ตลาดปลาสวยงามในสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 12, 2012 14:57 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตลาดปลาสวยงามในสหรัฐอเมริกา

ตลาดปลาสวยงามในตลาด

ปลาสวยงามหรือปลาตู้ (Ornament/Aquarium Fish) จัดเป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยง (Pet) ผู้บริโภคสหรัฐฯ มักจะเลี้ยงปลาสวยงามเพื่องานอดิเรก (Hobby) แตกต่างจากการเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข แมว หรือ นก ซึ่งมักจะถูกเลี้ยงเป็นเพื่อนหรือได้รับความอบอุ่น

สมาคมผู้ผลิตสินค้าสัตว์เลี้ยงสหรัฐฯ (American Pet Products Manufacturers Association: APPA) จัดทำการสำรวจการสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ ในปี 2110 และพบว่า ครัวเรือนในสหรัฐฯ จำนวน 12.6 ล้านครัวเรือนเลี้ยงปลาสวยงาม/ปลาตู้ แยกออกเป็นการเลี้ยงปลาสวยงามน้ำจืดจำนวน 11.9 ล้านครัวเรือน การเลี้ยงปลาสวยงามน้ำเค็ม จำนวน 0.7 ล้านครัวเรือน

นอกจากนั้นแล้ว การสำรวจยังพบว่า ครัวเรือนในสหรัฐฯ เลี้ยงปลาสวยงามรวมเป็นจำนวน 159.7 ล้านตัว แยกออกเป็นปลาสวยงามน้ำจืด (Freshwater Fish) จำนวน 151.1 ล้านตัว และปลาสวยงามน้ำเค็ม (Saltwater Fish) จำนวน 8.6 ล้านตัว

การเลี้ยงสัตว์เลี้ยง (Pets) ในสหรัฐฯ

         ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์  (ล้านครัวเรือน)          จำนวนสัตว์เลี้ยง        (ล้านตัว)
             Bird            5.7                   Bird             16.2
              Cat           38.9                   Cat              86.4
              Dog           46.3                   Dog              78.2
             Equine          2.4                 Equine              7.9
         Freshwater Fish    11.9             Freshwater Fish       151.1
         Saltwater Fish      0.7              Saltwater Fish         8.6
             Reptile         4.6                 Reptile            13.0
          Small Animal       5.0               Small Animal         16.0

การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามของสหรัฐฯ

การเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการค้าเป็นที่นิยมสูงเป็นอันที่ 4 ของวงการเลี้ยงปลาของสหรัฐฯ นับจากการเลี้ยงปลาดุก ปลาเทร้าท์ และปลาแซลมอน โดยมีผลผลิตคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาสหรัฐฯ กระทรวงเกษตรประมาณว่า มีฟาร์มเลี้ยงปลาจำวน

การเลี้ยงปลาสวยงามของสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 90 เป็นการเลี้ยงปลาสวยงามน้ำจืด(Freshwater Fish) และอีกร้อยละ 10 ปลาสวยงามน้ำเค็ม (Saltwater Fish) โดยมีรัฐฟลอริด้าเป็นแหล่งเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการค้าสำคัญที่สุดของสหรัฐฯ มีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 80 ของผลผลิตรวมของประเทศ แหล่งเลี้ยงสวยงามนอกเหนือไปจากรัฐฟลอริดา ได้แก่ รัฐฮาวาย และ แคลิฟอร์เนีย

การนำเข้าปลาสวยงามของสหรัฐฯ

สหรัฐฯ เป็นแหล่งนำเข้าปลาสวยงามที่สำคัญและนำเข้ามากที่สุดในโลก โดยมีมูลค่านำเข้ารวมในปี 2554 จำนวน 37.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดต่ำลงไปร้อยละ 0.05 จากปี เมื่อเทียบกับปี 2553 และมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย อินโดนิเซีย ศรีลังกา และ ฟิลิปปินส์ซึ่งรวมกันมีสัดส่วนตลาดร้อยละ 63 ของการนำเข้ารวมของสหรัฐฯ

อนึ่ง ภาะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ มีผลกระทบต่อตลาดและความต้องการปลาสวยงามในสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้าปลาสวยงามลดลง จะเห็นได้จาก การนำเข้าปลาสวยงาม ในช่วงปี 2549-2551 มีมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี แต่ในช่วง 3 ปีระหว่าง 2552-2554

ต่อมา มูลค่านำเข้าโดยเฉลี่ยลดลงเป็น 36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ปลาสวยงามที่สหรัฐฯ นิยมนำเข้าส่วนใหญ่เป็นปลาขนาดเล็ก คุณภาพไม่สูงมากนักราคาต่ำ และซื้อในปริมาณมาก เช่น ปลากัด ปลา คาร์พขนาดเล็ก ปลาหางนกยูง ปลาทอง เป็นต้น

