หมดยุคแรงงานราคาถูกในจีนจริงหรือ...???

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 29, 2012 14:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

หมดยุคแรงงานราคาถูกในจีนจริงหรือ...???

สถานการณ์แรงงาน

สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่มีการจ้างงานและลูกจ้างแรงงานมากที่สุดในโลก โดยมีอยู่ประมาณ 800 ล้านคน และในจำนวนนั้นเป็นแรงงานจากต่างถิ่นราว 130 ล้านคน ในระยะเริ่มต้นที่สาธารณรัฐ-ประชาชนจีนเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ได้อาศัยทรัพยากรแรงงานจำนวนมากช่วยในภาคการผลิต รวมทั้งการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปตีตลาดทั่วโลก อุตสาหกรรมในยุคแรกๆ ได้อาศัยแรงงานราคาถูกเหล่านี้มาช่วยให้สินค้าที่ผลิตในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีราคาถูกตามไปด้วย สินค้าที่ตีตราว่า “เมดอินไชน่า” จะให้ความรู้สึกกับผู้บริโภคว่าเป็นสินค้าราคาถูก เมื่อเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนเติบโตไม่หยุดยั้ง การพัฒนาสินค้า อุตสาหกรรม เกษตร บริการ ฯลฯ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เกิดปัญหาการแย่งลูกจ้างและแรงงานในภาคการผลิตและบริการ เมื่อลูกจ้างไม่เพียงพอ นายจ้างจึงจำเป็นต้องเพิ่มค่าจ้างแรงงานให้กับลูกจ้างเพื่อดึงให้ลูกจ้างเข้ามาทำงาน ซึ่งสถานการณ์การจ้างงานสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. ปัจจุบันขาดแคลนแรงงานทั้งที่มีฝีมือและไร้ฝีมือ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจรวดเร็วและต่อเนื่อง จึงมีความต้องการจ้าง

แรงงานจำนวนมาก

2. เนื่องจากตลาดมีความต้องการแรงงานสูง ลูกจ้างจึงเรียกร้องค่าแรงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการขอเพิ่มค่าแรงนั้น นอกจากจะทำให้

สถานการณ์การขาดแคลนแรงงานแล้ว ยังมีสภาวะเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นมาก ตามมาด้วยปัญหาเงินเฟ้อ ฯลฯ

3. ตลาดแรงงานในจีนมีความตึงเครียด เนื่องจากนายจ้างต้องการจ้างลูกจ้างราคาถูก โดยอ้างว่าลูกจ้างไม่เคยทำงานมาก่อน

ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ส่วนลูกจ้างต้องการค่าแรงสูงขึ้น

4. นายจ้างบางคนอาจจะต้องออกค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าที่พักและอาหารนอกเหนือจากค่าจ้างในสัญญาการจ้างลูกจ้าง

5. ลูกจ้างมีนัดการหยุดงานบ่อยครั้งขึ้น ส่วนใหญ่มักจะมีสาเหตุมาจากการไม่พอใจกับรายได้ที่น้อยเกินไป สภาพแวดล้อมการทำงาน

6. นโยบายลูกคนเดียว ทำให้แรงงานเข้าสู่ตลาดน้อย นอกจากนี้ พ่อแม่ที่มีฐานะบางคนไม่ประสงค์ที่จะให้ลูกทำงานหนักหรือไม่ต้อง

ทำงาน

7. การหาลูกจ้างงานบริการประเภท พนักงานบริการในร้านอาหาร แม่บ้าน ดูแลเด็กหรือคนแก่ ค่อนข้างยากเพราะถือเป็นงานหนัก

8. กฎหมายแรงงานฉบับใหม่ ทำให้นายจ้างต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเป็นค่าสวัสดิการให้กับลูกจ้างในการจ้างงานมากขึ้น คือ

เงินสมทบให้กับลูกจ้างที่เกษียณอายุ การเลิกจ้าง การประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ เงินช่วยเหลือลูกจ้างเมื่อคลอดบุตร

สาระสำคัญของกฎหมายแรงงานจีนฉบับใหม่

1. กฎหมายแรงงานฉบับใหม่นี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2008 กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับกับนายจ้างทุกคนไม่ว่าจะมีลูกจ้าง

จำนวนเท่าใดก็ตาม ตามกฎหมาย การจ้างงานต้องทำขึ้นเป็นสัญญา-ลายลักษณ์อักษร มีบทลงโทษกับนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

2. นายจ้างต้องกำหนดกฎ ระเบียบการปฏิบัติ เป็นลายลักษณ์อักษร หรือคู่มือการทำงานของลูกจ้าง นายจ้างจะไม่สามารถไล่ลูกจ้างออก

