ประกาศเรื่องการกำหนดสถานที่สำหรับตรวจสอบสินค้าเน่าเสียง่าย (perishable products) ปี ๒๕๕๕

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 26, 2012 15:24 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประกาศเรื่องการกำหนดสถานที่สำหรับตรวจสอบสินค้าเน่าเสียง่าย (perishable products) ปี ๒๕๕๕ และ การประกาศระดับการตรวจสอบสินค้าผักนำเข้าที่มีความเสียงสูงจากประเทศที่มีปัญหาของสำนักงานอาหารแห่งเนเธอร์แลนด์

ด้วย เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๕ สำนักงานอาหารของเนเธอร์แลนด์กระทรวงเศรษฐกิจ เกษตรและ นวัตกรรม (Voedsel en Waren Autoriteit,Ministerie van Economische Zaken, Landbouw en Innovatie) ได้ออกประกาศในเวปไซด์ www.vma.nl เรื่อง กำหนดสถานที่ตรวจสอบสินค้านำเข้าที่เน่าเสียง่าย (perishable imported products) และ การกำหนดระดับการตรวจสอบสำหรับสินค้าอาหารที่มีความเสี่ยงสูง

๑.สถานที่ตรวจสอบสินค้านำเข้าที่เน่าเสียง่าย

๑.๑ การกำหนดสถานที่ตรวจสอบ (Designated points of entry) เป็นไปตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ที่ (Regulation (EC No. 669/2009) ที่ระบุให้ประเทศสมาชิกจะต้องกำหนดให้มีสถานที่เพื่อการตรวจสอบสินค้านำเข้าประเภทอาหารที่สามารถเน่าเสียได้ เป็นการเฉพาะซึ่งผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าวจะต้องนำเข้าและผ่านการตรวจสอบที่สถานที่กำหนดเท่านั้น

๑.๒ ในประกาศฉบับวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๕ ได้กำหนดสถานที่ทั้งหมด ๒๑ แห่ง ซึ่ง ๑๘ แห่งเป็นสถานที่เก็บสินค้าของเอกชน และ อีก ๓ แห่งเป็นสนามบินหลัก ได้แก่ สนามบินเมืองอัมเสตอร์ดัม ร๊อทเธอร์ดัม และ มาสทริซต์ (ปรากฎดังเอกสารแนบ ๑)

๒. การกำหนดระดับการตรวจสอบสินค้าอาหารที่มีความเสี่ยงสูง

๒.๑ ภายใต้การประกาศดังกล่าวได้กำหนดรายการสินค้าผักผลไม้นำเข้าที่มีความเสี่ยงสูงในเรื่องสารพิษหรือสารเคมีตกค้างจากบางประเทศที่ระบุไว้ จะต้องได้รับการตรวจสอบสินค้าในสัดส่วนที่แตกต่างออกไปตามที่กำหนด

๒.๒. สินค้าส่งออกจากประเทศไทยมีสินค้าที่อยู่ในประกาศ จำนวน ๙ รายการ โดยจะต้องถูกตรวจสอบในอัตราต่างๆ ตามปริมาณการนำเข้า ได้แก่

     พิกัด             ประเภทรายการสินค้า     สารอันตราย        % ตรวจสอบของ

ปริมาณนำเข้า

   ๐๗๐๔       กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก           สารตกค้างประเภท            ๕๐
              กำหล่ำปม เคล และพืช          อินทรีย์สาร
              ที่คล้ายกันในตระกูลบรา          (Organophosphate)

สซิกา สำหรับการบริโภค

๐๗๐๘๒๐๐๐      พืชตระกูลถั่ว (ชนิดวิก           สารตกค้างประเภท            ๕๐
              นาและชนิดฟาซิโอลัส)           อินทรีย์สาร

(Organophosphate)

๐๗๐๙๓๐๐๐      มะเขือม่วง                   สารตกค้างประเภท            ๕๐

อินทรีย์สาร

(Organophosphate)

๐๗๐๙๙๐๙๐     ผักอื่นๆ รวม egg plant         ยาฆ่าแมลงตกค้าง             ๒๐
                                         Sallmonella               ๑๐
๐๗๐๙๖๐๑๐     พริกหวานสด (Fresh            ยาฆ่าแมลงตกค้าง             ๑๐

Chilli pepper/Sweet

Pepper)

