ภาวะตลาดธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 29, 2012 13:33 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาวะตลาดธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวัน

1. ภาวะตลาดทั่วไป

จากสถิติของ Foreseeing Innovative New Digiservices (FIND), Institute for Information Industry (III) ชี้ว่า จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2554 มีผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตในไต้หวันทั้งสิ้นประมาณ 16.7 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.0 ของจำนวนประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 23 ล้านคน เห็นได้อย่างชัดเจนว่าชาวไต้หวันมีการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว ประกอบกับระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตในระบบออนไลน์ก็ได้รับการพัฒนาจนมีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมากในด้านความปลอดภัย ปริมาณชาวไต้หวันที่นิยมซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตจึงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี ทำให้ปัจจุบันผู้ประกอบการค้าปลีกในไต้หวันหันมาพัฒนาการขายสินค้าออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ

โดยกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่นิยมการซื้อสินค้าออนไลน์จะเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวด้านราคา และไม่เบื่อหน่ายที่จะค้นหาข้อมูล จึงทำให้การรวมตัวในลักษณะ Online Group Purchase หรือที่เรียกในชื่อภาษาจีนว่าถวนโก้ว (Tuan Gou )ได้รับความนิยมไม่น้อย ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะบอกต่อๆกันไปถึงส่วนต่างของราคาที่ซื้อผ่านการรวมกลุ่มในรูปแบบของการตลาดแบบปากต่อปาก (Word-of-mouth Marketing) จนทำให้เวปไซด์ที่ให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะกลายเป็นที่นิยมขึ้นมา โดยมี Groupon Taiwan เป็นผู้นำในตลาดถวนโก้วในไต้หวัน ซึ่งแม้แต่ Yahoo! Taiwan ต้องสร้าง Platform ใหม่ขึ้นมาให้บริการกลุ่ม ถวนโก้วโดยเฉพาะเป็น Yahoo! Discount+ เป็นต้น แน่นอนว่าช่องทางเหล่านี้ต่างก็ถือเป็นการเสนอทางเลือกที่ดีในการสร้างอำนาจต่อรองให้แก่ผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง ในยุคที่ข่าวสารไปไกลอย่างรวดเร็วแค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส

2. มูลค่าตลาดและภาวะตลาดโดยรวม

จากสถิติของ Euromonitor International ชี้ว่าในปี 255 3 มูลค่าตลาดค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวันคิดเป็นมูลค่ารวม 81,432.5 ล้านเหรียญไต้หวัน (1 เหรียญไต้หวันเท่ากับประมาณ 1 บาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 9.0 โดยสินค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดคือ Apparel ด้วยมูลค่า 34,466.5 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 4.3 ด้วยปัจจัยด้านราคาที่เป็นที่ดึงดูดเพราะมีต้นทุนต่ำกว่าร้านขายเสื้อผ้าที่มีร้านจริงๆ และไม่มีปัญหาด้านความปลอดภัยของตัวสินค้า ทำให้ผู้คนนิยมการซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตมาก จนมีผู้ประกอบการที่สร้างตัวเองจนโด่งดังจากช่องทางออนไลน์ เช่น เสื้อผ้ายี่ห้อ Lativ ซึ่งเป็นแบรนด์ไต้หวันที่เพิ่งก่อตั้งได้เพียง 4 ปี และใช้การจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก สามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า 1,500 ล้านเหรียญไต้หวันในปี 2553 (1 เหรียญไต้หวันเท่ากับประมาณ 1 บาท) จนเป็นข่าวฮือฮาไปทั่วประเทศ และเป็นการจุดประกายให้ผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีร้านค้าจำหน่ายสินค้าของตัวเองก็หันมาให้ความสำคัญของการซื้อขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น

