อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศอินเดีย (Gems and Jewelry Industry in India)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 13, 2012 11:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (Gems and Jewelry Industry) เป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วที่สุดอุตสาหกรรมหนึ่งของอินเดีย โดยการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากมูลค่าการส่งออก 29 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปี 2552-2553 เป็น 43 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปี 2553-2554 หรือมีอัตราการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 47 (รวมทองคำและโลหะมีค่าต่างๆด้วย) ทั้งนี้ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างมากในการนำรายได้เงินตราต่างประเทศเข้าประเทศโดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 16.67 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าของอินเดีย

จากสถิติของสภาทองคำโลก (World Gold Council: WGC) พบว่าอินเดียเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคทองคำสูงที่สุดในโลก โดยในปี 2553 อินเดียมีความต้องการบริโภคทองคำคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของความต้องการบริโภคทองคำรวมทั้งโลก คิดเป็นน้ำหนักรวม 963.1 ตัน แบ่งเป็นเครื่องประดับทองคำ 745.7 ตัน และทองคำล้วนๆ (ทองคำแท่ง, เหรียญทองคำ ฯลฯ) อีก 217.4 ตัน นอกจากทองคำแล้วอินเดียยังเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคเพชรมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก สำหรับเงิน (Silver) อินเดียมีความต้องการบริโภคเงินปีละ 4,000 ตัน โดยภาพรวมแล้วตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ (Gems and Jewelry) ในประเทศอินเดียในปี 2555 คาดว่าจะเติบโตต่อไปมีมูลค่า 39.92 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2558 ขนาดตลาดจะขยายตัวเป็น 52.27 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก คือ วิถีชีวิตของผู้บริโภคชาวอินเดีย (Lifestyle) ที่เปลี่ยนไป จำนวนคนรวยและคนชั้นสูงที่เพิ่มขึ้น จำนวนสตรีทำงานและมีรายได้ของตนเองที่เพิ่มขึ้น และรสนิยมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่เริ่มเลือกซื้อสินค้าเครื่องประดับที่มียี่ห้อ

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับประกอบไปด้วยสินค้าสองส่วน คือ

1.อัญมณี (Gemstones) ได้แก่ เพชร พลอยสี และไข่มุก

2.โลหะมีค่าและเครื่องประดับ (Precious Metals and Jewelry)

  • โลหะมีค่า (Precious Metals) ได้แก่ ทองคำ เงิน ทองคำขาว ฯลฯ ซึ่งจะถูก จำหน่ายในรูปแบบต่างๆ คือ เป็นเหรียญหรือเป็นแท่ง (Bar) เป็นต้น
  • เครื่องประดับ (Jewelry) เป็นชิ้นงานที่ได้รับการออกแบบให้มีความสวยงาม อาจจะ เป็นเครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่าล้วนๆ หรือเป็นเครื่องประดับที่นำโลหะมีค่ามาประดับด้วยอัญมณีก็ได้

อินเดียเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอัญมณี ได้แก่ มรกต บุษราคัม และทับทิม โดยมีศูนย์กลางการผลิตอยู่ที่เมืองสุรัต (Surat) ในรัฐคุชราต (Gujarat) ซึ่งจะเป็นแหล่งนำเข้าเพชรดิบเข้าไปเจียระไน แล้วส่งออกในรูปเพชรที่ผ่านการเจียระไนแล้วและเครื่องประดับเพชร ส่วนไข่มุกมีศูนย์กลางการผลิตอยู่ที่เมืองไฮเดอราบัด (Hyderabad) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) สำหรับธุรกิจเครื่องประดับในอินเดียส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องประดับทองคำและเครื่องประดับเพชร (Gold and Diamond Jewelry) เป็นหลัก โดยเครื่องประดับทองคำ (Gold Jewelry) จะมีสัดส่วนถึงร้อยละประมาณ 80 ของตลาดเครื่องประดับในประเทศอินเดีย ที่เหลือจะเป็นเครื่องประดับเพชรและเครื่องประดับที่ทำจากโลหะอื่นตกแต่งด้วยอัญมณีสี ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเครื่องประดับทองคำส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศด้วยรูปแบบศิลปะแบบอินเดีย สำหรับเครื่องประดับเพชรจะผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ โดยตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียในปี 2553 มีผู้ค้าปลีกที่เป็นร้านจำหน่ายเครื่องประดับจำนวน 4 แสนแห่ง และเป็นร้านขายทองจำนวน 4.5 แสนแห่ง

