รายงานเรื่องการค้าน้ำผึ้งในประเทศเยอรมัน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 11, 2012 13:34 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานเรื่องการค้าน้ำผึ้งในประเทศเยอรมัน

ชาวเยอรมันบริโภคน้ำผึ้งมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยบริโภคน้ำผึ้งมากกว่า 100,000 ตันต่อปี หรือโดยเฉลี่ยคนละ 1.3 กิโลกรัมต่อปีและมีแนวโน้มว่าความต้องการบริโภคน้ำผึ้งจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้เยอรมนีจึงเป็นประเทศผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ส่งออกน้ำผึ้งรายสำคัญของยุโรปเยอรมันมีเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งอยู่ทั่วประเทศมากกว่า 90,000 ราย โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางใต้ของเยอรมันในรัฐบาวาเรียและรัฐบาเด่น-เวิร์ทเท่นแบร์ก เกษตรผู้เลี้ยงผึ้งสามารถผลิตน้ำผึ้งได้ประมาณ 24,000 ตันต่อปี ซึ่งประมาณเป็นอัตราร้อยละ 20 ของความต้องการน้ำผึ้งในประเทศ ทั้งนี้ ผู้เลี้ยงผึ้งส่วนใหญ่ในประเทศเยอรมันเป็นผู้ผลิตรายย่อยหรือเป็นเป็นผู้เลี้ยงผึ้งเป็นงานอดิเรก มีเพียง 1% ของผู้ผลิตน้ำผึ้งทั้งหมดที่ผลิตน้ำผึ้งเพื่อการค้าเป็นหลัก

การส่งออก

ประเทศเยอรมันส่งออกน้ำผึ้งในปี 2011 เป็นมูลค่า 114.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเป็นปริมาณ 18, 921 ตัน เพิ่มขึ้นจากการส่งออกในปี 2010 ที่มีมูลค่า 111.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นอัตราร้อยละ 2.3 โดยเยอรมันส่งออกน้ำผึ้งไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์มากที่สุดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นอัตราร้อยละ 13.61 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้เยอรมันยังส่งออกน้ำผึ้งไปยังประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ซาอุดิอาระเบีย ออสเตรีย และประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยที่นำเข้าน้ำผึ้งจากเยอรมันในปี 2011 มูลค่า 263,455 เหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกน้ำผึ้งของประเทศเยอรมัน
ลำดับที่     ประเทศ          มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)           อัตราส่วนตลาด            อัตราการขยายตัว
                        2009      2010      2011     2009     2010     2011       - 11/10 -
  1       เนเธอร์แลนด์   14.21     13.94     15.57    12.45    12.50    13.61         11.71
  2       ฝรั่งเศส       16.77     14.25    14.250     14.7    12.78    12.41         -0.41
  3       สหราชอาณาจักร 15.32    11.914     11.38    13.43    10.68     9.95          -4.4
  4       ซาอุดิอาระเบีย   6.38      6.70     10.18     5.59     6.01     8.90         51.75
  5       ออสเตรีย       9.79      9.88      8.53     8.58     8.86     7.46        -13.66
  6       สวิตเซอร์แลนด์   5.62      6.10      7.19     4.93     5.47     6.28         17.85
  7       สเปน          5.02      4.92      4.82     4.40     4.41     4.22         -1.97
  8       โปแลนด์        3.51      5.42      4.34     3.08     4.87     3.80        -19.95
  9       เดนมาร์ก       7.34      5.08      3.94     6.43     4.56     3.45        -22.41
  10      เบลเยี่ยม       3.21      2.77      3.76     2.82     2.49     3.29         35.59
          รวมส่งออกทั้งหมด  114       112       114      100      100      100          2.58
ปริมาณการส่งออกน้ำผึ้งของประเทศเยอรมัน

______________________________________________________________________

          ลำดับที่   ประเทศ                 ปริมาณ/ตัน            อัตราการขยายตัว
                                  2009     2010     2011

