สถานะการณ์ตลาดเครื่องประดับในกาตาร์

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 23, 2012 11:14 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานะการณ์ตลาดเครื่องประดับในกาตาร์

----------------------------------

ตลาดการบริโภค

กาตาร์ถูกจัดอันดับจาก “ฟอร์บส” ว่าเป็นประเทศที่รวยสุดในโลก เป็นประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติสำคัญอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยรายได้จากการส่งออกทรัพยากร ธรรมชาติดังกล่าว สร้างความมั่งคั่งให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว(109,900 $US : IMF) สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับทั้งหมด

สินค้าเครื่องประดับ

จากสถิติล่าสุดการนำเข้าสินค้าของกาตาร์ปรากฎมูลค่าสถิตินำเข้าสินค้ากลุ่มเครื่องประดับอัญมณีในปี 2553 ประมาณ 116.1 ล้านเหรียญฯ มีอัตราขยายตัวเมื่อเทียบกับปี 2551 ร้อยละ 117.8 (ไม่มีสถิตินำเข้าของปี 2552)

แหล่งอุปทานเครื่องประดับที่สำคัญของกาตาร์เรียงตามลำดับมูลค่านำเข้าคือ ฝรั่งเศสที่มีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าในปี 2553 ร้อยละ 28.7 อินเดียและอิตาลีมีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกันคือร้อยละ 13.8 และร้อยละ 13.4 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ร้อยละ 10 ฮ่องกง เลบานอน สวิตเซอร์แลนด์และไทยเฉลี่ยร้อยละประมาณ 4.5 นอกจากนั้นมีการนำเข้าจากจีนและอังกฤษประมาณร้อยละ 2.2 ตามลำดับ

สถิติการนำเข้าเครื่องประดับอัญมณีของกาตาร์ปี 2551

                                 2008                  2009        2010
                               Value $US     M/s %  Value $US    Value $US      M/s %
          1     France         10,478,337    19.6      N/a       33,370,500     28.7
          2     India          3,581,927     6.7       N/a       15,987,175     13.8
          3     Italy          8,133,956     15.2      N/a       15,528,399     13.4
          4     UAE            9,121,584     17.1      N/a       11,575,353     10
          5     Hong Kong      5,909,763     11.1      N/a       5,652,563      4.9
          6     Lebanon        5,188,768     9.7       N/a       5,406,057      4.7
          7     Switzerland    2,484,174     4.7       N/a       5,120,693      4.4
          8     Thailand       2,431,560     4.6       N/a       5,096,371      4.4
          9     China          493,196       0.9       N/a       3,102,880      2.7
          10    UK             758,102       1.4       N/a       3,007,930      2.6
                Sub total      48,581,367    91        N/a       103,847,921    89.4
                Others         4,779,654     9         N/a       12,303,361     10.6
                World          53,361,021    100       N/a       116,151,282    100


การส่งออกของไทย

มูลค่าส่งออกเครื่องประดับอัญมณีของประเทศไทยไปกาตาร์เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น พอสรุปได้ดังนี้

มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐฯ

                       ปี 2551           ปี 2552            ปี 2553              ปี 2554
                    8.2 (+344.7%)   19.9 (+142.7%)     10.4 (-47.5%)     29.4 (+181.8%)


ผู้บริโภคและสินค้า

ประชากรที่อาศัยในประเทศส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในกาตาร์ มีหลายเชื้อชาติ ประชากรแต่ละกลุ่มมีรสนิยมการบริโภคเครื่องประดับที่ต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มต่างๆ

  • ผู้บริโภคชาวกาตาร์พื้นเมือง
แม้ว่าชาวกาตาร์พื้นเมืองจะเป็นผู้ซื้อกลุ่มเล็กเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบสัดส่วนประชากรในประเทศหรือคิดเป็นสัดส่วนประชากรประมาณร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ แต่เป็นชาวกาตาร์เป็นผู้บริโภคที่มีกำลังการซื้อเครื่องประดับสูง
เครื่องประดับที่ใช้มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งเครื่องประดับรูปแบบดั้งเดิมพื้นเมืองและเครื่องประดับดีไซน์สมัยนิยมที่ใช้ในชีวิตประจำวันและในโอกาสสำคัญ

