ข้าวเป็นสินค้าประเทศธัญพืชที่ได้รับความนิยมในตลาดสวิสมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาชาวสวิสหันมานิยมบริโภคข้าวมากขึ้นจากเดิมซึ่งมีมันฝรั่งและขนมปังเป็นอาหารหลัก เนื่องจากมีการวิจัยในยุโรปว่าข้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และไม่มีสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ เช่น Glutin ที่มีในข้าวสาลี โดยบริโภคข้าวควบคู่กับ
เนื้อสัตว์หรือผัก เนื่องจากสวิสเป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป ปัจจัยสำคัญของข้าวที่จะได้รับความนิยมและสามารถจำหน่ายในสวิสได้คือต้องเป็นข้าวคุณภาพสูงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวขาวเต็มเมล็ด
นอกจากข้าวเพื่อการบริโภคแล้ว สวิสยังมีการนำเข้าข้าวเพื่อเป็นอาหารสัตว์ด้วย โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าในส่วนนี้ในแต่ละปีจะขึ้นอยู่กับราคาเป็นหลัก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับราคาอาหารสัตว์ประเภทอื่นๆในช่วงเวลานั้นๆ จากสถิติการนำเข้าในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา สวิสนำเข้าข้าวเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้นอย่างเด่นชัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการในภาคปศุสัตว์ด้วยเช่นกัน
สวิตเซอร์แลนด์ไม่สามารถเพาะปลูกข้าวได้เนื่องจากปัจจัยทางภูมิประเทศและภูมิอากาศ ข้าวจึงเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้าแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
3. การบริโภค
3.1 ประเภทข้าว จำแนกตามประเภทการบริโภค ดังนี้
3.1.1 ข้าวสำหรับการบริโภค ได้แก่
- White Rice: Semi/wholly milled ข้าวขาวที่ผ่านการขัดสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จ (HS:100630) (รวมถึงข้าวหอมมะลิด้วย)
- Brown Rice ข้าวกล้อง ข้าวที่กระเทาะเปลือกแล้วแต่ยังไม่ได้ขัด (HS:100620)
- Paddy Rice ข้าวเปลือก (HS:100610) ใช้เพื่อการบริโภคกว่าร้อยละ 90
3.1.2 ข้าวสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ ได้แก่
- Broken Rice ปลายข้าว ข้าวหัก (HS:100640)
- Paddy Rice ข้าวเปลือก (HS:100610) ใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ประมาณร้อยละ 5
3.2 ปริมาณ ชาวสวิส 1 คน บริโภคข้าวประมาณ 5 ฝ กิโลกรัมต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆทั้งนี้สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ร่วมกับผู้นำเข้าจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าอาหารไทยในสวิสอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้นและเป็นการกระตุ้นการบริโภคข้าวไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 รสนิยมในการบริโภค
3.3.1 จำแนกตามกรรมวิธีการผลิต ได้แก่
- ข้าวนึ่ง (parboiled) เป็นข้าวผ่านกรรมวิธีแล้วโดยนำข้าวเปลือกหรือข้าวกล้องนำมาแช่น้ำจนอิ่มตัวแล้วนำไปอบด้วยไอน้ำ จากนั้นทำให้แห้งเพื่อจะนำไปสีเอาเปลือกออก ในระหว่างการดำเนินตามกรรมวิธีนี้โครงสร้างของเซลล์ในเมล็ดข้าวจะถูกเปลี่ยนไป โดยเซลลูโลสของผนังเซลล์เล็กๆ จะถูกทำลาย ส่วนที่เป็นแป้งจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นมวลผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกันจับตัวกันแน่น ข้าวนึ่งได้รับความนิยมสูงมากในตลาดสวิสเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ระยะเวลาในการหุงต้มสั้นกว่าข้าวธรรมดา เก็บไว้ได้นาน เมล็ดข้าวไม่เหนียวติดกันซึ่งตรงกับความนิยมในการบริโภคของชาวสวิสและชาวยุโรป นอกจากนั้นข้างนึ่งยังมีความแข็งสูงกว่าข้าวทั่วไปทำให้ไม่แตกหักง่ายในระหว่างการขนส่งอีกด้วย ข้าวนึ่งในตลาดสวิสจำแนกเป็นข้าวกล้องและข้าวขาว
- ข้าวไม่ผ่านกรรมวิธีได้แก่ ข้าวกล้องและข้าวขาวปกติ
