สภาวะเศรษฐกิจการค้าของออสเตรเลีย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 4, 2012 11:16 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาวะเศรษฐกิจการค้าของออสเตรเลีย

1. สภาวะเศรษฐกิจออสเตรเลีย

ออสเตรเลียมีเศรษฐกิจเติบโตอย่างสม่ำเสมอจากปี 1998-2012 โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.3 ต่อปี ถือเป็นประเทศพัฒนาประเทศแรกๆ ที่สามารถฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินของสหรัฐและของโลกเมื่อปี 2008 โดยในปี 2011 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ประมาณ 1,300 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลก (วัดตาม nominal GDP)

ในปี 2011 เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศออสเตรเลียขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราสะสมของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้นจากปี 2010 เป็นร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 3.0 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2012 จากการฟื้นตัวจากอุทกภัยเมื่อปลายปี 2010 และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจเหมืองแร่และการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ เหล็ก และเหมืองแร่ ซึ่งส่งเสริมให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศออสเตรเลียขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าการบริการการค้าปลีก (Retail services) อุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยวยังคงกำลังฟื้นตัว

ข้อมูลทางเศรษฐกิจออสเตรเลียปี 2008-2011
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญ                                        2008         2009         2010         2011
GDP ต่อหัว (GDP per capita)                             38,745.30    39,044.10    39,980.90    41,208.60
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP % Growth)                          4.4          2.6          1.4          2.3
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ GDP (US$ billions)                1,038.30        980.2     1,263.60     1,300.60
อัตราเงินเฟ้อ (%)                                              4.4          1.8          2.8          3.4
อัตราการว่างงาน (%)                                           4.4          4.2          5.6          5.2
จำนวนประชากร (ล้านคน)                                      21.61        21.95        22.24        22.62
อัตราประชากรที่มีการศึกษา (%)                                   99.9         99.9         99.9         99.9
อัตราแลกเปลี่ยนต่อเงินบาทไทย (สูงสุดต่อ 1 AUD)                  32.4212      30.7557      30.6952      32.9544
2. การค้าระหว่างประเทศ

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศมาโดยตลอด และตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมามีเพียงปี 2001 2010 และ 2011 ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าต่างประเทศ คู่ค้าสำคัญของออสเตรเลีย 5 อันดับแรกในปี 2011 ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ โดยไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 8 ของออสเตรเลีย ในปี 2011 ออสเตรเลียมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม 506,653 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปี 2010 ประมาณร้อยละ 25 โดยมี จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมนี มาเลเซีย และไทย เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญ และมีตลาดส่งออกหลักคือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา

ดุลการค้ากับต่างประเทศปี 2009-2011
รายการ                      มูลค่า  (million USD)                   อัตราการขยายตัว (%)
                            2009       2010       2011               2010      2011
1. มูลค่าการค้ารวม          313,793    406,422    506,653             29.50%    24.70%
2. การส่งออก              154,525    212,871    271,921             37.80%    27.70%
3.  การนำเข้า             159,268    193,551    234,732             21.50%    21.20%
การส่งออก

มูลค่าการส่งออกสินค้าปี 2011 โดยรวม เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ร้อยละ 27.5 เป็นผลมาจาก สินค้าโภค-ภัณฑ์หลักต่างๆ ได้แก่ แร่ เชื้อเพลิง เละวัตถุดิบชั้นต้นที่ส่งออกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยประเทศส่งออกหลัก ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น ซึ่งขยายตัวร้อยละ 37.7 และ 30.18 ตามลำดับ สินค้าออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ สินแร่ แร่เชื้อเพลิง อัญมณีและหินมีค่า ธัญพืช และเนื้อ

