รายงานสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปกรีซ ประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๕
ในช่วง ๓ เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี ๒๕๕๕ ไทยส่งออกสินค้ามายังกรีซทั้งสิ้น ๓๖.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๔๓.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๑๕.๘๑% โดยมีสินค้าส่งออก ๕ อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ๓.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๑๒.๓๙%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ๓.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๔๑.๗๑%) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ๒.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๓.๙๕๗.๓๗%) เม็ดพลาสติก ๒.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๕๘.๓๘%) เครื่องนุ่งห่ม ๒.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๑.๗๙%)
การส่งออกมากรีซในช่วง ๓ เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี ๒๕๕๕ ลดลง -๑๕.๘๑% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดีกว่าจากเมื่อช่วง ๓ เดือนที่แล้วของปี ๒๕๕๔ (-๒๗.๕๕%) วิเคราะห์ได้ดังนี้
๒.๑ รัฐมนตรีของกลุ่มยูโรโซน อนุมัติเงินกู้งวดใหม่ให้กับกรีซเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลสเปนลดจำนวนการขาดดุลงบประมาณลงอีกในปีนี้ การอนุมัติเงินกู้งวดใหม่จำนวน ๑.๓ แสนล้านยูโรให้กับกรีซ โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสมาชิกสหภาพยุโรปที่ใช้เงินยูโร มีขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ทั้งนี้จากการเปิดเผยของ นายฌ็อง โคลด จังเคอร์ ประธานกลุ่มยูโรโซน ในระหว่างการเปิดแถลงข่าวว่า เหตุผลที่ผ่านการอนุมัติก็เพราะรัฐบาลกรีซสามารถตกลงกับผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลที่เป็นเอกชนได้สำเร็จ ทำให้สามารถยืดเวลาในการไถ่ถอนออกไปได้นานกว่าเดิม ทั้งยังลดจำนวนหนี้ลงได้กว่า ๑ แสนล้านยูโร เหลือไม่ถึงครึ่งหนึ่งของมูลค่าตามราคาที่ตราไว้ในหน้าพันธบัตร และผลจากการปรับลดหนี้ลงมาได้อย่างเป็นกอบเป็นกำนี้ นายจังเคอร์ กล่าวว่า ทำให้สัดส่วนหนี้สินของกรีซปี ๒๕๖๓ ต่ำกว่า ๑๒๐% ของ GDP ซึ่งเป็นตัวเลขเป์าหมาย โดยล่าสุดได้ลดลงจาก ๑๖๐% ของ GDP เหลือเพียง ๑๑๗% ของ GDP ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีว่าปีนี้ กรีซจะสามารถลดงบประมาณขาดดุลของตนลงได้ตาม เป์าหมายที่วางไว้
๒.๒ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือฟิทซ์ ได้คืนอันดับความน่าเชื่อถือให้กรีซ ๔ อันดับเป็น B หลังจากที่รัฐบาลกรีซประสบความสำเร็จในการเจรจาต่อรองจนธนาคารเอกชนที่ถือพันธบัตรรัฐบาลกรีซยอมลดหนี้ให้รวมแล้วกว่าแสนล้านยูโร โดยฟิทซ์ระบุในแถลงการณ์ถึงเหตุในการเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือให้กรีซครั้งนี้ว่า เพราะจำนวนหนี้ที่ลดลงครั้งนี้ จะทำให้รัฐบาลกรีซสามารถลดหนี้สินของชาติลงเป็น ๑๒๐% ของ GDP ภายในปี ๒๕๖๓ จากปัจจุบันที่สูงถึง ๑๗๐% อย่างไรก็ตาม ฟิทซ์ได้กล่าวเตือนว่า เมื่อคำนึงถึงจำนวนหนี้สินที่รัฐบาลกรีซยังแบกรับอยู่ในขณะนี้ กล่าวได้ว่ากรีซยังอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรออกใหม่ที่กำหนดระยะเวลาการไถ่ถอนไว้ระหว่าง ๑๒-๒๔ เดือน แม้ว่ากรีซจะได้รับจากกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินของอียูจำนวนกว่าแสนล้านยูโร ซึ่งจะมีการทยอยจ่ายเป็นงวดๆเป็นเวลา ๓ ปี โดยงวดแรก ๕.๙ พันล้านยูโรกรีซจะได้รับในเดือนเมษายน ปัจจัยเสี่ยงที่ฟิทซ์พูดถึง คือการที่ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจของกรีซยังอยู่ในห้วงของความถดถอย ขณะที่อัตราการว่างงานปัจจุบันเกิน ๕๐% และที่สำคัญก็คือ ผลการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนเมษายนหรือไม่ก็เดือนพฤษภาคม อาจมีการเปลี่ยนรัฐบาล ก็ไม่แน่ว่าจะมีการสานต่อนโยบายอดออมไว้ต่อไปหรือไม่
