สินค้าไทยที่เยอรมนีนำเข้าจากไทย ๑๐๐ พิกัดแรกปี ๒๕๕๔ (ม.ค.-ก.ย.)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 16, 2012 11:52 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑. ตามตัวเลขสถิติ Eurostat เรียบเรียงโดย World Trade Atlasในช่วง ๙ เดือนแรกปี ๒๕๕๔(ม.ค.-ก.ย.) การค้าระหว่างเยอรมนีและไทยเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น ๖,๕๔๔.๘๙ เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ ๒๑.๘ โดยเยอรมนีนำเข้าสินค้าจากไทยเป็นมูลค่า ๓,๑๖๐.๔ ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดเยอรมนีร้อยละ ๐.๓๓ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๖.๕ และมีการส่งออก สินค้าไปยังประเทศไทยเป็นมูลค่า ๓,๓๘๔.๕ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ ๐.๔๑ ของการส่งออกทั้งสิ้นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๗.๒ ในด้านการนำเข้าประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ ๔๑ ของเยอรมนี ประเทศคู่ค้าด้านการนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส และจีน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๑๓.๐, ๗.๖ และ๗.๑ ตามลำดับ ในด้านการส่งออกไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ ๔๔ ตลาดส่งออกหลักของเยอรมนี ได้แก่ ฝรั่งเศสสหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๙.๕, ๖.๗ และ ๖.๔ ตามลำดับ

๒. จำแนกตามพิกัด H.S. สินค้าที่เยอรมนีนำเข้าจากไทยในอันดับต้นๆ เป็นสินค้าอุตสาหกรรมเสียส่วนใหญ่ ที่สำคัญๆ ได้แก่

๒.๑ แผ่นแม่เหล็กบันทึกข้อมูล (พิกัด ๘๔๗๑ ๗๐๕๐) นำเข้าเป็นมูลค่า ๒๔๖.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ ๗.๘ ของมูลค่าสินค้านำเข้าทั้งสิ้นจากไทย การนำเข้าลดลงร้อยละ ๑๗.๐ คิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดเยอรมนีร้อยละ ๙.๒๘ แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ เนเธอแลนด์ จีนและเช็ก มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๒๖.๑, ๑๘.๔ และ ๙.๔ ตามลำดับ

๒.๒ เครื่องเพชรพลอยและส่วนประกอบทำด้วยเงิน (พิกัด ๗๑๑๓ ๑๑๐๐) มีการนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า ๑๐๙.๙ ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๒๔.๙ หรือร้อยละ ๓.๕ ของสินค้าที่นำเข้าจากไทย มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๑.๑ แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่เดนมาร์ค จีนและอิตาลี มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๓๐.๙, ๒๒.๓ และ ๔.๓ ตามลำดับ

๒.๓ ก๊อกน้ำใช้กับอ่างอาบน้ำอ่างล้างมือ (พิกัด๘๔๘๑ ๘๐๑๑)นำเข้าเป็นมูลค่า ๗๔.๑ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ ๒.๓ ของสินค้านำเข้าจากไทย คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๑๒.๖ การนำเข้าลดลงร้อยละ ๔.๔ แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ จีน โปรตุเกสและอิตาลี มีส่วนแบ่ง ตลาดร้อยละ ๒๔.๕, ๒๒.๙ และ ๑๓.๕ ตามลำดับ

๒.๔ วงจรรวมแบบอื่นๆ (พิกัด ๘๕๔๒ ๓๙๙๐) มีการนำเข้ามูลค่า ๖๘.๕ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ ๒.๒ ของสินค้านำเข้าจากไทย มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๑.๗แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและเกาหลีใต้ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ๑๗.๑, ๑๔.๑ และ ๑๐.๐ ตามลำดับ เป็นต้น

๓. สำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร (พิกัด ๐๑ — ๒๔) ในช่วง ๙ เดือนแรกปี ๒๕๕๕ มีการนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น ๔๐๒.๓ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ ๑๑.๕ ของการนำเข้าจากไทยทั้งสิ้นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๔.๘ สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้ามาก ได้แก่

๓.๑ เนื้อไก่แปรรูป ปรุงแต่ง (พิกัด ๑๖๐๒ ๓๒๑๙) มีการนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า ๔๘.๐ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๒๐.๕ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๗.๔ แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆได้แก่ เนเธอแลนด์ บราซิล และอิตาลี มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๓๐.๐, ๑๘.๔ และ ๘.๑ ตามลำดับ

๓.๒ กุ้งกระป๋องหนักไม่เกิน ๒ กก. (พิกัด ๑๖๐๕ ๒๐ ๙๑) มีการนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า๒๕.๐ ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๓๗.๔ มูลค่าลดลงเล็กน้อยร้อยละ ๐.๗ แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ และเวียดนาม มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๑๔.๙, ๑๓.๘ และ ๑๓.๗ตามลำดับ

๓.๓ สับปะรดกระป๋องมีน้ำตาลเจือปน ๑๓ — ๑๙ % (พิกัด ๒๐๐๘ ๒๐๗๙) นำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า ๒๓.๓ ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๓๙.๗ มูลค่าเพิ่มขึ้น ๑๐๘.๔ %แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ อินโดนีเชีย เนเธอแลนด์ และเคนยา มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๒๒.๖, ๑๔.๒และ ๑๔.๐ ตามลำดับ

๓.๔ น้ำมันปาล์ม (พิกัด ๑๕๑๑ ๑๐๙๐) เป็นการนำเข้าจากไทยเป็นครั้งแรกเป็นมูลค่า๑๗.๒ ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๒.๗ แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ อินโดนีเชียเนเธอแลนด์ และเคนยา มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๒๒.๖, ๑๔.๒ และ ๑๔.๐ ตามลำดับ ๓.๕ กุ้งต้มสุกแช่เย็น แช่แข็ง (พิกัด ๐๓๐๖ ๑๓๕๐) นำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า ๑๗.๑ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๙.๔ มูลค่าลดลงร้อยละ ๒๙.๔ แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆได้แก่ เวียดนาม บังกลาเทศ และเนเธอแลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๒๖.๘, ๑๔.๓ และ ๑๔.๒ ตามลำดับ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรุงเบอร์ลิน


แท็ก เยอรมนี   สหรัฐ   Trade   tat  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