ภาวะตลาดและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินค้ากล้วยไม้ในประเทศเยอรมนี
***********************************
ตลาดไม้ดอกสามารถแบ่งได้หลายส่วน แต่สถิตการนำเข้า-ส่งออกแยกไม้ดอกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. หน่อหรือกล้าไม้ พิกัด H.S. 0601 แบ่งเป็นหน่อหรือต้นกล้ากล้วยไม้ พิกัด H.S. 06012030 และต้นกล้าไม้ดอกชนิดอื่นๆ
2. ไม้กระถาง พิกัด H.S. 0602 แบ่งเป็นกล้วยไม้กระถาง พิกัด H.S. 06029099 และอื่นๆ
3. ไม้ตัดดอก พิกัด H.S. 0603 แบ่งเป็นกล้วยไม้ตัดดอก พิกัด H.S. 06031300 ฯลฯ
4. ไม้ใบ พิกัด H.S. 0604
กล้วยไม้เป็นไม้ดอกเมืองร้อนที่เก่าแก่ และเป็นที่คุ้นเคยมากที่สุดสำหรับผู้ซื้อในสหภาพยุโรป พันธุ์กล้วยไม้สำคัญเป็นที่นิยม มีความต้องการในตลาดสูง ได้แก่ สกุลฟาแลนอปซิส (Phalaenopsis), สกุลซิมบิเดียม (Cymbidium), สกุลหวาย (Dendrobium), สกุลออนซิเดียม (Oncidium), สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) และสกุลแวนด้า (Vanda) ทั้งนี้ สกุลฟาแลนอปซิสเป็นกล้วยไม้ที่ขายดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศเนเธอร์แลนด์
ในปัจจุบัน ความต้องการไม้ดอกในสหภาพยุโรปขึ้นยังคงเชื่อมโยงกับรายได้ของผู้ซื้อ โดยมีความยืดหยุ่นตามราคาบ้าง หากราคาต่ำเท่าไร ความต้องการซื้อก็จะสูงมากขึ้น ผู้บริโภคชาวเยอรมัน นิยมซื้อต้นกล้วยไม้ไปใช้เพื่อตกแต่งที่พักส่วนตัวและใช้เป็นธรรมเนียมการให้เป็นของขวัญ การให้ของขวัญเป็นต้นกล้วยไม้เป็นที่นิยมมากกว่าการให้เป็นไม้ตัดดอก เพราะต้นกล้วยไม้เลี้ยงให้เติบโตได้ง่ายและมีความคงทนเหมาะสมกับการปลูกในห้องพัก ที่อยู่อาศัยและดูมีคุณค่า โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80-85 เป็นกลุ่มผู้หญิง อายุเฉลี่ยประมาณ 35 ปีขึ้นไป ปัจจุบันการซื้อต้นกล้วยไม้หาซื้อได้ง่าย มีวางขายตามซุปเปอร์มาเก็ตและร้านดอกไม้ทั่วไป
ต้นกล้วยไม้ขนาดเล็กที่ขายในห้างซุปเปอร์มาเก็ต ราคาประมาณ 7.99 — 12.99 ยูโร จัดเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างถูกหรือต่ำ ไม่ใช่สายพันธ์กล้วยไม้ขนาดใหญ่ สายพันธ์หรือสีที่หายาก หากต้องการซื้อต้นกล้วยไม้พันธ์พิเศษสวยงาม จะต้องซื้อที่ร้านขายดอกไม้ทั่วไป
ผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้รายใหญ่ที่สุดเข้าสู่สหภาพยุโรปคือประเทศเนเธอร์แลนด์ เพราะเป็นประเทศที่ปลูกไม้ตัดดอกที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป และมีการปลูกมากกว่าร้อยละ 50 ของการผลิตในทวีปยุโรปทั้งหมด ประเทศเยอรมันเองนั้นยังคงนำเข้าต้นกล้วยไม้/ดอกกล้วยไม้จากเนเธอร์แลนด์เป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 75 ของการนำเข้าทั้งหมด เนื่องจากประเทศเนเธอร์แลนด์มีชื่อเสียงเรื่องไม้ดอก มีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก และอยู่ติดพรมแดนประเทศเยอรมนี อีกทั้งประเทศเนเธอร์แลนด์ยังเป็นประเทศที่นำเข้าไม้ดอกรายใหญ่ของยุโรป ซึ่งจะส่งออกไปยังประเทศต่างๆ
ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะรักษาอันดับของการเป็นประเทศผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้รายใหญ่ที่สุด ในบรรดาผู้ส่งออกจากประเทศที่สามทั้งหมด แต่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการแข่งขันสูงขึ้นจากไต้หวันเพิ่มมากขึ้น