ส่วนสถาบัน S&P ประกาศปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซเป็นระดับ "CCC" โดยให้แนวโน้มอันดับเครดิตระยะยาวเป็นมีเสถียรภาพจากเดิมที่ระดับ "ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน" ( selective default ) ภายหลังจากที่กรีซเสร็จสิ้นการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อเดือนที่แล้ว อย่างไรก็ตาม อันดับความน่าเชื่อถือที่ CCC ยังอยู่ในระดับต่ำ และแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือที่มีเสถียรภาพหมายความว่า S&P ไม่ได้กำลังพิจารณาที่จะเปลี่ยนแปลงอันดับเพิ่มเติมให้กับกรีซเวลานี้
๒.๓ ประธานรัฐสภายุโรปได้ประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกรีซเกี่ยวกับแนวทางในการกวาดล้างการหลีกเลี่ยงภาษีในประเทศกรีซ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้รัฐบาลกรีซขาดดุลงบประมาณ นายมาร์ติน ชูลท์ ประธานรัฐสภายุโรปได้หารือเรื่องนี้กับนายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ที่ทำเนียบรัฐบาลกรีซในกรุงเอเธนส์ โดยนายชูลท์ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังเสร็จสิ้นการหารือว่า ได้มีการหารือกันถึงแนวทางและวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยเฉพาะการสู้รบปรบมือกับพวกเลี่ยงภาษีจะต้องมีวิธีจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ปล่อยไว้ไม่ได้ โดยให้ถือว่าในช่วงที่ประเทศชาติกำลังมีปัญหาเรื่องหนี้สิน การหลีกเลี่ยงภาษีถือเป็นความผิดทางอาญา จะต้องมีการลงโทษแก่ผู้กระทำผิดสถานหนัก เพื่อไม่ให้มีใครถือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง นอกจากวิธีรับมือกับการหลีกเลี่ยงภาษีแล้ว นายชูลท์กล่าวว่า ตนและนายกรัฐมนตรีปาปาเดมอส ยังได้หารือกันถึงการใช้เงินกู้ที่ได้มา ๑.๓ แสนล้านยูโรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อความเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน เพราะปัจจัยทั้งสองนี้มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความอยู่รอดของกรีซในระยะยาว
๒.๔ รัฐสภากรีซได้อนุมัติให้มีการลดเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรีซแล้วอันเป็นการเริ่มต้นแผนประหยัดงบประมาณอย่างเป็นทางการ แผนลดการใช้จ่ายด้านต่างๆ เพื่อลดงบประมาณขาดดุลให้ได้ตามเป์าที่ตกลงไว้กับบรรดาเจ้าหนี้ที่อนุมัติเงินกู้งวด ๑.๓ แสนล้านยูโรให้กรีซ ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรีซแล้วโดยมาตรการที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภาครั้งนี้ มีทั้งการลดอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำ และการลดเงินบำเหน็จบำนาญของข้าราชการลง รวมทั้งลดการใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละกระทรวงลง ๑๕% ทั้งนี้เพื่อลดงบประมาณขาดดุลลงให้เหลือ ๖.๗% ของGDP ในปีนี้ นายอีวานเกลอส เวนิเซลอส รัฐมนตรีกระทรวงการคลังกรีซ ได้แถลงต่อสภาก่อนที่จะมีการลงมติว่า การที่รัฐบาลได้พยายามที่จะนำแผนอดออมมาใช้นั้น รัฐบาลมีเจตจำนงที่ชัดเจน เพราะเป็นความพยายามเพื่อชาติ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของชาติ อย่างไรก็ตาม ส.ส.