การนำเข้าปลาสวยงามของสหรัฐฯ ปี 2552-2554

__________________________________________________________________________

          แหล่งนำเข้า      มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ     อัตราขยายตัว (%)     สัดส่วนตลาด (%)
                         2552   2553    2554     54/53   55/54    2552   2553   2554

__________________________________________________________________________

          1. สิงคโปร์      7.24   7.54    8.03      4.14    6.50   18.54  20.24  21.58
          2. ไทย         6.63   6.57    7.23     -0.90   10.05   16.97  17.66  19.44
          3. อินโดนิเซีย    5.20   4.72    4.37     -9.23   -7.42   13.31  12.68  11.76
          4. ศรีลังกา      2.80   2.45    2.82    -12.50   15.10    7.17   6.60   7.58
          5. ฟิลิปปินส์      2.71   2.30    2.25    -15.13   -2.17    6.93   6.17   6.04
          6. ฮ่องกง       1.55   1.78    1.86     14.84    4.49    3.96   4.79   5.00
          7. ญี่ปุ่น         1.86   2.00    1.75      7.53  -12.50    4.78   5.37   4.72
          8. ไต้หวัน       1.07   1.10    1.37      2.80   24.55    2.75   2.98   3.69
          9. มาเลเซีย     1.01   0.79    0.91    -21.78   15.19    2.60   2.12   2.45
          10. จีน         1.28   1.23    0.85     -3.91  -30.89    3.29   3.32   2.30
          แหล่งอื่นๆ        8.25   6.75    5.77     -2.78    3.15   19.70  18.07  15.44

รวมการนำเข้า 35.06 37.23 37.21 -5.98 -0.05 100.00 100.00 100.00

__________________________________________________________________________

ที่มา: Bureau of Census, US Department of Commerce

สิงคโปร์: เป็นแหล่งนำเข้าปลาสวยงามที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ สหรัฐฯ นำเข้าเป็นมูลค่า 8.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 6.50 และ มีสัดส่วนตลาดนำเข้าร้อยละ 21.58

ไทย: สหรัฐฯ เป็นแหล่งนำเข้าปลาสวยงามที่สำคัญที่สุดของไทย และไทยเป็นแหล่งนำเข้าปลาสวยงามที่สำคัญอันดับที่ 2 ของสหรัฐฯ มีมูลค่านำเข้า 7.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 7.23 และ มีสัดส่วนตลาดนำเข้าร้อยละ 19.44

อินโดนิเซีย: เป็นแหล่งนำเข้าปลาสวยงามที่สำคัญอันดับที่ 3 ของสหรัฐฯ มีมูลค่านำเข้า 4.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 ซึ่งลดลงไปจากปี 2553 ร้อยละ 7.42 และ มีสัดส่วนตลาดนำเข้าร้อยละ 11.76

ศรีลังกา: เป็นแหล่งนำเข้าปลาสวยงามที่สำคัญอันดับที่ 4 ของสหรัฐฯ มีมูลค่านำเข้า 2.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 15.10 และ มีสัดส่วนตลาดนำเข้าร้อยละ 7.58

ฟิลิปปินส์: เป็นแหล่งนำเข้าปลาสวยงามที่สำคัญอันดับที่ 5 ของสหรัฐฯ มีมูลค่านำเข้า 2.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 ซึ่งลดลงไปจากปี 2553 ร้อยละ 2.17 และ มีสัดส่วนตลาดนำเข้าในสหรัฐฯ ร้อยละ 6.04

ระเบียบและข้อบังคับ

1. สำนักงาน US Fish and Wildlife Service (FWS) ทำหน้าที่ดูแลในด้านการคุ้มครอง สัตว์และพืชพันธ์สงวน (Endangered Species) ผู้นำเข้าปลาหรือสัตว์จากต่างประเทศของสหรัฐฯฯ ต้องมีใบอนุญาต จากสำนักงานฯ US FWS ผู้ส่งออกไทยจะต้องให้ความสำคัญด้านกฎระเบียบการคุ้มครองประเภทของปลา

________________________________________________________________________________

               ปลาที่ต้องขออนุญาต                        ปลาตามบัญชีไซเตส (CITES: the
               เนื่องจากเป็นปลาคุ้มครอง                   Convention on International Trade in

Endangered Species )

________________________________________________________________________________

          1) ปลาหมูอารีย์ (Dwarf clown loech)           1) ปลาช่อนยักษ์ (Giant Arapaima)
          2) ปลาติดหิน (Fresh water batfish)           2) ปลายี่สก (Jullen's brook carp)

