ตลาดสินค้าอาหารในอิตาลี

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 29, 2012 14:24 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตลาดสินค้าอาหารในอิตาลี

สถานการณ์ภาพรวมตลาด

อุตสาหกรรมอาหารนับเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับอิตาลี โดยมียอดจำหน่าย(Turnover)ต่อปีประมาณ ๑๓๐ พันล้านยูโร มูลค่าการนำเข้า ๒๐ พันล้านยูโร มีความแข็งแกร่งด้านการส่งออกโดยมีมูลค่าการส่งออกเกินดุลทุกปีประมาณ ๒๓ พันล้านยูโร มีการบริโภคภายในประเทศประมาณ ๒๐๐ พันล้านยูโร ประกอบไปด้วยคนงานกว่า ๑๔๐,๐๐๐ คนในกว่า ๖ พันอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อันดับที่สองของประเทศ รองจากวิศวกรรมเครื่องกลโลหะ(Metalmeccanical Industry) และคิดเป็นอันดับสามในยุโรป รองจากอุตสาหกรรมอาหารของเยอรมันและฝรั่งเศส

สืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ สถานการณ์โดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มเป็นลบทั้งในด้านการผลิต การบริโภค การนำเข้า ยกเว้นการส่งออกที่อิตาลียังคงแสดงความโดดเด่นด้วยอัตราการเติบโตที่ต่อเนื่อง โดยสมาพันธ์ผู้ประกอบการอาหาร(Federalimentare) พยายามที่จะดำรงภาพลักษณ์ของความเป็น Made-in-Italy และศักยภาพในการส่งออกไว้ให้ได้นานที่สุด

การบริโภค

วิถีชีวิตชาวอิตาเลียน ชาวอิตาเลียนให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหาร โดยถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ได้อยู่รวมกันกับครอบครัว ได้สังสรรค์กับเพื่อนๆ ดังนั้นระยะเวลาในการรับประทานอาหารแต่ละครั้งจึงใช้เวลานาน โดยเฉพาะอาหารมื้อค่ำ อาจใช้เวลานานถึง ๓-๔ ชั่วโมงเลยทีเดียว โดยเริ่มจากอาหารเรียกน้ำย่อย อาหารจานแรกซึ่งมักจะเป็นประเภทข้าวหรือพาสต้า อาหารจานหลักจำพวกเนื้อหรือปลา ตามมาด้วยสลัด ของหวานหรือกาแฟ ส่วนอาหารกลางวันในระหว่างพักทำงาน ส่วนใหญ่เป็นอาหารจานเดียวครบทุกหมู่ เพื่อความรวดเร็ว นอกจากจะเป็นช่วงสุดสัปดาห์ที่จะมีเวลาสบายๆในการทำอาหารและสังสรรค์กับเพื่อนๆหรือครอบครัว การรับประทานอาหารก็อาจใช้เวลานาน ๒-๓ ชั่วโมงเช่นกัน สำหรับอาหารเช้า นิยมรับประทานแบบ continental breakfast เบาๆ เป็นกาแฟประเภทต่างๆ(คาปูชิโน่ มัคคีอาโต้ สเตร็ตโต้ ลุงโก้ ฯลฯ) กับ brioche หรือขนมหวานอื่นๆ

มูลค่าการบริโภค สาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดปัจจุบันโดยทั่วไปยังคงชะลอตัวและมีแนวโน้มแย่ลง การบริโภคใน Sector อาหารในระดับประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัดและต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายและลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยลงไปอีก นอกจากเสื้อผ้า/เครื่องใช้ที่ไม่จำเป็นแล้ว ครอบครัวอิตาเลียนก็ยังมีการใช้จ่ายในด้านอาหารลดน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ การบริโภคสินค้าหมวดอาหารได้รับผลกระทบชัดเจนนับตั้งแต่ปลายปี ๒๐๐๘ โดยมีมูลค่าการบริโภคในประเทศปี ๒๐๑๑ คิดเป็น ๒๐๘ พันล้านยูโร ลดลงร้อยละ ๒ และในปี ๒๐๑๒ มีแนวโน้มลดลงร้อยละ ๑.๖

