ภายหลังที่นายมาริโอ มอนติ นักเศรษฐศาสตร์ และอดีตกรรมาธิการยุโรปเข้ารับตำแหน่งผู้นำรัฐบาลชั่วคราวต ได้ดำเนินการวางแนวทางของกฎหมายปฎิรูปเศรษฐกิจอิตาลีซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และเพิ่มภาษี ซึ่งในขณะเดียวกันสถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลียังคงซบเซา สืบเนื่องมาจากความไม่เชื่อมั่นของประชาชนต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ กอปรกับปัญหาของสหภาพยุโรปเอง
ช่วงเวลา อัตราเปลี่ยนแปลง อัตราเปลี่ยนแปลง
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า(%) เทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า (%)
GDP (ไตรมาส 3) +0.2 -0.2 การผลิตภาคอุตสาหกรรม (พฤศจิกายน) -4.1 +0.3 ผลประกอบการ (พฤศจิกายน) +2.0 0 คำสั่งซื้อ (พฤศจิกายน) -0.7 -0.1 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ผลิต (ธันวาคม) - -1.5 จุด ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ธันวาคม) - -4.5 จุด การนำเข้า (พฤศจิกายน) +0.5 +0.5 การส่งออก (พฤศจิกายน) +6.5 +2.3 อัตราการว่างงาน (พฤศจิกายน) +0.4 จุด +0.1 จุด อัตราเงินเฟ้อ (ธันวาคม) +3.7 +0.3 อัตราการจ้างงาน (พฤศจิกายน) -0.2 จุด -0.1 จุด ดัชนีราคาผู้บริโภค (ธันวาคม) +3.3 +0.4 หนี้สาธารณะ (%/GDP)* (ปี 2554) 120.3 *ตัวเลขคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่มา : องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, CSC, และ Istat ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
เทียบกับไตรมาส 3 ปี 53 เทียบกับไตรมาส 2 ปี 54
ไตรมาส 3 ปี 54 (%) +0.2 -0.2 ที่มา : สถาบันสถิติแห่งชาติ (Istat)
GDP อิตาลี ไตรมาส 3 ของปี 2554 ลดลงร้อยละ 0.2 เปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการคาดการณ์ของธนาคารแห่งชาติอิตาลี GDP อิตาลีปี 2555 จะมีอัตราลดลงร้อยละ 1.2 แต่ปี 2556 จะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 0.8
การผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production)
เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53 เทียบกับตุลาคม ปี 54 พฤศจิกายน ปี 54 (%) -4.1 +0.3 ที่มา : Istat
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2554 เทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราลดลงร้อยละ 4.1 (โดยวันทำงานในเดือนพฤศจิกายน 54 และ 53 มีจำนวนวันทำงาน 21 วัน) ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมใน Euro Area และ Eu 27 มีอัตราลดลงเท่ากันร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้า และลดลงร้อยละ 0.3 และ 2.2 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมของอิตาลี 11 เดือนแรกของปี 2554 มีการอัตราขยายตัวร้อยละ 0.1 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
โดยการผลิตของกลุ่มสินค้าส่วนใหญ่มีอัตราลดลง ได้แก่ กลุ่มสินค้าขั้นกลาง กลุ่มสินค้าเครื่องมือ กลุ่มพลังงาน และกลุ่มสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโค ร้อยละ 4.6, 4.5, 4.4 และ 3.1 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
ในส่วนภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากคือ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ (+12.4%) สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวลดลงได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่ใช้ภายในบ้านที่ไม่ใช่ไฟฟ้า (-13.6%) และภาคอุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์ อิเล็คทรอนิกส์ (-12.8%)
ผลประกอบการและคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรม
1. ผลประกอบการ
เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53 เทียบกับตุลาคม ปี 54 พฤศจิกายน ปี 54 (%) +0.2 0
จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี เปิดเผยว่า เดือนพฤศจิกายน 2554 ผลประกอบการของภาค อุตสาหกรรมอิตาลีเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง (-0.6% จากตลาดภายในประเทศและ +1.0% จากตลาดต่างประเทศ) โดยระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน มีอัตราลดลงร้อยละ 2.9 เทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
สำหรับผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมอิตาลีเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 (-1.8% จากตลาดภายในประเทศและ +4.8% จากตลาดต่างประเทศ)
จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี พบว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นของเดือนพฤศจิกายน 2554 เทียบกับปีก่อนหน้าได้แก่ ภาคการผลิตถ่านโค้ก น้ำมันเชื้อเพลิง 11.5% สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีผลประกอบการลดลงได้แก่ ภาคการผลิตคอมพิวเตอร์ อิเล็คทรอนิกส์ 11.1
2. คำสั่งซื้อ
เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53 เทียบกับตุลาคม ปี 54
พฤศจิกายน ปี 54 (%) -0.7 +0.1 ที่มา : Istat
เดือนพฤศจิกายน 2554 คำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราลดลงร้อยละ 0.1 (+1.0% จากตลาดภายในประเทศและ -1.1% จากตลาดต่างประเทศ) ส่วนเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราลดลงร้อยละ 0.7% โดยระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 54 คำสั่งซื้อมีอัตราลดลงร้อยละ 6.6 เทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
โดยภาคการผลิตที่ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเทียบกับพฤศจิกายน 53 ได้แก่ ภาคการผลิตยานพาหนะเพื่อการขนส่ง 17.3 และภาคการผลิตที่ได้รับคำสั่งซื้อลดลงได้แก่ ภาคการผลิตเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ 11.2
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี
พฤศจิกายน ปี 54 ธันวาคม ปี 54 เปลี่ยนแปลง ดัชนีความเชื่อมั่น (จุด) 96.1 91.6 -4.5 จุด
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลีเดือนธันวาคมได้ปรับตัวลดลงจาก 96.1 จุด เป็น 91.6 จุด (หดตัวลดลง 4.5 จุด) เนื่องจากประชาชนยังไม่เชื่อมั่นต่อสถานการณ์ในประเทศ
2. ความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี
พฤศจิกายน ปี 54 ธันวาคม ปี 54 เปลี่ยนแปลง ดัชนีความเชื่อมั่น (จุด) 94.0 92.5 -1.5 จุด ที่มา : สถาบันเพื่อการวิเคราะห์และศึกษาเศรษฐกิจ (ISAE)
ดัชนีความเชื่อมันของบริษัทผู้ผลิตอิตาลีเดือนพฤศจิกายน 2554 มีการปรับตัวลดลงจาก 94.0 จุด เป็น 92.5 จุด (ลดลง 1.5 จุด) โดยมีสาเหตุจากคำสั่งซื้อและการรอการผลิตของผู้ผลิตที่มีแนวโน้มแย่ลง สินค้าในสต็อกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การค้าระหว่างประเทศ
(%) เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53 เทียบกับตุลาคม ปี 54 การส่งออก พฤศจิกายน ปี 54 +6.5 +2.3 การนำเข้า กันยายน ปี 54 +0.5 +0.5 ขาดดุลการค้า 1,6 พันล้านยูโร
การขยายตัวของการส่งออกในเดือนพฤศจิกายน 54 มีปัจจัยมาจากการส่งออกในปริมาณที่มากของผลิตภัณฑ์โลหะและชิ้นส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกให้แก่สวิตเซอร์แลนด์ และผลิตภัณฑ์เครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบที่ส่งออกให้แก่ สหรัฐฯ เยอรมัน และตุรกี
การส่งออกและการนำเข้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 และ 10.6 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก สหภาพยุโรป
(%) เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53 เทียบกับตุลาคม ปี 54 การส่งออกสู่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป พฤศจิกายน ปี 54 +11.2 +3.1 การนำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป พฤศจิกายน ปี 54 +3.9 +0.5 ขาดดุลการค้า 1,1 พันล้านยูโร ที่มา : Istat
การส่งออกและการนำเข้าของอิตาลีแก่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 พบว่า มีอัตราการขยายตัวเกือบเท่ากันโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 และ 15.1 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ (+32%) ญี่ปุ่น (+19.9%) กลุ่มประเทศ Mercosur (+18.8%) กลุ่มประเทศ EDA (+17.4%) และตุรกี (+14.4%)
แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ รัสเซีย (+25.3%) กลุ่มประเทศ Asean (+16%) อินเดีย (+14.4%) และกลุ่มประเทศ Mercosur (+13.8%) และสวิตเซอร์แลนด์ (+13.5%)
ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 อิตาลีส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 437,952 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 19.6 ตารางการส่งออกสินค้าของอิตาลีไปทั่วโลกของระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555
ตลาดส่งออกที่สำคัญของ US$Mil US$Mil GROWTH สินค้าส่งออกที่สำคัญของ US$Mil US$Mil GROWTH อิตาลี 2553 2554 (%) 54/53 อิตาลี 2553 2554 (%) 54/53 อันดับ 1 เยอรมัน 47,928 58,041 21.1 เครื่องจักร 70,733 86,068 21.7 อันดับ 2 ฝรั่งเศส 42,633 50,931 19.5 ยานบก 26,781 31,609 18.0 อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา 22,173 26,521 19.6 เครื่องจักรไฟฟ้า 24,023 27,328 13.7 อันดับ 4 สวิสเซอร์แลนด์ 16,868 23,495 39.3 เชื้อเพลิง น้ำมันแร่ 17,530 22,514 28.4 อันดับ 5 สเปน 21,287 23,208 9.0 พลาสติก 15,774 18,597 17.9 อันดับ 51 ไทย 955 1,361 42.4 ของทำด้วยเหล็กหรือ 14,657 18,059 23.2
