอใจในการทำงานของรัฐบาลกว่าร้อยละ 89.1 ขยายตัวขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 0.8 และเป็น 3 ปีซ้อนที่สามารถรักษาระดับแนวโน้มความพึงพอใจที่สูงเช่นนี้ได้
3. ชาวฉงชิ่งพอใจและยอมรับในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอื่นรวมกว่า 95.7% ถือเป็น 6 ปีซ้อนที่ระดับความพอใจด้านนี้มีตัวเลขมากกว่า 95 และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
4. กว่า 93.2% ของชาวฉงชิ่ง พึงพอใจในการทำงานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมของรัฐฯ ซึ่งตัวเลขขยายตัวขึ้นจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 0.5 สะท้อนให้เห็นถึงผลจากการผลักดันให้นครฉงชิ่งเป็น "เมืองแห่งต้นไม้ป่าไม้" เพื่อส่งเสริมให้สิ่งแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวฉงชิ่งพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง
5. ด้านความมั่นคงทางสังคม ชาวฉงชิ่งกว่าร้อยละ 96.51 รู้สึกถึงความปลอดภัยในสังคม ขณะที่ร้อยละ 90.5 รู้สึกถึงความมั่นใจในการจัดระเบียบทางสังคม6. ร้อยละ 86.4 ของชาวฉงชิ่ง รู้สึกพอใจในตนเอง และวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน7. 83.2% ของชาวฉงชิ่งคิดว่า ทำงานได้เพียงไร ก็ควรจะได้รับค่าตอบแทนที่สอดคล้องกัน ซึ่งตัวเลข ขยายตัวขึ้นจากปี 2553 ถึงร้อยละ 13.1 แสดงให้เห็นว่า ชาวฉงชิ่งมีความพอใจด้านการกระจายรายได้ อาจกล่าวได้ว่า การกระจายรายได้ของประชาชนทั่วฉงชิ่งมีประสิทธิผลอย่างมาก
8. เกือบ 80% ชาวฉงชิ่งยอมรับระดับคุณภาพชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งขยายตัวขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 2.6 9. ชาวฉงชิ่งร้อยละ 76.8 รู้สึกพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน ตัวเลขขยายตัวขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 3.9 สามารถรักษาระดับแนวโน้มที่สูงขึ้นได้ถึง 2 ปีซ้อน สะท้อนถึงผลตอบรับที่ดีของการผลักดันนโยบาย"ฉงชิ่งน่าอยู่" ของรัฐบาล
10. ชาวฉงชิ่งร้อยละ 72.1 พึงพอใจการทำงานเรื่องการสร้างความปลอดภัยในด้านอาหารของรัฐบาล11. มากกว่าร้อยละ 70 ของชาวฉงชิ่ง เชื่อมั่นในความสามารถของรัฐบาลในการควบคุมราคาสินค้า อุปโภคบริโภค โดยเฉพาะผู้อาวุโส และนักเรียนนักศึกษาให้ความเชื่อมั่นในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
12.ชาวฉงชิ่งกว่า 80 มีความเชื่อมั่นว่าชีวิตในปีหน้าจะต้องดีมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะ พนักงานใน องค์กรต่างๆ นักเรียนนักศึกษา และผู้ประกอบอาชีพอิสระ ค่อนข้างมีความเชื่อมั่นสูง
1. ชาวฉงชิ่งคาดหวังว่า รัฐบาลจะใส่ใจเรื่องสุขภาพของประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากสถิติ ความพึงพอใจในด้านนี้ มีไม่ถึงร้อยละ 60
2. คาดหวังว่า รัฐบาลจะให้ความใส่ใจด้านการรักษาความปลอดภัยในสังคมได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยจากสถิติ ความพึงพอใจของชาวฉงชิ่งในด้านนี้ มีไม่ถึงร้อยละ 40
3. คาดหวังว่า รัฐบาลจะผลักดันการปฏิรูปทางการศึกษามากขึ้น โดยชาวฉงชิ่งร้อยละ 49.7 พึงพอใจในด้านนี้
4. คาดหวังว่า รัฐบาลสามารถลดปัญหา "สามช่องว่าง" (ลดความแตกต่างระดับภูมิภาค ลดช่องว่างระหว่างในเมือง- ชนบท ลดช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจน) โดย 57% พอใจในการทำงานของรัฐบาลในการลดปัญหาดังกล่าว
5. คาดหวังให้มีการสนับสนุนด้านการจ้างงานและการบุกเบิกกิจการ ซึ่งชาวฉงชิ่งมีความพอใจด้านการทำงานของรัฐบาลเรื่องนี้ ร้อยละ 53.9
6. คาดหวังให้มีการปรับปรุงด้านการคมนาคม โดยจากสถิติ ชาวฉงชิ่งร้อยละ 51 เห็นว่า การคมนาคมของฉงชิ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า และร้อยละ 28.3 เห็นว่า การคมนาคมพอๆ กันกับปี 2553
7. คาดหวังให้รัฐบาลเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาในด้านอื่นๆ 8 ปัญหาหลัก ได้แก่ ปัญหาการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภค (ร้อยละ 44.5) การประกันด้านสุขภาพ (ร้อยละ 40.9) การปฏิรูปทางการศึกษา (ร้อยละ 27) การกระจายรายได้ (ร้อยละ 23.6) แนวโน้มราคาบ้าน (ร้อยละ 23.6) สถานการณ์ด้านการมีงานทำ (ร้อยละ 11.7) ความเป็นธรรม (ร้อยละ 9.6) อัตราการแลกเปลี่ยนเงิน (ร้อยละ 7.1) และอื่นๆ (ร้อยละ 13.5)
จากข้อเรียกร้องดังกล่าวของชาวฉงชิ่ง คงจะทำให้รัฐบาลเร่งดำเนินการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา และคุณภาพชีวิตของชาวมหานครฉงชิ่ง ควบคู่ไปกับการดำเนินงานตามนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งนครฉงชิ่ง ที่กำหนดไว้ว่า ภายในช่วงปี 2555 - 2560 จะผลักดันให้ฉงชิ่งเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในเขตภูมิภาคตะวันตก ทั้งยังตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2560 จะมุ่งพัฒนาระบบการคมนาคม ควบคู่ไปกับการพัฒนาความเป็นเมืองสีเขียว เมืองแห่งสุขภาพดี และมีความปลอดภัย และภายในปี 2555 รัฐบาลได้คาดการณ์ไว้ว่า จำนวนคนมีงานทำจะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 8.73 ล้านคน โดยจะขยายตัวขึ้นร้อยละ 8.5 จากปี 2553
...ก็คงต้องจับตามองกันต่อไปว่า รัฐบาลฉงชิ่ง จะสามารถ "สนอง" 7 ข้อคาดหวังของชาวฉงชิ่ง ให้บรรลุได้หรือไม่ษ
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเฉิงตู
ที่มา: www.cq.gov.cn วันที่ 29 ธันวาคม 2554
www.cq.xinhuanet.com วันที่ 30 ธันวาคม 2554
ที่มา: http://www.depthai.go.th