ตลาดส่งออกหลัก

World Trade Atlas

Australia - Exports by Country via All States

Millions of US Dollars

January — December

                                                                         % Share            % Change
    Rank    Country                2009        2010        2011    2009    2010    2011    - 11/10 -
       0    -- World --      154,524.58  212,871.37  271,316.35     100     100     100        27.46
       1    China             33,618.62   53,939.64   74,274.62   21.76   25.34    27.38        37.7
       2    Japan             29,836.25   40,129.90   52,239.66   19.31   18.85    19.25       30.18
       3    Korea, South      12,317.21   18,895.40   24,118.43    7.97    8.88     8.89       27.64
       4    India             11,562.49   15,061.16   15,789.03    7.48    7.08     5.82        4.83
       5    United States      7,566.82    8,481.73   10,117.52     4.9    3.98     3.73       19.29
       6    Taiwan             5,110.46    7,712.84    9,456.12    3.31    3.62     3.49        22.6
       7    New Zealand        6,315.04    7,373.87    7,934.46    4.09    3.46     2.92         7.6
       8    United Kingdom     6,729.02    7,615.79    7,822.76    4.36    3.58     2.88        2.72
       9    Thailand           3,364.66    5,395.65    6,972.88    2.18    2.54     2.57       29.23
      10    Singapore          4,249.00    4,458.78    6,625.92    2.75     2.1     2.44        48.6

World Trade Atlas

Australia - Exports to -- World --

Millions of US Dollars

January — December

                                                                               % Share            % Change
    HS    Description                2009         2010          2011    2009     2010    2011    -  11/10  -
           -- World --         154,524.58   212,871.37    271,316.35     100      100     100        27.46
    26    Ores,Slag,Ash         31,386.98    57,619.30     82,333.90    20.3    27.07    30.4        42.89
    27    Mineral Fuel, Oil Etc 45,229.92    61,300.83     76,116.53    29.3     28.8    28.1        24.17
    71    Precious Stones,Metals12,901.07    14,756.58     17,738.46    8.35     6.93    6.54        20.21
    10    Cereals                4,289.36     4,709.04      8,071.83    2.78     2.21    2.98        71.41
    02    Meat                   5,173.41     6,110.05      7,303.10    3.35     2.87    2.69        19.53
    99    Special Other          5,125.71     7,234.43      6,921.94    3.32      3.4    2.55        -4.32
    84    Machinery              4,276.47     5,174.24      5,976.59    2.77     2.43     2.2        15.51
    28    Inorg Chem;Rare Erth Mt4,080.16     5,200.06      5,935.28    2.64     2.44    2.19        14.14
    76    Aluminum               3,484.79     4,460.89      5,279.24    2.26      2.1    1.95        18.35

สินค้าส่งออกหลัก

การนำเข้า

ปี 2011 มูลค่าการนำเข้าสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 จากการขยายตัวของยอดนำเข้าเชื้อเพลิง เครื่องจักร และยานยนต์เป็นสำคัญ โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับที่ 7 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.72 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ แร่เชื้อเพลิง เครื่องจักร รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์

แหล่งนำเข้าหลัก

Australia - Imports by Country

Millions of US Dollars

January - December

                                                                            % Share              % Change
    Rank    Country            2009           2010          2011     2009     2010     2011      -  11/10 -
       0    -- World --   159,268.31    193,551.18    234,628.89      100      100      100         21.22
       1    China          28,564.21     36,256.16     43,507.43    17.94    18.73    18.54            20
       2    United States  17,561.06     20,900.30     26,190.63    11.03     10.8    11.16         25.31
       3    Japan          13,312.20     16,750.85     18,548.85     8.36     8.65     7.91         10.73
       4    Singapore       8,810.81      9,788.90     14,680.39     5.53     5.06     6.26         49.97
       5    Germany         8,433.25      9,653.17     10,982.03      5.3     4.99     4.68         13.77
       6    Malaysia        6,029.09      8,346.01      8,829.00     3.79     4.31     3.76          5.79
       7    Thailand        9,246.19     10,106.94      8,731.10     5.81     5.22     3.72        -13.61
       8    New Zealand     5,250.50      6,634.43      7,833.85      3.3     3.43     3.34         18.08
       9    Korea, South    5,296.54      6,571.09      7,368.63     3.33      3.4     3.14         12.14
      10    United Kingdom  4,870.16      5,333.38      6,962.51     3.06     2.76     2.97         30.55
สินค้านำเข้าหลัก