ตารางแสดงมูลค่าการบริโภค

      ปี         ๒๐๐๙   ๒๐๑๐   ๒๐๑๑   ๒๐๑๒
พันล้านยูโร         ๒๐๖   ๒๐๔    ๒๐๘     ๒๑๐
%const. Value   -๑.๕    -๑     -๒    -๑.๖
ที่มา www.federalimentari.it

          แนวโน้มการบริโภค ในระยะเวลาประมาณ ๑๐ ปีที่ผ่านมา แนวโน้ม(Trend)การรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้อาหารกลุ่มดังกล่าวซึ่งเป็นกลุ่มเดียวที่มีอัตราการบริโภคเพิ่มขึ้นได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ(Healthy food) อาหารประเภทปลา(Seafood) และอาหารเกษตรอินทรีย์(Organic food) ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นต่อปีเพียงเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอทุกปี นอกจากนี้ ชาวอิตาเลียนยังตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและเห็นว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นคุณค่าสำคัญในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารของอิตาลีก็ได้ตอบสนองแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว ซึ่งมีแนวโน้มจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกันกับนโยบายสหภาพยุโรป
          ผลกระทบจากการเพิ่มภาษี  การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) เป็นร้อยละ ๒๓ จากเดิมร้อยละ ๒๑ และการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตกับสินค้าอาหาร กำลังเป็นที่ถกเถียงถึงปัญหาที่จะตามมาต่อเหตุผลที่รัฐต้องการนำเงินภาษีดังกล่าวไปช่วยด้านการสาธารณสุข ในปลายปี ๒๐๑๒  จึงเป็นความกังวลและเกิดข้อโต้เถียงว่าจะทำให้สถานการณ์ในประเทศทั้งการผลิตและโดยเฉพาะการบริโภคแย่ลงกว่าเดิมจากที่เป็นอยู่ เนื่องจากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับ/หักลบต้นทุนได้แต่ฝ่ายเดียว จึงต้องผลักภาระต้นทุนใหม่ที่เพิ่มขึ้นไปให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ ทางสมาพันธ์ฯ(Federalimentare) มีการการคาดการณ์สถานการณ์ดังนี้

  Estimate of Impact from new VAT and Food Tax on Alimentary industry 2012
                                                            Forecast 2012 with new
    Forcast 2012                                               VAT and Food Tax
 130 Bill.Euro(+2.3%)              Turnover                   126 Bill.Euro(-0.8%)
        -1.2%                     Production                        -1.7%
 25 Bill.Euro(+8.7%)                 Export                   24.6 Bill.Euro(+7%)
 210 Bill.Euro(-1.6%)            Comsumption                  208 Bill.Euro(-2.5%)

ช่องทางการจำหน่าย จากการสำรวจของ Centro Studi Federalimentare พบว่าราคาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อมากกว่าบริการ ทั้งนี้ ช่องทางร้านค้าขนาดใหญ่ (GDO :Grand distributions) ซึ่งในอิตาลีคือซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นแหล่งที่ผู้บริโภคจะไปซื้อสินค้าอาหารมากที่สุด โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ ๐.๔ ซึ่งร้านค้าขนาดใหญ่ดังกล่าวมีนโยบายขายสินค้าลดราคา(Promotion) อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีหลัง ร้านค้าขนาดใหญ่แบรนด์ต่างๆ ต่างก็ใช้กลยุทธ์นี้แข่งขันกัน ซึ่งบางแบรนด์ยังจัดมุมสินค้าราคาถูกถึงถูกมากไว้โดยเฉพาะแยกต่างหาก(ได้แก่ Auchan ซึ่งเป็น GDO chain จากฝรั่งเศส) นอกจากนั้น ในร้านค้าขนาดใหญ่ยังสามารถเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายในคราวเดียว ในขณะที่ร้านค้ารายย่อยกลับมีการใช้บริการในอัตราที่ลดลงร้อยละ ๑.๔ ซึ่งแนวโน้มในอนาคตเปรียบได้กับกรรไกรที่มีระยะการเติบโตในทางตรงข้ามกัน

