ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลในประเทศเยอรมนี
***********************************
ปัจจุบันมีประชากรชาวมุสลิมทั่วโลกมากกว่า 1,565 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วน เท่ากับ 1 ใน 4 ของประชากรโลกทั้งหมด โดยทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีชาวมุสลิมมากเป็นอันดับที่ 3 มีประชากรมุสลิมจำนวนทั้งสิ้น 56.04 ล้านคนรองมาจากทวีปเอเชีย (1,060.65 ล้านคน) และทวีปแอฟริกา (442.88 ล้านคน)
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศต่างๆทั่วโลกให้ความสนใจในการผลิตและการค้าสินค้าอาหารฮาลาลเพิ่มมากขึ้น ปริมาณการบริโภคสินค้าอาหารฮาลาลในแต่ละปีมีอัตราการขยายตัวสูง ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอาหารฮาลาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งนี้เนื่องจากอาหารฮาลาลมีขั้นตอนขบวนการผลิตที่เน้นเรื่องความสะอาด โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย และถูกต้องตามบทบัญญัติทางศาสนาอิสลาม ตลาดอาหารฮาลาลจึงเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีผู้บริโภคอาหารฮาลาลที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม แต่ให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพด้วยจึงทำให้อาหารฮาลาลเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
ในยุโรปตะวันตก มีการจำหน่ายอาหารฮาลาลให้แก่ชาวมุสลิม จำนวนประมาณ 30 ล้านคน มียอดจำหน่ายเฉพาะสินค้าอาหารฮาลาล (Halal Food) คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นมากกว่า 45,000 ล้านเหรียญยูโรต่อปีและมีอัตราขยายตัวที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมก็มีความนิยมอาหารฮาลาลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้เล็งเห็นว่า อาหารฮาลาลเป็นอาหารที่สะอาดและมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการบริโภคอาหารฮาลาลของผู้บริโภคในหมู่คนชาวมุสลิมและผู้นับถือศาสนาอื่น กล่าวคือ การบริโภคอาหารฮาลาลของผู้บริโภคที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมจัดเป็นไลฟ์สไตล์ ในการดำรงชีวิตตามปกติ สร้างโอกาสทางการค้าและการขยายตัวของธุรกิจสินค้าอาหารฮาลาลต่อไปในอนาคต
จากสถิติปี 2011 ทวีปยุโรปมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 740.01 ล้านคน คิดเป็นประชากรชาวมุสลิมรวมทั้งสิ้นประมาณ 56.04 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 7.57 สำหรับในเขตยุโรปตะวันตก ประเทศที่มีจำนวนประชากรชาวมุสลิมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร อิตาลีและสเปน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้
_________________________________________________________________________
ประเทศ จำนวนประชากรชาวมุสลิม สัดส่วน (ร้อยละ) (ล้านคน) ชาวมุสลิม/ประชากรทั้งหมด
_________________________________________________________________________
1. ฝรั่งเศส 6.08 9.60 2. เยอรมนี 4.09 4.96 3. สหราชอาณาจักร 2.88 4.60 4. อิตาลี 1.58 2.60 5. สเปน 1.06 2.30 6. เนเธอร์แลนด์ 0.92 5.50 7. เบลเยี่ยม 0.66 6.00 8. กรีซ 0.53 4.70 9. ออสเตรีย 0.48 5.70 10. สวีเดน 0.46 4.90