______________________________________________________________________

            1     เนเธอร์แลนด์     2,996    2,782    2,684         -3.52
            2     ฝรั่งเศส         3,413    2,662    2,575         -3.27
            3     สหราชอาณาจักร   3,200    2,203    2,106         -4.40
            4     ซาอุดิอาระเบีย    2,109    1,943    1,518        -21.87
            5     ออสเตรีย        1,015    1,384    1,164        -15.90
            6     สวิตเซอร์แลนด์      950    1,043    1,097          5.18
            7     สเปน           1,912    1,191      911        -23.51
            8     โปแลนด์         1,162      949      880         -7.27
            9     เดนมาร์ก          537      563      736         30.73
            10    เบลเยี่ยม          738      494      686         38.87
                  รวมส่งออกทั้งหมด 22,952   20,576   18,921         -8,04
ที่มา: World Trade Atlas

การนำเข้า
          ประเทศเยอรมันนำเข้าน้ำผึ้งในปี 2011 เป็นมูลค่า 268.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเป็นปริมาณ 77,096 ตัน ลดลงจากการนำเข้าในปี 2010 ที่มีมูลค่า 294.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นอัตราร้อยละ 8.8 โดยเยอรมันนำเข้านำเข้าน้ำผึ้งจากประเทศอาร์เจนติน่ามากที่สุดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นอัตราร้อยละ 16.78 ของการนำเข้าน้ำผึ้งทั้งหมด  นอกจากนี้เยอรมันยังนำเข้าน้ำผึ้งจากประเทศเม็กซิโก ชิลี สเปน อุรุกวัย และประเทศอื่นรวมถึงประเทศไทยที่ส่งออกน้ำผึ้งเข้าเยอรมันเป็นมูลค่า 2.9 ล้านเหรียญ ไทยถือเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำผึ้งไปเยอรมันมากเป็นอันดับที่ 20

มูลค่าการนำเข้าน้ำผึ้งของประเทศเยอรมัน
          ____________________________________________________________________________________________
          ลำดับที่    ประเทศ                มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)       อัตราส่วนตลาด         อัตราการขยายตัว
                                   2009    2010     2011        2009    2010    2011      - 11/10 -
          ____________________________________________________________________________________________
            1      อาร์เจนติน่า      63.99   64.33    45.08       24.58   21.84   16.78       -29.93
            2      เม็กซิโก         36.60   39.61    37.87       14.05   13.45   14.07         -4.6
            3      ชิลี             22.09   24.83    20.00        8.48    8.44    7.45       -19.56
            4      สเปน           13.09   15.93    16.57        5.03    5.41    6.17         4.04
            5      อุรุกวัย          13.92   13.76    13.55        5.35    4.67    5.05        -1.53
            6      บัลกาเรีย        10.98   14.86    13.02        4.22    5.04    4.85       -12.38
            7      ฮังการี           9.85   13.50    12.06        3.79    4.58    4.49       -10.67
            8      บราซิล          11.87   14.04    11.89        4.56    4.77    4.43       -15.34
            9      โรมาเนีย        17.83   14.86    11.18        6.85    5.05    4.17       -24.72
            10     อิตาลี            7.52    9.37    10.41        2.89    3.18    3.88        11.16
                   รวมนำเข้าทั้งหมด    260     295      269         100     100     100        -8.83
          ____________________________________________________________________________________________
          ที่มา: World Trade Atlas

ปริมาณการนำเข้าน้ำผึ้งของประเทศเยอรมัน
          ______________________________________________________________________
             ลำดับที่   ประเทศ                 ปริมาณ/ตัน            อัตราการขยายตัว
                                       2009     2010     2011
          ______________________________________________________________________
               1     อาร์เจนติน่า       22,954   21,966   14,574      -33.65
               2     เม็กซิโก          12,436   12,753   10,921      -14.37
               3     ชิลี               7,372    7,340    5,333      -27.34
               4     สเปน             2,381    3,723    4,987       33.95
               5     อุรุกวัย            5,103    4,827    4,531       -6.13
               6     บัลกาเรีย          3,308    4,053    3,985       -1.68
               7     ฮังการี            4,151    4,868    3,630      -25.43
               8     บราซิล            3,082    4,123    3,355      -18.63
               9     โรมาเนีย          1,720    2,917    3,052        4.63
               10    อิตาลี             2,269    3,242    2,606      -19.62
                     รวมนำเข้าทั้งหมด   83,705   90,598   77,096      -14.90
          ______________________________________________________________________
          ที่มา: World Trade Atlas