3.3.2 จำแนกตามชนิดของข้าวและแหล่งผลิต ข้าวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่ผู้บริโภคชาวสวิส ได้แก่
- Parboiled Long-grain rice เป็นข้าวขัดสีแล้วจากอเมริกา เมื่อหุงแล้วจะเป็นสีขาว เมล็ดไม่เหนียวติดกัน
- Vialone rice (medium to long grain) เป็นชนิดของข้าว risotto ของอิตาลีที่ใช้บริโภคกันมากที่สุด
- Arborio rice (medium grain) เป็นชนิดของข้าว risotto ของอิตาลีแบบดั้งเดิม ใช้บริโภคกับอาหารอิตาลี เมื่อหุงแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่มและเหนียวเล็กน้อย
- Jasmine rice (long grain) ข้าวหอมมะลิของไทย นิยมใช้หุงเป็นข้าวสวยรับประทานกับอาหารเอเชีย
- Camolino/ Originario (rice pudding/round grain) ใช้หุงเป็นข้าวต้ม/ซุปหรือทำเป็นขนมหวาน ขณะหุงเมล็ดข้าวจะดูดน้ำค่อนข้างมาก เมื่อสุกแล้วจะเหนียวเล็กน้อย
- Whole rice (medium or long-grain) ข้าวกล้องซึ่งคงคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน
- Basmati rice (long grain) ได้รับสมญานามว่าเป็น ,The King of Fragrances" เมื่อหุงแล้วเมล็ดข้าวไม่เหนียวติดกัน ใช้รับประทานกับอาหารเอเชีย อาหารอาหรับ
- Parboiled risotto (medium grain) ข้าวนึ่ง risotto ที่ผ่านกรรมวิธีทำให้ไม่เหนียวติดกัน เป็นทางเลือกใหม่เพิ่มจากข้าว risotto แบบเดิม
- Mixtures ข้าวผสมระหว่างชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและดึงดูดความสนใจของลูกค้า
4. การจัดจำหน่ายในประเทศ
4.1 ช่องทางการจัดจำหน่าย ที่สำคัญ ได้แก่
4.1.1 ร้านซุปเปอร์มาเก็ต/ไฮเปอร์มาเก็ต/ห้างสรรพสินค้า เช่น Migros, Coop โดยมากจำหน่ายขนาดบรรจุ 0.5 ก.ก. - 1 ก.ก. (ขนาดเล็ก)
4.1.2 ร้านค้าส่งขนาดใหญ่ เช่น Prodega จำหน่ายขนาดบรรจุ 20 ก.ก. สำหรับลูกค้าร้านอาหารหรือธุรกิจร้านอาหาร/Catering/โรงแรม
4.1.3 ร้านเอเชีย จำหน่ายบรรจุภัณฑ์ขนาดกลาง-ใหญ่ ขนาดบรรจุ 4.5/5/20 ก.ก. ลูกค้าส่วนมากเป็นชาวเอเชียและร้านอาหารเอเชีย
4.2 ชนิดของข้าวที่บรรจุขาย
4.2.1 ข้าวบรรจุถุงสำเร็จรูปพร้อมหุง ขนาด 250 กรัม บรรจุภัณฑ์ภายนอกเป็นกล่องกระดาษ ข้างในบรรจุข้าวสารในถุงพลาสติกเจาะรูปริมาณพอเหมาะต่อ 2-3 คน ผู้บริโภคสามารถนำถุงข้าวใส่หม้อแล้วนำไปต้มตามเวลาที่ระบุไว้ข้างกล่อง (ประมาณ 17-20 นาที) เมื่อสุกแล้วดึงถุงพลาสติกขึ้นตัดออกใส่จานพร้อมรับประทานได้ทันที ซึ่งเป็นวิธีการหุงข้าวที่ง่ายและได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวยุโรปอย่างมาก
4.2.2 ผลิตภัณฑ์ข้าวบรรจุในถุงพลาสติกขายตามน้ำหนัก ผู้บริโภคสามารถซื้อและกะปริมาณที่จะหุงได้ตามต้องการ มีราคาถูกกว่าข้าวถุงบรรจุสำเร็จรูป ขนาดบรรจุที่วางจำหน่ายโดยทั่วไปดังนี้
4.2.3 ขนาดบรรจุ
- 1/2 กิโลกรัม จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ และห้างซุปเปอร์มาเก็ตทั่วประเทศ
- 1 กิโลกรัม จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ และห้างซุปเปอร์มาเก็ตทั่วประเทศ
- 4.5 กิโลกรัมหรือ 5 กิโลกรัม จำหน่ายในร้านสินค้าเอเชียและร้านค้าส่ง
- 25 กิโลกรัม จำหน่ายในร้านสินค้าเอเชียและร้านค้าส่ง
5.การนำเข้า / ส่งออกข้าวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
5.1 การนำเข้าข้าว
จากสถิติการนำเข้าข้าวของสวิตเซอร์แลนด์ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) สวิสนำเข้าข้าวจากทั่วโลกโดยเฉลี่ยคิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 73.28 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,418 ล้านบาท สำหรับปี 2553 สวิสนำเข้าสินค้าข้าวจากทั่วโลกรวมมูลค่าทั้งสิ้น 72.20 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อน 0.056 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงร้อยละ0.08