_________________________________________________________________________
ประเทศเยอรมนีมีประชากรจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 82.5 ล้านคน แบ่งจำนวนประชากรตามศาสนาที่ชาวเยอรมันนับถือ ได้ดังนี้
- ผู้นับถือศาสนาคริสต์ประมาณ 50.50 ล้านคนหรือร้อยละ 61.21
- ผู้ไม่นับถือศาสนาใดๆ ประมาณ 27.13 ล้านคนหรือร้อยละ 32.88
- ผู้นับถือศาสนาพุทธประมาณ 250,000 คน หรือร้อยละ 0.30
- ผู้นับถือศาสนายิวประมาณ 220,000 คนหรือร้อยละ 0.27
- ผู้นับถือศาสนาอื่นๆประมาณ 310,000 คนหรือร้อยละ 0.37
- ผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 4.09 ล้านคนหรือร้อยละ 4.96 แบ่งเป็นประชากรชาเยอรมัน เชื้อสาย
1. ตุรกี ประมาณ 3.04 ล้านคน 2. บอสเนียฯ " 0.34 ล้านคน 3. อิหร่าน " 0.20 ล้านคน 4. โมรอคโค " 0.15 ล้านคน 5. อัฟกานิสถาน " 0.09 ล้านคน 6. ปาเลสไตน์ " 0.05 ล้านคน 7. เลบานอน " 0.05 ล้านคน 8. อิรัก " 0.04 ล้านคน 9. ปากีสถาน " 0.04 ล้านคน 10. ตุนีเซีย " 0.03 ล้านคน 11. ซีเรีย " 0.02 ล้านคน 12. อัลจีเรีย " 0.01 ล้านคน 13. อิยิปต์ " 0.01 ล้านคน 14. จอร์แดน " 0.01 ล้านคน 15. อินโดนีเซีย " 0.01 ล้านคน
ผู้ประกอบการ / ผู้ผลิตสินค้าอาหารฮาลาลที่สำคัญจากประเทศเยอรมนีและสหภาพยุโรป ถือครองตลาดสินค้าฮาลาลในสหภาพยุโรปเป็นหลัก มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้อยละ 70 ของสินค้าอาหารฮาลาลทั้งหมด มีบริษัทสำคัญต่างๆ อาทิเช่น
- บริษัท Mekkafood GmbH & Co. KG ในประเทศเยอรมนี (http://www.mekkafood.com/)
- บริษัท Tahira Foods ในสหราชอาณาจักร www.tahira.de
- บริษัท Isla ในฝรั่งเศส http://www.isla-mondial.com/index.html
- บริษัท เนสต์เล่ ซึ่งจัดเป็นผู้ผลิตรายสำคัญที่สุด มีส่วนแบ่งตลาดสินค้าอาหารฮาลาลมากกว่าร้อยละ 35 ของยอดขายทั้งหมด มีจำนวนชนิดสินค้าอาหารฮาลาลมากกว่า 100 ชนิด และมีโรงงานผลิตสินค้าที่ได้รับตรารับรองสินค้าฮาลาลมากกว่า 75 โรงงานทั่วโลก
ผู้บริโภคชาวเยอรมัน ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเน้นเรื่องคุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัยเป็นหลัก โดยจะต้องไม่มีสารพิษตกค้าง สารปรุงแต่งในอาหาร นอกจากนี้ ยังนิยมการทำอาหารง่ายๆ ไม่ซับซ้อน พร้อมกับการซื้อวัตถุดิบ เครื่องปรุงที่หาได้ในท้องตลาดโดยทั่วไปโดยมีจำนวนประชากรที่บริโภคอาหารสดที่ปรุงเองเพิ่มมากขึ้น
ชาวตุรกีจัดเป็นประชากรชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนีมากที่สุด ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือประมาณ 3.04 ล้านคน หรือร้อยละ 3.68 ของประชากรทั้งหมด สำหรับความต้องการสินค้าฮาลาลในเยอรมนียังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสินค้าฮาลาลส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอาหาร ฮาลาล (Food) ที่จัดวางจำหน่ายในร้านค้าตุรกีและร้านอาหารมุสลิมเป็นหลัก ในปัจจุบัน ชาวเยอรมันให้ความสนใจสินค้าอาหารฮาลาลที่เป็นเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
สำหรับสินค้าอาหารฮาลาลสำเร็จรูปแช่เย็นแช่แข็งนั้น จะได้รับความนิยมจากกลุ่มคนโสด ครอบครัวขนาดเล็กและกลุ่มคนสูงอายุ เพราะสามารถจัดเตรียมได้ง่าย สะดวกและประหยัดเวลา
ประเทศเยอรมนีมีหน่วยงานตรวจสอบและรับรองสินค้าฮาลาลที่สำคัญ ได้แก่
- สถาบัน Halal Control e.K.