World Trade Atlas

Australia - Imports from -- World --

Millions of US Dollars

January — December

                                                                             % Share           % Change
HS    Description                 2009          2010          2011    2009     2010    2011   -  11/10  -
      -- World --            159,268.31   193,551.18    234,628.89     100      100     100      21.22
27    Mineral Fuel, Oil Etc   20,299.90    26,606.41     39,583.23    12.8    13.75    16.9      48.77
84    Machinery               25,021.98    28,773.07     33,899.85    15.7    14.87    14.5      17.82
87    Vehicles, Not Railway   16,821.29    24,613.13     25,988.60    10.6    12.72    11.1       5.59
85    Electrical Machinery    17,823.03    20,819.78     23,984.57    11.2    10.76    10.2       15.2
30    Pharmaceutical Products  7,068.91     8,489.36     10,463.11    4.44     4.39    4.46      23.25
71    Precious Stones,Metals   8,596.61     8,255.76      9,655.90     5.4     4.27    4.12      16.96
90    Optic,Nt 8544;Med Instr  5,725.97     6,718.58      7,717.62     3.6     3.47    3.29      14.87
99    Special Other            4,388.73     5,192.69      6,810.32    2.76     2.68     2.9      31.15
73    Iron/Steel Products      3,583.03     3,894.39      5,277.75    2.25     2.01    2.25      35.52
39    Plastic                  3,697.72     4,520.83      5,263.66    2.32     2.34   2.24       16.43

การนำเข้า

ปี 2011 มูลค่าการนำเข้าสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 จากการขยายตัวของยอดนำเข้าเชื้อเพลิง เครื่องจักร และยานยนต์เป็นสำคัญ โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับที่ 7 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.72 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ แร่เชื้อเพลิง เครื่องจักร รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์

แหล่งนำเข้าหลัก

สินค้านำเข้าหลัก

World Trade Atlas

Australia - Imports from -- World --

Millions of US Dollars

January — December

                                                                             % Share          % Change
HS     Description                  2009          2010          2011    2009     2010    2011   -  11/10  -
       -- World --            159,268.31    193,551.18    234,628.89     100      100     100      21.22
27    Mineral Fuel, Oil Etc    20,299.90     26,606.41     39,583.23    12.8    13.75    16.9      48.77
84    Machinery                25,021.98     28,773.07     33,899.85    15.7    14.87    14.5      17.82
87    Vehicles, Not Railway    16,821.29     24,613.13     25,988.60    10.6    12.72    11.1       5.59
85    Electrical Machinery     17,823.03     20,819.78     23,984.57    11.2    10.76    10.2       15.2
30    Pharmaceutical Products   7,068.91      8,489.36     10,463.11    4.44     4.39    4.46      23.25
71    Precious Stones,Metals    8,596.61      8,255.76      9,655.90     5.4     4.27    4.12      16.96
90    Optic,Nt 8544;Med Instr   5,725.97      6,718.58      7,717.62     3.6     3.47    3.29      14.87
99    Special Other             4,388.73      5,192.69      6,810.32    2.76     2.68     2.9      31.15
73    Iron/Steel Products       3,583.03      3,894.39      5,277.75    2.25     2.01    2.25      35.52
39    Plastic                   3,697.72      4,520.83      5,263.66    2.32     2.34    2.24      16.43
3. การค้าไทย-ออสเตรเลียปี 2009-2011

3.1 การค้ารวม

มูลค่าการค้าระหว่างไทยและในภูมิภาคทวีปออสเตรเลียในปี 2011 มีมูลค่าประมาณ 18.20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากปี 2010 ร้อยละ 5.31 โดยไทยมีสัดส่วนมูลค่าทางการค้ากับประเทศออสเตรเลียมากที่สุดในภูมิภาคนี้คิดเป็นร้อยละ 87.57 ของการค้าระหว่างไทยและภูมิภาคทวีปออสเตรเลีย

ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2009-2011) การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยและออสเตรเลีย มีมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 14.54 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2011 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 15.94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35 จากปี 2010 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยออสเตรเลียเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 8 ของไทย และเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญเป็นอันดับ 8

3.2 การนำเข้าจากไทย

ในปื 2011 ออสเตรเลียนำเข้าจากไทย 8.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.16 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ เครื่องจักรกล อัญมณีและหินมีค่า เครื่องใช้ไฟฟ้า และพลาสติก ตามลำดับ

3.3 การส่งออกมาไทย

ในปี 2011 ออสเตรเลียส่งออกมาไทย 6.98 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 29.37 สินค้าส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและหินมีค่า แร่เชื้อเพลิง อะลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า ฝ้ายและเส้นด้าย ตามลำดับ

ดุลการค้ากับประเทศไทยปี 2009-2011

_________________________________________________________________________

               รายการ        มูลค่าการค้า (million USD)                 อัตราการขยายตัว

_________________________________________________________________________

                                2009         2010         2011      2010       2011

_________________________________________________________________________

             มูลค่าการค้า     12,404.10    15,277.62    15,942.23    23.17%      4.35%
             ไทยส่งออก       8,578.63     9,369.47     7,997.08     9.22%    -14.65%
             ไทยนำเข้า       3,787.43     5,908.15     7,945.15    54.44%     34.48%

_________________________________________________________________________

ข้อมูลการค้าไทย-ออสเตรเลีย สินค่าที่ออสเตรเลียนำเข้าจากไทย

Australia - Imports from Thailand

Millions of US Dollars

January - December

                                                                       % Share                % Change
HS    Description               2009         2010        2011     2009     2010     2011    -  11/10  -
      Thailand              9,246.19    10,106.94    8,731.03     5.81     5.22     3.72          -13.6
87    Vehicles, Not Railway  2,430.82    3,711.43    2,995.33    26.29    36.72    34.31          -19.3
84    Machinery              2,194.24    1,543.88    1,160.88    23.73    15.28     13.3          -24.8
71    Precious Stones,Metals 2,120.69    1,650.14      810.34    22.94    16.33     9.28          -50.9
85    Electrical Machinery     333.45      432.49      468.67     3.61     4.28     5.37           8.36
39    Plastic                  170.58      299.86      333.76     1.85     2.97     3.82           11.3
40    Rubber                   172.39      244.02      322.03     1.86     2.41     3.69          31.97
16    Prepared Meat,Fish,Etc   215.64      251.62      301.24     2.33     2.49     3.45          19.72
27    Mineral Fuel, Oil Etc    164.34      139.45      299.31     1.78     1.38     3.43          114.6
99    Special Other             230.3      302.05       297.7     2.49     2.99     3.41          -1.44
94    Furniture And Bedding     66.23      115.84      171.39     0.72     1.15     1.96          47.95

ข้อมูลการค้าไทย-ออสเตรเลีย สินค้าที่ออสเตรเลียส่งออกมาไทย

Australia - Exports to Thailand

Millions of US Dollars

January - December

                                                                         % Share               % Change
HS     Description                2009        2010        2011     2009     2010     2011    -  11/10  -
       Thailand               3,364.66    5,395.65    6,980.52     2.18     2.54     2.57          29.37
71     Precious Stones, Metals   970.2    1,484.55    2,705.17    28.84    27.51    38.75          82.22
27     Mineral Fuel, Oil Etc     752.3    1,785.24    1,444.59    22.36    33.09     20.7         -19.08
76     Aluminum                 380.41      386.32      423.56    11.31     7.16     6.07           9.64
72     Iron And Steel            65.62      167.97       283.7     1.95     3.11     4.06           68.9
52     Cotton+Yarn, Fabric       89.44      146.32      250.75     2.66     2.71     3.59          71.37
10     Cereals                   79.91      113.11      228.32     2.38      2.1     3.27          101.9
74     Copper+Articles Thereof   92.46      125.81      226.55     2.75     2.33     3.25          80.07
30     Pharmaceutical Products  157.47      180.28       195.3     4.68     3.34      2.8           8.33
99     Special Other             53.09       86.91      170.87     1.58     1.61     2.45           96.6
84     Machinery                 93.55      115.61      122.03     2.78     2.14     1.75           5.55
4. สาเหตุหลักที่ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยมายังออสเตรเลียลดลงในปี 2554

วิกฤตการณ์อุทกภัยในประเทศไทย ต.ค. 2554

  • นิคมอุตสาหกรรมได้รับความเสียหาย 7 แห่ง และโรงงานผลิตสินค้าต่างๆ ต้องหยุดทำการเป็นเวลานาน เนื่องจากอุทกภัย
  • สินค้าประเภทรถยนต์และส่วนประกอบรถยนต์ส่งออกจากไทยมายังออสเตรเลียลดลง 18%และสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่าส่งออกลดลง 23%

สินค้าข้าวจากประเทศไทย มูลค่าการนำเข้าจากไทยลดลง 11.5% ในขณะที่ออสเตรเลียนำเข้าข้าวจากอินเดีย เวียดนามและปากีสถานเพิ่มขึ้น สาเหตุ;