เช่น Uniqlo Taiwan ซึ่งมีเพียงสาขาเดียวในไต้หวันในช่วงต้นปี (2554) ก็มีการเปิดให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อออนไลน์ทางเวปไซด์ไต้หวันในช่วงต้นปี (2554) ก็มีการเปิดให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อออนไลน์ทางเวปไซด์ในเดือนมีนาคม 2554 เพื่อความสะดวกในการเลือกซื้อและสั่งซื้อสินค้า ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับจากผู้บริโภคไต้หวันไม่น้อย จนทำให้เวปไซด์ของ Uniqlo ที่เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2554 นั้น สามารถสร้างยอดขายให้กับบริษัทฯได้มากถึงร้อยละ 30 ของมูลค่าจำหน่ายทั้งหมดในปี 2554 สำหรับสินค้าที่เป็นที่นิยมในอันดับรองลงมาได้แก่สินค้า Consumer Electronics (เช่น กล้องดิจิตอล เครื่องเล่น MP4 เป็นต้น) ซึ่งมีมูลค่า 21,220.9 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 3.9 Media Products (มูลค่า 6,800.3 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0) และ Consumer Appliance (มูลค่า 6,574.9 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0) ซึ่งต่างก็เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมีความอ่อนไหวด้านราคาทั้งสิ้น รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 มูลค่าตลาดค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวัน

Unit: NT$ Million

__________________________________________________________________________

          สินค้า                     2552        2553        2554   54/53

__________________________________________________________________________

          Apparel                        30,905.3    33,060.7    34,466.5    4.3%
          Consumer Electronics           16,733.0    20,418.4    21,220.9    3.9%

(เช่นกล้องดิจิตอล เครื่องเล่น MP4)

          Consumer Appliances             5,919.1     6,263.6     6,574.9    5.0%

(เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน)

          Media Products                  5,934.8     6,415.4     6,574.9    6.0%
          Houseware & Home Furnishings    2,429.8     2,636.3     2,906.1   10.2%
          Toys and Games                    998.9     1,163.4     1,345.9   15.7%
          Beauty and Personal Care          848.9     1,024.9     1,130.8    9.0%
          Food & Drink                      678.9       759.5       850.7   12.0%
          Consumer Healthcare               789.8       804.4       841.9    4.7%
          DIY and Gerdening                 284.1       297.0       316.4    6.5%
          Home Care                          69.4        75.5        82.5    9.3%
          Others                          4,875.8     3,186.1     4,895.6    5.4%
          Total                          71,365.0    78,859.9    85,923.9    9.0%

__________________________________________________________________________

Source: Euromonitor International (February 2012)

3. ผู้ประกอบการ

แม้ว่าจะต้องพบกับภาวะการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในปีที่ผ่านมาจนทำให้ส่วนแบ่งตลาดลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.5 หากแต่ PC Home Online ยังคงถือเป็นผู้ประกอบการที่ครองส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวันมากที่สุดในปี 2554 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 11.1 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9,039.01 ล้านเหรียญไต้หวัน ด้วยข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายของสินค้าและความรวดเร็วในการจัดส่ง ซึ่ง PC Home เป็นรายแรกที่รับประกันว่าสินค้าจะถึงมือลูกค้าภายในเวลา 24 ชั่วโมง (สำหรับสินค้าที่ร่วมรายการ) นอกจากนี้ ทางบริษัทได้จัดโปรโมชั่นลดราคาพิเศษอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีการประกาศล่วงหน้า เช่น ทุกชั่วโมงตรง โดยจะมีการเลือกสินค้าที่ไม่เหมือนกันมาทำการลดราคา และอื่นๆ ซึ่งไม่เพียงแต่จะสามารถดึงดูดให้สมาชิกเข้ามาใช้บริการเวปไซด์บ่อยขึ้น หากแต่ยังเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นด้วยจากส่วนลดของราคาที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความอยากซื้อสินค้ามากขึ้นด้วย

ตารางที่ 2 ส่วนแบ่งตลาดของผู้ประกอบการในธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวัน

Unit: NT$ Million

     Brand         Company                         2552              2553           2554               54/53
                                            %Share     Value   %Share     Value    %Share      Value
PC Home            PC Home Online             11.9  8,385.66     11.6  8,828.20      11.1   9,039.01   2.39%
Yahoo!             Yahoo! Taiwan              7.4   5,214.61        7  5,327.36       6.8   5,537.41   3.94%
Pay Easy           Pay Easy Digital           4.1   2,889.18      3.8  2,892.00       3.6   2,931.57   1.37%
                   Integration
ET Mall            Eastern Shopping           3.6   2,536.84      3.4  2,587.58       3.2   2,605.84   0.71%
                   Department
Momo Shop          Fubon Multimedia           2.4   1,691.22      2.5  1,902.63       2.8   2,280.11  19.84%
                   Technology
Yahoo! Super City  Yahoo! Taiwan              2.2   1,550.29      2.5  1,902.63       2.6   2,117.25  11.28%
Tsann Kuen 3C      Tsann Kuen Enterprise      2.5   1,761.69      2.4  1,826.52       2.3   1,872.95   2.54%
Viva               Viva TV Shopping Network   1.8   1,268.42      2.3  1,750.42       2.2   1,791.52   2.35%
Books              Books Digital Technology   2.1   1,479.82      2.1  1,598.21         2   1,628.65   1.90%
TLW                Test Rite Group            0.6     422.81      0.6    456.63       0.6     488.60   7.00%
Sunfar             Sunfar Computer            0.4     281.87      0.4    304.42       0.4     325.73   7.00%
Others                                        60.8 42,985.30     61.3 46,728.59      62.4  50,813.88   8.74%
Total                                        100.0 70,467.70    100.0 76,105.20     100.0  81,432.50   7.00%
Source: Euromonitor International (February 2012)

          ผู้ประกอบการที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นอันดับสองในตลาดได้แก่ Yahoo! Shopping ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.8 ในปี 255 4 แต่ทั้งนี้ Yahoo! มี Platform ค้าปลีกออนไลน์อีกหนึ่งเวป ซึ่งได้รับความนิยมเช่นกันคือ Yahoo! Super City ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.6 ทำให้ส่วนแบ่งตลาดรวมของบริษัทอยู่ที่สัดส่วนร้อยละ 9.4 โดยทั้ง Yahoo! Taiwan และ Yahoo! Super City ต่างก็พยายามแข่งขันกับ PC Home ในด้านการจัดส่งสินค้า โดย Yahoo! เสนอบริการแบบไม่คิดค่าส่งสำหรับสินค้าบางรายการในขณะที่ Yahoo! Super City  เน้นความรวดเร็วด้วยการเสนอบริการพิเศษสำหรับสินค้าบางรายการว่าสามารถจัดส่งถึงมือลูกค้าได้ภายในเวลา 12 ชั่วโมง ทั้งนี้ Momo Shop ถือเป็นเวปไซด์ที่มีอัตราการเติบมากที่สุดของตลาดในปี 2554 ด้วยข้อได้เปรียบจากการเป็นผู้ประกอบการ TV Shopping ที่มีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่ค่อนข้างหลากหลาย และมีระบบการรับประกันคุณภาพสินค้าที่ดี ทำให้ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคได้ในเวลาอันรวดเร็ว
          เพื่อเป็นการกระตุ้นการจำหน่ายโดยรวม เวปไซด์ส่วนใหญ่จะมีบริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต รวมไปจนถึงการผ่อนชำระเป็นงวดโดยไม่คิดดอกเบี้ย แน่นอนว่าการบริการหลังการขายที่ดีและนโยบายการรับคืนสินค้าที่เหมาะสมตรงไปตรงมา รวมไปจนถึงค่าขนส่งซึ่งถือเป็นต้นทุนแฝงของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ต่างก็ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ผู้บริโภคนำมาใช้ในการตัดสินใจสั่งซื้อด้วย โดยรายละเอียดเพิ่มเติมของส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวัน ปรากฏตามตารางที่ 2  4. พฤติกรรมผู้บริโภค
          จากรายงานของ Market Intelligence & Consulting Institute (MIC) ซึ่งปรากฏใน 2011 Taiwan Information Service Industry Yearbook ระบุว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ในไต้หวันในช่วงปลายปี 2553 พบว่า ผู้บริโภคจะใช้จ่ายในการซื้อสินค้าออนไลน์โดยเฉลี่ยคนละ 9,671 เหรียญไต้หวันต่อปี ซึ่งค่าเฉลี่ยของผู้ชายอยู่ที่ 10,728 เหรียญไต้หวันต่อคนต่อปี จะมากกว่าของผู้หญิงซึ่งอยู่ที่ระดับ 9,096 เหรียญไต้หวันต่อคนต่อปี  สาเหตุสำคัญมาจากการที่สินค้าที่ผู้ชายเลือกซื้อส่วนใหญ่จะเป็นสินค้า 3 C (Computer, Communication and Consumer-Electronics) ที่มีราคาเฉลี่ยสูงกว่าสินค้าที่ผู้หญิงนิยมซื้อเช่นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สำหรับในส่วนของสินค้าที่ผู้บริโภคนิยมสั่งซื้อผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากที่สุด 3 อันดับแรกนั้น ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หนังสือและนิตยสาร ตามลำดับ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคชื่นชอบการซื้อเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายผ่านอินเตอร์เน็ตเห็นจะได้แก่การที่ราคาสินค้าถูกกว่าซื้อตามร้าน อีกทั้งยังมีแบบและสีให้เลือกมากมาย รวมไปจนถึงการได้เห็นภาพที่นายแบบ/นางแบบ สวมใส่เสื้อผ้าเหล่านั้นให้ดูก่อน แม้จะไม่สามารถลองใส่เองได้ แต่ก็พอจะช่วยผู้บริโภคพอมองเห็นภาพในชั้นต้นได้ อีกทั้งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต่างก็พยายามรักษาชื่อเสียงด้วยการรักษาระดับคุณภาพสินค้าให้อยู่ในระดับที่ผู้บริโภคพอใจ โดยรายละเอียดของสินค้าที่ผู้บริโภคไต้หวันนิยมสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตมากที่สุด 10 อันดับแรกปรากฏตามตารางที่ 3


