การจัดตั้ง UK-ASEAN Business Council(UK-ABC)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 26, 2012 15:53 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ด้วยรัฐบาลสหราชอาณาจักรมีนโยบายที่จะขยายและสร้างความสัมพันธ์กับภูมิภาคอาเซียนให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น โดยประสงค์จะผลักดันสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า และเครือข่ายทางการค้าเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจชั้นนำของสหราชอาณาจักรในภูมิภาคอาเซียน โดยหวังให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างภาคธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs โดย UK-ABC จะมีการทำงานใกล้ชิดกับหอการค้าของสหราชอาณาจักรในประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ UK-ABC จะมีสำนักงานฯ ตั้งประจำอยู่ที่กรุงลอนดอน

ในการนี้ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 UK Trade and Investment(UKTI) ได้เชิญผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตไทย และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน ซึ่งประกอบด้วย

1).เจ้าหน้าที่สำนักงานฯ จำนวน 3 คนได้แก่

             1.นายชูลิต สถาวร                 ฮัครราชทูต(ฝ่ายการพาณิชย์)
             2.นายจิรกานต์ เพชรชาติ            อัครราชทูตที่ปรึกษา(ฝ่ายการพาณิชย์)

3.นางสาวธริชยา คัมภีรญาณนนท์ ที่ปรึกษา(ฝ่ายการพาณิชย์)

2).เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยจำนวน 3 คนได้แก่

             1.นายเชิดเกียรติ อัตถากร           อัครราชทูตที่ปรึกษา
             2.นางสาวจิตวิภา เบญจศีล           เลขานุการเอก
             3.นายณัฐพล ณ สงขลา              เลขานุการเอก

เข้ารับฟังและหารือการจัดตั้ง UK-AB C โดยมีเจ้าที่ UKTI คน คือ 2 Mr.Steve Darling ตำแหน่งรองหัวหน้ากลุ่มงานประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ Mr.Mike Qureshi เจ้าหน้าที่กลุ่มงานเอเชีย เป็นผู้บรรยายสรุปและหารือ พอสรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้

(1).ความเป็นมา Mr.Steve Darling ได้กล่าวว่า การจัดตั้ง UK-ABC เกิดจากการผลักดันระดับรัฐมนตรี ซึ่ง Lord Green รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและการลงทุน ( Minister of State for UK Trade and Investment) ได้รับการ lobby หลายครั้งจากนักธุรกิจรายใหญ่ที่มีธุรกิจ ผลประโยชน์ และสนใจในภูมิภาคอาเซียน โดยปัจจุบันสหราชอาณาจักรมีการจัดตั้งCouncil ในลักษณะนี้แล้วกับประเทศคู่ค้ารายใหญ่อาทิ จีนและอินเดีย จึงควรมีกลไกลักษณะเดียวกันสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะเมื่อพิจารณามูลค่าการค้าระหว่างกันระหว่างสหราชอาณาจักรกับอาเซียนมีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงกว่าสหราชอาณาจักรกับอินเดียและจีน

(2).โครงสร้างของ UK-ABC จะประกอบด้วยนักธุรกิจประมาณ 10-12 คนเป็น Advisory Panel โดย panel ดังกล่าวจะมี Executive Team ทำงานสนับสนุนจำนวน 3 คน

สำหรับประธาน UK-ABC ขณะนี้ Lord Davies of Abersoch รับเป็นประธานโดยLord Davies ได้มีจดหมายถึงเอกอัครราชทูตประเทศอาเซียนในกรุงลอนดอนแล้ว

UKTI จะสนับสนุนการเงิน UK-ABC สัดส่วนร้อยละ 50 ในช่วง 3 ปีแรก โดยที่เหลือจะหาการสนับสนุนจากภาคเอกชน

(3).การดำเนินงาน กิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปในลักษณะแบบ Organic โดยสามารพัฒนาไปในทิศทางความต้องการของธุรกิจที่เข้าร่วม และแนวคิดสำคัญคือการให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจของของอาเซียนได้มีโอกาสพบปะกับนักธุรกิจของสหราชอาณาจักร หรือมี Dialogue ระหว่างกันโดยไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจขนาดใหญ่

ทั้งหมด แต่มีส่วนช่วยเติมเต็มหรือเป็น niche รองรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก(SMEs)ด้วย ซึ่งรูปแบบการจัดกิจกรรมสามารถจัดได้หลากหลายโดยอาจเป็นการพบปะหารือ การกล่าว keynote address หรือการจัดงาน(Event) เพื่อมุ่งสร้าง business awareness และให้นักธุรกิจสหราชอาณาจักรสามารถมี common voice หรือ Asean Voice โดยอาจเป็นประเด็นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจในประเทศในอาเซียนรายประเทศ หรืออาเซียนในภาพรวม รวมถึงประเด็นความพยายามจัดทำเขตการค้าเสรี(FTA)

(4).ประเด็นอื่นๆที่มีการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน พอสรุปได้ดังนี้

4.1 ด้านความสัมพันธ์และกิจกรรมการดำเนินงานของหอการค้าอังกฤษในประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนอาทิ หอการค้าอังกฤษในประเทศไทย(British Chamber of Commerce) ทางเจ้าหน้าที่ UKTI Mr.Steve Darling แจ้งว่า UKTI ไม่ประสงค์จะให้ UK-ABC มีลักษณะเป็น bilateral body หรือทำงานซ้ำซ้อนกับหอการค้าอังกฤษในประเทศต่างๆที่มีอยู่แล้ว แต่ต้องการให้มีการ Synergies ที่อาจเกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมถึงการสร้างการเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์เมื่อมีการเยือนระดับสูงพร้อมทั้งยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมให้นักธุรกิจสิงค์โปร์พบกับบริษัทของสหราชอาณาจักรจำนวน 40 ราย

ในลักษณะผู้ซื้อพบผู้ขายในสาขาอุตสาหกรรมอาหาร และแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จะมีผู้บริหารจาก TOP SUPERMARKET ของไทยเดินทางมาเยือนสหราชอาณาจักร ก็อาจจัดกิจกรรมลักษณะเดียวกัน

4.2 การเป็นสมาชิกของ UK-ABC จะไม่มีการรับสมัครเป็นระบบแต่จะเปิดกว้างให้สำหรับนักธุรกิจทั้งหมดที่สนใจ อาจมีการเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เข้าร่วมในกรณีการจัดกิจกรรมต่างๆ

4.3 กลไกการทำงานจริงๆยังไม่มีความชัดเจน การคัดเลือกคนเข้ามาอยู่ใน Advisory Panel และ

Executive Team จะเป็นคนของสหราชอาณาจักรทั้งหมด โดยทั้ง Lord Green และ Lord Davies ต้องการให้เป็นกลุ่ม new blood

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน พิจารณาแล้วเห็นว่าการจัดตั้ง UK-ABC เป็นการปฎิบัติการเชิงรุกของสหราชอาณาจักร เพื่อการเข้าสู่ตลาดอาเซียนซึ่งเริ่มมีความก้าวหน้าในการรวมตัวกันและมีเป้าหมายชัดเจนในการรวมตัวเป็น AEC ในปี 2558 ดังนั้นฝ่ายไทยโดยเฉพาะนักธุรกิจไทยที่ต้องการมาลงทุนในสหราชอาณาจักรน่าจะใช้เวที UK-ABC นี้เป็นประโยชน์ในการแสวงหาความร่วมมือในทางธุรกิจต่อไป

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก อาเซียน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