  • ได้รับความนิยมจากร้านอาหารไทยและเวียดนามเนื่องจาก ราคาข้าวเวียดนามต่ำกว่าข้าวไทย และหุงได้ปริมาณมากกว่า
  • มูลค่าการนำเข้าข้าวจากอินเดียและปากีสถานสูงขึ้น เนื่องจากการเติบโตของจำนวนประชากรชาวอินเดียและเอเชียใต้ในประเทศออสเตรเลีย
  • ความเสียหายของนาข้าวและหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและส่งออกข้าวในประเทศไทยจากอุทกภัย 2554
  • ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้าวขาว ข้าวหอมมะลิไทย และข้าวหอมมะลิจากประเทศอื่น ส่งผลให้ผู้บริโภคเลือกซื้อข้าวขาวและข้าวหอมมะลิจากประเทศอื่นเนื่องจากราคาต่ำกว่าข้าวหอมมะลิไทย
  • ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำของออสเตรเลีย ได้แก่ Woolworths และ Coles เป็นเครื่องมือสำคัญในการเจาะตลาดออสเตรเลียเนื่องจากชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตทั้ง 2 แต่การนำสินค้าเข้าขายนั้นเป็นไปได้ยากมาก และต้องขายให้ Woolworths และ Coles ในราคาต่ำกว่าที่สามารถขายให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กและขนาดกลางอื่นๆ

ประเทศคู่แข่ง: ที่สำคัญที่สุดได้แก่ ประเทศจีน มาจากสาเหตุหลายประการ

  • ราคาสินค้าจากจีนถูกกว่าสินค้าจากไทย
  • จำนวนคนจีนในประเทศออสเตรเลียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งเหตุผลทางการศึกษาและเพื่อเข้ามาลงทุน ซึ่งส่งผลให้ตลาดสินค้านำเข้าจากจีนขยายตัว โดยชาวจีนนิยมซื้อสินค้าที่นำเข้าจากจีน เนื่องจากราคาถูกและเป็นการสนับสนุนสินค้าจีน
  • รัฐบาลจีนให้ความสนับสนุนบริษัทลงทุมข้ามชาติสัญชาติจีน ปริมาณชาวจีนที่ประกอบธุรกิจในออสเตรเลียเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งผู้ประกอบการชาวจีนมักจะนำเข้าสินค้าจากจีน เนื่องจากราคาสินค้าต่ำกว่าและเป็นการนำเงินเข้าประเทศตน

เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

  • ออสเตรเลียให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และได้ออกมาตรการให้สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องที่ขายในประเทศให้เป็นแบบประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเพิ่มระดับประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศ (Australia’s Minimum Energy Performance Standard: MEPS) ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต ในส่วนของเทคโนโลยีการผลิตและความรู้ความสามารถของบุคลากร
  • นวัตกรรมของโทรทัศน์ ที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากการที่โทรทัศน์มีขนาดใหญ่และหนา เป็นแบบจอแบนและบาง โดยไทยเป็นศูนย์ประกอบเครื่องโทรทัศน์แบบหนาและส่งออกมายังออสเตรเลียภายใต้ FTA ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีความสามารถทางเทคโนโลยีในการผลิตดังกล่าว
  • Hard disk ความเสียหายของนิคมอุตสาหกรรมจากอุทกภัย 2554 ส่งผลให้ผู้นำเข้าต้องนำเข้าจากประเทศอื่น เช่น มาเลเซีย ในขณะที่ไทยใช้เวลาในการฟื้นฟูจากความเสียหาย

Precious stones and jewelry

  • ราคาทองปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ปริมาณทองในตลาดไทยเพื่อส่งออกลดลงเนื่องจากคนเลือกที่จะถือทองไว้เก็งกำไรจากการขึ้นราคาของทองอีกครั้ง ทำให้ออสเตรเลียต้องแสวงหาแหล่งนำเข้าอื่นๆ ทดแทน
  • บริษัท Pandora ซึ่งเป็นบริษัทหลักที่นำเข้าเครื่องประดับจากไทย มียอดขายลดลงส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าลดลงตามไปด้วย
  • ประเทศออสเตรเลียสามารถผลิตทองเองได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่านำเข้าโดยรวมลดลง

นโยบาย Australian Made

  • การรณรงค์ที่ส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่มีตรา Australian Made เพื่อเป็นการส่งเสริมผลผลิตจากเกษตรกรและผู้ประกอบการภายในประเทศ และรวมถึงเป็นโปรโมทคุณภาพผลิตภัณฑ์ของประเทศออสเตรเลียอีกด้วย การรณรงค์นี้เริ่มขึ้นในปี 1986 แต่รัฐบาลได้พยายามรณรงค์นโยบายดังกล่าวอีกครั้งเมื่อต้นปี 2554
  • สัญลักษณ์ของ Australian Made เป็นรูปสามเหลี่ยมสีเขียวพร้อมกับรูปจิงโจ้ตรงกลาง และมีการส่งเสริมนโยบายในรูปแบบของโฆษณาโทรทัศน์
  • จากการวิจัยพบว่า:

