การประชุมทบทวนนโยบายการค้า
(Trade Policy Review : PR) ของสาธารณรัฐตุรกี
สืบเนื่องจากการประชุมทบทวนนโยบายการค้า ( Trade Policy Review : TPR) ในที่ประชุมองค์การค้าโลก (WTO) ที่ผ่านมาเมื่อเดือนมีนาคม 2555 สรุปสาระ ดังนี้
1.1 ตุรกีมีเป้าหมายที่จะพัฒนาและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก (export — oriented production ) ภายในปี 2566
1.2 ประเทศสมาชิก WTO ชื่นชมตุรกีในการมีส่วนร่วมในการดำเนินการภายใต้กรอบ WTO และแม้ว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา การค้าระหว่างตุรกีกับสหภาพยุโรป (EU) มีสัดส่วนลดลง แต่ตุรกีก็ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ EU ผ่านทางสหภาพศุลกากร ( customs union ) และยังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิก EU แต่อย่างไรก็ตามสมาชิก WTO ให้ความสนใจและมีคำถามต่อตุรกีเกี่ยวกับสิทธิภายใต้ความตกลงการค้า ( preferent?al trade -agreements) และการจัดทำความตกลงที่อยู่ระหว่างการเจรจา และแสดงความต้อนรับต่อแผนงานด้าน GSP ( General?zed System of Preferences) ที่ตุรกีขยายให้ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ และประเทศพัฒนาน้อยที่สุดด้วย
สมาชิก WTO มีข้อเสนอแนะต่อตุรกีในการพัฒนาเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ดังนี้
2.1 ประเทศสมาชิก WTO เห็นว่า ตุรกียังมีอัตราภาษีศุลกากรที่ใช้ได้จริง ( applied tariffs) และอัตราที่ผูกพันใน WTO ที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก จึงคาดหวังว่า ตุรกีจะพยายามลดความแตกต่างดังกล่าวลง และดำเนินการใช้ช่องว่างทางนโยบาย ( pollcy space) ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อคู้ค้าอย่างระมัดระวัง
2.2 ตุรกีมีสถิติการใช้มาตรการเยียวยาทางการค้าเพิ่มขึ้น ทั้งมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและมาตรการปกป้อง และแม้ว่าขณะนี้ ตุรกีจะชะลอการเปิดไต่สวนการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดลง แต่สมาชิกก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการใช้มาตรการปกป้องที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นการขยายระยะเวลาดังกล่าวว่าสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ WTO หรือไม่
2.3 สมาชิก WTO ขอให้ตุรกีปรับปรุงกระบวนการในการตีพิมพ์เผยแพร่และแจ้งร่างกฤระเบียบทางเทคนิค ( technlcal regulat?ons) และขั้นตอนการประเมินความสอดคล้อง ( conformity assessment procedures ) นอกจากนี้ สมาชิกยังขอให้ตุรกีดำเนินการให้การใช้มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รับรองและไม่เป็นข้อจำกัดทางการค้าเกินกว่าจำเป็น
2.4 สมาชิก WTO บางประเทศขอให้ตุรกียกเลิกการพิจารณาที่เป็นพิเศษด้านราคา ( Price preference ) ที่ให้ผู้ประกอบการในประเทศในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และขอให้ตุรกีพิจารณาเข้าร่วมความตกลงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ( Government Procurement Agreement ) โดยเร็ว
2.5 สมาชิก WTO บางประเทศรับทราบการพัฒนาด้านความคุ้มครองสิทธิทรัย์สินทางปัญญาของตุรกี และขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพัฒนาการดำเนินการด้านนี้ต่อไป เพื่อให้การบังคับใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญามีประสิทธิผลมากขึ้น
2.6 สมาชิก WTO บางประเทศเห็นว่า ตุรกีแทรกแซงกลไกตลาดของภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น ทั้งจากระดับการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่สูงขึ้น และการดำเนินการในรูปแบบการอุดหนุนที่บิดเบือนทางการค้ามากขึ้น สมาชิกจึงเรียกร้องให้ตุรกีเพิ่มความโปร่งใสในการเข้าแทรกแซงตลาดของรัฐวิสาหกิจของรัฐ และขอให้ตุรกีให้ข้อมูลที่ถูกต้องและดำเนินการแจ้งการอุดหนุนภายใน ( domestlc support ) และการอุดหนุนส่งออก ( domedtlc support ) และการอุดหนุนส่งออก ( export subsldles) ต่อ WTO ตามกำหนดเวลา
สำนักส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
ณ นครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี