สถานการณ์ตลาดข้าวไทยในมณฑลกวางตุ้ง

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 13, 2012 11:42 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์ตลาดข้าวไทยในมณฑลกวางตุ้ง

การนำเข้าข้าวไทยของมณฑลกวางตุ้งส่วนใหญ่ผ่านเมืองเซินเจิ้นและเมืองกวางโจว ตามสถิติปี 2550 — 2554 การนำเข้าข้าวของมณฑลกวางตุ้งมีแนวโน้มลดลง

มณฑลกวางตุ้งนาเข้าข้าวจากประเทศไทย ปี 2550 — 2554

--------------------------------------------------------------------------------------------

ปี ปริมาณการนาเข้า(ตัน) อัตราการขยายตัว(ร้อยละ) มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) อัตราการขยายตัว(ร้อยละ)

--------------------------------------------------------------------------------------------

          2550          390,188              -37.1                   183.6                 -27.6
          2551          258,080              -26.2                   160.9                 -12.3
          2552          283,066                9.7                   172.78                  7.3
          2553          266,098                 -5                   182.64                    5
          2554          264,111               -0.7                   176.86                -3.16

--------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้นำเข้าข้าวส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าสาเหตุสาคัญที่ทำให้มณฑลกวางตุ้งนำเข้าข้าวน้อยลง มี 4 ประการดังนี้ 1.ราคา เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนามและข้าวจีน ขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในด้านราคาลดลง ราคาข้าวหอมมะลิได้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี และราคาที่สูงขึ้นอาจจะทำให้ห้างสรรพสินค้าบางแห่งไม่จำหน่ายสินค้าข้าวหอมมะลิไทย

                    ราคานาเข้าข้าวหอมมะลิไทยปี 2545(FOB)          316 USD /ตัน
                    ราคานาเข้าข้าวหอมมะลิไทยปี 2548(FOB)          417 USD /ตัน
                    ราคานาเข้าข้าวหอมมะลิไทยปี 2551(FOB)          924 USD /ตัน
                    ราคานาเข้าข้าวหอมมะลิไทยปี 2553(FOB)          1,093 USD /ตัน
                    ราคานาเข้าข้าวหอมมะลิไทยปี 2554(FOB)          1,200 USD /ตัน

2. ความหอมและคุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยลดลง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้นำเข้าประเทศจีนพิจารณาลดการนำเข้า เนื่องจากที่ผ่านมาข้าวหอมมะลิไทยเป็นข้าวคุณภาพดีและเป็นที่นิยมชมชอบของผู้บริโภคที่มีรายได้สูง ข้าวหอมมะลิไทยมักถูกนำไปใช้เสิร์ฟผู้บริโภคในโรงแรมและภัตตาคารระดับสูง นอกจากนี้ ชาวจีนเองก็นิยมซื้อเป็นของขวัญมอบให้ผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ หรือมอบให้ญาติสนิทมิตรสหายในวันเทศกาลสำคัญต่างๆ ทำให้ข้าวหอมมะลิไทยยิ่งมีชื่อเสียงและมีภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับผู้บริโภคชาวจีนและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวจีนมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้มีผู้ประกอบการจีนบางรายที่ทำการค้าโดยมุ่งหวังหวังผลกำไรและลดต้นทุนการจำหน่าย ใช้วิธีการผสมข้าวชนิดอื่น ๆ (Mixed Rice) ทั้งข้าวของประเทศไทยเอง ข้าวของประเทศคู่แข่งขันและข้าวของประเทศจีนมาปนในข้าวหอมมะลิไทย ทำให้คุณภาพข้าวหอมมะลิไทยในสายตาผู้บริโภคชาวจีนเริ่มเสียภาพลักษณ์และขาดความมั่นใจในคุณภาพ

3. คู่แข่งของข้าวหอมมะลิไทยในตลาดจีนคือ ข้าว Youzhan ของมณฑลกวางตุ้ง ข้าว Daohuaxiang ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และข้าวกัมพูชาที่กาลังจะเข้าสู่ตลาดจีน ซึ่งราคาของข้าวชนิด ดังกล่าว ต่ำกว่าข้าวหอมมะลิไทย บางชนิดต่ำกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้ Market Share ของข้าวหอมไทยลดลง

4. เมื่อปลายปี 2011 รัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายปรับราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำสูงขึ้น ทำให้ราคานำเข้าข้าวหอมมะลิมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก และผลผลิตข้าวของเวียดนามและไทยทยอยออกสู่ตลาดในเวลาเดียวกัน ทำให้การคาดการณ์ปริมาณข้าวจะอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศผู้ซื้อข้าวคลายกังวลปัญหาขาดแคลนข้าว และไม่เร่งซื้อข้าวเก็บเข้าสต็อก โดยชะลอการซื้อเพื่อรอดูทิศทางราคา นอกจากนี้ ข้าวหอมกัมพูชา ซึ่งมีคุณภาพที่คล้ายคลึงกับข้าวหอมไทยกาลังจะเข้าสู่ตลาดจีน ทำให้ผู้นำเข้าบางรายลดจานวนการนำเข้าเพื่อรอดูแนวโน้มตลาดของสินค้าที่ทดแทนข้าวหอมมะลิจุดอ่อน

จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ของข้าวหอมมะลิไทยในตลาดกวางตุ้ง

1. จุดอ่อนและอุปสรรค - เนื่องจากรสชาติและคุณภาพของข้าวหอมมะลิที่จำหน่ายในตลาดจีนลดลง และเหตุการณ์ข้าวหอมจีนใส่สารเติมแต่งเพื่อเพิ่มความหอม ทำให้ผู้บริโภคมีความกังวลถึงความปลอดภัยของสินค้าข้าวหอมด้วย จึงทำให้ Market Share ของข้าวหอมมะลิไทยในตลาดกวางโจวน้อยลง

  • ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นการรักษาตลาดข้าวหอมมะลิไทยในตลาด ทั้งเกษตรกร โรงสี ผู้รวบรวมข้าวและผู้ส่งออกควรมีการดูแลรักษาคุณภาพข้าวหอมมะลิทุกห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะผู้ส่งออกควรมีการดูแลรักษาคุณภาพข้าวหอมมะลิและสร้างแบรนด์ของตัวเองให้เป็นที่น่าเชื่อในคุณภาพและยอมรับของประชาชนผู้บริโภค รวมทั้งการสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ข้าวไทยที่ส่งเข้ามาจำหน่ายในจีน เพื่อให้ข้าวหอมมะลิที่มีราคาแพงกว่าข้าวประเภทอื่นในตลาด สามารถแข่งขันกับข้าวของประเทศคู่แข่งขันได้และขยายตลาดบนได้ในระยะยาวต่อไป

2. จุดแข็งและโอกาส - ราคาของข้าวหอมมะลิปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้นำเข้าจำเป็นต้องบุกตลาดบนเพื่อจำหน่ายในราคาสูง ซึ่งประชากรกวางตุ้งมีรายได้สูง ผู้บริโภคในตลาดบนที่มีกำลังซื้อสูงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับผู้บริโภคมีความสนใจในความปลอดภัยของสินค้าอาหารมากขึ้น มณฑลกวางตุ้งจึงยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพสาหรับข้าวหอมมะลิ

  • ข้อเสนอแนะ ผู้ประกอบการข้าวหอมมะลิต้องบุกเบิกตลาดบนและค้นหาช่องทางการจำหน่ายใหม่เพื่อรองรับสถานการณ์ราคาสูง เช่นบริษัท Shenzhen Thai Fragant Rice Co., Ltd. ได้จัดตั้งร้านจำหน่ายเฉพาะข้าวไทยในเมืองฉางซา มณฑลหูหนาน ตามกลยุทธ์การพัฒนาตลาดบนของบริษัทฯ และได้ร่วมมือกับเครือข่ายร้านขายปลีก Easyjoy ของสถานีเติมน้ำมัน Sinopec ในเมืองเซินเจิ้นโดยจัดตั้งร้านจำหน่ายเฉพาะข้าวไทยอยู่ข้างร้าน Easyjoy เพื่อให้ผู้ขับรถที่มาเติมน้ำมันสามารถลองชิมรสชาติข้าวไทยก่อนที่จะเลือกซื้อข้าวไทยในร้าน ทั้งนี้ เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้นนำเข้าที่ประสบปัญหาราคาข้าวหอมมะลิสูงขึ้น

กลยุทธ์ทางธุรกิจสำหรับการค้าข้าวหอมมะลิไทยในมณฑลกวางตุ้ง

กลยุทธ์สำหรับการค้าข้าวหอมมะลิเป็นกลยุทธ์เชิกรุก ซึ่งเริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 2000 กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยทุกปี ในรูปแบบการส่งเสริมการขาย เช่น Instore Promotion การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน เช่น กรมการค้าต่างประเทศเคยจัดการประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิตามช่อง TV ต่างๆ และการเชิญผู้บริหารของหน่วยงานจีนและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้าวไปสารวจสภาพการเพาะปลูกและระบบตรวจสอบคุณภาพข้าวของไทย นอกจากนี้ ในงานแสดงสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่กรมส่งเสริมการส่งออกเข้าร่วม มีการจัดแสดงวีดีโอประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิ การแจกเอกสารแนะนำและการให้ลองชิมอาหารที่ทำจากข้าวหอมมะลิ เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคชาวจีนรู้จักคุณภาพและรสชาติที่แท้จริงของข้าวหอมมะลิไทยและเพิ่มการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยที่ Original Pack และใช้ตราสัญลักษณ์ของไทยที่แท้จริง และแต่ละปีผอ.สคต.ได้เยี่ยบพบผู้นำเข้ารายใหญ่ เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของตลาดด้วย

............................................

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว

มีนาคม 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