85% ของผู้บริโภคเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าที่ผลิตในออสเตรเลียมากกว่าสินค้าจากประเทศอื่นๆ

65% ของผู้บริโภคมักซื้อสินค้าที่มีตรา Australian-made1

ผลกระทบจากความไม่มั่นคงทางการเมืองของไทย

  • ผู้ค้ายังคงไม่สามารถวางใจได้กับความเสี่ยงจากสภาวะทางการเมืองที่ไม่มั่นคงของไทย แม้ว่าความเสี่ยงทางการเมืองของไทยจะมีระดับลดลงเล็กน้อยในช่วงกลางปี 2011 (Export Finance and Insurance Corporation, 2011)
5. พฤติกรรมผู้บริโภค

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในออสเตรเลียไม่ได้รับความเสียหายจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2008-2009 มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยมูลค่าการจับจ่ายต่อหัว (Per capita consumer expenditure) ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จาก 30,153 เหรียญสหรัฐฯในปี 2010 เป็น 34,880 เหรียญสหรัฐฯในปี 2011 และมีแนวโน้มจะขยายตัวต่อไปอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2020 โดยคาดว่าออสเตรเลียจะมีมูลค่าการจับจ่ายต่อหัว 40,504 เหรียญสหรัฐฯ โดยการขยายตัวของมูลค่าการจับจ่ายใช้สอยของออสเตรเลียมาจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่ารายได้ต่อหัว (GDP per capita) 41,208 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2011 ขยายตัวร้อยละ 3.07 จากปี 2010 โดยพฤติกรรมผู้บริโภคที่สำคัญในปี 2011 ได้แก่

อัตราการออมสูงสุดในรอบ 20ปี

พฤติกรรมการออมของผู้บริโภคถือเป็นอีกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจอีกอันหนึ่งในปี 2011 โดยอัตราการออมของผู้บริโภคร้อยละ 9.2 ซึ่งเป็นอัตราการออมสูงที่สุดในรอบ 20ปี สาเหตุสำคัญมาจากความไม่มั่นใจในสภาวะทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญของออสเตรเลีย รวมทั้งความซบเซาของอุตสาหกรรมค้าปลีกและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการภายในประเทศ และค่อครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

Online Shoppers

ผู้บริโภคนิยมสั่งซื้อสินค้า online มากขึ้น โดย website ที่ผู้บริโภคซื้อส่วนใหญ่ยังเป็น website ท้องถิ่น ทำให้ร้านค้าปลีกเริ่มหันมาเพิ่มช่องทางการสั่งซื้อทาง online และปรับปรุง website

ท่องเที่ยวต่างประเทศ

การแข็งค่าของดอลลาร์ออสเตรเลียส่งผลต่ออุตสาหกรรมบริการและท่องเที่ยวของออสเตรเลียอย่างมาก โดยทำให้ต้นทุนการท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงและบางครั้งถูกกว่าการท่องเที่ยวภายในประเทศ ทำให้มีการท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวลดลง เนื่องมาจากสาเหตุเดียวกัน

สุขภาพสำคัญที่สุด

ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียให้ความสำคัญกับสุขภาพมาก ทั้งในส่วนของอาหารและการออกกำลังกาย โดยเทรนด์ที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ สินค้าออร์กานิกส์ สินค้าที่มีส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ แม้ว่าสินค้าออร์กานิกส์จะมีราคาสูงกว่าสินค้าประเภทเดียวกันก็ตาม นอกจากนี้ ยังนิยมการออกกำลังกาย เช่น การสมัครเป็นสมาชิกศูนย์ออกกำลังกาย การเล่นโยคะ การวิ่งตามสวนสาธารณะ การปั่นจักรยานไปทำงาน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการขยายตัวสำหรับตลาดสินค้าที่เกี่ยวข้องในปี 2011