การผลิต

สถานการณ์ปัจจุบัน ตั้งแต่ปี ๒๐๐๘-๒๐๐๙ นับเป็นปีที่ได้เห็นผลกระทบระดับโครงสร้างการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารมาเรื่อยๆ(ในช่วงปี ๒๐๐๐-๒๐๐๘ เฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ ๑ ต่อปี) จนกระทั่งปี ๒๐๐๙ ที่เกิดวิกฤติอย่างหนัก ส่งผลให้การผลิตลดลงร้อยละ ๑.๕ โดยเฉพาะในสินค้าน้ำตาล ไอศกรีม ขนมปัง/พาสทรี่ prepared dish อาหารสำหรับอบ น้ำผลไม้ ในขณะที่มีสินค้ากลุ่มปลาแปรรูป เครื่องดื่มไม่มีอัลกอฮอล์ ไวน์ น้ำแร่ และเบียร์กลับมีการผลิตเพิ่มขึ้น

ตารางแสดงมูลค่าการผลิตและร้อยละเทียบกับปีก่อนหน้า
          ปี               ๒๐๐๐-๒๐๐๘    ๒๐๐๘     ๒๐๐๙     ๒๐๑๐    ๒๐๑๑    ๒๐๑๒
     พันล้านยูโร
 % food(quantity)              +๗.๗    -๑.๕     -๑.๕    -๑.๗     -๑.๗   -๑.๒*
   % all indust.               -๕.๘    -๔.๓
ที่มา www.federalimentari.it                                         *estimate


          ปี ๒๐๑๑ ที่ผ่านมา การผลิตมีอัตราลดลงร้อยละ ๑.๗ จากต้นทุนของปัจจัยการผลิตในโลก(prime material)ที่เพิ่มขึ้นตลอดมาและคาดในปี ๒๐๑๒ จะลดลงเช่นกันร้อยละ ๑.๒

ตารางแสดงต้นทุนของวัตถุดิบการผลิต
ต้นทุนวัตถุดิบ/ปี                      ๒๐๑๐
วัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหาร          +๔๕.๓%
วัตถุดิบสำหรับการผลิตที่ไม่ใช่อาหาร     +๓๑.๙%
เชื้อเพลิง(น้ำมัน)                  +๓๕.๖%
ที่มา www.federalimentari.it

          จำนวนผู้ผลิต  นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิต/ผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นอุตสาหกรรมที่มี SME จำนวนมากและมีลักษณะเด่นของตนเอง ปี ๒๐๑๑ มีผู้ประกอบการในสาขาจำนวน ๖,๓๐๐ ราย เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก(คนงานไม่เกิน ๑๐ คน)ประมาณ ๖,๐๐๐ ราย ขนาดกลางประมาณ ๒๐๐ ราย และรายใหญ่มีเพียง ๓๐ กว่าราย
          แนวโน้มและการวางแผนการผลิตจากการสำรวจของ Federalimentare กล่าวว่าผู้ผลิตมีนโยบายกระตุ้นการส่งออกเนื่องจากการส่งออกเป็นพารามิเตอร์เดียวที่จะช่วยดึงอุตสาหกรรมฯได้และเพื่อการแข่งขันในตลาดส่งออก ผู้ผลิตก็ยังมีนโยบายเน้นการลงทุนในการ
          พัฒนา Innovation of Made-in-Italy(Culture) ทั้งในด้านกระบวนการผลิตและตัวสินค้า การเพิ่มมูลค่าของสินค้า การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอาหารเพื่อสุขภาพ โดยรักษาตลาดเก่าและให้ความสำคัญกับตลาดใหม่ๆ เช่น จีน อินเดีย และประเทศในลาตินอเมริกา นอกจากนั้น สมาพันธ์ยังแนะนำให้สมาคม/ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่รายย่อยแนะนำสินค้าและองค์กรตนผ่านทางเวบไซต์อินเตอร์เน็ต พร้อมกับสนับสนุนให้มีการขายของออนไลน์
          ลักษณะเด่นของสินค้าอาหารอิตาลี มีสินค้าหลากหลายและคุณภาพสูง,สินค้า DOP ของอิตาลีถูกจัดอยู่ในตำแหน่ง Top ในตลาดต่างประเทศ(DOP หรือ Denominazione di origine protetta เป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพ Made-in-Italy ของสินค้า AgroAlimentary ซึ่งมีการผลิต ตรวจสอบอย่างเข้มงวดตั้งแต่กระบวนการผลิต แปรรูป จนถึงจุดขายจุดสุดท้าย ตามระเบียบ CEE ๒๐๘๑/๙๒ ของ EU ซึ่งพบได้ในอีก ๑๖ ประเทศในยุโรปซึ่งในแต่ละประเทศจะใช้ตัวย่อต่างกันไป แต่ใช้สัญลักษณ์เหมือนกัน),อาหารอิตาเลียนแสดงถึงวัฒนธรรมของประเทศอย่างดี,มีมาตรฐานและปลอดภัยสูง