ในพรรคร่วมรัฐบาลหลายคนได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการนำมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมมาใช้ในครั้งนี้ โดยเฉพาะนายแอนโตนิส ซามาราส ผู้นำพรรคประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่า มาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดของรัฐบาล อาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ และว่า เมื่อระบบเศรษฐกิจไม่เติบโต การหาเงินมาใช้หนี้ของรัฐบาลอาจมีปัญหา และสถานการณ์อาจร้ายแรงยิ่งขึ้นเมื่อมีคนตกงานกันมากเพราะมาตรการอดออมของรัฐบาล และว่าด้วยเหตุนี้พรรคของตนจึงให้ความสำคัญกับความเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก เพราะเมื่อระบบเศรษฐกิจไม่ขยายตัว ต่อให้ไม่มีการลดค่าแรงงานขั้นต่ำ รัฐบาลก็คงไม่มีปัญาหาเงินมาใช้หนี้อยู่ดีซึ่งตอนนี้คิดเป็นสัดส่วน ๑๖๐% ของ GDP
๒.๕ การประท้วงแผนอดออมรัฐบาลมีขึ้นทั้งที่ประเทศกรีซและสเปน โดยที่ประเทศกรีซ สมาชิกสหภาพแรงงานต่างๆ ของกรีซได้ออกมาชุมนุมกันบนท้องถนนในกรุงเอเธนส์เพื่อประท้วงมาตรการอดออมเพิ่มเติมที่รัฐบาลกรีซนำมาใช้อย่างเข้มงวด เพื่อประหยัดงบประมาณให้ได้ ๓.๒ พันล้านยูโรในปีนี้ เพราะมิฉะนั้น รัฐบาลจะไม่สามารถทำให้ตัวเลขขาดดุลงบประมาณลดลงตามเป์าที่วางไว้ แต่สหภาพแรงงานมองว่า แผนอดออมดังกล่าว จะทำให้ผู้ใช้แรงงานเดือดร้อนหนักเข้าไปอีก เนื่องจากมีการลดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำลงถึง ๒๒% จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ ๗๕๑ ยูโรต่อเดือน ส่วนแรงงานที่มีอายุต่ำกว่า ๒๕ ปี อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่พวกเขาได้รับต่อเดือนจะลดลงมากถึง ๓๒% ขณะที่เงินบำเน็จบำนาญข้าราชการถูกระงับทั้งหมด ทั้งนี้คนงานรถไฟกรีซเริ่มผละงานประท้วงเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง ก่อนที่รัฐสภาจะอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัดล่าสุด รัฐสภากรีซได้อนุมัติกฎหมายปฏิรูปฉบับใหม่ด้วยคะแนนเสียง ๒๑๓ ต่อ ๕๘ เพื่อปฏิรูปกองทุนบำนาญตามข้อกำหนดใหม่ของอียู การผ่านกฎหมายมีขึ้นไม่กี่ชั่วโมง หลังจากสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ นัดหยุดประท้วงเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง เพื่อคัดค้านแผนปรับลดค่าจ้าง และมาตรการรัดเข็มขัดอื่นๆ ที่รัฐบาลอนุมัติในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ส่งผลให้รถรางและรถไฟใต้ดินในกรุงเอเธนส์ต้องหยุดให้บริการ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ต้องหันไปพึ่งรถบัสโดยสารและแท็กซี่แทน
๒.๖ สำนักงานสถิติแห่งชาติกรีซ (EL.STAT) รายงานไว้ดังนี้
ยอดขาดดุลงบประมาณ ยอดขาดดุลงบประมาณของกรีซในปีก่อนอยู่ที่ ๙.๑% ของ GDP (ประมาณ ๑.๙๖ หมื่นล้านยูโร) ลดลงจาก ๑๐.๓% ในปีก่อนหน้า และมียอดหนี้สาธารณะในปีที่แล้วอยู่ที่ ๑๖๕.๓% (ประมาณ ๓.๕๕๖ แสนล้านยูโร) ของ GDP โดยแนวโน้มการขาดดุลงบประมาณที่ลดลงนี้สอดคล้องกับการประเมินของกรีซและองค์กรระหว่างประเทศ
อัตราการว่างงาน อัตราว่างงานในกรีซปรับตัวสูงขึ้นแตะ ๒๑.๘% จากระดับ ๒๑.๑% ในเดือน ธันวาคมปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นเกือบ ๒ เท่า จากเมื่อสองปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่กรีซถูกวกฤติหนี้รุมเร้าอย่างหนัก จำนวนของผู้ว่างงานเพิ่มเป็น ๓๔๔,๙๑๓ คน คนหนุ่มสาวได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมีประชากรในวัย ๑๕ - ๒๔ ตกงานถึง ๕๐.๘%