การเรียกเก็บภาษีอากร
          ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งที่นำเข้ามาจำหน่ายในสหภาพยุโรปจะต้องเสียภาษีอากรนำเข้า 17.3% ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งในเยอรมันประเทศเยอรมันมีผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งให้เลือกซื้อหลากหลายทั้งแบบใสและแบบข้นที่มีลักษณะเหมือนครีมนอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายรวงผึ้งให้ผู้บริโภคตามตลาดนัดอีกด้วย ในประเทศเยอรมันมีการแบ่งประเภทของน้ำผึ้งไว้ 2 ประเภทหลักๆ คือ
          1. น้ำผึ้งที่ได้จากเกสรดอกไม้ เช่นน้ำผึ้งอาคาเซียน (Acacian) น้ำผึ้งจากดอกทานตะวัน น้ำผึ้งจากดอกผลไม้ต่างๆ(Blutenhonig) เช่น จากดอกมะนาว กลิ่นและรสชาติจากน้ำผึ้งประเภทนี้จะแกต่างกันไปตามชนิดของดอกไม้ มีให้เลือกตั้งแต่กลิ่นและสีอ่อนออกเป็นสีขาวเหลือง เช่น น้ำผึ้งจากดอกผลไม้ และน้ำผึ้งที่กลิ่นเข้มกว่าและเป็นสีเหลืองออกทอง เช่น น้ำผึ้งอาคาเซียน
          2. น้ำผึ้งที่ได้จากน้ำหวานที่ผลิตจากแมลงขนาดเล็กต่างๆ โดยแมลงเหล่านี้จะดูดน้ำหวานจากท่อลำเลียงอาหารของต้นไม้และคายส่วนที่เหลือที่ไม่ต้องการไว้ตามลำต้นหรือใบไม้ หลังจากนั้นผึ้งจะดูดนำหวานที่เหลือตามต้นไม้และใบไม้นี้เพื่อผลิตน้ำผึ้งต่อไป น้ำผึ้งที่ได้จากนำหวานของ ตัวอย่างของน้ำผึ้งประเภทนี้คือ Waldhonig (Wild Honey)Blatthonig (Honeydew) และ น้ำผึ้งจากต้นสนขาว (Tannehonig) น้ำผึ้งประเภทนี้จะมีสีเข้มกว่าน้ำผึ้งประเภทแรก
          นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากผึ้งอื่นๆ เช่น
          1. สารสกัดจากผึ้ง (Bee Pollen/Propolis) จำหน่ายเป็นอาหารเสริมในรูปแบบแคปซูล ผสมรวมในน้ำผึ้งและในรูปแบบโลชั่นทาผิว
          2. น้ำนมสกัดจากผึ้ง (Royal Jelly) จำหน่ายเป็นอาหารเสริมในรูปแบบแคปซูล และผสมรวมในน้ำผึ้ง

ราคา
          ราคาน้ำผึ้งแตกต่างกันไปตามประเภทและที่มาของน้ำผึ้ง โดยน้ำผึ้งที่ผลิตในเยอรมันมีราคาสูงกว่าน้ำผึ้งที่นำเข้าจากประเทศอื่นๆ

ราคาขายส่งน้ำผึ้งในประเทศเยอรมัน
          ____________________________________________________________________
               ประเภท                        ราคาต่อกิโลกรัม/ ยูโร
                                    น้ำผึ้งเยอรมัน        น้ำผึ้งจากประเทศอื่นๆในยุโรป
          ____________________________________________________________________
          น้ำผึ้งอาคาเซียน               3.5-4.5                   3.5-4
          น้ำผึ้งจากดอกต้นผลไม้           2.7-3                     2.2-2.5
          น้ำผึ้งจากดอกไม้ป่า             3.5-3.7                   2.8-3.2
          น้ำผึ้ง Wild Honey            3.8-4.5                   3.5-3.8
          น้ำผึ้งจากต้นสนขาว             7-7.5                     5-6
          ____________________________________________________________________
          ที่มา: www.honig-bieni.de

