ยางพาราในประเทศจีน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 27, 2012 11:58 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ยางพาราในประเทศจีน

จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปี 2554 ส่งผลให้ความต้องการภายในประเทศของจีนมีไม่สูงนัก ทำให้ผลิตภัณฑ์ยางพารามีจำนวนการผลิตน้อยลง และการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารามีอัตราต่ำลงตามไปด้วย แต่ไม่มากนัก ในภาพรวมยังคงรักษาเสถียรภาพไว้ได้ สถานการณ์ความเคลื่อนไหวของราคายางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าต่างๆมีดังนี้ ในไตรมาสที่ 1 ราคายางธรรมชาติสูงถึง 43,500 หยวน/ตัน ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนราคายางสังเคราะห์ได้ปรับขึ้นราคาในไตรมาสที่ 2 และปรับตัวสูงขึ้นถึง 10,000 หยวน/ตัน ในไตรมาสที่3 หลังจากนี้ได้ราคายางสังเคราะห์ได้ลดลงมาอย่างมาก การปรับตัวขึ้นลงของราคายางพาราส่งผลให้บริษัทที่จำเป็นต้องใช้ยางพาราในการผลิตสินค้า เช่นบริษัทผลิตยางรถยนต์ ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ด้วยต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเมื่อราคายางปรับตัวสูงขึ้น และกำไรที่ลดลงเหลือแค่ร้อยละ 2-5 ถือเป็นปัญหาที่น่าหนักใจในขณะนี้

สถานการณ์นำเข้ายางพาราของจีน

ยางพาราของประเทศจีนมีจำนวนการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ มากกว่าร้อยละ 70 ต้องอาศัยการนำเข้า ในปี 2554 ประเทศจีนได้นำเข้ายางพาราจากทั่วโลกทั้งหมด 23,064.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.39 คิดเป็น 4,774,275 ตัน เทียบกับปีที่แล้วลดลงร้อยละ 0.58 โดยเฉพาะยางธรรมชาติ คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 9,381.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.51 คิดเป็น 2,101,732 ตัน เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.88 การนำเข้ายางสังเคราะห์ 5,361.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.61 คิดเป็น 1,445,225 ตัน เทียบกับปีที่แล้วลดลงร้อยละ 7.67 และยางคอมพาวด์ 4,009.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.41 คิดเป็น 854,188 ตัน เทียบกับปีที่แล้วลดลงร้อยละ 14.76

ตารางแสดงประเภทยางพาราที่จีนนำเข้าจากต่างประเทศมากที่สุดใน 5 ปี

หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ__________________________________________________________________________________________________________

HS      Description   2550     2551       2552      2553      2554             สัดส่วน  %        Change %

2552 2553 2554 2554/2553

40      Rubber     9,589.32 11,905.35  10,374.20 16,910.26  23,064.67       100   100    100     36.39
4001    Natural    3,257.50  4,303.51   2,813.91  5,668.63   9,381.99     27.12 33.52  40.68     65.51
4002    Synth      2,841.89  3,341.04   2,991.14  4,268.16   5,361.36     28.83 25.24  23.25     25.61
        Rubber,Factice
4005    Comp,      1,190.37  1,542.94   1,921.56  3,222.53   4,009.01     18.52 19.06  17.38     24.41
        Unvulcn,Prim Frm
4016    Ot Art     1,131.77  1,298.68   1,213.33  1,684.68   1,928.38      11.7  9.96   8.36    14.40%
        Of Unhard,Vulc
4011    New          275.47    385.15      432.4    600.42     773.78      4.17  3.55   3.36     28.87
        Pneumatic Tires

ตารางดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นว่า ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์และยางคอมพาวด์เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการผลิต และเป็นประเภทยางที่ประเทศจีนมีการนำเข้ามากที่สุด สัดส่วนรวมจากร้อยละ 74.45 ในปี 2553 เพิ่มเป็นร้อยละ 81.31 ในปี 2554 การนำเข้ายางพาราในปี 2554 และปี 2553 มีจำนวนไม่ต่างจากปี 2553 มากนัก แต่เนื่องจากราคายางพาราในปี 2554 สูงขึ้น จึงเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันมูลค่าการนำเข้ายางพาราเติบโตอย่างรวดเร็ว

ตารางแสดงประเภทยางพาราที่จีนนำเข้ามากที่สุดในปี 2554

หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

HS   Description  Jan-54 Feb-54 Mar-54 Apr-54 May-54 Jun-54 Jul-54 Aug-54 Sep-54 Oct-54 Nov-54 Dec-54 Jan-55
     40 Rubber     1,794  1,302  2,413  2,067  1,739  1,590  1,684  2,110  2,313  1,997  2,155  1,990  1,287
4001 Natural         637    505  1,037    875    596    500    581    882  1,056    955    988    761    451
4002 Synth Rubber,   429    296    524    428    456    413    437    507    502    415    464    489    357
     Factice
4005 Comp,Unvulcn,   378    249    440    398    329    321    298    323    370    294    310    299    228
     Prim Frm