สำหรับการนำเข้าข้าวของสวิสในเดือนม.ค.-พ.ย. 2554 สวิสนำเข้าข้าวรวมมูลค่าทั้งสิ้น 90.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.12 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 36.07 เมื่อเทียบกับปีก่อนระยะเวลาเดียวกัน โดยมีการนำเข้าจากประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญเรียงตาม ลำดับ ดังนี้
ตารางที่ 1 ประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ ปี 2554 (ม.ค.-พ.ย.)
ลำดับที่ ประเทศ มูลค่าการนำเข้า ส่วนแบ่งการตลาด อัตราการขยายตัว (ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) ทั่วโลก 90.97 100 36.07 1 บราซิล 24.73 27.19 86.48 2 อิตาลี 23.13 25.43 57.25 3 ไทย 16.28 17.9 22.48 4 อินเดีย 7.85 8.63 102.24 5 เบลเยี่ยม 6.49 7.14 7.33 6 สหรัฐอเมริกา 2.99 3.29 69.34 7 เยอรมนี 2.78 3.05 52.14 8 ปากีสถาน 2.44 2.68 -38.9 9 เนเธอร์แลนด์ 1.93 2.12 7.89 10 ฝรั่งเศส 0.34 0.37 96.78 ที่มา กรมศุลกากรสวิส
5.1.1 การนำเข้าจำแนกตามประเภทของข้าว
ในปี 2552 สวิสนำเข้าข้าวจากทั่วโลกที่สำคัญ 4 ประเภท เรียงตามมูลค่าการนำเข้าได้ดังนี้
1. White Rice: Semi/wholly milled ข้าวขาวที่ผ่านการขัดสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จ(HS:100630) มีการนำเข้าในปริมาณมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 55-60 ของปริมาณการนำเข้าโดยรวมและเกือบทั้งหมดเป็นการนำเข้าเพื่อการบริโภค มูลค่าการนำเข้าในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) เฉลี่ยประมาณปีละ 43.68 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2553 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 39.51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.23 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ประเทศคู่ค้าสำคัญได้แก่ ไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญในอันดับ 1 มาตั้งแต่ปี 2550 โดยทิ้งห่างประเทศคู่ค้าอันดับสองเกือบเท่าตัว ในปี 2553 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 36 ประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น ได้แก่ อิตาลี (20.03%) เบลเยี่ยม (16.34%) ซึ่งนำเข้าข้าวเปลือกหรือข้าวกล้องมาเพื่อขัดสี/บรรจุภัณฑ์และส่งออก อินเดีย (8.30%) และปากีสถาน (5.47%)
2. Broken Rice ปลายข้าว ข้าวหัก (HS:100640) มีการนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20-30 ของปริมาณการนำเข้าโดยรวมและเกือบทั้งหมดเป็นการนำเข้าเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ สัดส่วนการนำเข้ามักขึ้นอยู่กับราคาของข้าวหักเองและราคาธัญพืชซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ชนิดอื่นๆ มูลค่าการนำเข้าในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) เฉลี่ยประมาณปีละ 17.29 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2553 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 22.57 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.78 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ประเทศคู่ค้าสำคัญได้แก่ บราซิล ซึ่งเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญในอันดับ 1 มาโดยตลอดแม้ว่ายอดส่งออกในปี 2553 จะ ลดลงกว่าปีก่อนหน้าอย่างมากก็ตาม โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 57.19 ประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น ได้แก่ อียิปต์ (14.41%) ปากีสถาน (8.74%) และอิตาลี (6.76%)
