กัมพูชายุคฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือ ...มีอะไรน่าสนใจ?
นับตั้งแต่เกิดเสียงปืนแตกเมื่อ 15 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชาเริ่มถดถอย เรื่อยมา บรรยากาศการค้าการลงทุนของไทยในกัมพูชาถูกกระทบเป็นอย่างมาก จนถึงขั้นแตกหัก รัฐบาลกัมพูชาไม่ไว้หน้ารัฐบาลไทย ระงับการจัดงานแสดงสินค้าไทย ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 17-20 กรกฎาคม 2554 โดยบอกล่วงหน้าเพียง 5 วัน ซึ่งทำให้เกิดการระส่ำระสายของผู้ประกอบการไทยที่ได้ขนสินค้าเข้ามายังคลังในกัมพูชาเพื่อรอขนเข้างาน
เมื่อไทยได้รัฐบาลใหม่เป็นฝ่ายที่รัฐบาลกัมพูชาพอใจเพราะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลชุดเก่า ซึ่งนายกฯ ฮุน เซน ถึงกับประกาศลั่นว่า ยากลำบากไปทุกเรื่อง นโยบายเร่งด่วนข้อหนึ่งที่รัฐบาลใหม่ประกาศจะดำเนินการ คือ ฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
ประเทศไทยและกัมพูชา มีชายแดนติดต่อกันตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และจังหวัดตราด รวมเป็นระยะทาง 803 กิโลเมตร ซึ่งการที่ไทยมีชายแดนติดต่อกัมพูชาตั้งแต่ ตะวันออกเฉียงเหนือถึงชายฝั่งตะวันออก ทำให้มีจุดผ่านแดนทั้งที่เป็นด่านถาวรและช่องผ่านด่านชั่วคราว อยู่หลายจุดตั้งแต่ ผ่านแดนถาวรช่องจอม อ.กาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งข้ามไปที่เมืองสำโรง จ.อุดรมีชัย ของกัมพูชา ตามสร้างถนนที่สามารถเชื่อมไปถึง อัลลองเวง และจาก เมืองสำโรง จะมีเส้นทางหมายเลข 68 เชื่อมกับเส้นทาง หมายเลข 6 โดยเส้นทางหมายเลข 6 สามารถเชื่อมโยงไปยัง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ของไทย โดยผ่าน จ.บันเตียเมียน เจย จนถึงปอยเปต ฝั่งตรงข้ามคือ อ.อรัญประเทศ โดยเส้นทางหมายเลข 6 เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยง กัมปงจามและเข้าสู่พนมเปญ
จุดผ่านแดนถาวรอรัญประเทศ-ปอยเปต จ.สระแก้ว เป็นด่านชายแดนไทย-กัมพูชาที่ใหญ่ที่สุด มีสินค้า กว่าร้อยละ 60 ผ่านด่านนี้ ซึ่งเดิมไทยและกัมพูชามีแผนที่จะพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษโอเนียงในประเทศกัมพูชา โดยจุดผ่านแดนอรัญประเทศจะใช้เส้นทางหมายเลข 5 หากจะไปนครวัดก็ผ่านบันเตเมียจัยไปสู่เมืองเสียบเรียบหากจะไปพนมเปญก็ใชถ้ นนหมายเลข 5 ผ่านนพระตะบอง-โพธิสัต กัมปงชนัง และพนมเปญ จาก พนมเปญ สามารถใช้เส้นทางเอเชียสาย A1 เข้า สวายเรียงข้าม พรมแดนเวียดนามที่ด่านหมกบ่าย สู่นครโฮจิมินห์
จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก-จามเยียม เป็นด่านศุลกากรในจังหวัดตราด โดยสามารถใช้เส้นทางหมายเลข 48 เข้า ไปสู่เกาะกง ผ่านอำเภอสะแรอำเปิล —พระสีหนุ- กัมปอต ข้ามไป เวียดนามที่เมืองฮาเตียงซึ่งเป็นบริเวณที่เวียดนามมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง เชื่อมโยงเกอนเหล่ย และโฮจิมินห์
4. สถานการณ์ด้านการค้า
จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์ กัมพูชาในปี 2554 (ม.ค.-ธ.ค.) กัมพูชามีมูลค่าการค่ารวม 10.93 พันล้านดอลลาร์สหรฐั ฯ แยกเป็นการส่งออก 4.9 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 6.03 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กัมพูชานำเข้าจาก 86 ประเทศทั่วโลกมูลค่า 6.03 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 5.14 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนำเข้าจากจีนมูลค่า 1.68 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือเวียดนามมูลค่า 1.32 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยมูลค่า 0.86 พนันล้านดอลลาร์สหรฐั ฯ และฮ่องกงมูลค่า 0.52 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับสินค้าที่กัมพูชานำเข้ามามากที่สุดได้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงปริมาณ 1.44 ล้านตันมูลค่า 1.68 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่มีการนำเข้าในปีก่อน 868,800 ตันมูลค่า 583.