การนำเข้าต้นกล้วยไม้ พิกัด H.S. 06012030 ซึ่งหมายถึงต้นกล้วยไม้ที่เป็นหน่อ Bulbs, Tubers etc. ได้แก่ Orchids รวมถึง hyacinths, narcissi และ tulips ตามสถิติในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เยอรมนีนำเข้าหน่อ/ต้นกล้ากล้วยไม้ดังกล่าว โดยเฉลี่ยเป็นมูลค่าประมาณ 43.06 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
สำหรับช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. ปี 2554 ที่ผ่านมา เยอรมนีนำเข้าหน่อ/ต้นกล้ากล้วยไม้ พิกัด H.S. 06012030 รวมมีมูลค่า 50.20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.57 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.40 โดยมีการนำเข้า จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน ไทย เดนมาร์ก และจีน มากเรียงตามลำดับ มีสัดส่วนจากการนำเข้าของ 5 ประเทศนี้ รวมประมาณร้อยละ 98.10 ของการนำเข้าทั้งหมด
เยอรมนีนำเข้าหน่อ/ต้นกล้ากล้วยไม้ พิกัด H.S. 06012030 จากไทยในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. ปี 2554 ร้อยละ 4.16 ของการนำเข้าทั้งหมด มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2.08 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.66 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.17 จัดเป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 3
ตารางการนำเข้าหน่อ/ต้นกล้ากล้วยไม้ พิกัด H.S. 06012030 ของประเทศเยอรมนี _______________________________________________________________________________________
ประเทศ มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) สัดส่วน (ร้อยละ) อัตราการ 2552 2553 ม.ค.-พ.ย. 2552 2553 ม.ค.-พ.ย. ขยายตัว 2554 2554 (ร้อยละ) _______________________________________________________________________________________ จากทั่วโลก 37.79 37.63 50.20 100.00 100.00 100.00 33.40 1.เนเธอร์แลนด์ 28.01 28.86 39.63 74.13 76.69 78.94 37.32 2.ไต้หวัน 2.51 3.31 4.15 6.66 8.82 8.28 25.29 3.ไทย 1.05 1.42 2.08 2.79 3.79 4.16 46.17 4.เดนมาร์ก 3.46 1.27 1.98 9.61 3.38 3.95 55.94 5.จีน 1.57 1.61 1.39 4.17 4.29 2.77 -13.80 _______________________________________________________________________________________
ที่มา- world trade atlas
การนำเข้ากล้วยไม้กระถาง พิกัด H.S. 06029099 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เยอรมนีนำเข้ากล้วยไม้กระถาง โดยเฉลี่ยเป็นมูลค่าประมาณ 352.12 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี สำหรับช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. ปี 2554 ที่ผ่านมา เยอรมนีนำเข้าสินค้ากล้วยไม้กระถาง รวมมีมูลค่า 325.48 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 53.40 ล้านเหรียญสหรัฐหรือลดลงร้อยละ 14.09 โดยมีการนำเข้าจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก อิตาลี เบลเยี่ยม สเปน มากเรียงตามลำดับ มีสัดส่วนจากการนำเข้าของ 5 ประเทศนี้ รวมประมาณร้อยละ 97.70 ของการนำเข้าทั้งหมด เยอรมนีนำเข้ากล้วยไม้กระถางจากไทยในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. ปี 2554 มีเพียงแค่ร้อยละ 0.11 ของการนำเข้าทั้งหมด มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 0.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.22 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 171.52 จัดเป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 12
