รายงานสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๕
ในช่วง ๓ เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี ๒๕๕๕ ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้น ๓๘๙.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๓๒๗.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๒๖.๐๙% โดยมีสินค้าส่งออก ๕ อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ๕๒.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๑๒.๐๖%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ๓๘.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๒๖.๕๐%) ยางพารา ๓๐.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๕๑.๐๓%) ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง ๒๔.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๒๐.๑๓%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ๒๔.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๑๐๒.๑๑%)
การส่งออกมาอิตาลีในช่วง ๓ เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี ๒๕๕๕ ลดลง -๒๖.๐๙% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแตกต่างจากเมื่อช่วง๓ เดือนที่แล้วของปี ๒๕๕๔ (+๑๖.๙๓%) วิเคราะห์ได้ดังนี้
๒.๑ ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีการเจริญเติบโตอย่างชลอตัว และการบริโภคภายในประเทศคงที่ เนื่องจากรายได้ประชาชนที่ลดลงอันเนื่องมาจากมาตรการเข้มงวดด้านงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลและการว่างงานที่ยังคงมีอยู่และค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับค่าจ้างแรงงานของคนอิตาลีที่ลดต่ำลง ซึ่งจากการเปิดเผยของ OECD พบว่า อิตาลีตกอันดับจากที่ ๒๒ เป็น ๒๓ รองจากสเปนและไอร์แลนด์ ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยค่าแรงของคนโสดที่ไม่มีลูกในปีที่แล้วอยู่ที่ ๒๕,๑๖๐ เหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยค่าแรงของประชากรใน ๓๔ ประเทศสมาชิกของ OECD อยู่ที่ ๒๗,๑๑๑ เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้อิตาลียังตกจากอันดับ ๕ ไป ๖ ในเรื่องของการจ่ายภาษีค่าจ้างด้วย ซึ่งภาษีค่าจ้างในปี ๒๕๕๔ ตกอยู่ที่ ๔๗.๖% สูงขึ้นจากปี ๒๕๕๓ อยู่ที่ ๔๖.๙% (ประเทศที่มีภาษีสูงได้แก่ เบลเยี่ยม ๕๕.๕% เยอรมัน ๔๙.๘% ฮังการี และฝรั่งเศส ๔๙.๔% และออสเตรีย ๔๘.๔%
๒.๒ ธนาคารกลางของอิตาลีรายงานว่า ในช่วงไตรมาสที่ ๔ ของปี ๒๕๕๔ GDP ของอิตาลีลดลง ๐.๗% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าโดยมีหนี้สาธารณะ ๑๒๐% ของ GDP และรายได้ที่ลดลงทำให้การบริโภคภายในประเทศชะลอตัว อย่างไรก็ดี แผนการปฏิรูปเศรษฐกิจจะช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้น โดยคาดว่าเศรษฐกิจอิตาลีจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปี ๒๕๕๕ และต่อเนื่องไปถึงปี๒๕๕๖ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตลาดการเงินและอัตราดอกเบี้ยของการประกันความมั่นคงของรัฐบาลด้วย ๒.๒ สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลี (ISTAT) รายงานได้นี้
อัตราการว่างงาน ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ๒๕๕๔ มีการจ้างงาน ๒๒.๙ ล้านคน เพิ่มขึ้น ๐.๑% (+๑๘,๐๐๐ คน) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าอัตราการจ้างงานเท่ากับ ๕๖.๙% อัตราการว่างงานเพิ่มสูงถึง ๒.๔ ล้านคน (+๒๔๙,๐๐๐ คน) ในขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ๙.๖%
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของอิตาลี ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ลดลง ๐.๖% ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ๒๕๕๕ แต่เพิ่มขึ้น ๖.๘% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งถือว่าเป็นการลดลงอย่างมากที่สุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยเฉพาะผลผลิตรถยนต์ตกลง ๑๑.๒% ในปี ๒๕๕๓ และในช่วง ๒ เดือนแรกของปี ๒๕๕๕ ลดลง ๒๓.๕%