สมาคมที่เกี่ยวข้อง
          สมาพันธ์ผู้ประกอบการสินค้าอาหารของอิตาลี (Federalimentari ) เกิดจากการรวมตัวกันของสมาคมผู้ประกอบการด้านอาหารทั้งหมดเพื่อเข้าไปเป็นตัวแทนของสมาคมฯ ในสมาพันธ์ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิตาลีหรือ Confindustria (www.confindustria.it) โดยประธานสมาพันธ์คนปัจจุบันคือนาย Filippo Ferrua Magliani  ซึ่งประกอบไปด้วย ๑๙ สมาคมแยกตามประเภทสินค้า ดังนี้
          - สมาคมผู้ประกอบการของหวาน/พาสทรี่ Associazione delle Industrie del Dolce e della Pasta Italiane
            (AIDEPI) www.aidepi.it
          - สมาคมอุตสาหกรรมอาหาร Associazione Italiana Industrie Prodotti Alimentari (AIIPA) www.aiipa.it
          - สมาคมผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูป Associazione Nazionale Conservieri Ittici e delle tonnare
            (ANCIT)
          - สมาคมผู้ประกอบการแปรรูปผัก Associazione Nazionale Industriali Conserve Alimentari vegetali (ANICAV)
            www.anicav.it
          - สมาคมผู้ประกอบการอาหารสัตว์ Associazione Nazionale tra i Produttori di Alimenti zootecnici
            (ASSALZOO) www.assalzoo.it
          - สมาคมผู้ประกอบการเกี่ยวกับเนื้อสัตว์และซาลุมี่ Associazione Industriali delle Carni e dei Salumi (ASSICA)
            www.assica.it  - สมาคมผู้ผลิตน้ำมัน(อาหาร) Associazione Italiana dell'Industria Olearia (ASSITOL)
            www.assitol.it - สมาคมผู้ประกอบการเครื่องดื่มไร้อัลกอฮอล์ Associazione Italiana tra gli Industriali
            delle Bevande Analcooliche (ASSOBIBE) www.assobibe.it
          - สมาคมผู้ผลิตเบียร์ Associazione degli Industriali della Birra e del Malto (ASSOBIRRA)
            www.assobirra.it
          - สมาคมผู้ประกอบการเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ Associazione Nazionale Industria e Commercio Carni e bestiame
            (ASSOCARNI) www.assocarni.it
          - สมาคมผู้ประกอบการเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ Associazione Nazionale Industriali Distillatori di Alcoli e di
            Acquaviti (ASSODISTIL) www.assodistil.it
          - สมาคมผู้ผลิตนมและชีส Associazione Italiana Lattiero-Casearia (ASSOLATTE) www.assolatte.it
          - สมาคมผู้ประกอบการเกี่ยวกับไวน์ สุรา น้ำหวาน บาลซามิคและอื่นๆ  Federazione Italiana Industriali Produttori,
            Esportatori e Importatori di Vini, Acquaviti, Liquori, Sciroppi, Aceti ed Affini (FEDERVINI)
            www.federvini.it
          - สมาคม Miller Associazione Industriali Mugnai d'Italia (ITALMOPA) www.italmopa.com
          - สมาคมผู้ประกอบการเกี่ยวกับน้ำแร่ Federazione Italiana delle Industrie delle Acque Minerali Naturali,
            delle Acque di Sorgente e delle Bevande Analcooliche (MINERACQUA) www.mineracqua.it
          - สมาคมผู้ประกอบการสัตว์ปีก Unione Nazionale dell'Avicoltura (UNA) www.unionenazionaleavicoltura.it
          - สมาคมผู้ประกอบการน้ำตาล Unione Nazionale fra gli Industriali dello Zucchero (UNIONZUCCHERO)
            www.unionzucchero.it

