สถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจาเดือนธันวาคม ๒๕๕๔

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 22, 2012 17:31 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจาเดือนธันวาคม ๒๕๕๔

๑. สถานการณ์ส่งออก

ตลอดปี ๒๕๕๔ (ม.ค. — ธ.ค.) ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้น ๑,๘๖๖.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๑,๗๐๘.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ ๙.๒๙ โดยมีสินค้าส่งออก ๕ อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ๑๗๘.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (๑.๔๖%) ยางพารา ๑๖๗.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ( ๓๙.๖๐%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ๑๔๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๑๖.๘๑%) ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง ๑๑๐.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ๑๑.๗๒%) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ๙๗.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ(๔,๖๐๓.๕๒%)

๒. การวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวม

การส่งออกมาอิตาลีตลอดปี ๒๕๕๔ (ม.ค. —ธ.ค.) เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙.๒๙ % เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่พิจารณาเฉพาะเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ มูลค่าการส่งออก ๑๑๓.๓๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งส่งออกมูลค่า ๑๐๓.๘๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๑๑% วิเคราะห์ได้ ดังนี้

ในแง่ของเศรษฐกิจของอิตาลี อาจจะสรุปได้ดังนี้

  • คนอิตาเลียนร้อยละ ๔๘ คิดว่าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจที่ก้าลังเผชิญอยู่นี้ค่อนข้างจะรุนแรงและส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่มากและร้อยละ ๓๖ เชื่อว่าสภาพความเป็นอยู่ในครอบครัวจะตกต่ำลงในปี ๒๕๕๕ (ตามที่มีการส้ารวจของ CONFESERCENTI หรือสมาพันธ์ผู้ประกอบการให้บริการสาธารณะ เช่น ร้านค้า บาร์ ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว) ยิ่งไปกว่านั้น คนอิตาเลียนร้อยละ ๘๐ จะลดการใช้จ่ายต่อเดือนลงเพื่อให้สามารถอยู่ได้ภายใต้มาตรการการรัดเข็มขัดด้านงบประมาณของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประชาชนที่มีรายได้ระดับกลาง - ต่ำ
  • สมาพันธ์ผู้บริโภคแห่งอิตาลี (FEDERCONSUMATORI) ได้คาดการณ์ว่าในปี ๒๕๕๕ ก้าลังการบริโภคของครอบครัวชาวอิตาเลียนจะลดลง ๒,๑๐๓ ยูโร โดยมาตราการรัดเข็มขัดด้านงบประมาณของรัฐบาลที่เพิ่งประกาศเมื่อต้นเดือนนี้ (เพื่อให้ตัวเลขตามที่อียูต้องการ) ท่ามกลาง
สถานกาณ์ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก
  • ตลาดด้านแรงงานก็ยังถึงว่ามีปัญหาอยู่เพราะตามสถิติของ ISTAT มีคนตกงานตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเริ่มเกิดขึ้นจนถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ เพิ่มเป็น ๖๗๐,๐๐๐ คน และสถานการณ์นี้สร้างปัญหาให้กับเด็กรุ่นใหม่มากเพราะอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึง ๓๐% เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ (นับเป็นอัตราว่างงานสูงสุดนับแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา และนี่เป็นอัตราว่างงานเพิ่มขึ้นถึง ๘.๖%
  • แนวโน้มทางการตลาดยังดีอยู่ แม้ว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้จะลดลงเนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของอิตาลีและยุโรปและส่วนหนึ่งเกิดจากผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในประเทศไทย ซึ่งท้าให้การผลิตสินค้าของไทยและการส่งของล่าช้าโดยเฉพาะสินค้าประเภทรถยนต์และชิ้นส่วน ยางพารา เครื่องจักรและอาหารทะเลแช่แข็ง
  • สินค้าที่มีการส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัดคือ แอร์คอนดิชั่น รถยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า (โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์) รวมไปถึงผ้าผืน เป็นต้น
  • ในส่วนตัวเลขรายเดือนแม้ว่าเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ จะเห็นการส่งออกมีตัวเลขสูงถึง ๑๑% หากแต่เกิดจากการที่การส่งออกในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ลดลงอย่างมากเนื่องจากผลของน้ำท่วมและมีสินค้าเกี่ยวกับเทศกาลคริสต์มาสที่มีการสั่งซื้อล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงต้นปี
  • เป็นที่น่าสังเกตว่าสินค้าไขมันจากสัตว์และน้ำมันจากพืชมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นจนติดอันดับ ๕ และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๔,๖๐๓.๕๒ สินค้าชนิดนี้เพิ่งจะมีการน้าเข้าตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา อาจจะด้วยเหตุผลของการที่มีราคาถูกและในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้อุตสาหกรรมอาหารของอิตาลีจะหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนไขมันและน้ำมัน เช่น น้ำมันข้าวโพดหรือทานตะวันแทนที่วัตถุดิบที่มีราคาสูงเช่น น้ำมันมะกอก แม้ว่าจะเหมาะกับสุขภาพและเหมาะแก่การลดความอ้วนมากกว่าก็ตาม ประเทศไทยส่งออกน้ำมันชนิดเข้มข้น ซึ่งเป็นน้ำมันพืชชนิดที่ใช้แทนเนยหรือมาร์การีนในการผลิตขนมอบต่างๆ