การที่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียมีการเจริญเติบโตอย่างมากป็นผลมาจากรัฐบาลอินเดียมีนโยบายสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพาณิชย์ 50 แห่งปล่อยสินเชื่อสำหรับอุตสาหกรรมนี้เป็นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนั้น อินเดียยังเป็นประเทศผู้ผลิตเครื่องประดับที่เก่าแก่ที่สุดในโลกประเทศหนึ่งอีกด้วย โดยมีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็นระยะเวลายาวนาน จนทำให้อุตสาหกรรมการออกแบบเครื่องประดับ รวมทั้งอุตสาหกรรมการตัดและเจียระไนเพชรเติบโตอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

อินเดียเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติอย่างมาก หลายรัฐของอินเดียยังมีสำรองโลหะมีค่าและอัญมณีอยู่มากมาย เช่น ทองคำ เพชร และอัญมณมีค่าหลายชนิด โดยรัฐโอริสสาเป็นแหล่งอัญมณีมีค่ากว่า 20 ชนิด เช่น ทับทิม (Ruby) อควอมารีน (Aquamarine) โกเมน (Garnet) และอื่นๆ ส่วนทองคำและเพชรมีอยู่ที่รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) และรัฐมัธยประเทศ (Madhya Pradesh) ส่วนเมืองมุมไบ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐมหาราษฎระ (Maharashtra) เป็นแหล่งนำเข้าทองคำและเพชรดิบเพื่อนำไปเจียระไนก่อนส่งออกไปประเทศต่างๆ โดยในรัฐมหาราษฎระมีโรงงานเจียระไนเพชรกึ่งอัตโนมัติที่ทันสมัยหลายแห่งส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

นอกจากมีทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับแล้ว ปัจจุบันอินเดียยังเป็นศูนย์กลางเจียระไนเพชรที่สำคัญของโลก โดยมีการประมาณกันว่าเพชรทุก 15 เม็ดที่จำหน่ายอยู่ในโลก จะเป็นเพชรที่ผ่านการเจียระไนจากประเทศอินเดียถึง 14 เม็ด นอกจากนั้น อินเดียยังเป็นตลาดเพชรสำหรับผู้บริโภคที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยอินเดียมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลกสำหรับเพชรเจียระไนแล้วถึงร้อยละ 60 ในแง่ของมูลค่าการขาย ร้อยละ 82 ในแง่น้ำหนัก (กะรัต) และร้อยละ 95 ในแง่จำนวนเม็ดที่ขายในโลก ทั้งนี้ การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียได้รับผลโดยตรงจากการขยายตัวของเมือง (Urbanization) และการขยายตัวของชนชั้นกลางอย่างรวดเร็วในประเทศอินเดีย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคอินเดียมีความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับ

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อินเดียกลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับโลก คือ ความสามารถในการเจียระไนเพชรและการเป็นตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยศูนย์กลางในการเจียระไนเพชรของอินเดียอยู่ที่เมืองสุรัต (Surat) เมืองบาฟนาการ์ (Bhavnagar) และเมืองอาห์เมดาบัด(Ahmedabad) ในรัฐคุชราต (Gujarat) สำหรับเมืองสุรัต (Surat) เมืองเดียวเป็นแหล่งเจียระไนเพชรถึงร้อยละ 80 ของเพชรที่เจียระไนทั้งหมดในประเทศอินเดีย ส่วนการทำเหมืองเพชรมีการทำอยู่ที่เมืองปันนา (Panna) ในรัฐมัธยประเทศ (Madhya Pradesh) โดยบรรษัทพัฒนาการเหมืองแร่แห่งชาติ (National Mining Development Corporation) ของอินเดีย นอกจากนั้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอินเดียได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอย่างต่อเนื่องโดยนำเทคนิคที่ทันสมัยมาผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของอินเดีย รวมทั้งได้มีการพัฒนาศูนย์การเจียระไนเพชรให้เป็นระบบยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้เพชรดีมีคุณภาพตอบสนองความต้องการของตลาดได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่เพชรไปจนถึงเครื่องประดับเพชร

นอกจากนั้น จากแผนภาพข้างต้นแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียกระจายอยู่หลายเขตในรัฐต่างๆของประเทศ โดยแต่ละเขตจะมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าที่แตกต่างกันไป เช่น เมืองชัยปุระ (Jaipur) ในรัฐราชาสถาน (Rajasthan) เป็นแหล่งเจียระไนและขัดเงาอัญมณีสี เมืองสุรัต (Surat) ในรัฐคุชราต (Gujarat) เป็นศูนย์กลางในการเจียระไนและขัดเงาเพชร เมืองมุมไบ (Mumbai) ในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) เป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับด้วยเครื่องจักร เมืองกอลกัตตา (Kolkata) ในรัฐเบงกอลตะวันตก (West Bengal) เป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับทองคำขนาดเล็ก กรุงนิวเดลี (New Delhi) เป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับเงิน เมืองโคอิมบาตอร์ (Coimbatore) ในรัฐทมิฬนาดู (Tamil Nadu) เป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับจากการหล่อ (Casting Jewelry) เป็นต้น

การสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดีย

รัฐบาลอินเดียได้เห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามหาศาลและมีการเจริญเติบโตในอัตราสูง จึงได้ออกมาตรการและนโยบายต่างๆมาสนับสนุนอย่างเต็มที่ ได้แก่

1.เพชรที่เจียระไนและขัดเงาแล้ว (Cut and Polished Diamonds) รวมทั้งพลอยดิบ (Rough and Semi-precious Stones) ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า

2.โลหะมีค่าทุกชนิดที่นำเข้ามาเพื่อแปรสภาพเป็นเครื่องประดับได้รับการยกเว้นอากรขา เข้า ยกเว้นทองคำและเงินที่รัฐบาลได้ประกาศในวันอังคารที่ 17 มกราคม 2555 ปรับอัตราอากรขาเข้าสำหรับทองคำเป็นร้อยละ 2 ของมูลค่าและภาษีสรรพสามิตเป็นร้อยละ 1.5 ของมูลค่า จากเดิมที่เคยเรียกเก็บอากรขาเข้าในอัตรา 300 รูปีต่อ 10 กรัมและภาษีสรรพสามิตในอัตรา 200 รูปีต่อ 10 กรัม สำหรับโลหะเงินได้ปรับอากรขาเข้าเป็นร้อยละ 6 ของมูลค่า และภาษีสรรพสามิตเป็นร้อยละ 4 ของมูลค่า จากที่เคยเรียกเก็บอากรขาเข้าในอัตรา 1,500 รูปีต่อกิโลกรัมและภาษีสรรพสามิตในอัตรา 1,000 รูปีต่อกิโลกรัม เพื่อเป็นการสกัดไม่ให้มีการนำเข้าโลหะมีค่าทั้งสองรายการดังกล่าวมากเกินไป โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดการไหลออกของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ต้องชำระเป็นค่านำเข้าทองคำและเงินมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

3.การลงทุนตรงจากต่างประเทศ (100% FDI) อนุญาตให้ดำเนินการโดยผ่านช่องทางอัต- โนมัติ (Automatic Route) ได้ ซึ่งหมายถึงบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมนี้สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลก่อน

4.รัฐบาลอนุญาตให้ทองเคตั้งแต่ 18 กะรัตขึ้นไปได้อยู่ภายใต้ Replenishment Scheme นั่นคือ ผู้ผลิตอินเดียสามารถนำเข้าทองเคตั้งแต่ 18 กะรัตขึ้นไปโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและอากรอื่นๆ แต่จะต้องนำเข้าไปผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น

5.รัฐบาลได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและนิคมอุตสาหกรรมสำหรับอัญมณีและเครื่องประ- ดับ (Gems and Jewelry Parks) ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น

6.รัฐบาลมีมาตรการขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องประดับที่มีตรายี่ห้อที่ไม่สามารถจำหน่าย ในต่างประเทศได้กลับเข้ามาในประเทศได้ใหม่ (Re-Import) จากเดิมภายใน 180 วันเป็นภายใน 1 ปี

7.รัฐบาลอนุญาตให้ใช้วิธีการขายฝาก (Consignment) อัญมณีสีที่ทำการส่งออกในต่างประเทศได้ รวมทั้งได้มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆเพื่อรองรับการอนุญาตให้นำเข้าเพชรที่เจียระไนและขัดเงาแล้วอีกด้วย

8.รัฐบาลได้จัดตั้งตลาดกลางค้าเพชร (Diamond Bourses) ขึ้นในประเทศอินเดีย โดยมี เป้าหมายที่จะให้อินเดียเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรระดับนานาชาติ

9.รัฐบาลผ่อนคลายให้นักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับสามารถนำสินค้าติดตัวไปเข้าร่วม งานแสดงสินค้านานาชาติหรือเพื่อเดินทางไปทำกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งอนุญาตให้ไม่เกิน 1 แสนเหรียญสหรัฐฯ เป็นไม่เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การนำเข้าและการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย

1)การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย

แม้ว่าจะเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ แต่อินเดียกลับมีการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับมากกว่าการส่งออก โดยในปี 2553 อินเดียนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่า 58,228.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่มีการส่งออกเป็นมูลค่าน้อยกว่า คือ 34,621.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นเพชรเจียระไนและขัดเงาแล้ว ซึ่งมีมูลค่านำเข้าในปี 2553 ถึง 15,934.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 ของมูลค่าการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึง 1.1 เท่าตัว และเพิ่มจากปี 2548 โดยเฉลี่ยร้อยละ 36.3 ต่อปี สำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับนำเข้าที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด คือ เครื่องประดับเงิน ซึ่งอินเดียนำเข้าเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 4.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2548 เป็น 25.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553 หรือมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยจากปี 2548 ถึง 2553 ถึงร้อยละ 42.5 ทั้งนี้ สถิติดังกล่าวไม่ได้รวมเพชรดิบ อัญมณีมีค่าดิบ ไข่มุก และโลหะมีค่า เช่น ทองคำ ทองคำขาว โลหะเงิน ฯลฯ ไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม เพชรดิบและทองคำแท่งเป็นสินค้านำเข้าที่สำคัญที่สุดที่อินเดียนำเข้าไปแปรรูปเป็นเครื่องประดับและส่งออกอีกครั้งหนึ่ง

อินเดียนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2553 จากสวิสเซอร์แลนด์มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.52 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร้อยละ 29.25 ฮ่องกง ร้อยละ 9.14 เบลเยี่ยม ร้อยละ 8.66 แอฟริกาใต้ ร้อยละ 6.24 ส่วนการนำเข้าจากประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 14 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.20 ของการนำเข้าสินค้าดังกล่าวของอินเดียทั้งหมดเป็นมูลค่า135.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าอัญมณีมีค่าและพลอยเนื้ออ่อน (Precious and Semi-Precious Gems Stones) เพชร เครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า และทองคำ ซึ่งเฉพาะสี่รายการนี้รวมกันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96 ของมูลค่าการนำเข้าจากประเทศไทยทั้งหมด สำหรับในช่วง 5 เดือนแรก (มกราคม-พฤษภาคม) ของปี 2554 การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากประเทศไทยของอินเดียมีมูลค่า 94.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าหลักสี่รายการดังกล่าว ซึ่งมีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 96 เช่นกัน ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ โดยในปี 2553 มีอัตราการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 39.56 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูงมาก

2)การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย

อินเดียส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2553 เป็นมูลค่า 34,621.9 ล้านเหรียญ- สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 35.40 โดยส่งออกเพชรเจียระไนและขัดเงาแล้ว (Cut and Polished Diamond) มากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 21,706.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 62.69 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมดของอินเดีย เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 46.98 รองลงมาก คือ เครื่องประดับทองคำ มูลค่า 7,411.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเครื่องประดับเงิน มูลค่า 390.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ นอกจากนั้น ยังมีการส่งออกอัญมณีมีค่าและอัญมณีอื่นๆ มูลค่ารวมกัน 386.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจากสถิติพบว่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเงินของอินเดียมีการเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างสม่ำเสมอ

ตลาดส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียที่สำคัญที่สุดในปี 2553 คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมีสัดส่วนสูงมากถึงร้อยละ 45.58 รองลงมา คือ ฮ่องกง ร้อยละ 22.85 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 14.80 เบลเยี่ยม ร้อยละ 5.74 และอิสราเอล ร้อยละ 2.66 ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยเป็นตลาดส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอันดับที่ 7 ของอินเดีย มีสัดส่วนรัอยละ 0.98 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมดของอินเดีย คิดเป็นมูลค่า 339.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 24.66 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกมาประเทศไทยในปี 2551 สูงถึง 374.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเพชรที่เจียระไนและขัดเงาแล้ว ซึ่งในปี 2553 มีมูลค่าถึง 287.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84.66 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมาประเทศไทยทั้งหมด สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2554 (มกราคม-พฤษภาคม) อินเดียส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมาประเทศไทยเป็นมูลค่า 246.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเพชรที่เจียระไนและขัดเงาแล้วซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 221.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.80 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมาประเทศไทยทั้งหมด ทั้งนี้ จากการสอบถามนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่เมืองสุรัต (Surat) ในรัฐคุชราต (Gujarat) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและขัดเงาเพชรและแหล่งผลิตเครื่องประดับสำคัญของอินเดียพบว่า การส่งออกเพชรเจียระไนและขัดเงาแล้วไปประเทศไทยก็เพื่อนำไปประกอบเป็นเครื่องประดับแล้วทำการส่งกลับไปประเทศอินเดียและส่งออกไปประเทศอื่นๆต่อไป เนื่องจากฝีมือการออกแบบและการผลิตเครื่องประดับของคนไทยดีกว่าและประณีตกว่าคนอินเดีย นอกจากนั้น ยังมีนักธุรกิจอินเดียจำนวนมากเข้ามาลงทุนในประเทศไทยโดยมีการร่วมทุนกับคนไทยเชื้อสายอินเดียเพื่อดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับดังกล่าวโดยอาศัยจุดแข็งของทั้งสองประเทศเพื่อประโยชน์ของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากสถิติแล้วพบว่าอินเดียส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมาประเทศไทยมากกว่าที่ประเทศไทยส่งออกไปอินเดีย แต่ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเพชรเจียระไนและขัดเงาแล้วเพื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องประดับก่อนส่งออกไปยังประเทศต่างๆ รวมทั้งอินเดียด้วย

แนวโน้มและพัฒนาการของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียได้มีการปรับตัวอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการตลาด คือ

1) รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียเปลี่ยนไป

                พฤติกรรมเดิมของผู้บริโภคอินเดีย             พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคอินเดีย

1. การซื้อเครื่องประดับมีวัตถุประสงค์หลัก 1. การสวมใส่เครื่องประดับเป็นเรื่องปกติในสังคม

             เพียงเพื่อเป็นการลงทุน                    อินเดียสมัยใหม่

2. ความต้องการซื้อเครื่องประดับจะเพิ่ม 2. ความต้องการซื้อเครื่องประดับจะสม่ำเสมอ

สูงขึ้นเฉพาะในช่วงที่มีงานแต่งงานหรือตลอดปี เนื่องจากผู้บริโภคซื้อเครื่องประดับเพื่อ

             งานเฉลิมฉลองสำคัญ                      มอบเป็นของขวัญและสวมใส่ประดับเป็นเรื่อง

ปกติ

3. ส่วนใหญ่จะซื้อเครื่องประดับจากร้านที่ 3. นิยมซื้อเครื่องประดับจากร้านขาย

             ครอบครัวเชื่อถือเท่านั้น                    เครื่องประดับที่มีตรายี่ห้อ (Branded Retail

Jewelry)

4. นิยมเครื่องประดับที่ออกแบบเป็นสไตล์ 4. นิยมเครื่องประดับที่ออกแบบแนวสร้างสรรรค์

             อินเดียดั้งเดิม มีขนาดใหญ่และหนัก            สมัยใหม่ ขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

5. นิยมเครื่องประดับที่ทำจากทองคำหรือ 5. นิยมเครื่องประดับฝังเพชรหรืออัญมณีมีค่า

เงินล้วนๆ

          6. ราคาเครื่องประดับกำหนดตามราคา        6. ราคาเครื่องประดับจะถูกกำหนดไว้ตามราคา
             ทองคำต่อกรัมบวกด้วยกำไรตามความ          ป้าย (Fixed Price)

ต้องการของผู้ค้าปลีก

2) การขยายตลาดของคู่แข่งขันจากต่างประเทศเข้าไปในตลาดอินเดีย

การเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียอย่างรวดเร็วอันเป็นผล สืบเนื่องมาจากผู้บริโภคมีรายได้สำหรับจับจ่ายใช้สอย (Disposable Income) เพิ่มขึ้นและรสนิยมที่เปลี่ยนไปจากที่เคยนิยมซื้อสินค้าเครื่องประดับที่ไม่มีตรายี่ห้อ มาเป็นนิยมซื้อสินค้าเครื่องประดับที่มีตรายี่ห้อมากขึ้นทำให้มีบริษัทค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับต่างชาติขยายเข้าไปในตลาดอินเดียมากขึ้นพร้อมกับตรายี่ห้อของตนเอง เช่น Tiffany's, Cartier, Swarovski, Damas Jewelry, Joy Alukkas เป็นต้น และมีแนวโน้มที่จะขยายเข้าไปในตลาดอินเดียมากยิ่งขึ้นไปอีกหลังจากที่รัฐบาลอินเดียประกาศเปิดเสรีค้าปลีกจากต่างประเทศประเภท Single Brand ให้บริษัทค้าปลีกต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ถึง 100% ดังนั้น การแข่งขันในตลาดค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดอินเดียก็จะยิ่งมีการแข่งขันเพิ่มขึ้นไปอีกเพราะธุรกิจค้าปลีกในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจค้าปลีกประเภท Single Brand อยู่แล้ว

3) การขยายตัวของร้านค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับที่มีตรายี่ห้อ (Branded Retail Jewelry)

การเจริญเติบโตของธุรกิจค้าปลีกเครื่องประดับประเภทที่เป็นระบบ (Organized Retail) ซึ่งจะเป็นร้านค้าปลีกเครื่องประดับที่มีตรายี่ห้อ (Branded Retail Jewelry) ทำให้ส่วนแบ่งตลาดสำหรับธุรกิจค้าปลีกประเภทนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4 ในปี 2553 ขยับขึ้นมาเป็นร้อยละ 5-7 ในปี 2554 ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกเครื่องประดับที่ไม่เป็นระบบ (Unorganized Retail) ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวมีส่วนแบ่งตลาดลดลงจากร้อยละ 96 ในปี 2553 เหลือร้อยละ 93-95 ในปี 2554 ทั้งนี้ เนื่องจากผู้บริโภคอินเดียนิยมที่จะซื้อเครื่องประดับจากร้านค้าปลีกเครื่องประดับที่มีตรายี่ห้อเพิ่มขึ้น เนื่องจาก