เงินเฟ้อ ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ อัตราเงินเฟ้อยังคงที่อยู่ที่ ๓.๓% โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ๐.๕% ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ส่วนใหญ่ผู้บริโภคมักจะใช้จ่ายไปกับสินค้าได้แก่ อาหารและน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมัอัตรารายปีเพิ่มสูงถึง ๔.๖% เป็นอัตราที่สูงมากที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๑
เงินเฟ้อด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อรายปีสำหรับน้ำมันเบนซินอยู่ที่ ๑๘.๖% ซึ่งเท่ากับเดือนกุมภาพันธ์ และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ ๒๒.๕% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งอยู่ที่๒๕.๕% ทั้งนี้ราคาน้ำมันเบนซินยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมา๖ เดือนแล้ว
การก่อสร้าง ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ การก่อสร้างตึกใหม่ในอิตาลีลดลง ๒๓% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า และลดลง ๙.๙% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ๒๕๕๕
การค้าระหว่างอิตาลีและประเทศนอกสหภาพยุโรป ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ อิตาลีส่งออกเพิ่มขึ้น +๑๒.๓% และมีการนำเข้าลดลง -๑๐.๒% โดยสินค้านำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ สินค้าพลังงาน (+๘.๖%) ทำให้อิตาลีได้ดุลการค้าอยู่ ๔๙๕ ล้านยูโร
การสั่งซื้ออุตสาหกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ การสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมลดลง ๑๓.๒% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ซึ่งถือว่าเป็นการลดลงอย่างต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๒ และลดลง ๒.๕% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม๒๕๕๕ มูลค่าการค้าภาคอุตสาหกรรมลดลง ๑.๕% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้น ๒.๓% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ามูลค่าการค้ารถยนต์ตกลง ๖.๔% และคำสั่งซื้อลดลง ๑๗.๙% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ยอดจำหน่ายปลีก ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย +๐.๑% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน และขยายตัว +๐.๖% เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา(สินค้าอาหารเพิ่มขึ้น +๐.๗% และสินค้าไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้น +๐.๖%) ทั้งนี้อัตราเฉลี่ยรายไตรมาสลดลง -๐.๒% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วอาหารเพิ่มขึ้น +๐.๖%) ทั้งนี้อัตราเฉลี่ยรายไตรมาสลดลง -๐.๒% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
เงินรายได้ ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ค่าจ้างรายชั่วโมงสูงขึ้น ๑.๒% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมปีก่อนหน้า ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อต่อปีอยู่ที่ ๓.๓% ซึ่งหมายความว่า ครัวเรือนชาวอิตาเลี่ยนมีอำนาจการซื้อต่ำลง ๒.๑% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า
๒.๓ รายงานจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของอิตาลี กระทรวงการคลังและกรมสรรพสามิตได้ขอปรับการจัดเก็บภาษีสำหรับปี ๒๕๕๕ ภาษีครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น +๖๐% ค่าไฟ้ฟ้า +๕.๘% ค่าเชื้อเพลิง +๑.๘% (นับจากเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป) ค่าน้ำและการบริการประปา +๖% ส่วนในด้านการบริการเก็บขยะเพิ่มขึ้นอีก ๔๐ เซนต์ ซึ่งคาดว่าแต่ละครอบครัวต้องจ่ายค่าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ๒๒ ยูโร ส่วนค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง ๒๗ ยูโรประมาณ ๑,๒๓๐ ยูโรต่อปี ซึ่งมากว่าปีที่แล้วประมาณ ๒๒๐ ยูโร ส่วนในด้านพลังงานและเชื้อเพลิงได้เพิ่มขึ้นแล้วถึง ๒๐% ในไตรมาสแรก แต่ล่าสุดค่าน้ำมันเบนซินอยู่ที่ ๕๕% และดีเซลอยู่ที่ ๕๒% ด้านภาษีจังหวัด +๓๐% ด้านคมนาคม ค่าบัตรรถโดยสารจากเดิมเที่ยวเดียว ๗๕ นาทีอยู่ที่ ๑ ยูโร เพิ่มเป็น ๒ ยูโร หรือ +๒๐% ค่าขนส่งทางเรือ (เกาะหลักของอิตาลีได้แก่ Ischia Capri และ Elba) เพิ่มขึ้น ๑.