ISTAT ได้รายงานภาวะเศรษฐกิจรวม ดังนี้

GDP ในไตรมาส ๓ ของปี๒๕๕๔ ลดลง ๐.๒% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ ๒ และลดลง ๐.๑% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ส่งสัญญาณ ว่าอิตาลีอาจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งที่ ๔ นับแต่ปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมา เป็นที่คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะหดตัวในไตรมาสสีของปีใหม่ รัฐบาลอิตาลีคาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวและจะขยายตัวเพียง ๐.๖% ตลอดทั้งปีและลดลง ๐.๔% ในปี ๒๕๕๕

ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคการผลิตร่วงแตะ ๙๒.๕ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๒ จากระดับ ๙๔ ในเดือนพฤศจิกายน และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ในช่วง ๙๓.๖ — ๙๓.๘ โดยเฉลี่ย

การส่งออก/น้าเข้า ในช่วง ๑๑ เดือนแรกของปี ๒๕๕๔เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า การส่งออกเพิ่มขึ้น ๑๑.๙% และการน้าเข้าเพิ่มขึ้น ๑๐.๖% โดยที่มีแนวโน้มที่ดีในทุกตัวสินค้า ยกเว้นสินค้าที่มีความคงทน เช่น กลุ่มผลิตสินค้าไฟฟ้าเป็นต้น

การส่งออก/น้าเข้ากับประเทศนอกกลุ่มอียู มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ทั้งน้าเข้าและส่งออกคือ น้าเข้า ๑๕.๑% และส่งออก ๑๕.๒%

ค้าสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม ในช่วง ๑๑ เดือน (ม.ค. — พ.ย.) ของปี ๒๕๕๔ เพิ่มขึ้น ๗% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (ความต้องการซื้อจากต่างประเทศ +๑๑.๘% และค้าสั่งซื้อในประเทศ +๔.๑%) อย่างไรก็ตาม เฉพาะเดือนพ.ย. ๕๔ ค้าสั่งซื้อลดลง -๐.๗% (จากในประเทศ -๓.๑% ขณะที่ค้าสั่งซื้อจากต่างประเทศกลายเป็นบวกคือ +๓.๕% สินค้าที่มีแนวโน้มลดลงได้แก่ คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรและเคมีภัณฑ์

ยอดจ้าหน่ายปลีก ในช่วง ๑๑ เดือน (ม.ค. — พ.ย.) ของปี ๒๕๕๔ ลดลง —๑% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (แยกเป็นสินค้าอาหาร +๐.๒% และสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร -๑.๕%) โดยสินค้าที่มียอดขายปลีกลดลงได้แก่ เครื่องดนตรี เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอและรองเท้า

ภาวะเงินเฟ้อ ในเดือน ธ.ค. ๕๔ เพิ่มขึ้นสูงถึง +๓.๓% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและเพิ่มขึ้น +๐.๔% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อของปี ๒๕๕๔ คือ +๒.๘% สินค้าทุกขนิดมีราคาสูงขึ้น (ยกเว้นด้านการโทรคมนาคม) สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือ การขนส่ง(น้ำมัน) ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน(แก๊สหุงต้ม เครื่องท้าความร้อนและไฟฟ้า)เครื่องดื่ม

มูลค่าของวัตถุดิบ เมื่อเดือน ธ.ค. ๕๔ เป็นครั้งแรกที่ตัวเลขของวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆขยับตัวสูงขึ้น หลังจากที่อยู่ในสภาวะคงที่มาตลอด วัตถุดิบที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นคือ สินค้าที่เกี่ยวกับแฟชั่น ได้แก่ ขนสัตว์ ผ้า เส้นด้ายใยสังเคราะห์และอาหาร