ยอดค้าปลีก ตามผลอย่างไม่ป็นทางการของดัชนีการจำหน่ายปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โดยไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงที่ ๑๐.๙% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และลดลงจาก ๘.๘% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ส่วนดัชนีการจำหน่ายปลีกโดยรวมน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงที่ ๑๑.๑% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และเมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๓ ที่ ๖.๘% ส่วนปริมาณการจำหน่ายปลีก (หมุนเวียน ณ ราคาคงที่) โดยไม่รวมน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงที่ ๑๑.๘% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และลดลงที่ ๙.๐% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ส่วนปริมาณการจำหน่ายปลีกโดยรวมน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงที่ ๑๓.๐% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ และในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ก็ลดลงที่ ๑๐.๔% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (IPI) ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ตกต่ำลงที่ ๘.๓% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ส่วนอัตราการเปลี่ยนแปลงประจำปีลดลงที่ -๔.๓% ในระยะเวลาสองเดือนโดยนับจากเดือนมกราคม - เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ อัตราเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงที่ -๗.๒%
คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการสั่งซื้อผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ทั้งตลาดในประเทศและนอกประเทศ) ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ลดลงที่ ๑๓.๘% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ซึ่งอัตราการเปลี่ยนแปลงประจำปีอยู่ที่ ๑๙.๐% ส่วนค่าเฉลี่ยอัตราการสั่งซื้อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสำหรับระยะเวลา ๑๒ เดือนนับจากเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ลดลง ๓.๔% เมื่อเทียบกับระยะเวลา ๑๒ เดือน นับจากเดือนมีนาคม ๒๕๕๓ ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ซึ่งสอดคล้องกันกับดัชนีการเปลี่ยนแปลงของการสั่งซื้อผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ๗.๐%
ปริมาณการสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ลดลง ๑๓.๘% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีรายปี ดังนี้
๑) ดัชนีการสั่งซื้อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสำหรับตลาดในประเทศลดลง ๒๑.๐%
๒) ดัชนีการสั่งซื้อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสำหรับตลาดในต่างประเทศลดลง ๘.๙%
ปริมาณการสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมสำหรับตลาดต่างประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ลดลง ๘.๙% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เนื่องจากอัตราการเปลี่ยนแปลงรายปี ดังต่อไปนี้
๑) ดัชนีการสั่งซื้อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสำหรับประเทศยูโรโซนลดลง ๑๐.๗%
๒) ดัชนีการสั่งซื้อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสำหรับประเทศนอกยูโรโซนลดลง ๒.๙%
การก่อสร้าง ดัชนีผลผลิตในการก่อสร้าง ( IPC ) ในไตรมาสที่ ๔ ของ ๒๕๕๔ ลดลง ๓๔.๖% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และอัตราการเติบโตในปีผ่านมาลดลงที่ -๓๓.๕% และเมื่อเปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ ๓ ของ ๒๕๕๔ มีอัตราลดลง ๑๖.๘%
เงินเฟ์อ ดัชนีราคาผู้ยริโภค (CPI) ของเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ เพิ่มขึ้น ๑.๗% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งอัตราการเปลี่ยนแปลงรายปีอยู่ที่ ๔.๕% และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์กับเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ CPI เพิ่มขึ้น ๒.๘% ในรอบสิบสองเดือนระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๕๔ ถึงเดือน มีนาคม ๒๕๕๕ อัตราการเปลี่ยนแปลงรายปีคือ ๒.๗%
การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการนำเข้า (ไม่รวมน้ำมัน) เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๒๓๒๑.๘ ล้านยูโร เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีมูลค่า ๒๗๒๑.๓ ล้าน ยูโร ลดลง ๑๔.๗% มูลค่าการส่งออก (ไม่รวมน้ำมัน) เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๑๒๔๑.๗ ล้านยูโร เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มีมูลค่า ๑๒๓๓.๗ ล้านยูโร เพิ่มขึ้น ๐.๗% ดุลการค้าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ขาดดุล ๑๐๘๐ ล้านยูโร ลดลง ๒๗.๔% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขาดดุลอยู่ ๑๔๘๗.๖ ล้านยูโร ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขาดดุลอยู่ ๑๔๘๗.๖ ล้านยูโร
๒.๗ ข้อมูลการนำเข้าล่าสุด (เดือนม.ค. ๒๕๕๕) ของ WTA ปรากฎว่ากรีซนำเข้าจากทั่วโลกลดลง -๓๕.๘๗% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยมีประเทศที่กรีซนำเข้าสำคัญ ๕ อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน (มูลค่านำเข้า ๔๕๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๑๓.๕๙%) อิตาลี (มูลค่า ๓๒๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๙.๗๔%) รัสเซีย (มูลค่า ๒๕๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๗.๖๘%) ฝรั่งเศส (มูลค่า ๒๒๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๖.๖๕%) และเนเธอร์แลนด์ (มูลค่า ๒๐๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๖.๒๓%)
ประเทศที่กรีซนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ไนจีเรีย (+๘๙,๘๓๔%) อาร์เจนติน่า (+๔๘๙.๔๑%) มอลต้า (+๒๘๒.๓๒%) นอร์เวย์ (+๒๒๙.๔๘%) ชิลี (+๒๒๑.๓๕%) และเวียดนาม (+๖๑.๒๘%) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าอาหาร และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ์า
ประเทศคู่แข่งอื่นๆที่สำคัญได้แก่ จีน (มูลค่า ๒๐๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๖.๐๙%) เกาหลีใต้ (มูลค่า ๑๑๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๓.๕๑%) อินเดีย (มูลค่า ๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๖%) เวียดนาม (มูลค่า ๑๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๔๘%) ญี่ปุ่น (มูลค่า ๑๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๔๗%) อินโดนีเซีย (มูลค่า ๑๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๓๕%) ไต้หวัน (มูลค่า ๑๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๓๔%) และ โดยไทยเป็นอันดับที่ ๔๗ มูลค่า ๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๒๘%
๓.๑ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
การส่งออกในช่วง ๓ เดือนแรก (ม.ค. - มี.ค.) ของปี ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๐.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๒.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๗๒.๔๔% แต่หากพิจารณาเป็นรายเดือนพบว่ามีมูลค่า ๐.๑๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -๕๓.๓๒% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งมีมูลค่า ๐.๒๙ ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เนื่องจาก สหรัฐฯ เนื่องจาก
(๑) สินค้าที่นำเข้าจากไทยส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุก แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของกรีซทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ประสบปัญหาเป็นอย่างหนัก
