แฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) ในสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 8, 2012 11:39 —กรมส่งเสริมการส่งออก

แฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) ในสหรัฐอเมริกา

"เด็กวัยรุ่นชาย-หญิงอายุ 15-18 ปี ไม่ต้องการใช้จ่ายซื้อเสื้อผ้าในราคาสูง และไม้ต้องการสวมใส่นานๆ และมีความต้องการเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่บ่อยครั้งขึ้น"

สิ่งนี้คือความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการแจ้งเกิดของแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) ซึ่งเป็นวิธีการสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้รวดเร็ว (Quick Response) แฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion)

ร้านจำหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่นในยุโรปดำเนินการแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion)มาแล้ว เกือบ 10 ปี โดยมีร้าน ZARA เป็นผู้บุกเบิก Fast Fashion เป็นรายแรก ร้านค้าอื่นๆที่หันมาลงทุนในด้านแฟชั่นรวดเร็ว ได้แก่ H&M และ New Look, TOP SHOP และ Benetton เป็นต้น

"ความรวดเร็ว" (Speed) คือหัวใจของ Fast Fashion ตลาดของเสื้อผ้าแฟชั่นในปัจจุบัน แฟชั่นรวดเร็ว คือ การผสมผสานการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นและโลจิกติกส์เข้าด้วยกัน เพื่อสนองความต้องการและความพอใจให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งต้องการเสื้อผ้าแฟชั่นแบบทันสมัย (Trendy) และในราคาที่ย่อมเยา (Inexpensive) ได้อย่างรวดเร็ว Fast Fashion จะช่วยเพิ่มผลกำไรให้แก่ร้านค้าได้มากกว่าการขายแบบปกติประมาณร้อยละ 8-10

ปัจจุบัน ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินกลยุทธ์แฟชั่น รวดเร็วให้ครบวงจร นับตั้งแต่การผลิตผ้า การตัดเย็บ การดูตัวอย่าง จนไปถึงการจัดส่งเสื้อผ้าไปยังผู้สั่งซื้อภายใน Lead time ประมาณ 15-30 วัน ซึ่งช่วยให้สินค้าถูกนำไปจัดแสดงให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อ มากกว่าไปนอนอยู่โกดังสินค้าหรือห้องเก็บสต๊อก

แฟชั่นรวดเร็วในสหรัฐอเมริกา

ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่าน ผู้นำเข้าร้านค้าปลีกเสื้อผ้าแฟชั่นของสหรัฐฯ เช่น Gap, Banana Republic, American Eagle ประสบปัญหาการเพิ่มยอดขาย ซึ่งนักวิเคราะห์ตลาดเสื้อผ้า ให้ความเห็นว่า ร้านค้าสหรัฐฯ ลงทุนและดำเนินการในด้าน Fast Fashion ล่าช้า และส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีจัดซื้อแบบโบราณ ซึ่งใช้ระยะเวลา 12 เดือน หรือหนึ่งฤดูกาลสินค้า ในการนำแสนอแฟชั่นชุดใหม่เข้าตลาด ถึงแม้ว่า ร้านค้าเสื้อผ้าแฟชั่นสหรัฐฯ จะปรับตัวในเรื่องLead Time ลดลงได้ประมาณ 6- 9 เดือนแต่ก็ยังไม่สามารถเพิ่มยอดจำหน่ายได้

การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของร้าน ZARA และ ร้าน H&M ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากFast Fashion ทำให้ธุรกิจขยายตัวได้ดี มียอดขายและผลตอบแทนสูงกว่าร้านเสื้อผ้าแฟชั่นของสหรัฐฯ และเป็นผลให้ ปัจจุบัน ร้าน ZARA และ ร้าน H&M ก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดของโลกแทนร้าน GAP เป็นการปลุกให้ร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่นสหรัฐฯ ได้แก่ ร้าน American Eagle, Forever 21 และ Macy's รวมไปถึง GAP และ Banana Republic หันมาตระหนักและให้ความสนใจต่อแฟชั่นรวดเร็ว ห้างร้านหลายแห่งในสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวและดำเนินรอยตามแนวทาง Fast Fashion เพื่อที่จะนำเสื้อผ้าแฟชั่นเสนอต่อผู้บริโภคให้บ่อยครั้งมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินได้ทัดเทียมเท่ากับร้าน ZARA และ ร้าน H&M ให้บ่อยครั้งมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินได้ทัดเทียมเท่ากับร้าน ZARA และ ร้าน H&M

ปัจจุบัน ห้างร้านขายเสื้อผ้าสหรัฐฯ หลายแห่งให้ความสำคัญ Fast Fashion เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ห้างร้านปรับการหาแหล่ง Sourcing สินค้า เนื่องFast Fashion มีจะต้นทุนสูงขึ้นทั้งในด้านการออกแบบและโลจิสติกส์ ดังนั้น การSourcing จะต้องหันไปนำเข้าจากแหล่งผลิตใกล้สหรัฐฯ เช่น เม็กซิโก ลาตินอเมริกา ตุรกี มอร็อคโค จะเห็นได้จากร้าน Gap ซึ่งเคยนำเข้าจากแหล่งเอเซีย จำนวนมาก เริ่มลดปริมาณการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากจีน อินเดีย และ บังคลาเทศ ไปจำนวนมาก และหันไปนำเข้าจากแหล่งผลิตที่ใกล้กับสหรัฐฯ การนำเสื้อผ้าสำเร็จรูปของสหรัฐฯ

