รายงานสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๕

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 9, 2012 11:36 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๕

สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีโดยรวม
  • ตามสถิติล่าสุดของ EUROSTAT รายได้ของอิตาเลี่ยนถือว่าต่ำที่สุดในยุโรป (อันดับ ๑๒) ต่ำกว่าไอซ์แลนด์ กรีซ ไซปรัสและสเปน จากการสำรวจเมื่อปี ๒๕๕๒ เงินเดือนของคนอิตาเลี่ยนอยู่ประมาณ ๒๓,๔๐๖ ยูโรต่อปี (ครึ่งหนึ่งของเยอรมนีหรือฮอลแลนด์) อัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นภายใน ๔ ปี อยู่ที่ร้อยละ ๓.๓ ขณะที่สเปนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๙.๔ และโปรตุเกสร้อยละ ๒๒
  • สมาคมผู้บริโภคของอิตาลี (Italian Consumers Associations) ยังเน้นด้วยว่า นอกจากปัญหาของรายได้ต่ำแล้ว อิตาลียังมีราคาพลังงานที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งและมีรายจ่ายต่อครัวเรือนที่ค่อนข้างสูง ค่าใช้จ่ายต่อวัน (อาหาร โทรศัพท์ รถยนต์ ท่าความสะอาดบ้าน) สูงถึงร้อยละ ๘๐ ของรายได้ขณะที่เยอรมันจะตกร้อยละ ๔๑ ในสหราชอาณาจักรและในฝรั่งเศสตกร้อยละ ๕๓
  • ในการบริโภคอาหารนั้นสมาคมผู้บริโภคระบุว่า ราคาอาหารสูงขึ้นร้อยละ ๕ ต่อปี (ตกประมาณ ๓๕๐ ยูโรต่อครอบครัว) โดยปัญหาหลักคือราคาน้ำมันที่สูงขึ้น (ดีเซลร้อยละ ๒๕ และเบนซินร้อยละ ๑๗) ซึ่งท่าให้อัตราค่าขนส่งสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อสินค้าสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งส่วนใหญ่จะกระทบสินค้าบริโภคซึ่งได้แก่ อาหาร ค่าขนส่งและปัญหาทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การว่างงานมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแบบดั้งเดิมของอิตาเลี่ยนคือ ครอบครัวร้อยละ ๓๓ ต้องลดค่าใช้จ่ายในการบริโภค, ร้อยละ ๖๐ ต้องเปลี่ยนเมนูอาหาร, ร้อยละ ๔๐ ซื้อจากร้านขายของราคาถูกหรือเลือกเฉพาะสินค้าลดราคา มีคนอิตาเลี่ยนจ่านวนไม่น้อยที่ปลูกผักผลไม้กินที่บ้านเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
  • สถานการณ์ของตลาดแรงงานก็ประสบปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรง (ตามสถิติของ ISTAT เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๔) คนว่างงานมีประมาณ ๒,๒๔๓,๐๐๐ คน ใกล้เคียงกับเมื่อปี ๒๕๕๔ อัตราว่างงานสูงมากโดยเฉพาะในนักศึกษาที่เพิ่งจบคือถึงร้อยละ ๓๑ ดัชนีว่างงานสูงถึงร้อยละ ๘.๙ และยังมีตัวเลขเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ ๓.๓
สถิติเศรษฐกิจโดยรวม
  • ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อปี ๒๕๕๔ โดย ISTAT เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี ๒๕๕๓ ร้อยละ ๕.๙ (โดยเป็นยอดสั่งซื้อจากต่างชาติร้อยละ ๑๐.๕ และจากในประเทศเพียงร้อยละ ๓.๒) แต่เมื่อวัดกันเดือนต่อเดือนแล้วยอดสั่งซื้อสินค้าลดลงร้อยละ ๔.๓ (โดยเฉพาะในประเทศลดลงร้อยละ -๕.๗ ขณะที่ต่างชาติลดลงร้อยละ -๑.๙) ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ลดลงของสินค้าคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์และเคมีภัณฑ์
  • ยอดขายปลีก ตลอดปี ๒๕๕๔ ลดลงร้อยละ - ๑.๓ เมื่อเทียบกับเมื่อปีก่อน สินค้าอุปโภคลดลงร้อยละ ๑.๘ ขณะที่สินค้าบริโภคไม่มีการเปลี่ยนแปลงสินค้าที่ลดลงอย่างมากคือ เครื่องดนตรี เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน รองเท้าและเครื่องหนัง ไม่มีสินค้าตัวไหนที่เพิ่มยอดขายในช่วงนี้
การนำเข้า/ส่งออก
  • การค้าของอิตาลีกับประเทศต่างๆทั่วโลกตลอดปี ๒๕๕๔ เทียบกับปี ๒๕๕๓ การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘.๙ ขณะที่ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๑.๔ สินค้าทุกประเภทอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักยกเว้นสินค้าที่มีความคงทนเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ในส่วนการค้ากับประเทศนอกยุโรป การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
๑๒.๖ ส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๙
  • อัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม ๒๕๕๕ เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ ๓.๒ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วและถ้าคิดเป็นต่อเดือนจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๐.๓ คาดกันว่าในปี ๒๕๕๕ อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะค่าโดยสาร ค่าใช้จ่ายในบ้านคือ แก๊ส ไฟฟ้า และเครื่องดื่ม
  • ค่าวัตถุดิบในเดือนมกราคม ๒๕๕๕ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๔ โดยเฉพาะเครื่องจักรและเคมีภัณฑ์ วัตถุดิบที่ใช้ในเรื่องแฟชั่น เช่น ขนสัตว์ ฝ้ายและใยสังเคราะห์ และเครื่องจักรเช่น อะลูมิเนียม เหล็กและ พลาสติก
  • ประเทศคู่แข่งและประเทศไทย (จากตัวเลขน่าเข้าของอิตาลีเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔) การค้าของไทยอยู่ในอันดับ ๔๙ ของโลก (ปัญหาจากน้ำท่วมใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการผลิตของไทย) แต่ยังอยู่ในอันดับ ๖ ของเอเชีย (รองจากจีน อินเดีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซียและไต้หวัน) โดยไม่นับรวมญี่ปุ่นอยู่ในอันดับต้นของเอเชียและเป็นอันดับ ๓ ของโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๗.๔๕
การคาดการณ์

ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นที่คาดการณ์ดังนี้

  • ในส่วนผู้บริโภค อยู่ในภาวะถดถอยเช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น สินค้าที่มีความคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าน่าจะลดลง
  • ในส่วนของผู้ผลิต แนวโน้มลดลงเนื่องจากมีสินค้าในสต๊อกมากขึ้น
  • ผู้กระจายสินค้า เพิ่มขึ้นทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และร้านค้าขนาดเล็ก

*****************************************************

ส่านักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโรม

๑ มีนาคม ๒๕๕๕