๕๐ ยูโร ภาษีสนามบินเพิ่มขึ้น ๒ ยูโร นอกจากนี้ยังมีภาษีรายได้เพิ่มระดับภูมิภาค +๑.๒๓% ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มนับตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปเพิ่มขึ้น ๒% (อยู่ที่ ๒๑ - ๒๓%) นอกจากนี้ทางรัฐบาลอิตาลียังต้องการหาเงินทุนใหม่สำหรับการป้องกันพลเรือนจากภัยพิบัติธรรมชาติ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ทางรัฐบาลเองก็เกรงว่าจะมีการประท้วง เนื่องจากความไม่พอใจในการปรับเพิ่มภาษีของประชาชน แต่อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นภาษีก็เป็นไปตามราชฎีกา ทั้งนี้เงินที่ได้จากการปรับเพิ่มภาษีก็นำไปใช้ในการปรับปรุงด้านโยธาธิการใหม่ๆ รวมไปถึงการปรับบริเวณจอดรถและพัฒนาเทศบาลต่อไป นำไปใช้ในการปรับปรุงด้านโยธาธิการใหม่ๆ รวมไปถึงการปรับบริเวณจอดรถและพัฒนาเทศบาลต่อไป
๒.๔ อิหร่านยุติการส่งออกน้ำมันให้แก่สเปนและยังได้ระงับการส่งออกน้ำมันให้กับอิตาลีและเยอรมนีอีกด้วย จากการรายงานทางสถานีโทรทัศน์ของอิหร่าน กรุงเตหะรานได้ลดปริมาณการส่งออกน้ำมันในสเปนและกรีซมาก่อนหน้านี้แล้ว แหล่งอุตสาหกรรมได้เปิดเผยว่า สเปนและกรีซได้ลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน คาดว่าทางอิหร่านเองได้ทำการยุติส่งออกน้ำมันให้กับประเทศกลุ่ม EU ก่อนที่สหภาพยุโรปจะให้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านเป็นผลในเดือนกรกฎาคมนี้
๒.๕ ข้อมูลการนำเข้าล่าสุด (เดือนม.ค. ๕๕) ของ WTA ปรากฎว่าอิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกลดลง -๕.๙๔% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนโดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้าสำคัญ ๕ อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน (มูลค่านำเข้า ๕,๖๓๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๑๓.๘๐%) ฝรั่งเศส (มูลค่า ๓,๒๑๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๗.๘๖%) จีน (มูลค่า ๒,๙๒๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๗.๑๘%) รัสเซีย (มูลค่า ๒,๐๒๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๔.๙๖%) และเนเธอร์แลนด์ (มูลค่า ๒,๐๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๔.๙๕%)
ประเทศที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ คาซัคสถาน (+๒๐๗.๒๒%) อิหร่าน (+๑๑๐.๒๐%) ซาอุดิอาราเบีย (+๕๙.๘๔%) อัลจีเรีย (+๓๐.๓๔%) และสหรัฐอเมริกา(+๑๑.๑๒%) ซึ่งส่วนใหญ่กว่าร้อยละ ๙๐ เป็นการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และสินแร่
ประเทศคู่แข่งอื่นๆที่สำคัญได้แก่อินเดีย (มูลค่า ๕๐๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๑.๒๓%) ญี่ปุ่น (มูลค่า ๔๗๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๑.๑๗%) เกาหลีใต้ (มูลค่า ๔๑๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๑.๐๒%) อินโดนีเซีย (มูลค่า ๒๓๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๕๗%)ไต้หวัน (มูลค่า ๑๘๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๔๕%) และเวียดนาม (มูลค่า ๑๗๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๔๓%) โดยไทยเป็นอันดับที่ ๕๒ มูลค่า ๑๔๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๓๔% เหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๓๔% ๓. ทั้งนี้ วิเคราะห์แยกรายสินค้าที่มีการส่งออกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้ดังนี้ ๓.๑ อัญมณีและเครื่องประดับ