Kobaltstr. 2-4 65428 Rsselsheim, Germany Tel.: +49 (0)6142 301987-0 Fax: +49 (0)6142 301987-29 e-mail: info@halalcontrol.eu สถาบัน Halal Control e.K. ในประเทศเยอรมนีจัดเป็นสำนักงานใหญ่ของสถาบัน จาก 3 ประเทศทั่วยุโรปและเป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคมค.ศ. 2001 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพสินค้าฮาลาล (รวมสินค้า food และ non-food) โดยสินค้าที่ได้รับการตรวจสอบ/รับรองคุณภาพแล้ว จะได้โลโก้ของสถาบันเป็นเครื่องหมายรับรอง
1. Foodstuff
2. Chemistry
3. Pharmarcy
4. Cosmetics
5. Consumer articles
6. Health Services
7. Hotel & Services สถาบัน Halal Control e.K. มีสาขาในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสเปน ออสเตรียและตรุกี นอกจากนี้ สถาบัน Halal Control e.K. ยังเปิดอบรบและจัดสัมมนาเกี่ยวกับสินค้าฮาลาล (รวมสินค้า food และ non-food )แก่ลูกค้าและบุคคลที่สนใจทั่วไป โดยเน้นให้ความสำคัญกับคำว่าฮาลาลรวมถึงวัฒนธรรมผู้บริโภคชาวมุสลิมเป็หลัก
สำหรับสินค้าฮาลาลจากประเทศไทย หากได้รับตรารับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยแล้ว ก็จัดเป็นสินค้าฮาลาลที่ได้รับการยอมรับจากชาวมุสลิมทั่วโลก อัตราภาษีนำเข้า
อัตราภาษีนำเข้าสินค้าอาหารที่สำคัญ (รวมสินค้าอาหารฮาลาล) ในตลาดเยอรมนีและสหภาพยุโรป
- เนื้อไก่สด แช่แข็ง ไม่หมักเกลือ (พิกัด H.S. 1602) ภายใต้โควต้า อัตราภาษีร้อยละ 0 เริ่ม ก.ค. 2012
- เนื้อไก่แปรรูป ไก่ต้มสุก (พิกัด H.S. 1602 20) ภายใต้โควต้า อัตราภาษีร้อยละ 15.50
- อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง อัตราภาษีระหว่างร้อยละ 0 - 22
อัตราภาษีนำเข้าจากประเทศไทยสู่สหภาพยุโรปของทุกหมวด/รายการสินค้า สามารถหาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://ec.europa.eu/taxation_customs/dds2/taric/taric_consultation.jsp?Lang=en&Screen=0&redirectionDate=20110210 มาตรการที่มิใช่ภาษี
1. ใบอนุญาตนำเข้า จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าทุกครั้ง
2. การตรวจสอบสินค้า เจ้าหน้าที่ศุลกากรเยอรมันอาจสุ่มตัวอย่างมาตรวจสอบก่อนอนุญาตให้นำเข้า และมีการนำสินค้าที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดมาตรวจสอบเป็นครั้งคราว หรือเมื่อได้รับแจ้งจากผู้บริโภคทั้งในด้านสุขอนามัย และตามขนาดบรรจุ เมื่อตรวจสอบพบว่าไม่ถูกต้องขัดกับระเบียบก็จะเก็บสินค้านั้น ๆ ออกจากตลาด สำหรับกฎระเบียบมาตรฐาน สามารถจำแนกได้ 2 ส่วนคือ
2.1 ตามกฎระเบียบมาตรฐานด้านสุขอนามัยของ EU Commission
2.2 การกำหนดมาตรฐานโดยเอกชน เช่น GLOBALGAP, Food safety เป็นต้น
กลุ่มประเทศชาวมุสลิมทั่วโลกส่วนใหญ่ มักจะนำเข้าสินค้าอาหารฮาลาลประเภทเนื้อสัตว์ จากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นหลัก ส่วนอาหารประเภทผักและผลไม้สดจะนำเข้ามาจากทั้งสองส่วน คือจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและจากกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา โดยมี จีนเป็นคู่แข่งสาคัญในตลาดหลักสินค้าอาหาร ฮาลาลของไทย รายละเอียดตามตาราง ดังนี้
ประเภทอาหาร ประเทศผู้ส่งออก เนื้อโค กลุ่มประเทศพัฒนา นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซูดาน สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ จอร์เจีย โอมาน อินเดีย เนื้อแพะและแกะ กลุ่มประเทศพัฒนา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซูดาน สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ จอร์เจีย โซมาเลีย มาเชโดเนีย อุรุกวัย สัตว์ปีก กลุ่มประเทศพัฒนา เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จีน บราซิล สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ไทย ผักและผลไม้ กลุ่มประเทศพัฒนา เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อิตาลี กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จีน ตุรกี บราซิล ฟิลิปปินส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ อินเดีย ไทย ธัญพืช กลุ่มประเทศพัฒนา ออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี อิตาลี อังกฤษ ฝรั่งเศส กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จีน (ข้าว100 % ถั่ว) อินเดีย (ข้าวบาสมาติ) ไทย (ข้าวขาว 100 % ข้าวหอมมะลิ ถั่ว และข้าวโพด) ปลา และสัตว์น้ำ กลุ่มประเทศพัฒนา แคนาดา เดนมาร์ก นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม เครื่องดื่ม กลุ่มประเทศพัฒนา เนเธอร์แลนด์ อิตาลี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จีน (น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลังชา) อินเดีย (ชา) อินโดนีเซีย (ชา น้ำผลไม้) ไทย (น้ำผลไม้ เบียร์ เครื่องดื่มชูกำลัง) ฟิลิปปินส์ (น้ำผลไม้) ที่มา กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ แนวทางในการขยายตลาดส่งออกและข้อเสนอแนะ 1. ประเทศไทยแม้จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลกแต่สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลนั้น ประชากรชาวมุสลิมยังนิยมนำเข้าสินค้าจากประเทศในกลุ่มมุสลิมด้วยกันเอง ประเทศอินโดนีเชียและมาเลเซียจัดเป็นประเทศคู่แข่งสำคัญจากทวีปเอเชีย ผู้ประกอบการไทยจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้นำเข้าและผู้บริโภคชาวมุสลิมรวมถึงการประชาสัมพันธ์ความหลากหลายของสินค้าอาหาร ฮาลาลไทยอย่างต่อเนื่อง 2. ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลของไทยในประเทศเยอรมนี ยังมีแนวโน้มที่สดใส เพราะตลาดเยอรมนีเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรชาวมุสลิมจำนวนมากกว่า 4.09 ล้านคนอาศัยและตั้งถิ่นฐานอยู่ (จัดเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมมากเป็นอันดับที่ 2 ของสหภาพยุโรป รองจากประเทศฝรั่งเศส) นอกจากนี้ ความนิยมของสินค้าอาหาร ฮาลาลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดรวมถึงความนิยมอาหารฮาลาลของประชากรที่ไม่ได้เป็นมุสลิมที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน สินค้าอาหารฮาลาลของไทยประเภท Ready to Eat ยังมีแนวโน้มที่สดใส แต่ผู้ประกอบการไทยจะต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ พัฒนาขบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการปรับรสชาติอาหารให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคให้มากขึ้นต่อไป 3. ในปัจจุบัน ประชากรชาวเยอรมันและยุโรปให้ความใส่ใจกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Bio) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงสินค้าอาหารฮาลาลที่เป็นเกษตรอินทรีย์ด้วย ดังนั้น ผู้ผลิต/ส่งออกไทยจะต้องให้ความสนใจ การผลิตสินค้าอาหารฮาลาลแบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การที่ผู้ประกอบการของไทยบางราย ยังคงใช้ตราฮาลาลที่หมดอายุแล้วนั้น อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลของไทย รวมทั้งอาจจะทำให้ผู้บริโภคหมดความมั่นใจในสินค้าจากประเทศไทยได้ 4. ปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการไทยยังไม่มีศูนย์กระจายสินค้าในต่างประเทศที่จะคอยช่วยอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยและความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า รวมถึงปัญหาเรื่องอัตราค่าระวางการขนส่งทางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น และมีจำนวนเรือขนส่งสินค้าที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณารวมตัวกันเป็น Cluster เพื่อจะได้มีอำนาจต่อรองทางการค้าเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งสามารถลดต้นทุนการผลิตให้กับสินค้าไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อีกด้วย 5. ต้องให้ความสำคัญต่อการสร้าง Brand สินค้า เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด 6. อาหารฮาลาล คือ อาหารที่ไม่มีสิ่งต้องห้ามเจือปนที่ผิดหลักศาสนาอิสลาม อาทิเช่น เนื้อสัตว์ต้องผ่านการเชือดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติทางศาสนาอิสลาม ผลิตภัณฑ์อาหารต้องไม่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ แต่สินค้าประเภทพืชผัก ผลไม้และข้าว นั้น จัดเป็นสินค้าที่ชาวมุสลิมบริโภคได้ ในกรณีนี้ หากสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องติดเครื่องหมายฮาลาลผู้ประกอบการไทยนำตรารับรองอาหารฮาลาลไปติด อาจก่อให้เกิดความสับสนได้ว่า สินค้าของไทยเหล่านั้นมีส่วนผสมของต้องห้ามหรืออย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋อง หากติดตราฮาลาล จะทำให้ชาวมุสลิมทั่วโลกสับสนได้ว่า โดยปกติสินค้าผลไม้กระป๋องของไทย มีขบวนการผลิตที่ปนเปื้อนแอลกอฮอล์หรือน้ำมันจากสัตว์ต้องห้ามเช่นสุกรหรืออย่างไร ผู้ประกอบการไทยจึงต้องพิจารณาการติดตราสินค้าอาหารฮาลาลให้เหมาะสมกับความจำเป็น ********************************************************************************** จัดทำโดย นายอาทิตย์ กองเกตุ ผู้ช่วยดำเนินการฯ คนที่ 1 สคต.แฟรงก์เฟิร์ต เมษายน 2555