                  ตารางที่ 3 : สินค้าที่ผู้บริโภคไต้หวันนิยมสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตมากที่สุด 10 อันดับแรก*

                  _______________________________________________________
                    ลาดับที่       สินค้า                       สัดส่วน (%)**
                  _______________________________________________________
                      1    เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย                 39.0
                      2    เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์              34.9
                      3    หนังสือและนิตยสาร                      27.2
                      4    รองเท้าและกระเป๋า                     23.8
                      5    เครื่องสาอางและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม      22.9
                      6    โทรศัพท์เคลื่อนที่                        20.9
                      7    กล้องถ่ายรูปและวีดิทัศน์                   18.2
                      8    ตั๋ว/บัตรต่างๆ                          15.0
                      9    อาหาร                               13.7
                      10   เครื่องใช้ไฟฟ้า                         10.5
                  _______________________________________________________
ที่มา : 2011 Taiwan Information Service Industry Yearbook
*ข้อมูลจากการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2553

เวปไซด์ขายสินค้าออนไลน์ที่ผู้บริโภคนิยมเข้าชมมากที่สุดยังคงเป็น Yahoo! Shopping ที่มีสัดส่วนผู้เข้าชมสูงถึงร้อยละ 69.5 ในการสำรวจช่วงสิ้นปี 2553 รองลงมาได้แก่ PC Home Online ที่มีสัดส่วนร้อยละ 37.6 และ Books ซึ่งครองสัดส่วนร้อยละ 32.5 เป็นที่น่าสนใจว่าการที่สัดส่วนผู้เข้าชมของเวปไซด์ Momo Shop และ GOHAPPY สามารถแซงหน้า PayEasy ได้ แสดงให้เห็นว่าการมีช่องทางการตลาดที่หลากหลาย เช่น Momo ที่แตกไลน์มาจาก TV Shopping และการร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจสื่อมวลชนที่มีชื่อเสียงอย่าง UDN Group ของ GOHAPPY จะสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น โดยสัดส่วนของเวปไซด์ขายสินค้าออนไลน์ที่ผู้บริโภคไต้หวันนิยมเข้าชมมากที่สุด10 อับดับแรกปรากฏตามตารางที่ 4

ตารางที่ 4 : เวปไซด์ขายสินค้าออนไลน์ที่ผู้บริโภคไต้หวันนิยมเข้าชมมากที่สุด 10 อันดับแรก*

________________________________________________________________

                              ลำดับที่   เวปไซด์                   สัดส่วน (%)**

________________________________________________________________

                                1     Yahoo! Shopping              69.5
                                2     PC Home Online               69.2
                                3     Books                        32.5
                                4     Yahoo! Super City            28.8
                                5     Momo Shop                    20.2
                                6     GOHAPPY                      18.2
                                7     PayEasy                      14.7

