รายงานการเยี่ยมสภาสูงด้านเศรษฐกิจของกรุงเบอร์ลินสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 27, 2012 11:43 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานการเยี่ยมสภาสูงด้านเศรษฐกิจของกรุงเบอร์ลินสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน

***************************************************

1.ข้อมูลพื้นฐาน

1.1 ชื่อหน่วยงานBerlin Government, Senate Department for Economics, Technology and Research

1.2 บุคคลที่เข้าพบDr. Rainer Seider, Head of Unit European and International Cooperation

1.3 ที่อยู่ติดต่อMartin-Luther-Str. 105 10825 Berlin

โทรศัพท์: +49 30 90138270 โทรสาร: +49 30 90137490

อีเมล์: rainer.seider@senwtf.berlin.de เว็บไซต์: www.berlin.de/wirtschaftssenat

2.สรุปข้อมูลจากการเข้าพบ

กรุงเบอร์ลินนอกจากเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์รวมและเป็นที่ตั้งของรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ของเยอรมนี ซึ่งมีบทบาทสำคัญทางการเมืองระดับนานาชาติแล้ว ปัจจุบันเบอร์ลินกำลังกลายเป็นเมืองที่มีความ

สำคัญทางการค้าและเศรษฐกิจเช่นเดียวกับเมืองฮัมบูร์กและแฟรงก์เฟิร์ต โดยมีกิจการและนักลงทุนจำนวนมากให้ความสนใจมาตั้งธุรกิจในเมืองนี้ ซึ่งกิจการส่วนใหญ่จะเป็น SME ที่มีลูกจ้างไม่เกิน 10 คน และจะมีจุดเด่นคือ เป็นกิจการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ Hi-Technology เจ้าของกิจการจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรง มีความทันสมัยและเปิดกว้างด้านความคิดสร้างสรรค์ และมีส่วนให้กรุงเบอร์ลินเป็นเมืองที่มีความแตกต่างจากเมืองส่วนใหญ่ในเยอรมนี จัดเป็นเมืองหลวงที่มีความหลากหลายและมีสีสรรค์ เป็นที่ดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยวและนักลงทุนจากทั่วโลก

Dr. Rainer Seider ได้สรุปบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานสภาสูงด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ได้ดังนี้-บทบาทด้านการส่งเสริมการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Promotion) ได้แก่ การพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกรุงเบอร์ลินการปรับปรุงกลยุทธ์ทางการค้าให้มีความแข็งแกร่ง การให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือด้านการค้าต่างประเทศ การกำหนดมาตรการทางการค้าและการตลาดของกรุงเบอร์ลิน โดยจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาในปี 2010 กรุงเบอร์ลินมีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศคิดเป็นจำนวนเงิน 12.3 พันล้านยูโร และนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ 9.7 พันล้านยูโร ซึ่งเยอรมนีถือเป็นผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก-บทบาทด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป (European economic policy) ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐบาลแก่ภาคธุรกิจต่างๆ การให้ความรู้/ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการค้ากฎระเบียบการค้าใน EU เป็นศูนย์รวมเครือข่ายรายชื่อกิจการในEU (Enterprise Europe Network) การจับคู่ธุรกิจการค้า/การให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ

Dr. Rainer Seider เคยเดินทางไปประเทศไทยหลายครั้งและครั้งล่าสุดในปี 2010 ได้ติดตามคณะผู้ว่าการกรุงเบอร์ลิน (Mr. Klaus Wowereit) เข้าร่วมประชุม Asia Pacific และได้เข้าพบกับผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ทั้งนี้ Dr. Seider ให้ความเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจและมีเสน่ห์อย่างมาก รวมทั้งเป็นประเทศที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน และโดยสภาพภูมิประเทศรวมทั้งเมืองหลวงกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเจริญก้าวหน้าในทุกสาขา มีความทันสมัยและหลากหลาย เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

