สถานการณ์ข้าวเวียดนามปี 2554 และไตรมาสแรกปี 2555
ปี 2554: ปีแห่งความสำเร็จทั้งการเพาะปลูกและการส่งออก
แม้ในปี 2554 เวียดนามจะประสบภัยธรรมชาติ แต่ผลผลิตข้าวที่เกษตรกรได้รับยังคงเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 1 ล้านตันข้าวเปลือก โดยมีจำนวน 42.3 ล้านตันข้าวเปลือก จากพื้นที่เพาะปลูกตลอดปี 7.7 ล้านเฮคตาร์ โดยเฉพาะเกษตรกรเขตแม่โขงเดลต้าผลิตได้ 23 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ถึง 1.5 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 7
ผลผลิตข้าวในเขตแม่โขงเดลต้าคิดเป็นร้อยละ 55 ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ
การผลิตและการบริโภคข้าวในประเทศของเวียดนาม
หน่วย : ล้านตันข้าวเปลือก __________________________________________________________________________
รายการ 2544 2555 winter/spring 2554 / 55 (ประมาณการ) ( มค. — เมย. ) __________________________________________________________________________ การผลิต 42.32 42.45 - ภาคเหนือ (13.84) (13.69) - - ภาคใต้ (28.48) (28.76) - -- เขตแม่โขง (23.36) (23.44) (10.34)
เดลต้า
27.52 29.00 3.00 ความต้องการบริโภค 14.08 13.50 7.40 ข้าวเพื่อการค้า (8 ล้านตัน (7.3-7.5 (4.0 ล้านตันข้าวสาร)
ข้าวสาร) ล้านตันข้าวสาร) __________________________________________________________________________
ที่มา : กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (สคต.นครโฮจิมินห์รวบรวม)
ปี 2555 : ปีแห่งความท้าทายของการค้าข้าว
ข้าวฤดูการผลิตแรกของเวียดนาม (winter — spring crop 2554/2555) เริ่มต้นจากเขตแม่โขงเดลต้าก่อนเป็นแห่งแรก โดยเกษตรกรในเขตดังกล่าวได้เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จสิ้นแล้ว และขณะนี้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดโดยจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วง 15 มีนาคม — เมษายน
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม (MARD) ประเมินว่า เกษตรกรได้รับผลผลิตข้าวโดยเฉลี่ยต่อเฮคตาร์ เป็น 6.32 ตัน ทำให้ผลผลิตข้าวฤดูการผลิตหนาว-ใบไม้ผลิ ปี 2555 ของเกษตรกรเขตแม่โขงเดลต้ามีประมาณ 10.34 ล้านตันข้าวเปลือก จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 1.64 ล้านเฮคตาร์ และคาดว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2555 การบริโภคข้าวในประเทศมีประมาณ 3 ล้านตันข้าวเปลือก จึงเหลือข้าวเพื่อการค้า 7.4 ล้านตันข้าวเปลือกหรือประมาณ 4 ล้านตันข้าวสาร ไม่รวมจำนวน 1.1 ล้านตันที่เป็นสต็อคจากปี 2554
MARD คาดว่าในปี 2555 เวียดนามจะผลิตข้าวได้ 42.5 ล้านตันข้าวเปลือก โดยเป็นผลผลิตข้าวของจังหวัดแถบแม่โขงเดลต้า 23.44 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากผลผลิตปี 2554 ถึง 80,000 ตัน ความต้องการบริโภคข้าวในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 29.0 ล้านตันข้าวเปลือก จึงมีข้าวเหลือเพื่อการค้า 13.5 ล้านตันข้าวเปลือก หรือประมาณ 7.3 -7.5 ล้านตันข้าวสาร ทั้งนี้ คาดว่าจะมีจำนวนข้าวที่เก็บสำรองไว้สำหรับปี 2556 อีกจำนวน 1.0 — 1.5 ล้านตัน
ฤดูการผลิต winter — spring จะให้ผลผลิตข้าวมากที่สุด และส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก รัฐบาลจึงมีนโยบายจำกัดไม่ให้เพาะปลูกข้าวพันธุ์คุณภาพต่ำ เช่น IR 50404 เกินกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่เพาะปลูก และส่งเสริมให้ปลูกข้าวหอม (ข้าวจัสมินและ VN 20) 10 — 15 % ของพื้นที่ ส่วนที่เหลือเก็บไว้เพื่อปลูกข้าวคุณภาพสูง (ใช้ผลิตข้าว 5 - 10%)
แต่ในปี 2555 เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารช่วงต้นฤดูเพาะปลูกว่า ข้าวพันธุ์คุณภาพต่ำเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ประกอบกับในปีที่ผ่านมาเกษตรกรได้กำไรจากการเพาะปลูกข้าวพันธุ์นี้อย่างมาก ทำให้เกษตรกรเขตแม่โขงเดลต้าปลูกข้าวพันธุ์ IR 50404 มากถึงร้อยละ 50 —70 ของพื้นที่เพาะปลูกฤดู winter — spring 2554/2555 ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่อินเดียและปากีสถานหวนกลับเข้าสู่วงการค้าข้าวในตลาดโลก โดยระบายข้าวคุณภาพต่ำจากสต็อคในประเทศในราคาต่ำมากจนข้าวเวียดนามไม่สามารถแข่งขันได้ จึงเกิดปัญหาการค้าข้าวคุณภาพต่ำในช่วงต้นปี
- กระทรวงการคลังเวียดนามประกาศให้ราคาขั้นต่ำในการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรเป็น 5,000 ด่ง (24 US cents)/กิโลกรัม เพื่อให้เกษตรกรได้รับกำไรร้อยละ 30 เพราะต้นทุนการผลิตข้าวฤดู winter — spring 2554 / 2555 โดยเฉลี่ยเป็น 3,400 ด่ง (16 US cents)/กิโลกรัม
- สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) กำหนดราคาส่งออก (FOB) ขั้นต่ำของข้าว 25% ที่จะทำให้เกษตรกรได้รับกำไรร้อยละ 30 ควรเป็น US$ 390/ตัน ขณะที่ราคาข้าวของอินเดียและปากีสถานในคุณภาพใกล้เคียงกันเป็น US$ 340 — 350 /ตัน
ตลาดข้าวในประเทศปี 2555 เผชิญปัญหาตั้งแต่ต้นปีเพราะปริมาณข้าวคุณภาพต่ำ ( ข้าว 25% - 50%) ในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่สัญญาซื้อข้าวจากลูกค้าต่างประเทศล้วนแล้วแต่เป็นข้าวคุณภาพดี ข้าวหอม และข้าวเหนียว โดย ไม่มีคำสั่งซื้อข้าว 25% เลย เพราะไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับข้าวของอินเดียและปากีสถานได้ นอกจากนี้ ลูกค้าประจำที่รับซื้อข้าวคุณภาพต่ำของเวียดนาม เช่น ประเทศในกลุ่มแอฟริกา ฟิลิปปินส์ และจีน ต่างรอให้ถึงช่วงที่ผลผลิตข้าวฤดูการผลิตแรกออกสู่ตลาดมากที่สุด (ประมาณกลางมีค.- เมย.) เพื่อต่อรองราคารับซื้อให้ต่ำลงอีก จึงทำให้ราคาข้าวในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง สร้างความกังวลใจให้แก่เกษตรกร และส่งผลให้ราคาข้าวคุณภาพดีมีราคาลดลงตามไปด้วย
เมื่อราคาข้าวลดลงอย่างมาก ทำให้ VINAFOOD 2 (Vietnam Southern Food Corporation) ได้รับคำสั่งให้ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกจำนวน 3.8 ล้านตัน (1 ล้านตันข้าวสาร) ในช่วงวันที่ 15 มีนาคม — เมษายน ในราคาไม่ต่ำกว่า 5,000 ด่ง (24 US cents)/กิโลกรัม และเก็บสำรองไว้ในประเทศชั่วคราว (เป็นเวลา 3 เดือน) ทั้งนี้ เพื่อดึงราคาข้าวเปลือกไม่ให้ต่ำกว่า 5,000 ด่ง/กิโลกรัม โดยรัฐจะให้การสนับสนุนด้านเงินกู้ยืมปลอดดอกเบี้ยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
อย่างไรก็ตาม แม้โครงการรับซื้อข้าวเพื่อการสำรองในประเทศจะเริ่มต้นดำเนินการแล้ว แต่เกษตรกรก็ยังคงถูกกดราคารับซื้อข้าวเปลือกต่ำกว่า 5,000 ด่ง/กิโลกรัม เพราะโครงการให้ความสำคัญต่อการรับซื้อข้าวหอมและข้าวคุณภาพดีก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีความต้องการจากตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนเป็นจำนวนมาก ส่วนข้าวคุณภาพต่ำจะพิจารณาเป็นอันดับท้าย เพราะไม่มีการสั่งซื้อจากลูกค้า
ราคาข้าวในเขตแม่โขงเดลต้า ปี 2555 (มค.- มีค.)
หน่วย: เวียดนามด่ง/กิโลกรัม
___________________________________________________________________________
ประเภท 27 มค. 2555 23 กพ. 2555 8 มีค. 2555
___________________________________________________________________________
ข้าวเปลือกแห้ง IR 50404 5,600 — 5,750 5,150 — 5,300 5,050 -5,150 ข้าวเปลือกแห้งพันธุ์เมล็ดยาว 5,750 - 5,900 5,350 — 5,500 5,250 — 5,350 ข้าวเกรดที่ 1 ใช้ผลิตข้าว 5% 7,450 - 7,600 7,100 — 7,250 6,850 - 6,950 ข้าวเกรดที่ 1 ใช้ผลิตข้าว 25% 7,350 — 7,500 6,850 — 7,000 6,650 — 6,750
ข้าวสาร (ยังไม่บรรจุถุง)
- 5% (ราคา FOB) 8,750 — 8,900 8,250 — 8,400 8,150 — 8,250 - 15% (ราคา FOB) 8,250 — 8,400 7,750 — 7,900 7,550 — 7,650 - 25% (ราคา FOB) 7,900 — 8,050 7,450 — 7,600 7,200 — 7,300
___________________________________________________________________________ ที่มา: สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA)
ปี 2554 เวียดนามส่งออกข้าวได้ถึง 7.1 ล้านตัน มูลค่า 3,656 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ปริมาณการ ส่งออกจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4 แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.8 โดยมีราคาส่งออก (FOB) โดยเฉลี่ยเป็น 515 เหรียญสหรัฐ/ตัน
การส่งออกข้าวของเวียดนาม ________________________________________________________________________________________________
ปี ปริมาณส่งออก มูลค่าส่งออก ราคาส่งออกโดยเฉลี่ย(FOB) US$/ตัน ________________________________________________________________________________________________ ล้านตัน เพิ่ม/ลด (%) ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม/ลด (%) 2553 6.828 - 3,212 - 470.4 2554 7.105 4.05 3,656 13.82 514.6 มค. —กพ.2555 0.627 -40 319 508.8 2555 * 6.5 — 7.0 (-8.51) — 3,000 -17.9 (ทั้งปี) ( -1.5) ________________________________________________________________________________________________ ที่มา: กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม * ตัวเลขประมาณการของ MoIT
ปี 2555 เป็นปีที่การค้าข้าวของเวียดนามต้องเผชิญปัญหาตั้งแต่ต้นปี โดยลูกค้าประจำที่ซื้อข้าวคุณภาพต่ำ เช่น บัคลาเทศ และแอฟริกาได้หันไปซื้อข้าวอินเดียและปากีสถานแทนเพราะมีราคาถูกกว่า ทำให้ผู้ค้าข้าวในประเทศรับซื้อข้าวจากเกษตรกรเฉพาะข้าวหอมและข้าวเมล็ดยาวเท่านั้น
ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 เวียดนามส่งออกข้าวได้ 627,182 ตัน มูลค่าส่งออก 319 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยข้าวคุณภาพต่ำส่งออกได้เพียงร้อยละ 6.45 ของการส่งออกทั้งหมด ข้าวส่วนใหญ่ที่ขายได้เป็นข้าวหอม ข้าวเหนียว และข้าวนึ่งโดยฮ่องกงและจีนเป็นลูกค้ารายใหญ่ 2 อันดับแรกของข้าวหอมเวียดนาม
คาดว่าในไตรมาสแรกของปี 2555 เวียดนามจะส่งออกข้าวได้ 1.1 ล้านตัน มูลค่า 553 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในปี 2555 เวียดนามคาดว่าจะส่งออกข้าวได้ในครึ่งแรกของปีจำนวน 3.0 ล้านตัน และคาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของปีเป็นจำนวน 3.5 — 4.0 ล้านตัน รวมทั้งปีเป็นประมาณ 6.5 — 7.0 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ประเทศคู่ค้านำเข้าที่สำคัญ
ตลาดเอเชียยังคงเป็นตลาดหลักสำหรับข้าวเวียดนาม โดยคิดเป็นร้อยละ 70 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด รองลงมาได้แก่ประเทศแอฟริกา คิดเป็นร้อยละ 26 ส่วนตลาดอเมริกา ออสเตรเลีย และตะวันออกกลางนำเข้าเพียงร้อยละ 1 สำหรับประเทศนำเข้าที่สำคัญได้แก่
อินโดนีเซีย ได้กลายเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยในปี 2554 นำเข้าถึงร้อยละ 50 ของข้าวที่เวียดนามส่งออกไปยังอาเซียน แต่เมื่อต้นปี 2555 อินโดนีเซียได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับพม่าในการซื้อข้าวจากพม่าเป็นจำนวน 100,000 — 200,000 ตันต่อปี หลังจากที่พม่าได้ยกเลิกการห้ามส่งออกข้าว เนื่องจากอินโดนีเซียต้องการลดการพึ่งพาข้าวจาก 2 แหล่งข้าวที่ใหญ่ที่สุด คือ ไทยและเวียดนาม อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียมีแผนจะนำเข้าข้าว 2 ล้านตันในปี 2555 และ VFA คาดว่าในไตรมาสที่ 2 อินโดนีเซียจะมีคำสั่งซื้อข้าวจากเวียดนาม
ฟิลิปปินส์ ในปี 2554 การนำเข้าข้าวจากเวียดนามของฟิลิปปินส์ ได้ลดลำดับความสำคัญจากการเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดมาเป็นผู้นำเข้าอันดับที่สองรองจากอินโดนีเซีย และสำหรับในปี 2555 ประมาณกลางเดือนมีนาคม ฟิลิปปินส์มีแผนรับซื้อข้าวจำนวน 500,000 ตันหรือมากกว่า โดย Vinafood 2 จะเป็นผู้เจรจาเพื่อให้ได้สัญญานี้ และ VFA เชื่อว่าเวียดนามจะเป็นผู้ได้รับคำสั่งซื้อ
จีน การส่งออกข้าวไปจีนของเวียดนามขยายตัวอย่างรวดเร็ว จาก 124 พันตันในปี 2553 เป็น 309 พันตันในปี 2554 โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 149.2 สำหรับปี 2555 (มค. — กลางมีค.) จีนได้สั่งซื้อข้าวจากเวียดนามอย่างเป็นทางการแล้ว จำนวน 500,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ และข้าวคุณภาพดี (ข้าว 5%) รวมทั้งนำเข้าผ่านชายแดนอีกมากกว่า 400,000 ตัน VFA คาดว่า การส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังจีนในไตรมาสแรกของปี 2555 เป็น 1 ล้านตัน (ทั้งตามสัญญาค้าและการค้าชายแดน) และจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี ทั้งนี้เวียดนามพยายามตั้งศูนย์ส่งเสริมการส่งออกข้าวคุณภาพดีของเวียดนามโดยเร็ว เพื่อเชื่อมต่อการค้าข้าวกับตลาดจีนและฮ่องกง
ฮ่องกง ในปี 2554 เวียดนามส่งออกข้าวหอมไปยังฮ่องกงเป็นจำนวน 135,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณการนำเข้าของฮ่องกง ซึ่งก้าวกระโดดจากที่เคยนำเข้าเพียง 1% เมื่อปี 2551 และในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555 (มค.- กพ) บริษัทผู้ส่งออกข้าวของเวียดนามได้ส่งออกข้าวหอมไปยังฮ่องกงในราคาตันละ 600 — 700 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าข้าวคุณภาพต่ำ (ข้าว 15 -25%) ถึง 2 เท่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 สมาคมข้าวฮ่องกงได้นำสมาชิก 40 รายเดินทางไปสำรวจตลาดข้าวเวียดนาม โดยมุ่งหวังจะเป็นคู่ค้าที่สำคัญต่อไป ทั้งนี้ ฮ่องกงนำเข้าข้าวจากเวียดนามประมาณปีละ 320,000 ตัน เพื่อบริโภคในประเทศและส่งออกต่อ
ประเทศคู่ค้านำเข้าสำคัญของข้าวเวียดนามปี 2554
ปริมาณ : พันตัน มูลค่า : ล้านเหรียญ
สหรัฐ
________________________________________________________________________________
ประเทศ 2553 2554 เพิ่ม/ลด (%) ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
________________________________________________________________________________
อาเซียน 3,232 1,759 3,775 1,995 16.8 13.41 - อินโดนีเซีย 687 346 1,883 1,019 174.1 194.5 - ฟิลิปปินส์ 1,476 947 975 475 -33.9 -49.7 - สิงคโปร์ 539 228 386 198 -28.4 -13.2 - มาเลเซีย 398 178 530 292 33.2 64 - บรูไน 15 8 2 10 -86.6 25 - ติมอร์ เลสเต้ 117 52 2 11 -98.3 -78.8 จีน 124 55 309 161 149.2 192.7 ฮ่องกง 131 65 150 89 14.5 36.9 ไต้หวัน 353 143 83 44 -76.5 -69.2 รัสเซีย 84 36 41 22 -51.2 -38.9 กลุ่มประเทศแอฟริกา 840 414 - เซเนกัล 410 170 - ไอวอรี่ โคสต์ 292 139 - กานา 138 77 - อังโกลา 2,904 1,154 1,907 925 รวม 6,828 3,212 7,105 3,650
