ระวังสารเคมีปนเปื้อนในผักและผลไม้ของอินเดีย
The School of Life Sciences, University of Gujarat ได้ออกมาเตือนถึงการปนเปื้อนของสารเคมี ฮอร์โมน และยาฆ่าแมลง ในผลไม้ประเภทกล้วย มะม่วง และ แตงโม เป็นจำนวนมาก โดยจากการสำรวจผลไม้ในตลาด เมื่อนำมาแช่น้ำเปล่าทิ้งไว้ประมาณสิบนาทีจะพบสารเคมีที่ปนเปื้อนลอยอยู่ที่ผิวน้ำเนื่องจากสารเหล่านี้ไม่ทำละลายกับน้ำจึงสามารถสะสมได้บริเวณผิวหนังและอวัยวะภายในต่างๆ และเป็นสารก่อมะเร็งประเภท Carcinogen (สารก่อมะเร็งที่มาจากสารเคมี) โดยพบอยู่ในผลไม้ที่บริโภคกันในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้นอกจากยากำจัดศัตรูพืชแล้ว สารที่พบได้มากที่สุดก็คือ Calcium Carbide หรือสารเร่งการสุกของผลไม้
สารเหล่านี้มีราคาถูกมากเพียงกิโลกรัมละ 0.05 เหรียญสหรัฐฯ และ Calcium Carbide เพียง 1 กิโลกรัม สามารถเร่งการสุกของมะม่วงได้ถึง 200 กิโลกรัม โดยจะพบในผลไม้ที่จะมีผู้บริโภคก็ต่อเมื่อมีการสุกงอมของผล ได้แก่ กล้วย มะม่วง แตงโม องุ่น มะละกอ ฝรั่ง พลับ และ ลูกแพร ยกตัวอย่างเช่นการใช้สาร Benzene Hexa Chloride หรือ BHC ในองุ่น จะทำให้เกิดลักษณะเป็นฝุ่นแป้งขาวๆ เกาะตามผิวองุ่น สารประเภทนี้ ไม่ละลายน้ำจึงไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้หมด เมื่อผู้บริโภครับประทานในปริมาณมากเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เจ็บปวดกล้ามเนื้อ หรือการฉีดสารให้ความหวานในแตงโมและการฉีดสารเร่งสีในทับทิม โดยส่วนใหญ่นั้นสารเหล่านี้จะตรวจพบได้ในปริมาณที่สูงนอกฤดูการของผลไม้และตรวจสอบ ได้ไม่ยาก ทำให้ในปัจจุบันมีผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่หันมาเอาใจใส่กับการเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น เนื่องจากสินค้าจากหลายๆ แหล่งมีความไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะสินค้าตามท้องตลาดทั่วไปที่ขาดการตรวจสอบคุณภาพ ที่ดี และจากการสำรวจความเห็นของผู้บริโภคผลไม้ประเภทดังกล่าว มีหลายรายที่หันมาหลีกเลี่ยงโดยการ หันมาปลูกผักสดไว้รับประทานเองที่บ้าน
ชนิดของสารเคมี ผัก/ผลไม้ที่ปนเปื้อน 1 Aldrin, Dieldrin ผัก/ผลไม้ทั่วไป 2 DDT ผัก ผลไม้ มันฝรั่ง 3 Inorganic Bromide ผลไม้แห้ง เครื่องเทศ ธัญพืช 4 Ethion ใบชา แตงกวา 5 Formothion ส้ม พริกไทย มะเขือเทศ 6 Monochrothophos หัวผักกาด หัวหอม ถั่ว มันฝรั่ง 7 Atrazine ข้าวโพด อ้อย 8 Calcium Carbide มะม่วง มะละกอ กล้วย แอบเปิ้ล ฝรั่ง ลูกแพร ลูกพลับ 9 Carbendazim กล้วย มะม่วง
นายศศินทร์ สุขเกษ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ
พฤษภาคม 2555