๐๗๐๙๖๐๙๙     พริกอื่นๆ                      ยาฆ่าแมลงตกค้าง             ๑๐
๐๗๑๐๒๒๐๐     ถั่ว ตระกูล Vigna และ          ยาฆ่าแมลงตกค้าง             ๕๐

Phaseolus / ถั่วฝักยาว

๐๗๑๐๘๐๙๕     ผักอื่นๆ (นอกเหนือจาก           ยาฆ่าแมลงตกค้าง             ๕๐

ที่ระบุ ภายใต้พิกัด

๐๗๑๐) ทั้ง สด และ

ผ่านกระบวนการ โดย

นึ่ง หรือ ลวก หรือ การ

แช่แข็ง

๑๒๑๑๙๐๘๕     พืชอื่นๆ (นอกเหนือจาก           ยาฆ่าแมลงตกค้าง             ๒๐

รายการที่ระบุภายใต้

             พิกัด ๑๒๑๑๙๐) ที่อยู่ใน           Sallmonella               ๑๐

รูป สด แห้ง บด หรือ ผง

(รวม ใบกระเพรา

โหระพา สะระแหน่)

๒.๓ นอกจากนี้ ยังมีอีกสินค้านำเข้าจากประเทศที่สามทุกประเทศ (รวมประเทศไทย) อีก ๔ รายการ ที่จะต้องมีการสุ่มตรวจร้อยละ ๑๐ ของปริมาณนำเข้า ได้แก่

       พิกัด      ประเภทรายการสินค้า       สารอันตราย      % ตรวจสอบของ

ปริมาณนำเข้า

๐๙๐๔๒๒๐๐        พริกในตระกูลไปเปอร์       สีย้อมสีแดง           ๑๐
                ไม่ว่า บนหรือป่น           (Sudan Dyes)
๐๙๑๐๓๐๐๐        ขมิ้น                    สีย้อมสีแดง           ๑๐

(Turmeric/curcuma) (Sudan Dyes)

๐๙๑๐๙๑๐๕        ของ (เครื่องเทศ) ที่ผสม    สีย้อมสีแดง           ๑๐
                (Mixing) ตาม           (Sudan Dyes)

ความหมายในบันทึก

ของ HS Chapter 9

๑๕๑๑๑๐๙๐        น้ำมันปาล์มสำหรับการ       สีย้อมสีแดง           ๑๐
                บริโภคของมนุษย์           (Sudan Dyes)

ความเห็น

๓. เนเธอร์แลนด์ นำเข้าสินค้าผักสด Chapter ๐๗ ในปี ๒๐๑๑ (มค -กย) เป็นมูลค่า ๒.๑๓ พันล้านยูโร โดยส่วนใหญ่เป็นผักสำหรับการบริโภคสด เช่น สลัด เป็นต้น ทั้งนี้ จะเป็นการนำเข้าจากประเทศในกลุ่มสหภาพฯ เช่น เสปน เบลเยี่ยม เยอรมนี เป็นต้น ส่วนผประเทศนอกสหภาพฯ ได้แก่ อิสราเอล จีน เปรู เป็นต้น โดยนำเข้าจากประเทศไทย มูลค่า ๓.๓๑ ล้านยูโร ส่วนประเทศในอาเซียนอื่น ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย (เอกสารแนบ ๓)

๔. การนำเข้าจากไทยในช่วง ๙ เดือนแรก ของ ปี ๒๐๑๑ (มค -กย) มีมูลค่า ๓.๓๑ ล้านยูโร โดยการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คือ - ๑๑.๙% ทั้งนี้ สินค้าที่มีการปรับลดมากที่สุดเมื่อเทียบกับมูลค่าและสัดส่วน คือสินค้าในกลุ่ม ๐๗๐๙ และ ๐๗๑๐ โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาสารตกค้าง และ ปัญหาแมลงที่ติดมากับสินค้า ซึ่งผลจากการปรับตัวลดลงดังกล่าว ทำให้สินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย มีการขยายตัวด้านการส่งออกอย่างต่อเนื่องและในอัตราที่รวดเร็ว (เอกสารแนบ ๔ และ ๕)

๕. สคต ณ กรุงเฮก เห็นว่าหากไทยยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องสารตกค้าง รวมถึง ปัญหาแมลงที่ติดมากับพืชได้อย่างเด็ดขาด โอกาสที่ไทยจะสูญเสียโอกาสทางการตลาดในระยะยาวให้กับประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพในการผลิตและส่งออกสินค้าดังกล่าว เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้เช่นกัน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