3. ข้อมูลจากสคต. เบอร์ลิน

ภารกิจที่ผ่านมาของกรมส่งเสริมการส่งออก จะเน้นการส่งออกสินค้าไทยมายังต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภท consumer products แต่ในขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อกรมฯมาเป็นกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน โดยประเทศเยอรมนีจัดว่ามีความก้าวหน้าและเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสดีที่ไทยจะได้เรียนรู้และนำวิทยาการต่างๆ ไปปรับใช้กับธุรกิจในประเทศไทย โดยจะเน้นกิจการขนาดกลางและเล็กเช่นกัน ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในระยะยาวเพื่อต้องการลดต้นทุนการผลิตสินค้าของกิจการดังกล่าวให้ลดน้อยลง นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ภารกิจหลักเดิมของกรมฯ คือ การให้คำแนะนำด้านการค้าการส่งออกไปยังต่างประเทศ การเป็นแม่งานในการจัดงานแสดงสินค้าหลักในประเทศจำนวน 12-15 งานต่อปี โดยงานใหญ่สำคัญคืองาน THAIFEX ซึ่งจัดร่วมกับ Koeln Messe

นอกจากนี้ประเทศไทยน่าจะนำระบบวิธีการคิดแบบเยอรมันมาปรับใช้ในระบบการศึกษาของไทยเพราะระบบการศึกษาในเยอรมันจะสอนให้นักเรียนฝึกคิดและออกความเห็นในชั้นเรียน แต่ในขณะเดียวกันก็เข้มงวดกับนักเรียนให้ปฏิบัติตามระเบียบและสร้างวินัยที่เคร่งครัด

Dr. Seider ได้สอบถามนโยบายการค้าของไทยเกี่ยวกับสินค้าที่เป็นธรรมและไม่เอาเปรียบผู้ผลิต(Fair Trade Products) เพราะในขณะนี้ผู้บริโภคเยอรมันให้ความสนใจในการบริโภคสินค้าดังกล่าวอย่างมากซึ่งประเทศไทยน่าจะมีศักยภาพในการส่งออกสินค้านี้มาเยอรมันและยุโรปได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้สคต. เบอร์ลินได้ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมาสินค้าดังกล่าวมักจะอยู่ในโครงการในพระบรมราชูปถัมภ์ เน้นการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเพาะปลูกพืชผักเมืองหนาวแทนการเพาะปลูกฝิ่นเหมือนในอดึต หรือโครงการหลวง, โครงการแม่ฟ้าหลวง โดยไทยได้จ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้ความรู้แก่เกษตรกรไทย รวมทั้งโครงการพัฒนางานฝีมือสินค้าพื้นบ้านในชนบทไทย แต่อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวยังต้องปรับปรุงเรื่องการตลาดรวมทั้งการผลิตให้มีรูปแบบปริมาณ ราคาที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ จึงจะส่งออกได้มากกว่านี้ ทั้งนี้Dr. Seider ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า กลุ่มผู้ผลิตสินค้า Fair Trade Products ในเยอรมันจะรวมกลุ่มกันในรูปแบบสหกรณ์ (Genossenschaft) ที่มีการบริหารงานอย่างอิสระ และจะดำเนินการดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การจัดการตลาด ตลอดจนการจัดจำหน่าย โดยมีธนาคารGenossenschaft Bank เป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงิน

3. สรุปผลการหารือ
  • หน่วยงานสภาสูงกรุงเบอร์ลินยินดีให้ความร่วมมือแก่ไทยในด้านต่างๆ อาทิ การจัดทำ Business Matching ให้แก่นักธุรกิจไทยที่ต้องการทำการค้าและหาคู่ธุรกิจในกรุงเบอร์ลิน การให้คำแนะนำหากมีนักธุรกิจไทยต้องการมาลงทุนในเบอร์ลิน ซึ่งหน่วยงานสภาสูงทำงานร่วมกับ Berlin Partner GmbH ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานด้านการค้าและการลงทุนในเบอร์ลิน รวมทั้งเป็นตัวกลางเครือข่ายระหว่างทูตพาณิชย์ของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเบอร์ลิน
  • เชิญชวนสคต. เบอร์ลินหรือผู้แทนจากหน่วยงานไทยเดินทางเข้าร่วมงาน Asia Pacifce Week 2013 ที่กรุงเบอร์ลิน และข้อมูลการประชุม ASEM 2012

************************************************************

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน

เมษายน 2555


แท็ก ข้อมูล   rain  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