3. Brown Rice ข้าวกล้อง ข้าวที่กระเทาะเปลือกแล้วแต่ยังไม่ได้ขัด (HS:100620) มีการนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 15-20 ของปริมาณการนำเข้าโดยรวม เป็นการนำเข้ามาเพื่อการบริโภคกว่าร้อยละ 90 มูลค่าการนำเข้าในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) เฉลี่ยประมาณปีละ 12.15 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2553 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.41 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ประเทศคู่ค้าสำคัญได้แก่ อิตาลีและสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ในปี 2550-2551 การนำเข้าจากสหรัฐได้ลดน้อยลงจนเกือบเป็นศูนย์และเพิ่งกลับมานำเข้าอีกครั้งในปี 2552 แต่ในปริมาณที่น้อย ส่งผลให้อิตาลีสามารถส่งออกไปสวิสได้มากขึ้นอีกเท่าตัวและกลายเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญในอันดับ 1 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยในปี 2553 อิตาลีมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 68.09 ประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น ได้แก่ อินเดีย (12.66%) สหรัฐ (8.6%) และเยอรมนี (1.6%)
4. Paddy/Rough/In Husk ข้าวเปลือก (HS:100610) มีการนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.21 ของปริมาณการนำเข้าโดยรวม และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการนำเข้าเพื่อมาขัดสีและบรรจุภัณฑ์เพื่อการบริโภคกว่าร้อยละ 90 และเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ประมาณร้อยละ 5 มูลค่าการนำเข้าในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) เฉลี่ยประมาณปีละ 0.08 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2553 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 0.05 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 70.63 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ อียิปต์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญในอันดับ 1 ตั้งแต่ปี 2543-2553 อย่างไรก็ตามในปี 2553 อียิปต์ไม่สามารถส่งออกข้าวไปยังสวิสได้เนื่องจากปัญหาการเมืองภายใน ทำให้ประเทศคู่ค้าสำคัญอื่นสามารถแซงหน้าขึ้นมาได้ ได้แก่ โปรตุเกส (57.71%) อิตาลี (22.36%) และเยอรมนี (10.00%)
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าข้าวของสวิตเซอร์แลนด์ จำแนกตามประเภทข้าว
มูลค่าการนำเข้า ส่วนแบ่งการตลาด อัตราการขยายตัว ประเภทของข้าว (ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) 2551 2552 2553 2552 2553 2552/2553 ข้าวขาว (100630) 52.51 39.03 39.51 54.02 54.7 1.23 ข้าวหัก (100640) 8.15 21.14 22.57 29.26 31.3 6.78 ข้าวกล้อง (100620) 14.49 11.90 10.07 16.47 13.9 -15.41 ข้าวเปลือก (100610) 0.22 0.19 0.06 0.26 0.08 -70.63 รวม 75.37 72.26 72.20 27.57 30.3 -0.08 ที่มา กรมศุลกากรสวิส
5.1.2 การนำเข้าจากประเทศไทย
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2551-2553) สวิสนำเข้าข้าวจากไทยโดยเฉลี่ยคิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 16.74 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 669.6 ล้านบาท โดยในปี 2553 สวิสนำเข้าข้าวไทยรวมมูลค่าทั้งสิ้น 20.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.9 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.39 สำหรับเดือนม.ค.-พ.ย. 2554 สวิสนำเข้าจากไทยทั้งสิ้น 16.28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.48 เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
การนำเข้าจากประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นข้าวขาวเต็มเมล็ดเนื่องจากชาวสวิสให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าระดับสูงสุด โดยข้าวขาวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 95-100 ของมูลค่าการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด รองลงมาได้แก่ข้าวกล้องและข้าวหักตามลำดับ รายละเอียดจำแนกตามประเภทข้าวได้ดังนี้