________________________________________________________________________________
ที่มา: สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO)
สมาคมอาหารแห่งเวียดนาม (VFA) เป็นผู้กำหนดราคาขั้นต่ำสำหรับการส่งออกข้าวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขายข้าวตัดราคา ในปี 2555 เวียดนามเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรงจากข้าวอินเดียและปากีสถาน ทำให้ข้าวคุณภาพต่ำ (IR 50404 ซึ่งใช้ผลิตข้าว 25%) ของเวียดนามไม่มีคำสั่งซื้อเลย VFA จึงต้องปรับราคาส่งออกขั้นต่ำให้ลดลง
ราคาส่งออกขั้นต่ำของข้าวเวียดนาม
หน่วย US$/ตัน __________________________________________________________________________________________
ประเภทข้าว 2554 2555 หมายเหตุ __________________________________________________________________________________________
(22 ธค.) (เริ่มมีผล 18 มค.) หลัง 18 มค. 2555 VFA ไม่ได้ประกาศราคา
ข้าว 5% 500 450 ส่งออกขั้นต่ำของข้าวเวียดนามอย่างเป็น ข้าว 10% 495 445 ทางการอีก มีเพียงให้ข้อมูลผ่านสื่อว่าได้ปรับลด ข้าว 15% 485 435 ราคาข้าวคุณภาพต่ำลงจาก US$ 385 ต่อตัน ข้าว 25% 470 425 เมื่อต้นเดือนกพ. เป็น US$ 375 ต่อตันเมื่อ
ปลายกพ. เพื่อสามารถแข่งขันการส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ __________________________________________________________________________________________
4.1 ในปี 2555 เวียดนามเน้นการปรับปรุงคุณภาพข้าวส่งออก โดยหวังว่าผู้ส่งออกเวียดนามจะสามารถชนะสัญญาซื้อขายข้าวจากตลาดเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน และฮ่องกงได้ โดย VFA เสนอให้ส่งออกข้าวหอมเพิ่มมากขึ้น และตั้งเป้าส่งออกข้าวหอมปี 2555 เป็น 500,000 ตัน ส่วนกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ขอให้ VFA เร่งสร้างตราสินค้า (brand name) ข้าวเวียดนามคุณภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “Vietnam Jasmine Rice” เพื่อผลักดันให้การส่งออกข้าวหอมเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 1 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม มีเสียงคัดค้านจากนักวิชาการด้านเกษตรเวียดนามที่ต้องการให้รัฐบาลมุ่งเน้นการผลิตข้าวพันธุ์เมล็ดยาวซึ่งเป็นข้าวที่บริโภคในตลาดโลกถึง 60% และเป็นจุดแข็งของข้าวเวียดนาม เพราะมีหลากหลายพันธุ์ ทำให้เวียดนามมีข้าวหลายประเภทที่จะส่งออก สามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้าหลายระดับและแข่งขันกับข้าวของประเทศอื่นๆ ได้
4.2 เวียดนามสนใจตลาดจีนมากขึ้น โดยจะร่วมมือกับคู่ค้าจีนในการจัดตั้ง Vietnam — China Rice Traders’ Club ภายในไตรมาสแรกของปี 2555 เพื่อการค้าข้าวคุณภาพดี รวมทั้งข้าวหอมให้จีนและฮ่องกง
4.3 นักวิเคราะห์ต่างชาติแสดงความเห็นว่า การที่พม่าก้าวมาเป็นผู้ค้าข้าวในตลาดโลก เป็นการคุกคามทั้งข้าวเวียดนามและข้าวไทย เพราะลูกค้าเป้าหมายของพม่าคือแอฟริกา อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ โดยพม่าตั้งเป้าการส่งออก 1.5 ล้านตันปี 2555 และเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านตันในปี 2556 และ 3 ล้านตันภายในปี 2558
-------------------------------------
สคต.นครโฮจิมินห์
26 มีนาคม 2555