(๒) ในส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์ในกรีซลดลงกว่าครึ่ง ขณะที่ประชาชนต่างนำรถออกขาย หลังมีความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนัก ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศกรีซลดลงกว่าเดิมมาก รวมทั้งประชาชนในประเทศต่างนำรถไปขายให้เต้นท์รถมือสอง ส่วนศูนย์จำหน่ายรถยนต์หลายค่ายต้องปิดกิจการ ข้อมูลจากสมาคมการอุตสาหกรรมระบุว่า ในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา ศูนย์จำหน่ายรถยนต์กว่า ๖๐๐ แห่งประสบปัญหาขาดทุนจนต้องปิดกิจการ ทำให้มีผู้ว่างงานกว่า ๗,๐๐๐ คน นายจอห์น คอนเดลลิส รองประธานสมาคมผู้ส่งออกรถยนต์ กล่าวว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในกรีซเมื่อกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ลดลงอย่างมากและมีสถิติที่แย่ที่สุด เปรียบเทียบกับยอดจำหน่ายเมื่อช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ก่อนที่กรีซจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจลดลงไปกว่า ๘๐% ก่อนที่กรีซจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในปี ๒๕๕๑ สมาคมผู้ส่งออกรถยนต์ประเมินว่าจะมีการจำหน่ายรถกว่า ๓ แสนคันต่อปี แต่ปัจจุบันได้ลดการคาดการณ์ลงไปถึง ๑ ใน ๓ เหลือประมาณ ๑ แสนคัน ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวเป็นผลมาจาก การที่ประชาชนในกรีซมีความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงอัตราภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บเพิ่ม ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เลือกที่จะตัดลดรายจ่าย ส่งผลให้ยอดจำหน่ายรถยนต์แทบจะไม่เพิ่มขึ้น แม้กระทั่งในตลาดรถยนต์มือสองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ด้านผู้จำหน่ายรถยนต์ ต้องยอมขายรถในราคาขาดทุน เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ โดยระบุว่าผู้ที่มีกำลังซื้อรถขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ที่เข้ามาซื้อรถยนต์หรู อย่างรถจากัวร์ และเฟอร์รารี่ไปใช้ ในราคาถูก นอกจากนี้ยังระบุว่า ๘ ใน ๑๐ ของลูกค้าที่เดินเข้ามาในร้าน จะเข้ามาติดต่อเพื่อขายรถยนต์ที่ใช้อยู่
(๓) มาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลกรีซ ทำให้ยอดขายรถมือสองในกรุงเอเธนส์ลดลงอย่างฮวบฮาบ แม้จะมีการลดราคาลงอย่างสะบั้นหั่นแหลกแล้วก็ตาม มาตรการอดออมเพื่อประหยัดงบประมาณของรัฐบาลกรีซซึ่งทำให้คนตกงานกันเป็นจำนวนมาก ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่างๆ อย่างกว้างขวาง และหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงก็คือ ธุรกิจขายรถยนต์มือสองในกรุงเธนส์ โดยเจ้าของธุรกิจค้ารถมือสองรายหนึ่งเปิดเผยว่า เมื่อ ๒ ปีก่อน รถมือสองเคยขายได้ตกปีละประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ คัน แค่มาปีนี้ ขายได้แค่ ๔๐ คัน และรถคนที่ขายได้ส่วนใหญ่เป็๋นรถเล็ก ส่วนรถคันใหญ่ๆ ขายไม่ได้เลย เพราะลูกค้าไม่มีเงินซื้อ นอกจากนั้น คนที่เข้ามายังร้านขายรถมือสอง ส่วนใหญ่มาเพื่อนำรถมาขาย ไม่ได้มาซื้อรถ และรถที่ขายได้ ส่วนใหญ่ขายแล้วขายเลย ไม่เห็นมีใครซื้อรถคันใหม่ เพราะในสภาวะการณ์ที่ระบบเศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ คิดว่าใครๆก็อยากเก็บเงินไว้กับตัว ทางด้านรองประธานสมาคมผู้นำเข้ารถยนต์แห่งเอเธนส์เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของกรีซปี ๒๕๕๔ ลดลงถึง ๖๕% ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ลดลงอย่างฮวบฮาบ แต่ก็ไม่น่าใจหายเหมือนช่วง ๒ เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในตลาดมีแค่ ๓,๘๐๐ คัน ลดลงจากตัวเลขยอดขายโดยเฉลี่ยถึง ๘๒%