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือปริมาณเพิ่มร้อยละ 65.51 และมูลค่าเพิ่ม 188.16ตามลำดับ เพราะเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวในทุกด้านเช่น อุตสาหกรรม, การผลิตสินค้าและภาคการเกษตร หลังจากมีการซบเซาตามเศรษฐกิจโลกกัมพูชาส่งออกมูลค่า 4.9 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 3.45 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้า สิ่งทอ มูลค่า 4.3 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากปี ก่อยซึ่งมีมูลค่า 3.07 พนันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสินค้าเกษตร ได้แก่ปลา ไม้แปรรูป เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และยางพารา มูลค่า 311.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 123 จากปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 139.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนข้าวส่งออกมูลค่า 104 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 197 เนื่องจากในตลาดโลกรู้จักข้าวของกัมพูชามากขึ้น นอกจากนี้กัมพูชาได้จัดทำข้อตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากประเทศในยุโรป
ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเกิดวิกฤตหนี้สินในโยรุป และการชะลอตัวทางเศษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่ง ออกของกัมพูชาในปี 2012 อย่างไรก็ตามกัมพูชาได้วางยุทธศาสตร์ที่จะแสวงหาตลาดใหม่เพิ่มเติม และส่งออกสินค้าให้หลากหลายรายการ
การค้าไทย-กัมพูชา
ในปี 2554 (มกราคม-ธันวาคม) การค้าระหว่างไทย-กัมพูชามีมูลค่ารวม 3,081.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 20.51 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่ารวม 2,556.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็น
การส่งออกจากไทยไปกัมพูชา มูลค่า 2,342.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 24.05 และไทยนำเข้าจากกัมพูชา มูลค่า 214 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ18.12 โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 2,729.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
5. สถานการณ์ด้านการลงทุน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (Cambodian Investment Board : CIB) ได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 จำนวน 1,978 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 8,978.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การลงทุนที่ได้รับอนุมัติจาก CIB ปี 2549 — 2554
---------------------------------------------------------------------------------------------
รายการ หน่วย 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2554/2553
อัตราการเพิ่ม(ลด)%
---------------------------------------------------------------------------------------------
มูลค่าเงิน ล้านดอลลาร์ 207.7 480.7 259.9 149.0 172.8 507.3 +334.5 ล้าน USD 194 % ลงทุน สหรัฐฯ
---------------------------------------------------------------------------------------------
จำนวน โครงการ 99 130 101 100 102 148 +38 โครงการ 37 %
โครงการ
---------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : Cambodia Investment Board
ในปี 2554 CIB อนุมัติโครงการลงทุนรวม 148 โครงการ เงินลงทุน 507.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2553 พบว่า อนุมัติเพิ่ม 38 โครงการ หรือเพิ่มร้อยละ 37 และเงินลงทุนเพิ่ม 334.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มร้อยละ 194 โครงการที่ CIB อนุมัติ ได้แก่
- อุตสาหกรรม Garment 78 โครงการ เงินลงทุน 130.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปี 2553 ที่ได้รับอนุมัติ 40 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 41.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการลงทุนจากไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา มาเก๊า อังกฤษ มอริเชียส ซามัวและกัมพูชา