ตลาดเฟอร์นิเจอร์

ผู้บริโภคในตลาดเฟอร์นิเจอร์ในออสเตรเลียสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายในบ้าน ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด ถึง 60% และ เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในที่ทำงาน มีส่วนแบ่งตลาด 40% ซึ่งทั้งสองกลุ่มเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศประมาณ 40% ที่เหลือเป็นการผลิตในประเทศ โดยผู้บริโภคชาวออสเตรเลียหันมาให้ความสำคัญกับการตกแต่งบ้านและสถานที่ทำงานมากขึ้น สาเหตุสำคัญประการหนึ่งมาจากความนิยมของรายการโทรทัศน์ The blog และ the renovator ซึ่งเป็นรายการแข่งขันความสามารถในการสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง แบะออกแบบที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน ร่วมกับการหันมาให้ความนิยมกับการสังสรรค์ในบ้านของผู้บริโภค โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ จีน มาเลเซีย ไทย สำหรับสินค้าประเภทไม้ และอิตาลี สำหรับสินค้าประเภทหนัง โดยผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะจับจ่ายใช้สอยสินค้าเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นในปี 2012

Eco-friendly

อีกเทรนด์หนึ่งที่สำคัญของผู้บริโภค ได้แก่ เทรนด์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ eco-friendly โดยผู้บริโภคคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนมากขึ้น เห็นได้จากความนิยมของสินค้าในกลุ่มนี้ เช่น แก้วกาแฟ eco-friendly แทนการใช้แก้วกระดาษที่ต้องทิ้งหลังการใช้ทุกครั้ง และถุงผ้าสำหรับใส่ของแทนถุงพลาสติกเป็นต้น

6. ข้อคิดเห็น

1. ออสเตรเลียแม้จะเป็นตลาดขนาดเล็กแต่เป็นตลาดที่มีศักยภาพมีโอกาสขยายตัวอีกมาก เนื่องจากความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ อย่างสหภาพยุโรปและอเมริกาซึ่งแม้จะมีขนาดใหญ่กว่าแต่มีความผันผวนค่อนข้างมาก

2. สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มเป็นสินค้าส่งออกมายังออสเตรเลียที่สำคัญของไทย และยังคงมีแนวโน้มในการขยายตัวอีกมาก โดยผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าร่วมการแสดงสินค้าในออสเตรเลียเพื่อโอกาสในการแสดงสินค้าของตนต่อผู้นำเข้าชาวออสเตรเลีย งานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่สำคัญที่สุด ได้แก่ FINE FOOD AUSTRALIA ซึ่งจัดขึ้นทุกปี โดยในปี 2012 จัดขึ้นที่ นครเมลเบอร์ หว่างวันที่ 10-13 กันยายน 2012 โดยสามารถติดต่อสมัครเป็นผู้แสดงสินค้าได้ที่สำนักกิจกรรมงานแสดงสินค้า กรมส่งเสริมการส่งออก

3. จากแนวโน้มของพฤติกรรมผู้บริโภคจะเห็นว่าการซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ตหรือ online shopping เป็นเทรนด์ที่สำคัญและเอื้อประโยชน์ต่อสินค้าจากต่างประเทศให้เข้ามาขยายตลาดในออสเตรเลียได้โดยใช้ต้นทุนไม่สูง และเข้าถึงผู้บริโภคชาวออสเตรเลียอย่างทั่วถึง ฉะนั้น ผู้ส่งออกไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ได้โดยผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงขนาดกลางสามารถเริ่มการขยายตลาดเข้ามาออสเตรเลียได้โดยการใช้ช่องทางนี้

4. การแข็งค่าของดอลลาร์ออสเตรเลียจะส่งผลดีต่อการส่งออกโดยรวมของไทย เนื่องจากผู้นำเข้ามีกำลังในการซื้อสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น สิ่งสำคัญคือการแสดงให้ผู้นำเข้าเห็นถึงจุดแข็งและข้อแตกต่างของสินค้าจากไทยต่อสินค้าจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ ได้แก่ จีน โดยคุณลักษณะที่สำคัญที่สินค้าจากประเทศจีนมีภาพลักษณ์ไม่ดี คือเรื่องของคุณภาพ ความสะอาดและกระบวนการผลิตว่าเอารัดเอาเปรียบพนักงาน ผู้ส่งออกไทยต้องแสดงให้เห็นถึงความต่างในเรื่องดังกล่าวเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากจีน

---------------------------------------------------------------------

สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ นครซิดนีย์

เมษายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