เหล็กกล้า
ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2554 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 471,604 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 18.6 ตารางการนำเข้าสินค้าของอิตาลีจากทั่วโลกของระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2554
แหล่งนำเข้าที่สำคัญของ US$Mil US$Mil GROWTH สินค้านำเข้าที่สำคัญของ US$Mil US$Mil GROWTH ของอิตาลี 2553 2554 (%) 54/53 อิตาลี 2553 2554 (%) 54/53 อันดับ 1 เยอรมัน 63,588 72,862 14.6 เชื้อเพลิง น้ำมันแร่ 72,476 92,334 27.4 อันดับ 2 ฝรั่งเศส 34,974 38,634 10.5 เครื่องจักรไฟฟ้า 36,310 38,550 6.2 อันดับ 3 จีน 31,201 35,725 14.5 ยานบก 34,639 37,552 8.4 อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ 21,537 24,395 13.3 เครื่องจักร 33,550 37,414 11.5 อันดับ 5 รัสเซีย 15,323 21,084 37.6 เหล็ก และเหล็กกล้า 16,014 21,783 36.0 อันดับ 49 ไทย 1,437 1,707 18.8 พลาสติก 15,737 19,170 21.8 ที่มา: World Trade Atlas 3. การส่งออกมาไทย
ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2554 ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 51 ของอิตาลี อิตาลีส่งออกมาไทยมีมูลค่า 1,361 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 42.4% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กหรือเหล็กกล้า (+238.1%) เคมีภัณฑ์ (+158.6%) เครื่องจักร (+48.1%) อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ (+33.3%) และเครื่องจักรกลไฟฟ้า (+7.8%) เป็นต้น สินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยลดลง ได้แก่ หินมีค่า (-3.0%) หนังดิบและหนังฟอก (-12.9%) อลูมิเนียม (-38.2%) เป็นต้น
ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2554 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 49 ของอิตาลี ซึ่งอิตาลีนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 1,707 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.8% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสินค้าที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทย ได้แก่ ยาง (+58.9%) เครื่องจักร (+7.2%) และอาหารทะเลและปลา (+29.5%) เป็นต้น สินค้าทิ่อิตาลีนำเข้าลดลงจากไทย ได้แก่ ยานบก (-7.5%) และของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา (-2.9%) เป็นต้น
อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)
เทียบกับธันวาคม ปี 53 เทียบกับพฤศจิกายน ปี 54 ธันวาคม ปี 54 (%) +3.7 +0.3 ที่มา : Eurostat
จากข้อมูลของ Eurostat พบว่าเดือนธันวาคม 2554 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ร้อยละ 0.3 และเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2553 ร้อยละ 3.7 สำหรับอัตราเงินเฟ้อโดยประมาณใน Euro Area และ Euro 27 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และ 3.0 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ เทียบกับเดือนก่อนหน้า
ตลาดแรงงาน
1. อัตราการว่างงาน
พฤศจิกายน ปี 54 เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53
อัตราการว่างงาน (%) 8.6 +0.4 จุด ที่มา : Istat
เดือนพฤศจิกายน 2554 มีอัตราร้อยละ 8.6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้า และร้อยละ 0.4 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ยังคงถือเป็นอัตราที่ต่ำกว่ามาตรฐานของ Euro Area และ EU 27 อยู่ประมาณ 1.7 จุด และ1.2 จุด ตามลำดับ โดยอัตราการว่างงานของ Euro AreaและEU 27 อยู่ที่ร้อยละ 10.3 และ 9.8 ตามลำดับ
โดยจำนวนคนว่างงานเดือนพฤศจิกายนมีจำนวน 2,142 พันราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
2. อัตราการจ้างงาน
พฤศจิกายน ปี 54 เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53
อัตราการจ้างงาน 56.9% -0.2 จุด ที่มา : Istat
เดือนพฤศจิกายน 2554 มีอัตราจ้างงานร้อยละ 56.9 โดยจำนวนคนจ้างงานมีจำนวนประมาณ 23 ล้านราย ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือนตุลาคม 2554
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
ที่มา: http://www.depthai.go.th