๓. ทั้งนี้ วิเคราะห์แยกรายสินค้าที่มีการส่งออกลดลงอย่างมีนัยส้าคัญ ได้ดังนี้

สินค้าหลักที่ลดลง

สินค้าหลักที่ไทยส่งออกมายังอิตาลีที่มีมูลค่าลดลงคือ เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนซึ่งตลอดปี ๒๕๕๔ การส่งออกของไทยลดลง -๑๖.๘๑% ซึ่งลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้

๓.๑. เครื่องปรับอากาศ

ตัวเลขที่ลดลงเกิดจากการที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในอิตาลีซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการก่อสร้าง คนอิตาเลียนส่วนใหญ่อาศัยในบ้านที่มีเครื่องปรับอากาศแบบติดตั้งและแบบเคลื่อนย้ายได้และในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้คนจะไม่เปลี่ยนแอร์ใหม่ หรือในครัวครอบที่ไม่มีแอร์ก็คิดว่าไม่จ้าเป็น การก่อสร้างบ้านและตึกใหม่ๆมีน้อยลง ความต้องการของแอร์ก็ลดลงเช่นกัน

  • ตามผลส้ารวจของสมาคมผู้จ้าหน่วยสินค้าเครื่องปรับอากาศของอิตาลีปรากฏว่าร้อยละ ๒๑ ที่มียอดการจ้าหน่ายที่สูงขึ้นในปี ๒๕๕๔

เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ร้อยละ ๓๘ ยอดขายลดลงและในปี ๒๕๕๕ คาดว่ายอดจ้าหน่ายโดยรวมจะลดลง

  • ในเดือนธันวาคม มียอดจ้าหน่ายแอร์เพิ่มขึ้น ๑๙.๐๔% เทียบกับยอดขายเมื่อช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้ว่าจะเป็นหน้าหนาวแต่จากการ “โปรโมชั่น” สินค้าที่มีในสต๊อค และการติดตั้งก็ถูกกว่าในช่วงใกล้หน้าร้อน
  • โดยทั่วไปสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านในช่วง ๑๑ เดือนแรกของปี ๒๕๕๔ ลดลง -๔.๗% ตามที่ ISTAT คาดการณ์ไว้ว่าจะลด ลง -๔.๖%

๓.๒. รถยนต์

นอกจากนี้ยังพบว่าแนวโน้มการซื้อรถยนต์ในอนาคตยังอยู่เกณฑ์ค่อนข้างต่ำ (คนอิตาเลียน ๑ ใน ๕ คน ต้องลดการใช้รถส่วนตัว) และค่าใช้จ่ายในการใช้รถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ น้ำมันมีราคาสูงขึ้น (น้ำมัน +๑๕.๔ % ดีเซล +๒๔.๕% ตลอดปี) ค่าทางด่วนขึ้นประมาณ +๓.๑% ค่าประกัน +๒.๙% ค่าจอดรถ +๕.๓%

  • ข้อมูลจาก UNRAE (Foreign Car Retailers Association) ได้รายงานว่าตลอดปี ๒๕๕๔ (ม.ค. — ธ.ค.) ยอดการจดทะเบียนยานยนต์ในเชิงพาณิชย์ (รถบรรทุกและชิ้นส่วนยานยนต์) ลดลง — ๖.๑% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุที่ส้าคัญของตัวเลขที่ลดลง เนื่องจากการก่อสร้างบ้านอาคารต่างๆลดลง การปล่อยเงินกู้ของธนาคารยากขึ้น การขยายที่จอดรถตามที่ต่างๆ ก็เลยหยุดชะงัก คาดการณ์ว่าในปี ๒๕๕๕
  • ตลาดรถมือ ๒ ตลอดปี ๒๕๕๔ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ +๐.๖% เทียบกับเมื่อปีก่อน ที่มีการเปลี่ยนมือผู้จดทะเบียน ๔,๕๗๑,๑๘๒ คน แสดงให้เห็นว่าตลาดรถยนต์ใหม่ยังซบเซาและคนเลือกใช้รถเก่าที่มีราคาถูกมากกว่า
  • โดยรวมการผลิตรถยนต์ในอิตาลี (ตามสติถิ ANFIA ระหว่าง ม.ค. — พ.ย. ๒๕๕๔ คือ ๔๕๕,๖๓๑ คัน ลดลงร้อยละ -๑๔.๗%