  • สินค้าของร้านค้าปลีกเครื่องประดับที่มีตรายี่ห้อจะมีรูปแบบทันสมัย น้ำหนักเบา มี ขนาดเล็ก สามารถสวมใส่ได้ทุกวัน รวมทั้งรูปแบบที่สร้างสรรค์สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกของผู้สวมใส่อีกด้วย
  • รูปแบบเครื่องประดับมีการออกแบบสร้างสรรค์ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
  • รูปแบบเครื่องประดับมีการออกแบบให้ดูสง่างาม
  • มีการรับรองคุณภาพและน้ำหนักของเครื่องประดับด้วยการออกใบรับรองให้อย่าง เป็นทางการ
  • อัญมณีและเครื่องประดับหลายยี่ห้อมีข้อเสนอที่ดีให้แก่ลูกค้า เช่น สามารถนำมา ขายคืนได้ในภายหลัง เป็นต้น
แนวโน้มและการคาดการณ์ตลาดค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียปี 2554-2558

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียยังมีศักยภาพที่จะเจริญเติบโตอีกมาก อันเป็นผลมาจากระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคอินเดีย รวมทั้งวิถีชีวิตและรสนิยมที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้อินเดียยังคงเป็นตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับเครื่องประดับทองคำ (Gold Jewelry) โดยมีตลาดจีนตามมาติดๆ อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าในระยะยาวตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียจะค่อยๆปรับตัวมีระบบมากขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ซึ่งเริ่มซื้ออัญมณีและเครื่องประดับมากขึ้น โดยเน้นรูปแบบทันสมัยสามารถสวมใส่ได้ทุกวัน แทนที่พฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับรูปแบบเดิมๆเพื่อการลงทุนอย่างในอดีต

อย่างไรก็ตาม ทองคำก็ยังเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวอินเดียมากที่สุด เนื่องจากเกี่ยวพันกับความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและความชอบของผู้บริโภคชาวอินเดียเอง นอกจากนั้น ประชากรอินเดียวัยหนุ่มสาวจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการแต่งงานจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อตลาดเครื่องประดับทองคำอย่างมหาศาลในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนั้น เครื่องประดับทองคำที่ทำด้วยมือรูปแบบดั้งเดิมของอินเดียก็เป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไปท่องเที่ยวในประเทศอินเดียมากขึ้น ตลาดเครื่องประดับทองคำในอินเดียจึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอีกมาก

ในปี 2554 ขนาดตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย (ประเมินจากยอดขายปลีก) มีมูลค่า 37,415.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องประดับทองคำซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 30,422.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 81.31 ของเครื่องประดับทั้งหมดที่จำหน่ายในตลาดอินเดีย โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียจากปี 2554 จนถึงปี 2558 จะมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7.0 ต่อปี โดยในปี 2558 คาดว่าขนาดตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียจะมีมูลค่าถึง 52,274.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเครื่องประดับทองคำจะยังคงเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดมีมูลค่า 41,396.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 79.19 ของอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่าสัดส่วนของเครื่องประดับทองคำลดลงจากร้อยละ 81.31 ในปี 2554 เหลือร้อยละ 79.19 ในปี 2558 โดยเครื่องประดับเพชรมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.08 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 18.27 ในปี 2558 อันเป็นผลมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

บทสรุปสำหรับภาคเอกชนไทย

ตลาดอินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีศักยภาพสูงมาก ความต้องการบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะเครื่องประดับทองคำที่ถือว่าเป็นตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก คาดว่าภายในปี 2558 ขนาดตลาดของอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียจะขยายตัวเป็น 52,274.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นเครื่องประดับทองคำถึง 41,396.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยไปยังอินเดียในปี 2553 ยังมีมูลค่าเพียง 339.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น และที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเพชรและอัญมณีเป็นหลัก โดยมีการส่งออกเครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่าเพียง 13.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 3.94 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยไปยังตลาดอินเดียเท่านั้น

ผู้ผลิต/ผู้ส่งออก/นักธุรกิจไทยควรมีความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับผู้บริโภคอินเดียว่าเริ่มมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปแล้ว คือ ผู้บริโภคอินเดียรุ่นใหม่นิยมเครื่องประดับขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีการออกแบบสร้างสรรค์ที่ทันสมัย สามารถสวมใส่หรือประดับได้ทุกวัน และที่สำคัญกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่นิยมซื้ออัญมณีและเครื่องประดับที่มีตรายี่ห้อ