ตารางการนำเข้ากล้วยไม้กระถาง พิกัด H.S. 06029099 ของประเทศเยอรมนี _______________________________________________________________________________________
ประเทศ มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) สัดส่วน (ร้อยละ) อัตราการ 2552 2553 ม.ค.-พ.ย. 2552 2553 ม.ค.-พ.ย. ขยายตัว 2554 2554 (ร้อยละ) _______________________________________________________________________________________ จากทั่วโลก 322.67 378.88 325.48 100.00 100.00 100.00 -14.09 1.เนเธอร์แลนด์ 241.55 303.27 259.85 74.86 80.05 78.94 -14.32 2.เดนมาร์ก 17.55 20.65 22.91 5.44 5.45 7.07 10.95 3.อิตาลี 16.93 21.63 17.42 5.25 5.71 5.35 -19.49 4.เบลเยี่ยม 9.52 14.53 12.21 2.95 3.84 3.75 -15.93 5.สเปน 4.25 5.49 5.58 1.32 1.45 1.72 1.67 12.ไทย 0.06 0.13 0.35 0.02 0.04 0.11 171.52 _______________________________________________________________________________________
ที่มา- world trade atlas
การนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอก พิกัด H.S. 06031300 (Fresh Cut Orchid) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เยอรมนีนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอก โดยเฉลี่ยเป็นมูลค่าประมาณ 9.42 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
สำหรับช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. ปี 2554 ที่ผ่านมา เยอรมนีนำเข้าสินค้ากล้วยไม้ตัดดอก รวมมีมูลค่า 7.43 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.74 ล้านเหรียญสหรัฐหรือลดลงร้อยละ 19.13 โดยมีการนำเข้าจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ไทย อิตาลี มากเรียงตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการนำเข้าจากเนเธอรฺแลนด์และไทย เพียงแค่ 2 ประเทศคิดเป็นร้อยละ 99.42 ของการนำเข้าทั้งหมด
เยอรมนีนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกจากไทยในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. ปี 2554 ร้อยละ 7.69 ของการนำเข้าทั้งหมด มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 0.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.58 ล้านเหรียญสหรัฐหรือลดลงร้อยละ 50.36 จัดเป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 2 รองจากเนเธอร์แลนด์ จากสถิตการนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกโดยภาพรวมที่ลดลงนั้น เนื่องจากชาวเยอรมันนิยมการเลี้ยงหน่อ/ต้นกล้ากล้วยไม้ในที่พัก อาศัยและการใช้มอบเป็นของขวัญเพิ่มมากขึ้น ทำให้การบริโภคกล้วยไม้ตัดดอกลดลง
ตารางการนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอก พิกัด H.S. 06031300 (Fresh Cut Orchid) ของประเทศเยอรมนี _______________________________________________________________________________________
ประเทศ มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) สัดส่วน (ร้อยละ) อัตราการ 2552 2553 ม.ค.-พ.ย. 2552 2553 ม.ค.-พ.ย. ขยายตัว 2554 2554 (ร้อยละ) _______________________________________________________________________________________ จากทั่วโลก 10.87 9.19 7.43 100.00 100.00 100.00 -19.13 1.เนเธอร์แลนด์ 9.69 7.98 6.82 89.16 86.85 91.73 -14.59 2.ไทย 0.94 1.15 0.57 8.65 12.53 7.69 -50.36 3.อิตาลี 0.17 0.02 0.02 1.58 0.31 0.29 -22.69 _______________________________________________________________________________________
ที่มา- world trade atlas
กฎระเบียบการส่งออกกล้วยไม้ของไทย
สำหรับการส่งออกสินค้ากล้วยไม้ไปยังสหภาพยุโรป ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 93) พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้มีใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) จากกรมวิชาการเกษตรไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร โดยผู้ที่จะส่งออกกล้วยไม้จะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้ออกไปนอกราชอาณาจักรต่อกรมวิชาการเกษตร ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งดอกกล้วยไม้ไปนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ในการส่งออกนั้น ผู้ส่งออกจะต้องมีบัตรประจำตัวมาแสดงและติดป้ายหรือฉลาก หรือประทับข้อความโดยระบุข้อความต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษให้ ชัดเจนที่ภาชนะบรรจุ ดังนี้
1.ชื่อและหมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก
2.ชื่อพืชและพันธุ์
3.ชั้นและจำนวนช่อหรือน้ำหนักของสินค้า
4.ประเทศผู้ผลิต
นอกจากนี้ผู้ส่งออกจะต้องรายงานการส่งออกสิ้นค้าดังกล่าวให้กรมวิชาการเกษตร ทราบทุกๆ 30 วัน สำหรับการส่งออกเพื่อเป็นสินค้าตัวอย่าง หรือเพื่อใช้ส่วนตัว หรือการส่งออกโดยมิใช่เพื่อการค้า ซึ่งมีปริมาณไม่เกิน 5 กิโลกรัม สามารถส่งออกไปได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดไว้
เอกสารที่ใช้ในการส่งกล้วยไม้เข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรป
http://exporthelp.europa.eu/thdapp/taxes/MSServlet languageId=EN&CFID=4350140&CFTOKEN=64453313&jsessionid=643013cf94891b466f54
1.) Genernal Requirements
- Commercial Invoice - Customs Value Declaration
- Freight doduments - Freight insurance - Packing list - Single Administrative Document (SAD) 2.) Special requirements
2.1) Product Code: 06012030 (หน่อของไม้ดอก / Orchids, hyacinths, narcissi and tulips)
- CITES — Endangered Species Protection
- Marketing requirement for seeds and plant propagating material
- Plant health control
- Products from organic production
2.2) Product Code: 06031300 (ไม้ตัดดอก / orchids)
- Plant health control
- Product from organic protection
พิกัด H.S. 0601 หน่อของไม้ดอกหรือกล้าไม้ อัตราร้อยละ 5.1
พิกัด H.S. 0602 ไม้กระถาง ไม่มีการเรียกเก็บภาษี
พิกัด H.S. 0603 ไม้ตัดดอก อัตราร้อยละ 12
1. ใบอนุญาตนำเข้า จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าทุกครั้ง
2. การตรวจสอบสินค้า เจ้าหน้าที่ศุลกากรเยอรมันอาจสุ่มตัวอย่างมาตรวจสอบก่อนอนุญาตให้นำเข้า และมีการนำสินค้าที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดมาตรวจสอบเป็นครั้งคราว หรือเมื่อได้รับแจ้งจากผู้บริโภค ทั้งในด้านสุขอนามัย และตามขนาดบรรจุ เมื่อตรวจสอบพบว่าไม่ถูกต้อง ขัดกับระเบียบก็จะเก็บสินค้านั้น ๆ ออกจากตลาด แบ่งระเบียบมาตรฐานกฎระเบียบเป็น 2 ส่วนคือ
2.1 ตามกฎระเบียบมาตรฐานด้านสุขอนามัยของ EU Commission
2.2 การกำหนดมาตรฐานโดยเอกชน ได้แก่
- International Code of Conduct (ICC) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย NGO ของ EU ร่วมกับ สหภาพแรงงานด้านอาหารและการเกษตร สำหรับอุตสาหกรรมไม้ตัดดอก