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

คู่แข่งของประเทศไทย (ตามตัวเลขการน้าเข้าของอิตาลีจนถึง ต.ค. ๕๔ โดย World trade Atlas) ไทยมีปัญหาในเรื่องการส่งออกและอยู่ในอันดับที่ ๔๙ ของโลก โดยอยู่ในอันดับ ๖ ของเอเชีย (รองจากจีน, อินเดีย,เกาหลีใต้, อินโดนีเซีย และไต้หวัน) ทั้งนี้ไม่นับรวมญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในอันดับต้นของเอเชียและเป็นที่ ๓ ของตลาดโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดคือ ๗.๕๘% ส่วนแบ่งตลาดของไทยคือ ๐.๓๖% ขณะที่อินเดียมีส่วนแบ่ง ๑.๒๒%

ส่วนสินค้าน้าเข้าของอิตาลีจากประเทศไทยยังคงเป็นยางพารา เครื่องจักร(แอร์คอนดิชั่น และอุปกรณ์ในส้านักงาน) อาหารทะเล ส่วนการน้าเข้าของอิตาลีจากประเทศอื่นคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเสื้อผ้าจากจีน เครื่องจักร เหล็ก จากไต้หวัน เคมีภัณฑ์และยางพาราจากอินโดนีเซีย ส่วนเกาหลีใต้อิตาลีน้าเข้า เรือ เหล็ก และรถยนต์ส่วนอินเดีย น้าเข้าน้ำมัน เหล็กและรถยนต์

๔. ข้อคิดเห็น

คาดการณ์

จากสถิติของ ISTAT ในเดือน ม.ค. ๕๕ ดัชนีความเชื่อมั่นมีดังนี้

  • ผู้บริโภคยังคงที่หรือว่าต่ำกว่าสภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมและส้าหรับผู้ว่างาน เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นความต้องการในการจับจ่ายใช้สอยมีแนวโน้มลดลง
  • สินค้าที่มีแนวโน้มที่ดีในเดือน ก.พ. ๕๕ คือ สินค้าเสื้อผ้าซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูหนาว (ซึ่งเริ่มประมาณต้นเดือนมกราคม) อัญมณีและเครื่องประดับ ของขวัญ ที่จะใช้ในเทศกาลวาเลนไทน์ อย่างไรก็ตาม ยอดการจ้าหน่ายไม่น่าจะสูงนัก เนื่องจากยอดจ้าหน่ายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้และบริษัทต่างๆต้องเช็คสต๊อคสินค้าในช่วงต้นเดือน ม.ค. ก่อนที่จะเริ่มลดราคาสินค้าที่หมดฤดูกาลให้สินค้าในร้านและในโกดังมีจ้านวนน้อยลง

แนวโน้มของปี ๒๕๕๕

จากตัวเลขของธนาคารแห่งชาติอิตาลีแนวโน้มของปี ๒๕๕๕ มีดังนี้

  • เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัว — หนี้สาธารณะของประเทศในเขตยูโรยังคงมีภาวะไม่มั่นคง เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกา ท้าให้ตลาดโลกยังคงไม่มั่นใจกับเศรษฐกิจของทั้ง ๒ ภูมิภาค
  • เศรษฐกิจในอิตาลีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในประเทศ และต่างประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ ๓ ของปี ๕๔ GDP ของอิตาลีลดลง ๐.๒% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ ๒ ซึ่งส่งผลกระทบต่อไตรมาสที่ ๔ เช่นกัน
  • GDP อิตาลีได้รับผลกระทบจากเงินกูและหนี้สาธารณะของประเทศการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งสภาได้ผ่านการงบประมาณของปี ๒๕๕๕ เมื่อเดือนธันวาคม โดยจะมีการขยายพันธบัตรและปรับปรุงหนี้เป็นเวลา ๓ ปีระหว่าง ๒๕๕๕ — ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งส้าคัญตามที่ได้ให้สัญญากับ อียูไว้
  • เดือน ม.ค. ๒๕๕๕ สมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (CONFINDUSTRIA) ได้ประกาศ

การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของอิตาลีว่าจะอยู่ในภาวะถดถอยโดยมีตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจสรุปได้ ดังนี้

                                    ปี ๒๕๕๔      ปี ๒๕๕๕       ปี ๒๕๕๖
               GDP                    ๐.๔%       -๑.๕%           ๐%
               การบริโภค               ๐.๔%       -๑.๓%        -๑.๑%
               การลงทุน                 -๑%       -๔.๙%         ๐.๗%
               การส่งออก               ๖.๑%        ๐.๗%         ๔.๙%
               การน้าเข้า               ๐.๘%         -๓%         ๓.๑%
               ภาวะเงินเฟ้อ             ๒.๙%         ๓%ๆ         ๒.๔%

*****************************************************

ส้านักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ

๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๔


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