- ข้าวขาวที่ผ่านการขัดสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จ (HS:100630) ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยประมาณปีละ16.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 15.04 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 95.69 จากมูลค่าการนำเข้าจากไทยทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.52
- ข้าวกล้อง ข้าวที่กระเทาะเปลือกแล้วแต่ยังไม่ได้ขัด(HS:100620) ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยประมาณปีละ 0.47 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 0.64 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.27 จากมูลค่าการนำเข้าจากไทยทั้งหมด
5.2 การส่งออก
เนื่องจากประเทศสวิสไม่สามารถเพาะปลูกข้าวได้เอง ข้าวที่ส่งออกจึงเป็นข้าวที่นำเข้ามาจากประเทศอื่น โดยอาจมีการผ่านกระบวนการขัดสีและบรรจุภัณฑ์ใหม่แล้วส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียง โดยในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกข้าวของสวิสเฉลี่ยประมาณปีละ 1.60 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2553 มีการนำเข้าข้าวขาวร้อยละ 86.98 ข้าวกล้องร้อยละ 11.88ข้าวหักร้อยละ 1.07 และข้าวเปลือก/ปลายข้าวร้อยละ 0.07 ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ เยอรมนี (48.41%) อิตาลี (23.13%) และเนเธอร์แลนด์ (6.75%)
6.กฎระเบียบการนำเข้า
6.1 มาตรการทางภาษี การนำเข้าข้าวของสวิตเซอร์แลนด์ ผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังนี้
6.1.1 ภาษีนำเข้า จำแนกตามประเทศผู้ส่งออกข้าวนั้นๆ
ตารางที่ 5 อัตราภาษีนำเข้าข้าวสำหรับประเทศไทย
พิกัดภาษี สินค้า อัตราภาษีต่อ 100 ก.ก./CHF
ข้าวเปลือก ปลายข้าว
1006.1010 สำหรับใช้ทำมอลต์หรือเบียร์ 0.95 1006.1020 สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ 0.00 1006.1030 สำหรับการบริโภค 0.00
ข้าวกล้อง
1006.2010 สำหรับใช้ทำมอลต์หรือเบียร์ 0.95 1006.2020 สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ 0.00 1006.2030 สำหรับการบริโภค 0.00
ข้าวขาว (รวมข้าวหอมมะลิ)
1006.3010 สำหรับใช้ทำมอลต์หรือเบียร์ 3.35 1006.3020 สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ 1.00 1006.3030 สำหรับการบริโภค 0.00 (GSP) พิกัดภาษี สินค้า อัตราภาษีต่อ 100 ก.ก./CHF
ข้าวหัก
1006.4010 สำหรับใช้ทำมอลต์หรือเบียร์ 3.35 1006.4020 สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ 0.00 1006.4030 สำหรับการบริโภค 0.00 (GSP)
6.1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้าวทุกชนิดที่นำเข้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราร้อยละ 2.4 6.1.3 Guarantee fund contribution เงินสนับสนุนการประกันข้าวของรัฐบาล โดยผู้นำเข้าต้องจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บสต๊อกข้าวตามคำสั่งของรัฐบาล ถือเป็นหลักประกันว่าบริษัทของตนจะต้องสต๊อกข้าวไว้สำหรับรัฐบาลเพื่อเป็นการป้องกันสินค้าขาดตลาด6.1.4 RISO contribution เงินสนับสนุนจากผู้นำเข้าที่ต้องจ่ายให้รัฐสำหรับข้าวที่นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายสำหรับการบริโภค
ตารางที่ 6 เงินสนับสนุนจากผู้นำเข้าข้าวตามกฎหมายสวิส
พิกัดภาษี สินค้า ภาษีต่อ 100 ก.ก. (gross) / CHF
Guarantee fund RISO contribution
contribution
ข้าวเพื่อการบริโภค 1006.1090 ข้าวเปลือก ปลายข้าว
- สำหรับผ่านกระบวนการต่อไป 3.15 0.45 - สำหรับบริโภคโดยตรง 5.25 0.75 1006.2090 ข้าวกล้อง - สำหรับผ่านกระบวนการต่อไป 4.20 0.60 - สำหรับบริโภคโดยตรง 5.25 0.75 1006.3090 ข้าวขาว - สำหรับผ่านกระบวนการต่อไป 4.45 0.65 - สำหรับบริโภคโดยตรง 5.25 0.75 1006.4090 ข้าวหัก 5.25 0.75
ข้าวเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