สถิติการนำเข้า-ส่งออก

          การส่งออก
          อุตสาหกรรมอาหารในอิตาลีเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก โดยส่งออกประมาณหนึ่งในห้าของสินค้าอาหารที่ผลิตได้ในประเทศ นอกจากนั้น ยังเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่มีดุลการค้าเป็นบวกมาตลอด โดยสินค้าส่งออกร้อยละ ๘๐ เป็น Italian brands (ที่มา Federalimentare) แม้ว่าจะมีบางปีที่มีการส่งออกลดลง สืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ด้วยกลุ่มที่แข็งแกร่งและนโยบายที่แน่วแน่ ทำให้การส่งออกฟื้นตัวได้ในปีถัดมา หลังจากการส่งออกตกลงไปในปี ๒๐๐๙ (-๔.๒%) อิตาลีก็สามารถฟื้นคืนการส่งออกได้อีกครั้งในปี ๒๐๑๑ ด้วยมูลค่าการส่งออก ๒๑ พันล้านยูโร(+10.5%) ทั้งนี้ อิตาลีสามารถดึงลูกค้าดั้งเดิมจากเยอรมัน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ กลับมาเพิ่มการสั่งซื้อได้ +๖.๗% ,+๗.๔% ,+๑๑.๘% และ +๖.๔% ตามลำดับ ซึ่งรวมสัดส่วนการส่งออกไปยัง ๔ ประเทศคิดเป็นร้อยละ ๔๙.๖ ของการส่งออกสินค้าอาหารทั้งหมดของประเทศ
          ประเทศคู่ค้าของอิตาลี ที่สำคัญได้แก่ เยอรมัน(+6.7%)  ฝรั่งเศส(+7.4%)  สหรัฐอเมริกา(+11.8%) และอังกฤษ(+๖.๔%) ส่วนประเทศโลกใหม่ที่กำลังมาแรงและเป็นตลาดใหม่น่าสนใจของอิตาลีได้แก่ จีน(+55.9%) บราซิล(+31,7%) ซาอุดิอาระเบีย(+31,6%) และ ตุรกี(+44,4%)  อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอุตสาหกรรมอาหารจะเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก แต่องค์กรรัฐที่ทำหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมการส่งออก(ICE-www.ice.gov.it) ได้ลดการสนับสนุนทางการเงินตั้งแต่ปี ๒๐๐๘ เป็นต้นมา ในขณะที่ประเทศเยอรมันได้รับการสนับสนุนดังกล่าวมากกว่าอิตาลีร้อยละ 87% และฝรั่งเศส/อังกฤษได้รับความช่วยเหลือ 70% จากรัฐบาล