การส่งออกในช่วง ๓ เดือนแรก (ม.ค. - มี.ค.) ของปี ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๕๒.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๕๙.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๑๒.๐๖% แต่หากพิจารณาเป็นรายเดือนพบว่ามีมูลค่า ๑๘.๒๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +๑๑๕.๓๕% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งมีมูลค่า๑๐.๕๙ ล้านเหรียญสหรับฯ เนื่องจาก
(๑) เป็นสินค้าที่มีราคาแพงและถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งผู้บริโภคอิตาลีนิยมซื้อในโอกาสพิเศษและเทศกาล เช่น คริสต์มาส วันวาเลนไทน์ และการฉลองทางศาสนาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยเห็นได้จากการส่งออกของไทยในเดือนมกราคม ๒๕๕๕ ที่สูงขึ้นถึง ๔๘๒.๔๒% ในขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ลดลง -๘๒.๙๙%
(๒) ราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาทองคำต่อกรัม ส่งผลให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อลง
(๓) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอิตาลีจำเป็นต้องพยายามลดมาร์จินกำไร โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าสำหรับลูกค้าระดับกลาง และไม่สามารถตั้งราคาสินค้าให้สูงขึ้นเนื่องจากจะเสี่ยงต่อยอดขายที่ตกลงไปเป็นศูนย์เลยก็ได้ ที่ตกลงไปเป็นศูนย์เลยก็ได้
(๔) การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของอิตาลีประมาณร้อยละ๗๕ เป็นการนำเข้าประเภทกึ่งสำเร็จรูปและกระจุกอยู่เมืองหลัก ๔ เมืองได้แก่ มิลาน(๓๐%) อะเล็ซซานเดรีย(๓๐%) โรม(๘%) และวิเชนซ่า(๘%) ประเทศที่อิตาลีนำเข้าสำคัญคือ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะสวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยมและฝรั่งเศส
(๕) ข้อมูลการนำเข้าล่าสุดจาก WTA ในเดือน ม.ค. ปี ๒๕๕๕ ไทยครองตลาดอันดับที่ ๒๐ (สัดส่วน ๐.๖๒%) โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้า ๕ อันดับได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ (สัดส่วนนำเข้า ๒๒.๗๗%) ฝรั่งเศส (๑๕.๐๓%) เบลเยี่ยม (๑๐.๑๐%) สหรัฐอเมริกา (๘.๔๐%) และแอฟริกาใต้ (๗.๕๔%) เบลเยี่ยม (๑๐.๑๐%) สหรัฐอเมริกา (๘.๔๐%) และแอฟริกาใต้ (๗.๕๔%)
ประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ จีน (อันดับที่ ๙ สัดส่วนนำเข้า ๒.๘๐%) อินเดีย (อันดับที่ ๑๓ สัดส่วนนำเข้า ๑.๔๖%) นำเข้า ๑.๔๖%)
ประเทศอิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ โปแลนด์ (+๔,๒๑๗.๓๐%) โปรตุเกส (+๓,๐๗๗%) เม็กซิโก (+๔๒๙.๑๗%) ราซัคสถาน (+๓๑๐.๗๔%) และฝรั่งเศส (+๑๒๑.๑๘%)
การส่งออกในช่วง ๓ เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๓๘.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๕๑.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น -๒๖.๕๐% เนื่องจาก
(๑) ปัจจุบันเนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิในสหภาพยุโรปเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ๓๐-๔๐ องศาเซลเซียส อิตาลีเป็นประเทศที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศมากเป็นอันดับสองรองจากสเปนจึงมีความต้องการเครื่องปรับอากาศเพิ่มสูงขึ้นโดยปัจจุบันบริษัทผลิตเครื่องปรับอากาศในอิตาลีจึงย้ายฐานการผลิตไปยังจีนมากขึ้นทำให้จีนครองตลาดเป็นอันดับที่หนึ่ง
(๒) ข้อมูลการนำเข้าล่าสุดจาก WTA ในเดือน ม.ค. ปี ๒๕๕๕ ไทยครองตลาดอันดับที่ ๔ (สัดส่วน ๑๒.๒๕%) โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้า ๕ อันดับได้แก่ จีน (สัดส่วน ๒๒.๘๗%) สาธารณรัฐเชค (๑๗.๑๔%) ญี่ปุ่น (๑๒.๗๐%) ไทย (๑๒.๒๕%) และเยอรมัน (๖.๓๖%) ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน (สัดส่วน ๒๒ซ๘๗%) ญี่ปุ่น (๑๒.๗๐%) ฮังการี (๒.๙๕%) และมาเลเซีย (๑.๗๖%) มาเลเซีย (๑.๗๖%)
การส่งออกในช่วง ๓ เดือนแรก (ม.ค. - มี.ค.) ของปี ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๒๔.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๓๐.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๒๐.๑๓ เนื่องจาก