สหรัฐฯ นำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปรวมเป็นมูลค่า 30,806 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.60 โดยมีจีนเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับแรก มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 39 โดยมี เวียดนาม (ร้อยละ 8.3) และ อินโดนิเซีย (ร้อยละ 6.43) เป็นอันดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับ และนำเข้าจากไทยมูลค่า 1,218 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงไปจากปี 2553 ร้อยละ 8.63 มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 1.55

การนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของสหรัฐอเมริกา

หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ

แหล่งนำเข้า             2553     2554*    ขยายตัว(%)    มค.-กพ. 2554     มค.-กพ. 2555      ขยายตัว(%)
1. China            28,773    30,806         7.07        4,355            4,534            4.11
2. Vietnam           5,797     6,555        13.08        1,061            1,137            7.16
3. Indonesia         4,435     5,066        14.23          834              893            7.07
4. Bangladesh        3,847     4,391        14.14          773              838            8.41
5. Mexico            3,669     3,962         7.99          552              614           11.23
6. India             3,158     3,369         6.68          569              613            7.73
7. Honduras          2,477     2,694         8.76          366              352           -3.83
8. Cambodia          2,216     2,586        16.70          351              500           42.45
9. El Salvador       1,637     1,737         6.11          233              249            6.87
10. Pakistan         1,508     1,678        11.27          234              225           -3.85
14. Thailand         1,333     1,218        -8.63          209              189           -9.57
    แหล่งอื่นๆ         13,669    14,694         7.50        2,489            2,473           -0.64
    การนำเข้ารวม     72,519    78,756         8.60       12,026           12,617            4.91

ที่มา: World Trade Atlas * จัดอันดับตามมูลค่านำเข้าของปี 2554

อนึ่ง การนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของสหรัฐฯ ในช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) 2555 มีมูลค่า 12617 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ร้อยละ 4.91 โดยมี จีน เวียดนาม และ อินโดนิเซีย เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ การนำเข้าของสหรัฐฯ จากไทยในช่วงดังกล่าวนี้ มีมูลค่า 189 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงไปร้อยละ 9.57 จากช่วงเดียวกันของปี 2554

ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ

1. Fast Fashion จะมีผลกระทบต่อแหล่งผลิตเสื้อผ้าในต่างประเทศ จะผลักดันให้ ห้างร้านขายเสื้อผ้าสหรัฐฯ เปลี่ยนแหล่งนำเข้า เสื้อผ้าจากต่างประเทศ โดยจะหันไปนำเข้าจากแหล่งผลิตใกล้สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลิตที่มีต้นทุนต่ำด้านแรงงานและได้เปรียบด้านค่าขนส่งและความรวดเร็วในการขนส่ง ในขณะที่แหล่งผลิตห่างไกล เช่น ในเอเซีย จะได้รับผลกระทบในด้านการลดลงของคำสั่งซื้อ และในทางกลับกัน จะส่งผลต่อการลดการนำเข้าจากแหล่งผลิตในเอเซีย

2.Fast Fashion ช่วยห้างร้านในด้านการเพิ่มยอดจำหน่ายสินค้า เนื่องจากสามารถนำเสื้อผ้าแบบใหม่เสนอต่อตลาดได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกๆ เดือน จึงดึงดูดให้ผู้บริโภคใช้จ่ายซื้อเสื้อผ้าบ่อยครั้งขึ้น ซึ่งทำให้ร้านค้าขายสินค้าได้มากขึ้น และเป็นผลให้มีฐานะได้เปรียบคู่แข่งขัน แต่ในทางกลับกัน Fast Fashion มีผลต่อการเพิ่มต้นทุนสินค้าและดำเนินการ เนื่องจากห้างร้านจะมีค่าออกแบบและค่าขนส่งจะเพิ่มขึ้น

3.ตลาดสหรัฐฯ แข่งขันกันในด้านราคา สินค้ามักจะขายในราคาต่ำ และมีผลกำไรต่ำ (Low Margin) จึงเป็นอุปสรรคและเป็นปัจจัยไม่สนับสนุนให้ห้างร้านจำหน่ายเสื้อผ้าของสหรัฐฯ ลงทุนดำเนินการในด้าน Fast Fashion เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมในด้านการออกแบบแฟชั่นด้วยตนเอง และ ต้นทุนสินค้าจะเพิ่มขึ้นทำให้เสียฐานะการแข่งขันในตลาด

4.ในการรักษาลูกค้าในสหรัฐฯ ผู้ผลิต/ส่งออกในต่างประเทศต้องยอมรับคำสั่งซื้อที่ มูลค่าลดลงในแต่ละครั้งจากห้างร้านสหรัฐฯ แต่คำสั่งซื้อจะมีบ่อยครั้ง 5.Fast Fashion อาจจะเป็นภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าแฟชั่นไทยไปยัง สหรัฐฯ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการลดลงของมูลค่านำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของสหรัฐฯ จากไทย

ดังนั้น ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่ขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปให้แก่ห้างร้านชั้นนำของสหรัฐฯ ต้องพิจารณา คือ การติดตามเทรนด์ตลาดเสื้อผ้าอย่างใกล้ชิด นำเสนอเสื้อผ้าแฟชั่นให้บ่อยครั้งและหลากหลายเพื่อห้างร้านสามารถเลือกซื้อและนำไปเสนอต่อลูกค้าได้บ่อยครั้ง และรวมไปถึงการสร้างความพร้อมในด้านโลจิสติกส์

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก

2 พฤษภาคม 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