รายงานสรุปสินค้าในความรับผิดชอบสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส สินค้าอาหาร เมษายน ๒๕๕๕

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 29, 2012 13:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานสรุปสินค้าในความรับผิดชอบ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส

สินค้าอาหาร เมษายน ๒๕๕๕

ราคาสินค้าอาหารในสหรัฐฯ

ราคาสินค้าอาหารในสหรัฐฯในปี ๒๐๑๒ คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในระดับปานกลาง กระทรวงเกษตรสหรัฐฯประมาณการณ์ว่าดัชนีราคาสินค้าที่ผู้บริโภคจ่าย (CPI) จะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ ๒.๕ ถึงร้อยละ ๓.๕ โดยราคาสินค้าอาหารจากตลาด (grocery stores) เพื่อนำไปใช้ประกอบการอาหารที่บ้านคาดว่าจะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ ๒.๕ ถึงร้อยละ ๓.๕ ส่วนราคาสินค้าอาหารที่รับประทานนอกบ้านคาดว่าจะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ ๒ ถึงร้อยละ ๓

ราคาสินค้าอาหารในสหรัฐฯเริ่มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ ๔ ของปี ๒๐๑๑ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯสูงกว่าที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯคาดการณ์ไว้เล็กน้อยสำหรับอาหารที่เป็นเนื้อวัว เนื้อวัวลูกอ่อน ไข่ และไขมันและน้ำมันสำหรับทำอาหาร

American Farm Bureau Federation รายงานว่าในไตรมาสแรกของปี ๒๐๑๒ ราคาอาหารในตลาดค้าปลีกเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๗ โดยราคาเนื้อสัตว์และเนยเพิ่มขึ้นสูงที่สุดอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการที่เพิ่ม ขึ้นในขณะที่อุปทานสินค้ามีจำกัด

ราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจาก

(๑) สภาวะอากาศที่มีความผิดปกติอย่างมากทั้งในสหรัฐฯและในประเทศต่างๆทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร

(๒) ราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทำให้ราคาวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการผลิตและการขนส่ง เพิ่มสูงขึ้น

(๓) กฎระเบียบต่างๆที่มีการออกมาควบคุมอุตสาหกรรมอาหารในสหรัฐฯทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตอาหารเพิ่มสูงขึ้น

(๔) การขยายตัวของการส่งออกเป็นตัวแปรที่ไปกดดันราคาสินค้าในประเทศ ผลกระทบ นโยบาย และกลยุทธที่ผู้บริโภคและภาค

อุตสาหกรรมนำมาใช้รองรับราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น

ผู้บริโภค

ผู้บริโภคสหรัฐฯต้องเผชิญหน้ากับราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ตลาดแรงงานอยู่ในสภาวะที่อ่อนตัวอย่างที่สุดผนวกกับสภาวการณ์เศรษฐกิจตกต่ำของประเทศยังไม่ฟื้นตัวดี ผู้บริโภคสหรัฐฯในปัจจุบันจึงยังคงยึดแน่นอยู่กับกลยุทธการใช้จ่ายเงินการบริโภคเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี ๒๐๐๗ เมื่อสหรัฐฯเริ่มต้นเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งนี้รวมถึง

(๑) การใช้คูปองของโรงงานผลิตและ/หรือของร้านค้าปลีก

(๒) การใช้บัตรสมาชิกของร้านค้าปลีกเพื่อรับสิทธิพิเศษซื้อสินค้าลดราคา หรือสะสมแต้มเพื่อรับส่วนลดในภายหลัง

(๓) แสวงหาสินค้าราคาถูกโดยการหันไปซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกอื่นที่ไม่ใช่ร้านค้าปลีกเจ้าประจำ และที่เป็นร้านค้าสินค้าราคาถูกเช่น

Dollar Stores, 99Cents Store หรือร้านค้าปลีกที่เป็นของชนกลุ่มน้อย (ethnic grocery stores) ที่ปกติแล้วจะเสนอ

ขายสินค้าในราคาที่ย่อมเยาว์กว่าตลาดที่เป็นยี่ห้อระดับประเทศ

(๔) ลดการบริโภคสินค้าอาหารราคาแพงและหันไปใช้สินค้าราคาถูกทดแทน ทั้งในด้านของคุณภาพและยี่ห้อสินค้า ลดการบริโภคสินค้า