- Fair Flowers & Plants (FFP) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย Trade Union, NGO และสมาคมผู้ค้าดอกไม้ระหว่างประเทศ ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการปลูกที่รับผิดชอบต่อสังคม โดยอ้างอิงมาตรฐานจาก ICC และ MPS โดยสินค้าจะต้องมีตรารับรอง
- EUREPGAP เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยกลุมผู้ค้าปลีกของ EU 17 แห่ง เพื่อกำหนดมาตรฐานของ สินค้า ในกรณีสินค้าดอกไม้ ได้กำหนดระดับปริมาณขั้นต่ำของยาฆ่าแมลงที่ตกค้าง ตลอดจนวิธีการปกป้องแรงงาน
- Milieu Programma Sierteelt (MPS) แยกเป็น 2 ส่วนคือ
- Flower Label Promgramme (FLP) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยกลุ่มสมาคมผู้ปลูกดอกไม้ ร่วมกับ NGO และ Trade Union ของเยอรมนี เพื่อกำหนดมาตรฐานด้านสิทธิมนุยชนและการปกป้องสิ่งแวดล้อม
- Max Havelaar เป็นมาตรฐานด้านการค้าและการปฏิบัติที่เป็นธรรม โดยกลุ่มลูกค้าปลีกเครือ Migros ของสวิตเซอร์แลนด์
- Dutch Flower Auction (VBN) เป็นมาตรฐานของกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงชาวฮอลแลนด์ เรื่องคุณภาพของ ดอกไม้ หีบห่อและบรรจุภัณฑ์
ช่องทางการจัดจำหน่ายตลาดไม้ดอกในเยอรมนีโดยส่วนใหญ่เป็นไปตามรูปแบบของสหภาพยุโรป โดยมีปริมาณการนำเข้าหลักของไม้ดอกผ่านช่องทางผู้ค้าส่งในเยอรมนี ตลาดประมูล หรือผู้ค้าส่งของเนเธอร์แลนด์ที่ส่งออกไปยังผู้ค้าปลีก ซึ่งผู้ค้าส่งเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในตลาดค้าส่งดั้งเดิม ซึ่งกระจายอยู่เกือบทุกเมืองสำคัญ โดยมีตลาดประมูลไม้ดอกและผู้ค้าส่งรายใหญ่สำคัญๆที่สุดของเยอรมนีอยู่ที่เมืองฮัมบูรก์
นอกจากนี้ ผู้ค้าส่งที่ส่งออกกล้วยไม้ของเยอรมนีที่สำคัญจะดำเนินงานเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใกล้นครแฟรงก์เฟิร์ต เนื่องจากสนามบินแฟรงก์เฟิร์ตมีศูนย์รวบรวมสินค้าเน่าเสียง่าย (Perishable Center, Frankfurt) ซึ่งสามารถเก็บรักษาไม้ตัดดอกและพืชใบไว้ก่อนการส่งต่อไปได้ และยังมี Perishable Center ที่สนามบินเมืองมิวนิคเป็น Port ที่ 2 รองจากจากนครแฟรงก์เฟิร์ต
นอกจากนี้ยังแบ่งช่องทางการจัดจำหน่ายออกเป็น 4 ประเภทได้แก่
1. ตัวแทนจำหน่ายท้องถิ่น โดยส่งสินค้าไปยังตัวแทนจำหน่ายท้องถิ่น ซึ่งจะต้องติดต่อกับพิธีการศุลกากร และดำเนินการเรื่องการขนส่ง ก่อนส่งต่อสินค้าดังกล่าวไปยังผู้ค้าส่งหรือตลาดประมูล
2. ตลาดประมูล การส่งสินค้าโดยตรงไปยังตลาดประมูล ในกรณีนี้ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการด้านพิธีการนำเข้าและขนส่งด้วยตนเอง หรืออีกทางเลือกคือให้ตลาดประมูลรับทำหน้าที่ไป เพื่อจะดำเนินการเกี่ยวกับพิธีการตรวจผ่านและการจัดเตรียมการขนส่ง
3. ผู้ค้าส่ง การขายส่งต่อไปยังผู้ค้าส่ง แม้ว่าตามทฤษฎีนั้น วิธีการนี้อาจจะให้ราคาที่ดีแก่ผู้ส่งออก แต่ในทางปฏิบัติ การบวกเพิ่มส่วนใหญ่จะรวมราคาของตัวแทนจำหน่ายแล้ว ทำให้ราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกจะได้รับนั้นไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
4. ผู้ค้าปลีก การส่งตรงไปยังผู้ค้าปลีก ในกรณีนี้รวมถึงห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต ขอเรียนย้ำอีกครั้งว่า ในทางทฤษฎีการค้ากับผู้ค้าปลีกจะทำให้ผู้ส่งออกได้ราคาที่ดี แต่ก็ไม่เสมอไป เนื่องจากซุปเปอร์มาร์เกตใช้จุดแข็งของตนในฐานะผู้ซื้อรายใหญ่ มากดราคาและอาจสร้างปัญหาเพิ่มเติมแก่ผู้ส่งออก เนื่องจากซุปเปอร์มาร์เกตมีข้อกำหนดด้านคุณภาพที่สูงกว่าผู้ค้าปลีกรายอื่นๆ