เครื่องประดับรูปแบบดั้งเดิมเป็นเครื่องประดับทองรูปพรรณสไตล์อาหรับกลุ่มประเทศอ่าวอาระเบียนนิยมทองคำเนื้อ 21 กะรัต ใช้ในพิธีแต่งงาน สำหรับชาวชาวกาตาร์รุ่นใหม่นิยมเครื่องประดับรูปแบบทันสมัยทำด้วยทองคำเนื้อ 18 กะรัต สำหรับใช้ใส่ประจำวัน อาทิ แหวน ต่างหู สร้อยข้อมือ และสร้อยคอพอเหมาะใหญ่ไม่มาก แต่ในขณะที่เครื่องประดับชุดใหญ่ประดับด้วยเพชร มรกต ทับทิมและไพลิน จะใช้สำหรับในงานแต่งงาน หรือในการโอกาสพิเศษ

  • ผู้บริโภคที่เป็นชาวต่างชาติ

กลุ่มชาวอินเดีย ปากีสถานและบังคลาสเทศ เป็นชาวต่างชาติกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในกาตาร์ ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะนิยมเครื่องประดับทองรูปพรรณเนื้อ 22 กะรัต ตกแต่งด้วยการลงยา ส่วนเครื่องประดับทองตกแต่งด้วยอัญมณีไม่นิยมมากนัก กลุ่มผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ และชาวตะวันตก นิยมใช้เครื่องประดับทองเนื้อ 18 กะรัต

ภาษีและเอกสารประกอบการนำเข้า

ภาษีนำเข้าจากราคา CIF ร้อยละ 5 หากภาษีคิดจากราคา FOB จะบวกเพิ่ม I5% ในกรณีนำเข้าสินค้าเพื่อเป็นตัวอย่างหรือเพื่อแสดงในงานแสดงสินค้าจะต้องมี bank guarantee ระบุมูลค่าสินค้าเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ หรือวางเงินสดประกันสินค้าจำนวนร้อยละ 10 จากมูลค่าสินค้าทั้งสิ้น

เอกสารประกอบการนำเข้า ได้แก่ Invoice, Certificate of Origin ประทับตรารับรองจากหอการค้าไทยและ Legalize จากสถานทูตกาตาร์ในประเทศไทย Bill of Lading และ Packing List

สรุป

ผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดียและปากีสถาน นิยมซื้อเครื่องประดับทองรูปพรรณที่ทำจากเครื่องจักร์ สไตลล์อินเดีย ส่วนใหญ่นำเข้าจาก อินเดีย ยูเออี และฮ่องกง สินค้าไทยส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับประกอบอัญมณี ชาวอาหรับพื้นเมืองเป็นกลุ่มผู้ซื้อ เครื่องประดับอัญมณีประกอบด้วยสร้อย แหวน และต่างหู โดยมีรูปแบบตามแฟชั่นยุโรป

เครื่องประดับอัญมณีเพชรตัวเรือนทองคำขาวยังคงได้รับความนิยมซื้อหา หากเป็นประดับด้วยอัญมณีสี นิยมมรกต ทับทิม และไพลิน สำหรับเครื่องประดับทองรูปพรรณเนื้อ 18 กะรัต โดยทั่วไปจะเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบของยี่ห้อดังจากยุโรป เช่น คาร์เทีย บุลการี่ และทิฟฟานี่ เป็นต้น นอกจากนี้ผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องประดับทองรูปพรรณที่มีสาขาในหลายประเทศ มักจะมีการออก Collection ของตนเอง โดยใช้นักร้องและนักแสดงที่มีชื่อเสียงของชาวอาหรับเป็น Presenter

--------------------------------

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

มีนาคม 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