ราคาขายปลีกน้ำผึ้งในเยอรมัน
          __________________________________________________________________
          ประเภทสินค้า                            ราคา/ยูโร*
                              บรรจุขวดแก้ว 500 กรัม    บรรจุขวดพลาสติก 350 กรัม
          __________________________________________________________________
          น้ำผึ้งอาคาเซียน               4.99                     4.29
          น้ำผึ้งจากดอกต้นผลไม้            4.2                     3.99
          น้ำผึ้งจากดอกไม้ป่า             4.99                      4.2
          น้ำผึ้ง Wild Honey            6.99                     4.29
          น้ำผึ้งจากต้นสนขาว              8.5                       -
          __________________________________________________________________
          ที่มา: Galeria Kaufhof Frankfurt am Main, www.bienenprodukte-shop.de

          *ราคาน้ำผึ้งขายปลีกน้ำผึ้งแตกต่างกันตามที่มาและกระบวนการผลิตโดยน้ำผึ้งบรรจุขวดแก้วจากประเทศอื่นๆ มีราคาต่ำกว่าน้ำผึ้งจากประเทศเยอรมันประมาณ 1 ยูโร และน้ำผึ้งไปโอมีราคาสูงกว่าน้ำผึ้งปกติประมาณ 1 ยูโร

เครื่องหมายการค้าในเยอรมัน
          ในประเทศเยอรมันมีการใช้เครื่องหมายการค้าน้ำผึ้งเพื่อเป็นการรับรองคุณภาพน้ำผึ้งที่ผลิตในประเทศเยอรมันเท่านั้น โดยเครื่องหมายนี้เรียกว่า “Echter Deutscher Honig” หรือ น้ำผึ้งเยอรมันแท้

กฎระเบียบควบคุม
          ในสหภาพยุโรปรวมถึงประเทศเยอรมันมีกฎระเบียบควบคุมการจำหน่ายน้ำผึ้ง หรือ European Council Directive on Honey (2011/110/EC) ที่ควบคุมการจำหน่ายน้ำผึ้งในสหภาพยุโรปอย่างเข้มงวด โดยผู้นำเข้าและจำหน่ายน้ำผึ้งต้องแจกแจงที่มาของน้ำผึ้งไว้ให้ชัดเจนและถ้าหากน้ำผึ้งในบรรจุภัณฑ์เป็นน้ำผึ้งผสมจากหลายประเทศ ผู้จำหน่ายต้องระบุรายละเอียดไว้บนฉลากว่าเป็นน้ำผึ้งที่ 1. มาจากประเทศในกลุ่มอียู 2. มาจากประเทศนอกกลุ่มอียูหรือ 3. เป็นน้ำผึ้งผสมจากประเทศในอียูและประเทศนอกอียู หากไม่ระบุไว้อย่างชัดเจน จะไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้
          นอกจากนี้ กฎระเบียบยังกำหนดไว้ถึงส่วนประกอบของน้ำผึ้ง เช่น น้ำผึ้งจากดอกผลไม้จะต้องมีน้ำตาลฟรุ๊คโตสและแลคโตสเป็นส่วนประกอบไม่น้อยกว่า 60 กรัมต่อน้ำผึ้ง 100 กรัม และจะต้องมีส่วนประกอบของน้ำไม่เกิน 20% (รายละเอียดตามแนบ) และตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2011 สหภาพยุโรปได้ห้ามจำหน่ายน้ำผึ้งที่มีส่วนผสมของ GMO เช่น จากเกสรของดอกไม้หรือพืช GMO ในสหภาพยุโรป

เว็บไซด์กฎระเบียบเกี่ยวกับน้ำผึ้งของสหภาพยุโรป
          http://europa.eu/legislation_summaries/consumers/product_labelling_and_packaging/l21124a_en.htm

ข้อเสนอแนะ
          หากผู้เลี้ยงผึ้งชาวไทยต้องการส่งออกน้ำผึ้งมาจำหน่ายในประเทศเยอรมัน ผู้นำเข้าจะต้องศึกษากฎระเบียบควบคุมสินค้าอย่างดี เนื่องจากปัจจุบันสหภาพยุโรปมีกฎระเบียบควบคุมสินค้าอุปโภคบริโภคที่เข้มงวดโดยเฉพาะกฎระเบียบควบคุมสินค้าอาหาร

                               ***********************************************


                                                            สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
                                                                                              เมษายน 2555

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