          การนำเข้า
          อิตาลีมีมูลค่าการนำเข้าในปี ๒๐๑๑ ๑๘.๖ พันล้านยูโร อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐.๖  สินค้าที่นำเข้าอันดับต้นๆได้แก่
          - กลุ่มพืชผัก มียอดการนำเข้า ๘.๖ พันล้านยูโร สินค้าที่นำเข้ามากได้แก่ ซีเรียล(๒.๖ พันล้านยูโร),กาแฟ ชา ยา เครื่องเทศ(๑.๖ พันล้านยูโร) และผลไม้สดยกเว้นประเภทส้ม(๑.๑ พันล้านยูโร)
          - กลุ่มเนื้อสัตว์ มียอดการนำเข้า ๗.๔ พันล้านยูโร ได้แก่ เนื้อสดหรือแช่แข็ง(๒.๑ พันล้านยูโร) เนื้อลูกวัว(๑.๔ พันล้านยูโร) เนื้อหมูแปรรูปบางส่วน(๑.๔ พันล้านยูโร)
          - กลุ่มปลาหรือสัตว์ทะเลจากธรรมชาติและการเพาะเลี้ยง รวมมูลค่า ๒.๗ พันล้านยูโร ได้แก่ Crostacei/molluschi แช่แข็ง (๑.๒ พันล้านยูโร)
          - กลุ่มเบเกอรี่ (๑.๕ พันล้านยูโร) และน้ำตาล (๑ พันล้านยูโร)
          - กลุ่มปลาหรือสัตว์ทะเลที่เตรียมแล้ว (๑.๘ พันล้านยูโร)
          - กลุ่มสินค้าที่ทำจากนม มียอดการนำเข้า ๒.๘ พันล้านยูโร ได้แก่ ชีส (๑.๖ พันล้านยูโร)
          - กลุ่มน้ำมัน/ไขมัน มียอดการนำเข้า ๓ พันล้านยูโร สินค้าที่นำเข้ามากได้แก่ น้ำมันโอลีฟ และน้ำมันโอลีฟบริสุทธิ์ (๑.๒ และ ๑.๑ พันล้านยูโร ตามลำดับ
          - และกลุ่มอาหารสัตว์ มียอดการนำเข้า ๑.๓ พันล้านยูโร

          การนำเข้าจากไทย
          สินค้าอาหารที่อิตาลีนำเข้าจากประเทศไทยได้แก่
          - ปลาหมึกสดแช่เย็น/แช่แข็ง อิตาลีนำเข้า ๘๓.๓ ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๘
          - ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ อิตาลีนำเข้า ๗๓.๖ ล้านยูโร ขยายตัวกว่าร้อยละ ๔ พัน
          - อาหารสัตว์เลี้ยง อิตาลีนำเข้า ๕๑.๓ ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕.๑
          - และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อิตาลีนำเข้า ๕๐.๖ ล้านยูโร ลดลงร้อยละ ๓.๒