8 EHS (Eastern Home Shopping) 11.8

                                9     Rakuten                      11.6
                                10    Kingstone Book Store         10.7

________________________________________________________________

ที่มา : 2011 Taiwan Information Service Industry Yearbook

*ข้อมูลจากการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2553

**สัดส่วนจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจซึ่งแต่ละรายสามารถตอบซ้ำได้หลายข้อ

5. แนวโน้มตลาดและโอกาสของผู้ประกอบการไทย

ปัจจัยด้านราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดและความสะดวกของผู้บริโภคทำให้ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการที่ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ในไต้หวันได้เติบโตมาระยะหนึ่งแล้ว ทำให้ผู้บริโภคมีความคุ้นเคยและใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลมากขึ้นจนกระแสของการรวมกันซื้อที่เรียกว่าถวนโก้ว กลายเป็นที่นิยมไปทั่ว ซึ่ง MIC ก็คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดในปี 2554 ของกลุ่มเวปไซด์ถวนโก้วจะสูงถึงประมาณ 8,000 ล้านเหรียญไต้หวันเลยทีเดียว ซึ่งนับตั้งแต่เวปไซด์ ihergo (อ้ายเหอโก้ว) ก่อตั้งขึ้นเป็นต้นมา ผู้ประกอบการในธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ต่างก็พากันเปิดตัวเวปไซด์ประเภทนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น iPeen หรือ Yahoo! และแม้แต่ผู้นำในตลาดโลกอย่าง Groupon ก็ได้เปิดตัว Groupon Taiwan ขึ้นโดยการซื้อกิจการของเวปไซด์ atlaspost ซึ่งเป็นหนึ่งในเวปถวนโก้วที่มีชื่อเสียงจนทำให้ Groupon Taiwan กลายมาเป็น Player อันดับ 1 ในตลาดเวปถวนโก้วของไต้หวันไปแล้ว นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่มีร้านค้าของตัวเองก็เริ่มหันมารุกคืบในธุรกิจออนไลน์มากขึ้นเพื่อขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เช่นร้านสะดวกซื้อชื่อดังอย่าง 7-11 ซึ่งมีร้านค้ากว่า 4,800 สาขาทั่วไต้หวัน ก็เปิดตัวเวปไซด์ 7 net ซึ่งมีสินค้าให้เลือกซื้อมากกว่า 20,000 รายการหรือHypermarket รายใหญ่ของไต้หวันอย่าง RT-Mart ก็เปิดบริการให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้ทางเวปไซด์ของบริษัท หรือแม้แต่กลุ่ม UDN ที่เป็นกลุ่มธุรกิจสื่อมวลชนที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 60 ปีก็กระโดดมาเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์อย่างเต็มตัวร่วมกับเวปไซด์ GOHAPPY

แน่นอนว่าความนิยมของ Social Network ที่มาแรงมากในระยะหลังทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่พากันผุด Facebook ของบริษัทขึ้นเป็นดอกเห็ด ส่งให้กระแสของ Social Business มาแรงจนกลายเป็น Trend ใหม่ด้าน Marketing แต่ในระยะหลังมานี้ความร้อนแรงที่ถูกเรียกเป็น F-Commerce นั้นเริ่มจะลดน้อยถอยลง ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ประกอบการรายดังๆ หลายราย เช่น Gamestop GAP J.C. Penney รวมไปจนถึง Nordstorm ต่างก็ได้ทยอยปิดตัวหน้า Facebook ของบริษัทที่สามารถทำการซื้อขายออนไลน์ได้ไป หรือแม้แต่ในไต้หวันเองที่ในตอนแรกผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต่างก็แสดงท่าทีสนใจก็ยังไม่มีการขยับตัวจากผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่จากการที่บทบาทของชุมชนออนไลน์ยังคงมีอิทธิพลต่อการเข้าถึงเวปไซด์ของแต่ละสินค้าได้อยู่ จึงทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงรักษาช่องทางในส่วนของ Facebook ไว้ แต่ก็จะใช้ประโยชน์เป็นเพียงเพื่อแนะนำบริษัทและสินค้า รวมถึงให้ผู้ใช้งานแบ่งปันความคิดเห็นเท่านั้น อีกแนวโน้มที่น่าสนใจเห็นจะได้แก่ความนิยมของสมาร์ทโฟนที่นับวันจะขยายตัวมากขึ้นทุกที แม้ว่าในปัจจุบันการอาศัยช่องทางการสั่งซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังอยู่ในช่วงต้นๆแต่ก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะการเข้าสู่ตลาดที่เป็น Blue Ocean ก่อนคู่แข่งรายอื่นจะสามารถสร้างข้อได้เปรียบหลายอย่าง ทั้งความรับรู้ของผู้บริโภค ส่วนต่างของผลกำไรที่มากขึ้น เป็นต้น