1. ถึงแม้ว่าผู้ส่งออกไทยส่วนใหญ่ส่งสินค้าแบบส่งมอบที่ท่า (Freight on Board หรือ FOB) กล่าวคือผู้ส่งออกจ่ายค่าขนส่งเอง ซึ่งต้องยอมรับว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการส่งออก เนื่องจากมีต้นทุนสูงมาก หากมีการรวม กลุ่มของผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทย ผู้ผลิตไม้ดอกชนิดอื่นรวมทั้งสินค้าเกษตรอื่นๆ จะทำให้ประหยัดมากขึ้นและอาจจะช่วยเจรจาต่อรองค่าขนส่งในอัตราพิเศษได้
2. ควรพิจารณานำเอามาตรฐานต่างๆของสหภาพยุโรปที่เกี่ยวข้อง เช่นเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญของผู้บริโภคชาวยุโรป มาประยุกต์ใช้กับมาตรฐานการติดฉลากและการบรรจุหีบห่อของสินค้าไทย ตัวอย่างเช่น ฉลากที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (eco-labels) และขอแนะนำว่า การบรรจุหีบห่อและการติดฉลากดังกล่าวควรมีข้อความในการส่งเสริมตรา “กล้วยไม้ไทย” (Thai Orchids) ด้วย
3. ควรเสนอสินค้าที่มีความหลากหลาย ผู้ส่งออกของไทยพึ่งพิงกล้วยไม้สกุลหวายมากเกินไป แม้ว่าประเทศไทยจะโชคดีที่มีเอกสิทธิ์อย่างสมบูรณ์แต่ผู้เดียวสำหรับตลาดกล้วยไม้สกุลหวายในสหภาพยุโรป แต่ผู้ส่งออกควรต้องพิจารณาความเป็นไปได้ในการขยายการผลิตกล้วยไม้ชนิดอื่นด้วย เพื่อนำเสนอความหลากหลายกล้วยไม้แก่ผู้นำเข้า โดยใช้การหมุนเวียนกล้วยไม้พันธุ์หลักๆ ตามช่วงเวลาต่างๆ เพื่อมิให้ตลาดเกิดภาวะหยุดนิ่ง
4. การส่งเสริมการตลาด โดยอาจรวมประเด็นต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
4.1 เข้าร่วมงานแสดงสินค้ากล้วยไม้ เช่นงานแสดงสินค้า IPM 2013 ที่เมือง Essen ประเทศ เยอรมนี ซึ่งจะจัดแสดงครั้งต่อไประหว่างวันที่ 22 — 25 มกราคม 2556 เพราะงานแสดงสินค้ามีความสำคัญมากต่อผู้ผลิต ผู้ปลูกและผู้ส่งออก ไม่เฉพาะเพื่อการจัดแสดงสินค้าเท่านั้น แต่ยังได้รู้จักตลาดและคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น รวมถึงอาจได้พบกับตัวแทน ผู้ขนส่งสินค้า ผู้ค้าปลีกอีกด้วย
4.2 การจัดสัมมนาเพื่อเจรจาธุรกิจสำหรับผู้นำเข้า อาจจะกำหนดจัดงานสัมมนาในช่วงงานธันวาพฤกษชาติ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการจับคู่เจรจาทางธุรกิจระหว่างผู้ส่งออกของไทยกับผู้นำเข้าที่มีศักยภาพของสหภาพยุโรป
5. การผลิตกล้วยไม้เชิงธุรกิจหรือเพื่อการค้า จะต้องมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเป็นการเบื้องต้นก่อน รวมถึงเรื่องเทคโนโลยีการผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การตลาด และประเด็นสำคัญที่สุดก็คือ กฎระเบียบการนำเข้าส่งออก กฎหมายภายใน กฎหมายของประเทศคู่ค้า รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศ ให้เข้าใจชัดเจนและปฏิบัติให้ถูกต้อง มิเช่นนั้นการกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจทำให้เกิดผลเสียต่อตัวผู้ประกอบการเอง เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และอาจได้รับโทษทางคดีอาญาด้วย ยกตัวอย่างเช่น ดอกกล้วยไม้ที่จะส่งไปสหภาพยุโรปจะต้องผ่านการรมยาเพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ มีใบรับรองปลอดศัตรูพืช Phytosanitary Certificate และจะต้องมีปริมาณสารเคมีตกค้างอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ศูนย์ผลักดันสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. 02-9406320-1
**********************************************************************************
จัดทำโดย นายอาทิตย์ กองเกตุ ผู้ช่วยดำเนินการฯ คนที่ 1
สคต.แฟรงก์เฟิร์ต
มีนาคม 2555