(๔) ข้อมูลการนำเข้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบล่าสุดจาก WTA ในเดือน ม.ค. ปี ๒๕๕๕
__________________________________________________________________________________________
HS. Code มูลค่านำเข้า/ปีพ.ศ. (มค.) สัดส่วน (%) อัตราขยายตัว (%) ๒๕๕๓ ๒๕๕๔ ๒๕๕๕ ๒๕๕๓ ๒๕๕๔ ๒๕๕๕ ๒๕๕๕/๒๕๕๔
__________________________________________________________________________________________
ประเทศไทย ๑๖.๖๓ ๑๓.๐๑ ๙.๔๑ ๐.๓๐ ๐.๒๕ ๐.๒๘ -๒๗.๖๘ ๘๗ รถยนต์ อุปกรณ์ และ ๖.๔๒ ๔.๔๖ ๑.๖๐ ๓๘.๕๘ ๓๔.๒๗ ๑๖.๙๖ -๖๔.๒๑
ส่วนประกอบ
๘๗๐๔ รถบรรทุก ๒.๙๗ ๒.๐๔ ๑.๐๗ ๔๖.๓๒ ๔๕.๗๑ ๖๗.๒๕ -๔๗.๓๔ ๘๗๐๓ Passenger Motor ๓.๒๒ ๑.๔๑ ๐.๒๙ ๕๐.๐๙ ๓๑.๕๓ ๑๘.๑๗ -๗๙.๓๗ ๘๗๐๘ Part/Accessories ๐.๑๖ ๐.๑๒ ๐.๑๑ ๒.๕๕ ๒.๗๑ ๗.๑๕ -๕.๕๖
Vehicles
๘๗๑๑ Motorcycles ๐.๐๕ ๐.๘๒ ๐.๑๐ ๐.๘๒ ๑๘.๔๐ ๖.๒๔ -๘๗.๘๗ ๘๗๑๔ Part/Accessories ๐.๐๑ ๐.๐๗ ๐.๐๒ ๐.๒๑ ๑.๖๖ ๑.๑๙ -๗๔.๒๖
Motorcycles
__________________________________________________________________________________________
(๕) จากตารางพบว่า ไทยครองตลาดรถบรรทุกอันดับที่ ๓ (สัดส่วน ๑๖.๓๘%) โดยประเทศที่กรีซนำเข้า ๕ อันดับได้แก่ อาฟริกาใต้ (สัดส่วนนำเข้า ๒๒.๐๙%) สเปน (๑๖.๖๕%) ไทย (๑๖.๓๘%) เยอรมัน (๑๓.๗๑%) และเบลเยี่ยม (๘.๘๖%)
ประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อาฟริกาใต้ (อันดับที่ ๑ สัดส่วนนำเข้า ๒๘.๐๙%) ออสเตรีย (อันดับที่ ๙ สัดส่วนนำเข้า ๑.๑๘%)
ประเทศกรีซนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม (+๑๔๔.๙๐%) สเปน (+๑๓๗.๒๑%) เนเธอร์แลนด์ (+๑๓๔.๗๑%) อิตาลี (+๔๘.๘๙%) และออสเตรีย (+๒๗.๑๔%)
(๖) ส่วนรถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ การส่งออกในช่วง ๓ เดือนแรก (ม.ค. - มี.ค.) ของปี ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๓.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๕.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น -๔๑.๗๑% เนื่องจาก
จากสถิติการนำเข้าของ WTA ล่าสุดในเดือนมค. ของปี ๒๕๕๕ ไทยครองตลาดอันดับที่ ๗ (มูลค่า ๐.๕๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๓.๕๔%) กรีซนำเข้าจากประเทศ ๕ อันดับแรก ได้แก่ อิตาลี (มูลค่า ๐.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๒๘.๕๔%) ไต้หวัน (มูลค่า ๐.๕๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๒๐.๗๗%) จีน (มูลค่า ๐.๓๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๑๒.๘๙%) ญี่ปุ่น (มูลค่า ๐.๒๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๘.๒๖%)
โดยมีประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน (มูลค่า ๐.๓๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๑๒.๘๙%) ญี่ปุ่น (มูลค่า ๐.๒๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๘.๒๖%) มาเลเซีย (มูลค่า ๐.๑๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๕.๓%) และเบลเยี่ยม (มูลค่า ๐.๐๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๒.๘๕%)
๓.๒ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
การส่งออกในช่วง ๓ เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๓.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๔.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น -๑๒.๓๙% เนื่องจาก
(๑) จากผลของวิกฤตเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในกรีซส่งผลต่ออุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ โดยมูลค่าการขายปลีกลดลง ๗% ในปี ๒๕๕๔ ทั้งนี้เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนที่มีสัดส่วนการครองตลาดอยู่ ๗๑% ของตลาดเครื่องปรับอากาศได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยในปี ๒๕๕๔ จำนวนขายลดลง ๑๑% หรือ ๔๒๓,๐๐๐ เครื่อง และมูลค่าการขายลดลง ๙% หรือ ๑๔๗ เหรียญสหรัฐฯ
(๒) ผู้บริโภคกรีซมีความจำเป็นต้องประหยัดค่าใช้จ่ายโดยพยายามใช้งานเครื่องปรับอากาศที่มีอยู่และไม่ซื้อสินค้าใหม่มาทดแทน หรือซื้อพัดลมมาใช้แทน
(๓) ข้อมูลการนำเข้าล่าสุดจาก WTA ในเดือน ม.ค. ปี ๒๕๕๕ ไทยครองตลาดอันดับที่ ๔ (สัดส่วน ๙.๔๕%) โดยประเทศที่กรีซนำเข้า ๕ อันดับได้แก่ จีน (สัดส่วน ๔๐.๓๐%) อิตาลี (๑๔.๖๗%) เบลเยี่ยม (๑๑.๒๙%) ไทย (๙.๔๕%) และญี่ปุ่น (๕.๙๓%)
ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน (สัดส่วน ๔๐.๓๐%) ญี่ปุ่น (๕.๙๓%) เกาหลีใต้ (๓.๕๙%) และมาเลเซีย (๒.๗๐%)
๔.๑ นาย Yiorgos Provopoulos ผู้ว่าการธนาคารกลางของกรีซ กล่าวในการนำเสนอนโยบายการเงินประจำปีว่า คาดว่าเศรษฐกิจกรีซจะหดตัวลง ๕% ในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่แย่กว่าการคาดการณ์ในครั้งก่อน นาย Provopoulos กล่าวเตือนในการประชุมสมัชชาทั่วไปของธนาคารว่า กรีซอาจจะเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง โดยมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้และแยกตัวออกจากยูโรโซนหากการเมืองยังไร้ประสิทธิภาพภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๖ พฤษภาคมนี้
รายงานประจำปีของธนาคารฯ ในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจนั้นคาดว่าจะประมาณการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้จะตกต่ำลงเกินกว่า ๔.๕% ในขณะที่การว่างงานนั้นคาดว่าจะสูงขึ้นจากเดิม ๑๗.๗% ในปี ๒๕๕๔ ทั้งนี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกรีกแนะนำให้ดำเนินการปรับโครงสร้างใหม่อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นและยอมรับในวาระแห่งชาติเพื่อนำเศรษฐกิจให้กลับมามีภาวะที่มีการเติบโตขึ้นได้อีกในปี ๒๕๕๖ โดยผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติเชื่อว่าก้าวที่เป็นคุณก้าวแรก ได้เริ่มแล้ว เช่น การทำนโยบายเรื่อง PSI ให้เสร็จสิ้นและการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคาร เป็นต้น ธนาคารแห่งชาติกรีกจะเน้นย้ำว่าเศรษฐกิจกะลังอยู่ในจุดหักเหที่สำคัญอย่างยิ่ง และเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้อยึดถือพันธกรณีที่มีสืบเนื่องมาจากสัญญาการกู้เงินครั้งใหม่ ในรายงานจะเน้นอีกว่านโยบายต่างๆ ที่นำมาใช้ในช่วงสองปีที่ผ่านมานั้นไม่สามารถบรรลุเป์าหมายเดิมได้ ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลหลักๆ จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรงเกินคาดในประเทศนั่นเอง นายโปรโวปูลอสจะย้ำว่าหากมาตรการต่างในปัจจุบันถูกนำไปปฏิบัติอย่างเต็มกำลัง เศรษฐกิจก็จะกลับมาอยู่ในสภาวะที่มีการเติบโตได้อีกครั้ง
๔.๒ นาย Hans-Werner Sinn ผู้นำของสถาบันการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ไอโฟ (Ifo economic institute) ของเยอรมนีกล่าวไว้ว่า กรีซจะไม่สามารถเรียกความสามารถในการแข่งขันของตนในฐานะสมาชิกยูโรโซนกลับมาได้และประเทศในยุโรปที่กำลังประสบปัญหาอาจจะพยายามที่จะตัดค่าจ้างและราคาสินค้าลงอย่างมากเท่าที่จำเป็น
๔.๓ สินค้าที่คาดว่ายังมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่ กลุ่มอาหารทะเลแช่แข็งแช่เย็น (รวมถึงปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม น้ำตาลทราย
********************************************
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโรม
๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