จากงานโดยไม่มีเหตุผลสมควรเมื่อลูกจ้างได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบการทำงานแล้ว

3. การทำสัญญาจ้างแบบจำกัดระยะเวลา หากมีการต่อสัญญาจ้างดังกล่าวมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ให้ถือว่าการจ้างงานนั้นเป็นสัญญาเปิด

(Open Term Contact) ซึ่งหมายถึงลูกจ้างจะได้รับการต่อสัญญาต่อเนื่องอัตโนมัติ จนกว่าลูกจ้างจะลาออกจากงานเอง

หรือลูกจ้างเกษียณอายุ

4. กรณีทดลองงาน นายจ้างต้องจำกัดระยะเวลาทดลอง โดยให้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในสัญญาการงาน ทั้งนี้ ระยะเวลาการทดลองงาน

ต้องไม่มากกว่า 6 เดือน ลูกจ้างยินยอมให้มีการทดลองงานได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และนายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างระหว่าง

ทดลองงานไม่น้อยกว่า 80% ของค่าจ้างเริ่มต้นในสัญญา

5. เมื่อลูกจ้างลาออกจากงานหรือเข้าทำงานกับนายจ้างใหม่ ซึ่งเป็นธุรกิจประเภทเดียวกันกับนายจ้างคนก่อน (หรือเป็นคู่แข่งของนาย

จ้างคนก่อน) นายจ้างคนก่อนสามารถทำข้อตกลง Non - Competition Agreement กับลูกจ้างได้ โดยข้อตกลงนี้จะมีอายุไม่

เกิน 2 ปี ซึ่งในกรณีนี้ นายจ้างคนก่อนจะต้องชดเชยให้กับลูกจ้างด้วยจนกว่าสิ้นสุดระยะเวลาในข้อตกลง (หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น

ค่ารักษาความลับ)

6. ในกรณีเลิกจ้างหรือให้ลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างต้องแจ้งลูกจ้างล่วงหน้าก่อน 1 เดือน ถ้าการแจ้งลูกจ้างก่อนหมดสัญญาจ้าง

นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้าง

7. กรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง และไม่สามารถตกลงกันได้ ให้นำข้อพิพาทร้องต่อหน่วยงานประนีประนอม

ของกระทรวงแรงงาน หรือนำข้อพิพาทฟ้องร้องต่อศาล

8. นายจ้างต้องรับผิดชอบในการจ่ายเงินค่าประกันสังคมให้ลูกจ้างแต่ละราย ดังนี้

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ค่ารักษาพยาบาล
  • ค่าประกันอุบัติเหตุ
  • ค่าประกันตกงาน
  • กองทุนซื้อบ้าน
  • ค่าคลอดบุตร

9. ในการจ่ายค่าล่วงเวลาให้กับลูกจ้าง นายจ้างจะกำหนดให้ลูกจ้างสามารถทำงานล่วงเวลาได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน และไม่

เกิน 24 ชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์

10. ถ้าลูกจ้างผิดสัญญา ลูกจ้างต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้นเช่นเดียวกัน

80’ 90’ ยุคของคนวัยทำงาน

ในสาธารณรัฐประชาชนจีนจีน ผู้ที่เกิดหลังปี 1980 หรือหลังปี 1990 เติบโตมากับยุคการเปลี่ยนผ่านจากการปกครองและเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มาเป็นการปกครองและเศรษฐกิจเสรีแบบสังคมนิยม เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จะเป็นผู้ที่ได้รับผลจากเศรษฐกิจจีนที่เติบโตและแข็งแรง ปัจจุบันมีอายุราว 25 -40 ปี เป็นวัยทำงานในปัจจุบัน และเป็นตัวแปรสำคัญของตลาดแรงงานในจีน คนในยุค 80’ 90’ มีพฤติกรรมของการทำงานที่มีผลต่อสังคมและเศรษฐกิจของจีน คือ

1. เป็นวัยทำงานที่เป็นที่ต้องการของนายจ้างอย่างยิ่ง ดังนั้น ลูกจ้างดังกล่าวจึงมีการเปลี่ยนงานบ่อย

2. เป็นผู้เกิดภายใต้นโยบาย “ครอบครัวมีลูกคนเดียว” จะมีความอดทนการทำงานน้อย

3. นายจ้างต้องปรับตัวให้สามารถหาลูกจ้าง โดยการลดคุณสมบัติบางอย่างลงเพื่อรับลูกจ้างเหล่านี้เข้าทำงาน

4. เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจเสรีแบบสังคมนิยม ซึ่งลูกจ้างบางคนมีความสามารถจนพัฒนามาเป็นนายจ้าง หรือเป็นเจ้าของ

กิจการที่มั่งคั่ง

กรณีศึกษา FOXCONN

FOXCONN ถือเป็นตำนานที่มีชีวิตของการจ้างงานของบริษัทต่างชาติที่ลงทุนในสาธารณรัฐประชาชนจีน FOXCONN เคยเป็นข่าวดังไปทั่วโลกจากลูกจ้างฆ่าตัวตายเนื่องจากทนรับกับสภาพบีบคั้นของสภาพการจ้างงานของบริษัทไม่ไหว ลูกจ้างต้องทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวัน และ 6 วันต่อสัปดาห์ หรือทำงานมากกว่านั้นตามที่นายจ้างสั่ง

FOXCONN มีการจ้างแรงงานเกือบ 1 ล้านคน 40% ของเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์ในโลกผลิตจากบริษัทในเครือของ FOXCONN การจ้างแรงงานไร้ผีมือหรือกึ่งมีฝีมือเพื่อปฏิบัติในสายการผลิตในโรงงาน เป็นการใช้แรงงานจำนวนมากมาผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ตามคำสั่งซื้อ

FOXCONN เป็นบริษัทไต้หวันที่รับจ้างผลิตสินค้ายี่ห้อดังๆ อย่าง Apple, Dell, Intel, Acer, Microsoft, Samsung ฯลฯ โดย FOXCONN เข้ามาลงทุนสร้างโรงงานผลิตสินค้าในหลายมณฑล ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (FOXCONN ยังมีโรงงานในอีก 13 ประเทศทั่วโลกด้วย) ซึ่งการรับงานผลิตจำนวนมากดังกล่าวทำให้บริษัทได้กำหนดให้ลูกจ้างทำงานอย่างต่อเนื่อง อันเป็นสาเหตุหนึ่งของสภาพการจ้างงานในบริษัทมีปัญหา อย่างไรก็ตาม บริษัทแก้ปัญหาสภาพการจ้างงานโดยการจ่ายค่าจ้างเพิ่มสูงขึ้น เฉพาะโรงงานในเมืองเสิ่นเจิ้น มีการเพิ่มค่าจ้างให้อีกถึง 25%

ค่าจ้างขั้นต่ำในจีน

รัฐบาลจะประกาศค่าจ้างขั้นต่ำในสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นทั้งรายชั่วโมงและรายเดือน โดยจะแตกต่างกันไปในแต่ละมณฑล ซึ่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของจีนฉบับที่ 12(ปี 2011-2015) มีแผนที่จะเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 13 ต่อปี

สรุปแนวโน้มการจ้างงานในจีน

สภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีผลให้ทำให้มีความต้องการแรงงานสูงมาก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า การผลิตที่จำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมากที่เคยรุ่งเรืองในจีนตะวันออก จะต้องมีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในจีนตอนในมากขึ้น ดังนั้น จึงมีบริษัทฯ ขนาดใหญ่หลายแห่งเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตสินค้าในเมืองตอนใน ไม่เว้นแต่บริษัท FOXCONN ที่เข้ามาตั้งฐานในมหานครฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน อย่างไรก็ตาม ในอนาคตการจ้างงานในสาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีทิศทางดังนี้

1. ลูกจ้างมีการศึกษามากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการทำงานที่จะให้ผลผลิตมากขึ้น

2. สัญญาจ้างฉบับใหม่ให้ผลตอบแทนลูกจ้างมากขึ้น โดยให้นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินค่าสวัสดิการต่างๆ ให้กับลูกจ้าง

3. นายจ้างต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน

4. นายจ้างอาจจะขยายอายุลูกจ้างที่สมัครงานสูงขึ้น

5. นายจ้างต้องพิจารณาให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นนอกจากสวัสดิการที่มีตามกฎหมาย

6. ปัจจุบันนายจ้างไม่สามารถจ้างลูกจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐบาลกำหนดได้ นายจ้างจำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างที่สูงมาก

ข้อคิดเห็น

แนวโน้มค่าจ้างแรงงานจะสูงขึ้น นายจ้างต้องแบกภาระต้นทุนวัตถุดิบและการแข็งค่าของเงินหยวน ซึ่งจะทำให้สินค้าจีนไม่ใช่สินค้าราคาถูกอีกต่อไป

*****************************************************

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง

กุมภาพันธ์ 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