ประเภทเนื้อวัวและอาหารทะเลซึ่งเป็นสินค้ามีราคาแพงและ/หรือ เปลี่ยนไปบริโภคอาหารโปรตีนทางเลือกอื่น เปลี่ยนสูตรการ

ปรุงแต่งอาหารโดยหันไปใช้สินค้าอาหารทางเลือกอื่นที่ให้คุณค่าทางอาหารสูงเท่ากันแต่ราคาต่ำกว่า

(๕) สำหรับผู้บริโภครุ่นใหม่ๆ จะหันไปใช้ social network เพื่อเป้าหมายในการแสวงหาข้อมูลแหล่งสินค้าราคาถูกเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ร้านค้าปลีก

ในสภาวะการณ์ที่ราคาสินค้าอาหารเพิ่มสูงขึ้น ร้านค้าปลีกรายใหญ่ๆในสหรัฐฯได้พยายามนำเอากลยุทธ์ทางการตลาดหลากรายมาใช้เพื่อดึงลูกค้าเข้าร้านและเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าอยู่ต่อไป กลยุทธเหล่านี้เช่น

(๑) การบีบบังคับให้โรงงานผลิตหรือผู้ขายส่งสินค้ารักษาระดับราคาสินค้าไว้ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านค้า

ปลีกรายใหญ่ที่มีอำนาจในการต่อรองสูง ร้านค้าปลีกเหล่านี้บางรายถึงกับหยุดวางจำหน่ายสินค้าจากโรงงานผลิตเนื่องจากโรง

งานผลิตไม่ยอมลดราคาขายส่งสินค้า เช่นกรณี Costco หยุดวางจำหน่าย Coca Cola เป็นต้น

(๒) ผลักดันค่าใช้จ่ายต่างๆในการจัดการสินค้าเพื่อให้พร้อมวางจำหน่ายบนชั้นให้เป็นภาระของ suppliers เช่นการติดตั้ง RFID

chips (Radio-frequency Identification) ลงบนสินค้า

(๓) การทำการส่งเสริมการขายโดยการใช้กลยุทธ "lay-away" สำหรับการซื้อสินค้าในราคาสูง การให้โบนัสเป็นส่วนลดแก่ผู้ที่ซื้อ

สินค้าบ่อยครั้ง การลดราคาสินค้าทั้งที่ผ่านทางการใช้คูปอง การใช้บัตรสมาชิกของตลาด และการลดราคาโดยไม่ต้องใช้

บัตรใดๆแสดง

(๓) ลดการจ้างงานพนักงานเก็บเงิน โดยการติดตั้งและใช้ระบบ "self-checkouts" เพิ่มมากขึ้น

โรงงานผลิตสินค้าอาหาร

การผลิตสินค้ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในขณะที่ร้านค้าปลีกพยายามกดราคาสินค้าไว้ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำให้โรงงานผลิตสินค้าอาหารในสหรัฐฯต้องหาทางอยู่รอดโดยการคิดค้นหาวิธีการผลิตที่จะลดต้นทุนให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้รวมถึง

(๑) การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆในการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและลดค่าใช้จ่ายลง

(๒) การหากรรมวิธีใหม่ๆในขบวนการผลิตที่จะให้ผลกำไรมากยิ่งขึ้น เช่น

(ก) เปลี่ยนวิธีการเตรียมวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้าสำเร็จรูปที่รวมถึงแม้กระทั่งการลดขนาดการหั่นวัตถุดิบและขนาดหรือปริมาณ

ของวัตถุดิบที่ใช้

(ข) ลดขนาดบรรจุภัณฑ์หรือการลดจำนวนปริมาณสินค้าในบรรจุภัณฑ์

(ค) ลดการจ้างแรงงาน นโยบายของโรงงานผลิตสินค้าอาหารสหรัฐฯในปัจจุบันส่งผลทำให้ผู้บริโภคสหรัฐฯได้สินค้าในจำนวน

ที่น้อยลงในขณะที่ยังคงจ่ายสินค้าในราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากในอดีตหรือแม้กระทั่งมากกว่า

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส

๒๔ เมษายน ๒๕๕๕


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