นอกจากนั้น รัฐบาลอินเดียเพิ่งประกาศเปิดเสรีค้าปลีกสำหรับนักธุรกิจต่างชาติให้สามารถถือหุ้นได้ถึง 100% สำหรับธุรกิจค้าปลีกประเภท Single Brand เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับธุรกิจค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับที่ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าไปดำเนินธุรกิจได้ง่ายขึ้นโดยสามารถเข้าไปเปิดกิจการร้านค้าปลีกและเน้นสร้าง Brand ของอัญมณีและเครื่องประดับไทยในอินเดีย แทนที่จะยึดติดอยู่กับรูปแบบการส่งออก (Export Mode) แบบเดิมๆซึ่งไม่ทันกับโลกที่เปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งรูปแบบการเข้าตลาดแบบใหม่นี้จะสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคอินเดียที่นิยมซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีตรายี่ห้อ ซึ่งโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะประสบความสำเร็จจะมีมากขึ้น

รายชื่อผู้นำเข้าและผู้ค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดีย

Gitanjali Group

801/802 Prasad Chambers,

Opera House, Mumbai 400004

Tel: 91-22-23630272 Fax: 91-22-23630363

Email : ipo@gitanjaligroup.com

Website : www.gitanjaligroup.com

Titan Industry Limited

3, Sipcot Industrial Complex,

Hosur - 635126

Tel : 91-4344-664199 Fax : 91-4344-276037

Email : corpcomm@titan.co.in

Website : www.titan.co.in

B R Designs

Contact Person: Mr. Dilip Shah ( Owner)

2nd Floor, Kamal Bld 9, Nr Ring Rd,

Nanpura Surat 1.

          Tel: 91-261-2651324/ 25          Fax:91-261-2231011

Email:info@brdesignsjewellers.com

Website: www.brdesignsjewellers.com

Harsh Precious Metals Pvt Ltd.

Contact Person: Mr. Vijay Gopani

(Managing Director)

718, Gokale Road, Lalita Society,

Vile-Parle (E), Mumbai- 400 057.

          Tel: 91-22-26170476/ 26100608             Fax: 91-22-266110959
          Email: hpm97@vsnl.net                     Website: www.hpm.in

P & S Jewellery Ltd

Contact Person: Mr. Jigar Shah (Manager)

Sakina Manzil.2,

403, New Chawl Road, Mumbai -4.

Tel: 91-22-23676337.

Mob : 9820187733

Fax:91-22-23685646

Email:jigars@pandsjewellery.com

Paras Exports

Contact Person: Mr. Vishal Gandhi (Partner)

17-Gordhandas Building, 116-J.S.S Road,

Girgaum Mumbai 400 004.

Tel: 91-22-23666807

Fax: 91-22-23800969

Email: contact@parasexports.com

Website: www.parasexports.com

Bijoux Argent Pvt.Ltd.

Contact Person: Mr. Arvind Bapna (C.E.O)

20, Engineer Bldg, 288 SBS Road,

Fort, Mumbai.

Tel: 91-22-22642364

Fax: 91-22-22657485

Email Add: bijouxargent@gmail.com

Website: www.bijouxargent.com

Krish Jewels

Contact Person: Mr. Rajesh Mehta (C.E.O)

Address : 119/A, Dharam Palace,

1st Flr, Hughes Road,

Mumbai 400007

Tel- 91-22-40044042

Mobile No: 91-9820284011

Email: rajmehta71@gmail.com

Miracle Gems

Contact Person: Mr. Tejas Mehta

60/62, Govind Niwas, Dhanji Street, Zaveri Bazaar

Mumbai, Maharashtra - 400 001, India

Telephone : 91-22-23448945

Mobile : 91-9820655050

Email: miraclegems@rediffmail.com

Elegant Creations (P) Ltd

701, Meenaxi Appts

Gokuldham , Goregaon(E)

Mumbai-400 063

Tel: 91-22-28490458

Fax: 91-22-28490619

Email- ravimogra@yahoo.co.in

Surya Jewellers

Contact Person: Mr. Raju Gurnani ( Director)

L/3, Ratnam Complex, Opp Cargo Motors,

C.G.Road, Ahmedabad 380006.

Tel: 91-079-26466779

          Fax: 91-079-26466779             Email: suryajewell@rediffmail.com

SILVERLINE JEWELLERS PVT. LTD.

Contact Person: Mr. Peter Francis Eric ( Director)

5, Johar Dalace, 1st Floor,

299 Kalbadeni Rd, Mumbai 400002

Tel: 91-22-66368908/ 109

Fax: 91-22-66369727

Email: peter.eric@imagemjewels.com

Tankaria Exim Pvt Ltd

Contact Person: Mr. Dinesh Parekh (Director)

B 2 Sakina Manzil

324-330 Rajaram Mohan Roy Road

Charni Road, Mumbai 400004, India

Tel: 91-22-23696585

Fax:: 91-22-23696524

Email: dinesh@tankaria.com

Website: www.tankaria.com

Rapoport India Pvt Ltd

Contact Person: Ms. Pooja Kotwani

Position : (Managing Director)

Address : 415, The Jewel, Mama Parmanad Marg,

Opera house Mumbai

Tel : 91-22-66272620

Fax: 91-22-66272636

Email id: pooja@diamonds.net

Website: www.rapaport.com

Classic Diamonds ( India) Ltd.