- การผลิตยางพารา 20 โครงการ เงินลงทุน 295.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากปีก่อนที่ได้รับอนุมัติ 9 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 28.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนเวียดนาม 17 โครงการหรือร้อยละ 85 รองลงมาคือออสเตรเลีย 2 โครงการหรือร้อยละ 10 และกัมพูชา 1 โครงการหรือร้อยละ 5
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 6 โครงการ เงินลงทุน 14.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการลงทุนเพื่อธุรกิจพัฒนาศูนย์การท่องเที่ยว ศูนย์การค้า โรงแรมระดับ 5 ดาว และที่พักอาศัย โดยนักลงทุนกัมพูชา จีน เกาหลีเหนือและมาเลเซีย
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ 6 โครงการ เงินลงทุน 8.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนฮ่องกง เกาหลีใต้และจีน
- อุตสาหกรรมผลิตรองเท้า 8 โครงการ เงินลงทุน 8.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนไต้หวันและกัมพูชา
- อุตสาหกรรมผลิตกระเป๋า 4 โครงการ เงินลงทุน 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนญี่ปุ่น เกาหลีใต้และฮ่องกง
- อุตสาหกรรมเหมืองแร่ 3 โครงการ เงินลงทุน 12.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนจีนและเวียดนาม
- ธุรกิจโรงสี 3 โครงการ เงินลงทุน 3.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุน จีน อินเดีย มาเลเซียและกัมพูชา
- ธุรกิจโรงแรม 2 โครงการ เงินลงทุน 4.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนฮ่องกงและกัมพูชา
- ธุรกิจโทรคมนาคม 2 โครงการ เงินลงทุน 2.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยโครงการของกัมพูชา 1 โครงการ และโครงการที่เป็นการร่วมทุนระหว่างกัมพูชา สหรัฐอเมริกาและมาเลเซียอีก 1 โครงการ
- อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง 1 โครงการ เงินลงทุน 10.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนกัมพูชา
- อุตสาหกรรมน้ำดื่ม 1 โครงการ เงินลงทุน 7.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อทำน้ำประปาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในจังหวัดเสียมเรียบโดยนักลงทุนเกาหลีใต้
- อุตสาหกรรมผลิตเครื่องหนัง 1 โครงการ เงินลงทุน 1.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนไต้หวัน
- อุตสาหกรรมประกอบรถจักรยานยนต์ 1 โครงการ เงินลงทุน 1.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนจีน
- อุตสาหกรรมอื่นๆ 12 โครงการ เงินลงทุน 13.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แก่ การเกษตร อิเล็คทรอนิคส์ เหล็ก เครื่องดื่ม การแปรรูปอาหาร โรงงาน และการบริการ โดยนักลงทุนกัมพูชา จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ อังกฤษและสหรัฐอเมริกา
วิเคราะห์สถานะการลงทุน
(1) มูลค่าเงินลงทุน ในปี 2554 ซึ่งมีจำนวน 507.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าปี 2553 ซึ่งมีจำนวน 172.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 194.0 โดยแยกเป็นการลงทุนจากต่างประเทศ จำนวน 460.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการลงทุนจากภายในประเทศจำนวน 46.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจาก
(1.1) เศรษฐกิจกัมพูชามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
(1.2) ทัศนคติเชิงบวกของนักลงทุนต่อเรื่องนโยบายด้านการเมืองที่ต่อเนื่องยาวนานมีความมั่นคงซึ่งสร้างความมั่นใจต่อผู้ลงทุนได้มาก
(1.3) การขยายการให้บริการส่งเสริมการลงทุนไปสู่ระดับจังหวัดสำหรับโครงการที่มีมูลค่าเงินทุนไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