นอกจากนี้ Euromonitor ก็คาดการณ์ว่าในปี 2559 มูลค่าตลาดของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ในไต้หวันจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 94,825.2 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 16.4 รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามตารางที่ 5

ตารางที่ 5 คาดการณ์มูลค่าตลาดธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไต้หวัน

Unit: NT$ Million

________________________________________________________________________

          สินค้า                               2555       2558       2559     59/55

________________________________________________________________________

          Apparel                         35,064.3    36,411.1   36,810.5    6.8%
          Consumer Electronics            22,693.1    22,967.8   23,055.9    8.6%
          Media Products                   7,072.3     7,675.7    7,829.2   15.1%
          Consumer Appliances              6,766.1     7,405.3    7,622.9   15.9%
          Houseware & Home Furnishings     3,143.4     3,864.4    4,139.7   42.4%
          Food & Drink                       935.7     1,178.6    1,748.1   46.9%
          Toys & Games                     1,508.7     1,721.8    1,748.1   29.9%
          Beauty and Personal Care         1,197.6     1,408.2    1,517.6   34.2%
          Consumer Healthcare                867.3       877.4      896.5    6.5%
          DIY & Gardening                    328.6       373.2      389.3   23.0%
          Home Care                           88.8       107.1      113.9   38.2%
          Others                           5,838.3     9,433.4    9,452.2   93.1%
          Total                           85,504.1    93,423.9   94,825.2   16.4%

________________________________________________________________________ Source: Euromonitor International (February 2012)

เมื่อพิจารณาจากประเภทสินค้าที่จะมีอัตราการเติบโตสูง ทั้ง Food & Drink (เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.9) Houseware & Home Furnishing (เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.4) และ Beauty and Personal Care (เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.2) จะเห็นว่าเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยต่างก็มีศักยภาพสูงในตลาดโลก ประกอบกับกฏหมายของไต้หวันก็ไม่ห้ามผู้ประกอบการต่างชาติให้มาลงทุนในธุรกิจค้าปลีกและเปิดให้ชาวต่างชาติสามารถถือครองหุ้นได้สูงสุดในสัดส่วนร้อยละ 100 จึงถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดมายังไต้หวันด้วยเงินลงทุนจำนวนไม่มาก ทั้งในส่วนของการมาลงทุนตั้งบริษัทเองหรือหาพันธมิตรทางธุรกิจในไต้หวัน โดยสามารถเริ่มจากการจัดทำเวปไซด์ของบริษัทที่เป็นภาษาจีน (Traditional Chinese ) ก่อน เนื่องจากผู้บริโภคไต้หวันไม่ค่อยนิยมใช้บริการเวปไซด์ภาษาอังกฤษ และคุ้นเคยกับอินเตอร์เฟสที่เป็นภาษาจีนมากกว่า และต้องอย่าลืมว่าความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในไต้หวันจะสามารถช่วยในการขยายตลาดไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ได้ง่ายกว่าการกระโดดเข้าสู่ตลาดจีนโดยตรงด้วย เพราะผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่จะให้การยอมรับและมีความสนใจจะติดต่อกับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ/มีชื่อเสียงในไต้หวันมากกว่าจากชาติอื่น ผู้ประกอบการไทยจึงสามารถใช้ไต้หวันเป็น Spring-board ในการกระโดดเข้าสู่จีนได้เป็นอย่างดี

          E-Mail : thaicom.taipei@msa.hinet.net                    สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
          Tel : (886 2) 2723-1800                                             ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)
          Fax : (886 2) 2723-1821                                                      มีนาคม 2555

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