ตารางแสดงราคายางโดยเฉลี่ยที่จีนนำเข้าจากต่างประเทศในปี 2554

หน่วย: เหรียญสหรัฐฯ/ตัน

     Description Jan-54 Feb-54 Mar-54 Apr-54 May-54 Jun-54 Jul-54 Aug-54 Sep-54 Oct-54 Nov-54 Dec-54 Jan-55
40   Rubber       4,430  4,780  4,910  5,140  5,070  5,100  5,020  4,910  4,910  4,900  4,690  4,250  4,030
4001 Natural      4,320  4,710  4,860  4,990  4,850  4,610  4,460  4,410  4,490  4,420  4,160  3,710  3,330
4002 Synth Rubber,3,070  3,250  3,400  3,620  3,740  3,860  3,940  4,080  4,070  4,130  3,940  3,610    550
     Factice
4005 Comp,Unvulcn,4,380  4,830  5,120  5,170  4,950  4,860  4,750  4,630  4,700  4,670  4,480  3,870  3,630
     Prim Frm

ในปี 2554 ราคานำเข้ายางพาราของจีนสูงขึ้น โดยราคาเฉลี่ยของยางธรรมชาติคิดเป็นตันละ 4,460 เหรียญสหรัฐฯ ยางสังเคราะห์ 3,710 เหรียญสหรัฐฯ และยางคอมพาวด์ 4,690 เหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.62 36.05 และ 45.95 ตามลำดับ

เนื่องจากในปี 2554 เศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัว ความต้องการยางพาราในตลาดจึงไม่สูงมาก อุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ยางพารามากที่สุดได้ผลิตรถยนต์ทั้งหมด 18.4189 ล้านคัน เทียบกับปี 2553 เติบโตแค่ร้อยละ 0.84 ยางพาราที่นำเข้าด้วยราคาสูงไม่ได้มีการบริโภคมากนัก จึงส่งผลให้การนำเข้ายางพาราในปลายปี 2554 ถึงต้นปี 2555 มีจำนวนลดลง และราคาเฉลี่ยของการนำเข้าลดลงไปด้วย โดยเฉพาะยางธรรมชาติ จากราคาสูงสุดตันละ 4,990 เหรียญสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน 2554 ลดเหลือตันละ 3,330 เหรียญสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2555

ประเทศคู่ค้าสำคัญที่จีนนำเข้ายางพารา

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งผลิตยางพาราสำคัญของโลก และเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญของจีนอีกด้วย ในนั้น ประเทศไทยเป็นประเทศที่จีนนำเข้ายางพารามากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 6,753.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.39

ตารางแสดงประเทศคู่ค้าสำคัญที่จีนนำเข้ายางพารา

Rank       Country            2550         2551         2552         2553         2554    2554/2553 %
0        -- World --      9,589.32    11,905.35    10,374.20    16,910.26    23,064.67          36.39
1        Thailand         1,975.42     2,780.40     2,434.42     4,366.53     6,753.77          54.67
2        Malaysia         1,427.05     1,748.47     1,352.14     2,596.58     3,805.69          46.57
3        Indonesia          804.58     1,085.21       882.31     1,514.27     2,282.46          50.73
4        Japan            1,189.25     1,343.46     1,310.18     1,826.48     2,093.10           14.6
5        Korea, South       853.19       858.62       870.29     1,213.87     1,565.45          28.96
6        United States      687.29       881.87       784.26     1,089.63     1,338.62          22.85
7        Germany            314.50       380.60       383.52       601.42       765.30          27.25
8        Russia             383.05       554.22       350.29       556.95       602.63            8.2
9        Vietnam            272.53       190.95       207.40       526.63       547.36           3.94
10       Taiwan             481.37       472.46       369.30       454.29       511.26          12.54

ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งผลิตยางธรรมชาติที่สำคัญของโลก ฉะนั้น จีนได้นำเข้ายางธรรมชาติและยางคอมพาวด์ที่ใช้ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบสำคัญจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนมาก เช่นไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น ส่วนแหล่งนำเข้ายางสังเคราะห์ของจีนเป็นประเทศเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น

หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Rank  ประเทศที่จีนนำเข้ายางธรรมชาติ(HS 4001) ประเทศที่จีนนำเข้ายางคอมพาวด์(HS 4005) ประเทศที่จีนนำเข้ายางสังเคราะห์(HS 4002)
      Country    2553  2554  54/53%    Country    2553   2554  54/53%   Country      2553   2554  54/53%
1     Thailand 2663.1  4685   75.93    Malaysia 1190.4 1736.5  45.87    Korea,South 823.0 1154.2   40.24
2     Indonesia  1300  2061   58.54    Thailand   1401 1711.4  22.16    UnitedStates722.2  923.7   27.89
3     Malaysia 1139.2 1722.9  51.23    Indonesia 166.4  158.2  -4.95    Japan       676.3    805   19.03
4     Vietnam   354.4  476.9  34.58    Japan      85.1   88.5   3.99    Russia      556.4  597.9    7.46
5     Myanmar    67.1 105.19  56.62    Korea,South  63   67.4   7.02    Taiwan      287.7  327.4    13.8
6     Cote d     30.5  75.09 146.02    Vietnam   160.1   55.6 -65.27    France      151.4  218.3   44.16
      Ivoire
7     Cambodia   37.8  54.7   44.61    Taiwan     40.8   50.4  23.51    Canada      121.4  215.9   77.83
8     India       2.9  54.6  809.97    Philippines33.8     39  15.56    Belgium     214.8  182.6     -15
9     Laos       23.7  33.4   40.76    UnitedStates25.2  24.1  -4.41    Germany     135.7  172.3   26.99
10    Cameroon   16.5  30.1   82.25    Germany     16.1  22.5  40.14    Malaysia     72.9  129.6   77.66
สถานการณ์ยางพาราของจีนในปี 2555

แหล่งผลิตยางธรรมชาติของประเทศจีนอยู่ที่มณฑลไห่หนาน หยูนหนาน กวางตุ้ง และกวางสี โดยจำนวนการผลิตของไห่หนานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของทั้งประเทศจีน และการผลิตของหยูนหนานคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 เนื่องจากยางพาราเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตยางรถ รองเท้า และสินค้าต่างๆ จึงทำให้ยางพาราที่ผลิตภายในประเทศจีนมีไม่เพียงพอ ครองสัดส่วนของยางพาราที่ใช้จริงไม่ถึงร้อยละ 30 ที่เหลือยังคงต้องอาศัยการนำเข้า และปี 2555 จะเป็นช่วงเวลาที่น่าท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศจีน

ในเดือนกุมพาพันธ์ สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ(ANRPC) ได้ประเมินว่า จำนวนการผลิตยางธรรมชาติของทั่วโลกคิดเป็น 10.062 ล้านตัน เทียบกับปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 และคาดการณ์ว่าจำนวนการผลิตในปี 2555 คิดเป็น 10.529 ล้านตัน เทียบกับปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 การที่จำนวนการผลิตเติบโตนี้ เนื่องจากประเทศเวียดนามได้ขยายพื้นที่ปลูกยางพารา จึงทำให้จำนวนการผลิตของยางพารายังคงรักษาแนวโน้มการเติบโตในช่วงเวลาที่สภาพอากาศแปรปรวน

ถึงแม้อย่างนี้ หลายๆ ประเทศเริ่มปรับราคายางพาราให้สูงขึ้น เช่น ในเดือนมกราคม ปี 2555 ประเทศไทยที่เป็นประเทศที่มีจำนวนการผลิตยางพารามากที่สุดเริ่มดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยรัฐบาลจัดสนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้ราคาผลผลิตสู่เป้าหมายที่ 120 บาทต่อกิโลกรัม จำนวนการผลิตไม่ได้เติบโตมาก อาจจะเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันราคายางพาราขึ้นราคา ประเทศญี่ปุ่นมีแผนจะขึ้นราคายางสังเคราะห์ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ด้วย

ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมยานยนต์ของจีนเริ่มชะลอตัว จำนวนการผลิตและการจำหน่ายต่างไม่สูงมาก และคาดการณ์ว่าจำนวนการผลิตในปีนี้จะเติบโตไม่มากด้วย จึงส่งผลให้กับยางพารามีความต้องการไม่สูงมากด้วย ยางพารามีร้อยละ 60 ใช้ในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ กล่าวคืออุตสาหกรรมยางรถยนต์ ในสองเดือนแรกของปี 2555 จีนได้ผลิตยางรถยนต์ทั้งหมด 121.75 ล้านเส้น เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ สถานการณ์การผลิตยางรถยนต์ยังไม่ได้เลวร้ายมาก แต่ยางพาราที่ราคาสูงในปี 2554 ส่งผลให้กับยางรถยนต์ต้องปรับราคาสูงขึ้นร้อยละ 4-20 ในต้นปี 2555

เนื่องจากสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของราคายางพาราในปี 2554 บางบริษัทได้นำเข้ายางพาราด้วยราคาสูง และจำหน่ายด้วยราคาถูก ทำให้บริษัทฯ ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยากลำบาก จึงทำให้ปัจจุบันนี้ บริษัทจีนไม่ได้เร่งนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศมากเท่าไหร่นัก เนื่องจากสถานการณ์ราคายางพาราที่ยังคงผกผันไม่แน่นอนอาจมีแนวโน้มที่จะลดลงได้อีกในอนาคต

ที่มา: World Trade Atlas

http://news.dayoo.com/finance/201203/13/54391_106028519.htm

http://futures.xinhua08.com/a/20120301/911098.shtml

http://www.cpcia.org.cn/html/19/20123/100933.html

http://news.cria.org.cn/2/6389.html

เรียบเรียงโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

เดือนมีนาคม พ.ศ.2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