(2) การลงทุนจากนักลงทุนต่าชงาติ พบว่า นักลงทุนเกาหลีใต้เป็นผู้ได้รับอนุมัติโครงการมากที่สุดจำนวน 28โครงการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของจำนวนโครงการรวมโดยเป็นการลงทุนด้าน Garment 20 โครงการ หรือร้อยละ 72 ของจำนวนโครงการ รองลงมาคือเครื่องใช้ ไฟฟ้า 2 โครงการ, โรงงานผลิต Biomass 1 โครงการ โครงการผลิตน้ำสะอาด 1 โครงการและโครงการอื่นๆ รองลงมาคือจำนวน2 3 โครงการโดยเป็นการลงทุนด้าน Garment17 โครงการหรือร้อยละ 74 และไตหวันจำนวน 22 โครงการ ได้แก่ ด้าน Garment 17 โครงการหรือร้อยละ 77โรงงานทำรองเท้า 4 โครงการและโครงการสร้างโรงงานฟอกหนัง 1 โครงการ และฮ่องกง 19 โครงการ ได้แก่ด้าน Garment 16 โครงการหรือร้อยละ 84 รองลงมาคือโรงแรมขนาดเล็ก 100 ห้อง 1 โครงการและที่เหลือคือ โรงงานผลิตรองเท้าและโรงงานผลิตกระเป๋ อย่างละ 1 โครงการ
ด้านจำนวนเงินลงทุนมากที่สุดคือเวียดนาม 281.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 ของมูลค่าเงินลงทุนรวม โดยเป็นการลงทุนปลูกยางพาราและสร้างโรงงานแปรรูปน้ำยางพารา 16 โครงการมูลค่าการลงทุน 281.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุนสำรวจแร่ 1 โครงการ เงินลงทุน 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงไปได้แก่ จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ในสาขาต่างๆ ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ยางพารา กระเป๋า รองเท้า อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม เครื่องหนัง โรงงานประกอบชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์ เหมืองแร่ โรงสี อุตสาหกรรมการเกษตร โทรคมนาคมและการท่องเที่ยว เป็นต้น
พื้นที่ที่มีการลงทุนมากที่สุดได้แก่ กรุงพนมเปญ รองลงไปคือ จังหวัดรัตนคีรี จังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดพระสีหนุและจังหวัดมณฑลคีรี ในปี 2554 นี้ ไม่มีโครงการลงทุนของนักลงทุนไทยแต่อย่างใด ขณะที่ในปี 2553 มีจำนวน 1 ราย คือ โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า แต่คาดว่าในปี 2555 จะมีโครงการลงทุนของนักลงทุนไทยอย่างน้อย 3 ราย เพื่อประกอบกิจการโรงสี จำนวน 2 ราย และ โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า 1 ราย
ตารางเปรียบเทียบการลงทุน ปี 2553 และ 2554 (แยกตามหมวด)
-------------------------------------------------------------------------------------------
ลำดับที่ ปี 2553 ปี 2554 อุตสาหกรรม มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) อุตสาหกรรม มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
-------------------------------------------------------------------------------------------
1 เกษตรอุตสาหกรรม 75.5 ยางพารา 295.0 2 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 53.8 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 130.2 3 อุตสาหกรรม 7.5 การท่องเที่ยว 14.5 4 การขนส่ง 3.0 เหมืองแร่ 12.0 5 การท่องเที่ยว 3.0 วัสดุก่อสร้าง 10.0 รวม 5 หมวด 142.8 รวม 5 หมวด 461.7 รวมทั้งหมด 172.8 รวมทั้งหมด 507.3
-------------------------------------------------------------------------------------------
ตารางเปรียบเทียบการลงทุน ปี 2553 และ 2554 (แยกตามรายประเทศ)
-------------------------------------------------------------------------------------------
ลำดับที่ ปี 2553 ปี 2554 ประเทศ มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ประเทศ มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
-------------------------------------------------------------------------------------------
1 จีน 38.25 เวียดนาม 281.45 2 กัมพูชา 33.35 กัมพูชา 46.50 3 ไต้หวัน 24.90 จีน 46.48 4 เวียดนาม 17.33 ไต้หวัน 40.89 5 เกาหลีใต้ 16.91 เกาหลีใต้ 38.41 รวม 5 ประเทศ 130.74 รวม 5 ประเทศ 453.73 รวมทั้งสิ้น 172.80 รวมทั้งสิ้น 507.31
-------------------------------------------------------------------------------------------