3) ปลาเสือตอลายใหญ่ (Siamese tigerperch) 3) ปลาบึก (Mekong giant catfish)

          4) ปลาตะพัด (Asian Arowana)                 4) ปลาตะพัด (Asian Arowana)

________________________________________________________________________________

2. รัฐบาลมลรัฐในสหรัฐฯ จำนวน 13 มลรัฐ ได้แก่ Alabama, California,Colorado, Florida, Georgia, Idaho, Kentucky, Mississippi, Nevada, Oregon, Texas, Utah และ Washington ห้ามนำเข้าปลา Snake Head มีชีวิต เนื่องจาก ปลาดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตได้หากหลุดหรือปล่อยไปให้อยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นภัยต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ในน้ำ

แนวโน้มตลาดในอนาคต

ปัจจุบัน การเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลาสวยงามนับได้ว่าเป็นธุรกิจที่ทำได้รายได้ดีให้แก่ ผู้ประกอบการสหรัฐฯ ดังนั้น จำนวนผู้เลี้ยงมีมากขึ้น และผลผลิตปลาสวยวามจึงมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ปัจจุบัน ธุรกิจบริการรับจัดตู้ปลาในสหรัฐฯ กำลังขยายตัว เนื่องจาก บริษัท ร้านค้า ร้านอาหาร หันมาสร้างตู้ปลาขนาดใหญ่ จึงเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งก่อให้เกิดความต้องการปลาสวยงามเพิ่มมากขึ้น คาดว่าตลาดค้าปลีกปลาสวยงามในสหรัฐฯ จะสูงถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2012 (เป็นมูลค่ารวมถึงอุปกรณ์เลี้ยงปลาและอาหารปลา)

ในปี 2542 สหรัฐฯ การนำเข้าปลาสวยงามเป็นมูลค่าประมาณ 45 ล้านเหรียญสหรัฐฯและมูลค่าการนำเข้าได้ลดลงเป็นลำดับ และการนำเข้าในปัจจุบันอยู่ในระดับ 37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความต้องการนำเข้าปลาสวยงามของสหรัฐฯมีแนวโน้มทรงตัวหรือขยายตัวในอัตราต่ำ

แนวทางการขยายตลาด

1. เลี้ยงและส่งออกปลาสวยงามที่เป็นที่นิยมเลี้ยงในสหรัฐฯ นอกเหนือไปจาก ปลากัด ปลาทอง ปลาหางนกยูง ปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง 10 อันดับแรก ได้แก่

2. การเพาะพันธุ์ปลาที่หายาก (ไม่ใช่สงวนพันธุ์) ซึ่งจะจำหน่ายได้ในราคาสูง และได้รับผลตอบแทนสูง

3. คิดค้นและพัฒนาปลายสวยงามพันธุ๋ใหม่ โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนด้วยลดภาษีนำเข้าพ่อพันธุ์ปลาสวยงามเพื่อนำมาช่วยพัฒนาเพาะพันธ์

4. การดำเนินการด้านขายตรง (Direct Marketing) ด้วยการขายแบบ E-Commerce เพื่อให้ผู้ซื้อในต่างประเทศ ได้แก่ ร้านค้าปลีก พ่อค้าขายส่ง และ ครัวเรือน ได้สั่งซื้อทางออนไลน์ ได้โดยตรง

5. สหรัฐฯ นำเข้าปลาจากสวยงามจากสิงคโปร์ ซึ่งซื้อไปจากไทยมาขายทอดอีกครั้งเนื่องจากเชื่อว่าปลาของสิงคโปร์มีคุณภาพ ปลอดโรคและเป็นปลามีคุณภาพ ดังนั้น ประเทศไทย จะต้องดำเนินการสร้างความเชื่อมั่นในด้านปลอดโรคและคุณภาพให้แก่ผู้ซื้อสหรัฐฯ แทนการขายให้สิงคโปร์

6. การวางกลยุทธ์ด้านการตลาดในด้าน การต่อรองราคาขนส่ง การรวมปริมาณการขนส่งเพื่อลดต้นทุนขนส่ง การวางระบบการควบคุมคุณภาพ

7. การดำเนินวางระบบสร้างความยั่งยืน (Sustainable) ของการค้าและห่วงโซ่อุปทานปลาสงยวา เริ่มตั้งแต่การเพาะเลี้ยง การขนส่ง การจัดจำหน่าย และ การขาย

8. การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ คือ Global Pet Expo ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคม American Pet Products Association (APPA) เป็นประจำทุกปี โดยงานในครั้งต่อไปจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2556 ณ เมืองออร์ลันโด รัฐฟลอริด้า

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

2 เมษายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