1006.1020 ข้าวเปลือก ปลายข้าว 4.50 1006.2020 ข้าวกล้อง 4.50 1006.3020 ข้าวขาว 4.50 1006.4020 ข้าวหัก 4.50
สำหรับข้าวที่นำเข้ามาเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ มีหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวนภาษีเทียบจากค่ามาตรฐานที่รัฐบาลได้ตั้งไว้ ดังนี้
ตารางที่ 7 ค่ามาตรฐานการนำเข้าข้าวเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
พิกัดภาษี สินค้า ภาษีต่อ 100 ก.ก./CHF 1006.1020 ข้าวเปลือก ปลายข้าว 47 1006.2020 ข้าวกล้อง 48 1006.3020 ข้าวขาว 50 1006.4020 ข้าวหัก 50 การคิดอัตราภาษีนำเข้าของข้าวดังกล่าวจะใช้ค่าข้างต้นเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น ค่ามาตรฐานการนำเข้าของข้าวหัก CHF 50.00 ต่อ 100 ก.ก. ราคาข้าวที่นำเข้าจากตลาดโลก CHF 48.00 เงินสนับสนุนการประกันข้าว CHF 4.50 = อัตราภาษีนำเข้า CHF 16.00
จากอัตราภาษีข้างต้น รัฐบาลสวิสกำหนดเก็บภาษีตามน้ำหนักของสินค้า ส่งผลให้ผู้นำเข้าส่วนมากนิยมนำเข้าในปริมาณมากเพื่อนำมาบรรจุและแบ่งจำหน่ายเอง เพื่อให้ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับน้ำหนักบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ในขนาดย่อยซึ่งเมื่อเทียบในปริมาณสุทธิของข้าวแล้วจะมีน้ำหนักมากกว่าการนำเข้าข้าวเป็นลอตใหญ่
6.2 กฎระเบียบการนำเข้า สรุปได้ดังนี้
6.2.1 กฎหมายว่าด้วยสินค้าเพื่อการบริโภค (SR 817.0)
6.2.2 กฎระเบียบว่าด้วยสินค้าเพื่อการบริโภค (SR 817.02)
6.2.3 กฎระเบียบว่าด้วยสาร/ส่วนผสมเจือปน (SR 817.021.23)
6.2.4 กฎระเบียบว่าด้วยสารเติมแต่ง (additive) (SR 817.021.22)
6.2.5 กฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานความสะอาด (SR 817.051)
6.2.6 กฎระเบียบว่าด้วยคุณค่าทางโภชนาการของสินค้า (SR 817.021.55)
6.2.7 กฎระเบียบว่าด้วยการแจ้งแหล่งผลิตของสินค้าและส่วนผสม (SR 817.021.51)
6.2.8 กฎระเบียบว่าด้วยการติดฉลากอธิบายรายละเอียดสินค้า (SR 914.281)
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลรายละเอียดข้อกฎหมายข้างต้นได้ตามเวบไซด์รัฐบาลสวิสใน 3 ภาษาราชการของสวิส ดังนี้ www.admin.ch/ch/d/sr/sr.html (ภาษาเยอรมัน) www.admin.ch/ch/f/sr/sr.html (ภาษาฝรั่งเศส) www.admin.ch/ch/i/sr/sr.html (ภาษาอิตาลี)
7. ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของสคต.แฟรงก์เฟิร์ต
7.1 ชาวสวิสให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าสูงที่สุดมากกว่าปัจจัยด้านราคา ตลาดข้าวของสวิสมีการแข่งขันสูง โดยเป็นการแข่งขันทั้งจากแหล่งผลิตข้าวแต่ละประเภท และการแข่งขันระหว่างผู้นำเข้า สินค้าที่มีคุณภาพสูงเท่านั้นจึงจะดึงดูดความสนใจและสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้
7.2 ชาวสวิสนิยมทำธุรกิจแบบระยะยาว โดยเน้นการทำธุรกิจกับ supplier น้อยรายที่มีประสิทธิภาพ สามารถส่งสินค้าคุณภาพสูงได้อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้อย่างทั่วถึง
7.3 ปัจจุบันผู้นำเข้าสินค้าข้าวที่สำคัญของสวิส ได้แก่ ห้าง Migros และห้าง Coop ซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดรวมกันกว่าร้อยละ 80
7.4 การสั่งซื้อส่วนใหญ่สั่งเป็น order ใหญ่เพื่อลดต้นทุนด้านภาษี
7.5 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายควบคู่กับอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง จะเป็นกลยุทธที่สำคัญในการขยายตลาดข้าวไทย และส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จอย่างสูงยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นการประชาสัมพันธ์แล้วยังเป็นการช่วยผู้นำเข้าให้ขายสินค้าได้เร็วขึ้น และมากขึ้น
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
ที่มา: http://www.depthai.go.th