(๑) ความต้องการภายในประเทศค่อนข้างคงที่ โดยผู้บริโภคอิตาลีได้ลดความถี่และค่าเฉลี่ยในการซื้ออาหารต่อครั้งลง ทั้งนี้สมาคมเกษตรกร Coldiretti ได้รายงานว่า คนอิตาเลี่ยนหันกลับมาทานพาสต้ามากขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงต้องกินอาหารดั่งเดิมและราคาถูกบ่อยขึ้นแทน ทำให้มูลค่าการค้าเส้นพาสต้าเพิ่มขึ้น ๔.๗% ในช่วง ๓ เดือนแรกของปี ๒๕๕๕ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
(๒) จากสถิติการนำเข้าของ WTA ล่าสุดในเดือนมค. ของปี ๒๕๕๕ ไทยครองตลาดอันดับที่ ๑๓ (มูลค่า ๗.๙๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๒.๕๖%) อิตาลีนำเข้าจากประเทศ ๕ อันดับแรก ได้แก่ สเปน (มูลค่า ๕๙.๒๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๑๙.๐๔%) เนเธอร์แลนด์ (มูลค่า ๒๙.๗๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๙.๕๖%) ฝรั่งเศส (มูลค่า ๒๖.๓๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๘.๔๗%) เดนมาร์ค (มูลค่า ๒๒.๖๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๗.๒๘%) กรีซ (มูลค่า ๑๙.๑๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๖.๑๗%)
(๓) โดยมีประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ เอกวาดอร์ (มูลค่า ๑๑.๓๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๓.๖๖%) เวียดนาม (มูลค่า ๙.๘๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๓.๑๗%) อินเดีย (มูลค่า ๙.๖๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๓.๑๒%) และอินโดนีเซีย (มูลค่า ๘.๓๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๒.๖๗%)
๔ .๑ IMF คาดการณ์ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะทำให้เศรษฐกิจอิตาลีจะหดตัวลง ๑.๙% ในปี ๒๕๕๕ และ ๐.๓% ในปี ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าในปี ๒๕๕๕ จะหดตัวลง ๒.๑% และในปี ๒๕๕๖ จะหดตัวลง ๐.๖% ตามลำดับ ทั้งนี้ในปี ๒๕๕๕ คาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานของอิตาลีจะอยู่ที่ ๙.๕% ซึ่งดีกว่าค่าเฉลี่ยของยูโรโซนที่ ๑๐.๙% ในขณะเดียวกันปี ๒๕๕๖ คาดว่าจะมีคนอิตาเลี่ยนตกงานถึง ๙.๗% (ค่าเฉลี่ยของยูโรโซน ๑๐.๘%)
๔.๒ IMF รายงานว่า ครอบครัวชาวอิตาเลี่ยนมีหนี้สินเท่ากับ ๕๑% ของ GDP ในขณะที่คนอเมริกันมีหนี้สิน ๘๘% ของ GDP และคนอังกฤษ ๙๙% ของ GDP ซึ่งถือว่าต่ำกว่าประเทศอื่นๆในยูโรโซน สำหรับสถาบันการเงินในอิตาลีมีหนี้สินเท่ากับ ๙๗% ของ GDP และสถาบันที่ไม่ใช่การเงิน ๑๒๒% ของ GDP
๔.๓ นายกรัฐมนตรีอิตาลี นาย Mario Monti รายงานว่า รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่าในปี ๒๕๕๖ เศรษฐกิจอิตาลีจะเติบโตขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นผลจากแผนปฏิรูปเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่อิตาลีจากการออกจากภาวะเศษฐกิจถดถอย ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี ๒๕๕๘ และปี ๒๕๖๓ GDP จะขยายตัว ๐.๙% และ ๒.๔% ตามลำดับ ทั้งนี้แผนการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างการขยายตัวในปี๒๕๖๓ จะต้องมีการปฏิรูปแบบเข้มข้น ได้แก่ ลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร ๒๓% ลดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ๓๕% และลดต้นทุนการผลิต ๔.๓%
๔.๓ สินค้าที่คาดว่ายังมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่ กลุ่มอาหารทะเลแช่แข็งแช่เย็น (รวมถึงปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง) เนื่องจากคนอิตาเลี่ยนนิยมรับประทานอาหารเบาๆในช่วงฤดูร้อน เช่นสลัดทูน่า เป็นต้น และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เนื่องจากเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิและอากาศที่อบอุ่นขึ้นทำให้คนอิตาเลี่ยนหันมาใช้รถจักรยานยนต์มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัด
********************************************
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโรม
๓๐ เมษายน ๒๕๕๕