Contact person: Mr. Vishal Acharya(Dy. G.M,sales)

Unit No E-5, Sub Plot No 15,

WICELF - 11& 12,

MIDC, ( Marol) Andheri ( E), Mumbai 400093

Tel: 91-22-30811000

Fax: 91-22-30880170

Email: vishalacharya@classicdiamondsindia.com

Web: www.classicdiamondsindia.com

Param Exports

Contact person: Mr. Kinal Kakdiya (Director)

412, Jewel (Roxy Building)

M.P.Marg, Opera House

Mumbai 400004

Tel: 91-22-23690074

Fax: 91-22-23683572

Mobile No: 91-9820760067

Email: paramexp@bom5.vsnl.net.in

Shatam Manufacturing Co.

Contact person: Mr.Mukesh Goyani (Owner)

1805 - Panchratna, Opera House,

Mumbai - 400004

Tel: 91-22-23627112

Fax: 91-22-23637112

Email: shatam_mfg@hotmail.com

Jenya Jewels Pvt. Ltd

Contact Person : Mr.Sanjeev Mehta

Position : Director

Address : 25,Lavelle Road,

Banglore-560 001.

Tel: 91-80-22121819

Fax: 91-80-22121717

Email: jenya@jenya.mobi

Y-effe Jewelry

Contact Person : Mr. Riyaz Zaveri

Position : Director

Address : Queens Dia Bldg.,

Opera House,

Mumbai 400 004

Tel: 91-22-23696081

          Fax: 91-22-23594189              Email: riyaz-zaveri@aarzee.net

Aadit Gems

Contact Person : Mr Shrenik Zaveri

Designation : Director

Address : 54, Dream Land building, Opera House,

Mumbai 400 006

Tel: 91-22-23649954

Fax: 91-22-23649954

Email: shrenikz@hotmail.com

Universal Jewellery Ltd.

Contact Person : Mr. Sanjay Gethani

Designation : Director

Address : 105 Mehta Bhavan,

Near Hinduja College,

Opera House Mumbai 400 004

Tel: 91-22-23880666

Email: srgethani@gmail.com

Sovereign Diamonds Ltd

Contact Person : Mr. Ajay Gethani

Designation : Director

Address : Sovereign House,

11 A Mahal Indl Estate,

Mahakali Caves Rd.,

Mumbai- 400093

Tel: 91-22-26870537

Fax: 91-22-66923880

Email: sovereignjewellery@hotmail.com

Company Name :M/s Totaram Papalal & Sons Jewelers

Contact Person : Mrs. Sheetal Gupta

Position : Partner

Address : 4-1-966, Abid Road,

Hyderabad 500 501

Tel: 91-40-24755225 Email: agupta@totaram.com

Arihant Diamonds

Contact Person :Mr. Deepanwar Mogha

Designation : Partner

Address : 802, Pancharatna, Opera House,

Mumbai 400 004

Tel: 91-22-23693519 Fax: 91-22-23631734 Email: ada4@sify.com

Laxmi Jewellery

Contact Person : Mr. Vipul Yashwantrai Mehta

Designation : Proprietor

1, Anand Complex, Opp. Shilp,

C G Road,Ahemdabad -06

Tel: 91-79-26446840

Fax: 91-79-30070956

Email: ijewellery@yahoo.com

Vishrut Gems

Contact Person : Mr. Kayvan Sanghvi

Position: Partner

Address: 305, Aman Chambers,113,

M P Marg, Mumbai 400 004

Tel: 91-22-23637211

Fax: 91-22-23630914

Email: vishrutg@vsnl.com

Gokul Jeweller

Contact Person : Mr. Anand kimtee

Position : Partner

Address : D-6, Mayur Kushal Complex,

Abids,Hyderabad 500 001

Tel: 91-40-55669866

Fax: 91-40-55783074

Email: gokuljewellers@yahoo.com

Anurag Gems

Contact Person : Mr. Anurag Saklecha

Designation : Partner

246 Mani Ram Ki Kothi Ka Rasta,

Haldiyon ka Rasta,Johari Bazar,Jaipur

Tel: 91-141-2574020

Fax: 91-401-2572886

Email: anurag_gems@hotmail.com

Genesis Diamond & Jewellery Co PvtLtd.

Contact Person : Mr. Anish Mody

Position : CEO

511 Krishna Bhavan, SVP Road,

Opera House, Mumbai 400 004

Tel: 91-22-56201968

Fax: 91-22-23866882

Email: genesis-dj@gmail.com

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