โอกาสทางการค้า
          สินค้าจากประเทศไทยที่น่าจะมีศักยภาพในตลาดอิตาลี ได้แก่
          - อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง/แช่แข็ง ได้แก่ ทูน่า หมึก กุ้ง เพื่อตอบสนองความต้องการชาวอิตาเลียนที่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา เน้นรูปแบบของความสะดวกในการบริโภค เช่น กุ้ง/หมึกแช่แข็งที่ตัดหัว/หาง/เปลือกและทำความสะอาดแล้ว พร้อมนำไปประกอบอาหาร  โดยอาจมีเมนูแนะนำวิธีการประกอบอาหารง่ายๆ ติดที่บรรจุภัณฑ์เพื่อดึงดูดความสนใจ
          - อาหารสำเร็จรูปและข้าวหอมมะลิแท้ นำเสนอความหลากหลายของสินค้าเช่น อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง หลากหลายเมนู โดยอาจนำเสนอเมนูไทยชื่อดังและ อาหารเด็ดเพื่อสุขภาพ พร้อมรับประทาน ไม่ยุ่งยากในการทำ ประหยัดเวลาและบรรจุภัณฑ์สวยงามย่อยสลายได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอาจมีเมนูแนะนำวิธีการประกอบอาหารง่ายๆ ติดที่บรรจุภัณฑ์เพื่อดึงดูดความสนใจอีกด้วย
          อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยควรปฏิบัติตามกฎการนำเข้า ให้ความสำคัญในด้านคุณภาพ สุขภาพ ศึกษากฎระเบียบ ติดตามเทร็นการบริโภคของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
          - ผักและผลไม้สด ที่ไทยมีศักยภาพและโดดเด่นได้แก่ ผลไม้เมืองร้อนที่ไม่สามารถผลิตได้ในยุโรปและอเมริกาใต้ (เช่น มะม่วงไทย มะละกอแขกดำ กล้วยหอมทอง/เขียว กล้วยไข่ มะพร้าวไทย ฝรั่ง เงาะ ลิ้นจี่ เป็นต้น) เนื่องจากชาวอิตาเลียนชอบผลไม้เมืองร้อนและถือว่าเป็นสินค้าหายาก อิตาเลียนเป็นชาติที่นิยมทดลองของใหม่ๆ ผลไม้ไทยแท้ ซึ่งมีรสชาดอร่อยเป็นเอกลักษณ์(รสชาดต่างจากแถบอเมริกาใต้) จึงเป็นสินค้าหนึ่งที่น่าสนใจ หากแต่การส่งออกผักและผลไม้สดอาจมีข้อจำกัดคืออายุการเก็บรักษาสั้นและตลาดยังแคบเนื่องจากผักผลไม้ไทยเพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นของการเข้าสู่ตลาด
          - ผักและผลไม้แปรรูปหรือแช่แข็ง มีแนวโน้มที่ดีสำหรับเป็นเครื่องเคียงหรือเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมไอศครีม

ข้อเสนอแนะ
          ๑.จัดโครงการโปรโมทสินค้าอาหารไทยในงานแสดงสินค้าอาหาร(Cibus/Tutto Food/Sapore Rimini) ในรูปแบบคอนเซปต์ใดคอนเซปต์หนึ่งเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าไทยและแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยแก่ชาวต่างชาติ
          ๒.จัดโครงการโปรโมทสินค้าอาหารไทยนอกงานแสดงสินค้าตามโอกาส ได้แก่ ร่วมแสดงและขายอาหารไทยในงาน OKTAGON  ซึ่งเป็นมหกรรมงานแสดงศิลปะการต่อสู้บนสังเวียนที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในยุโรปโดยจะจัดขึ้นในอิตาลีทุกปีและตัวแทนประเทศไทย(ได้แก่ สถานทูตไทย กงสุลไทยในมิลานและ สคต.มิลาน) ยังเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน สำนักงานฯ มิลานยังเห็นว่าหากจัดโครงการในงาน OKTAGON จะสามารถโปรโมทสินค้าและบริการได้ทั้งอาหารและมวยไทยในคราวเดียวกัน (รายละเอียดเพิ่มเติมในรายงาน OKTAGON มหกรรมงานแสดงศิลปะการต่อสู้บนสังเวียนผ้าใบ)  และงานโครงการอื่นๆตามโอกาส  เพื่อให้คนอิตาเลียนรู้จักอาหารไทยมากขึ้น
          ๓.กรณีการส่งออกผักและผลไม้สด ปัญหาด้านข้อจำกัดของอายุการเก็บรักษาและตลาดยังแคบนั้น หากทางกรมฯ สามารถเจรจาประสานด้านการขนส่งกับสายการบินและบริษัทขนส่งเพื่อลดค่าใช้จ่ายและร่นระยะเวลาขนส่งให้กับลูกค้าและผู้ส่งออกไทยได้จะถือเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าอีกก้าวหนึ่ง (เนื่องจาก ปัญหาเรื่องค่าขนส่งมักจะเป็นอุปสรรคกับการส่งออกสินค้าสู่อิตาลีในทุกสาขาเนื่องจากประเทศอิตาลีเป็นประเทศที่มีผู้ประกอบการ/ผู้นำเข้าส่วนใหญ่เกือบร้อยละ  ๘๐ เป็นรายย่อยขนาดเล็กและกลาง ซึ่งหากเป็นผู้นำเข้ารายย่อย นอกจากจะมีต้นทุนค่าขนส่งแล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการนำเข้าและการขออนุญาติอีกซึ่งต้องใช้เวลานาน และไม่คุ้ม ผู้นำเข้ารายย่อยส่วนใหญ่จึงต้องการที่จะนำเข้าผ่านทางผู้กระจายสินค้า(Distributor)มากกว่า
          ๔.ผู้ส่งออกไทยควรปฏิบัติตามกฎการนำเข้าและมาตรฐานของอียู ศึกษาและติดตามแนวโน้มกฏระเบียบและความต้องการตลาดอย่างสม่ำเสมอ
          ๕.ควรเชิญสมาพันธ์อุตสาหกรรมอาหาร(Federalimentare)และผู้นำเข้ารายใหญ่ๆ ในสังกัดไปเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพบครัวไทยสู่ครัวโลก เพื่อหาลู่ทางในการประสานความร่วมมือต่อกันในอนาคต เช่นการเชิญเยี่ยมโรงงานผู้ผลิตเพื่อให้เห็นถึงมาตรฐานและศักยภาพการผลิตของไทย การเชิญชมงานแสดงสินค้า(ซึ่ง THAIFex ถือเป็นงานฯที่ประสบความสำเร็จงานหนึ่งในเอเชีย) โดยการนำคอนเซปต์  "อาหารไทยคือวัฒนธรรมไทย" ซึ่งเป็นคอนเซปต์เดียวกันกับอิตาลีที่ไม่ได้เพียงต้องการขายอาหารอิตาเลียน แต่เป็นความภูมิใจที่ได้แนะนำให้คนรู้จักกับวัฒนธรรมของเราด้วย

งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง
          ๑.งานแสดงสินค้าอาหาร CIBUS จัดขึ้น ณ ศูนย์แสดงสินค้าเมือง Parma โดย Fiera di Parma S.p.A. (Via Rizzi ๖๗/a-๔๓๐๓๑ Baganzola(PR) Tel. +๓๙๐๕๒๑๙๙๖๒๐๖/๒๓๓www.cibus.it) ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นงานแสดงสินค้าอาหารที่สาคัญและประสบความสาเร็จมากที่สุดงานหนึ่งของอิตาลี มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารอิตาเลียนซึ่งมีความหลากหลายและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้พบปะเจรจาการค้า ศึกษารูปแบบและชนิดอาหารใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในระดับท้องถิ่นและระหว่างประเทศ เปิดสาหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยในปีนี้จะจัดเป็นครั้งที่ ๑๖ ระหว่างวันที่ ๗-๑๐ พฤษภาคม ๒๐๑๒
          ๒.งานแสดงสินค้าอาหาร TUTTO FOOD จัดขึ้นในศูนย์แสดงสินค้า RHO fiera ณ เมืองมิลานโดย Fiera Milano S.p.A. (Strada Statale del Sempione, ๒๘-๒๐๐๑๗ Rho ,Milano www.tuttofood.it) ช่วงเดือนพฤษภาคม ทุกสองปี โดยครั้งต่อไปจะจัดระหว่างวันที่ ๑๙-๒๒ พฤษภาคม ๒๐๑๓ นับเป็นครั้งที่ ๔ เป็นงานแสดงสินค้าอาหาร ตั้งแต่ในรูปวัตถุดิบไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นจุดนัดพบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เป็นแหล่งศึกษาแนวโน้มตลาดการผลิตและแนวโน้มผู้บริโภค รวมทั้งผู้จัดฯ ต้องการให้งานฯ ดังกล่าวเป็นงานแสดงสินค้าใหม่ที่จะเป็นประตูเปิดไปสู่ยุโรปและตลาดโลก เป็นศูนย์กลางที่จะเชื่อมทุกอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ยังต้องการผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารประจาชาติของอิตาลีที่มีวัฒนธรรมและเอกลักษณ์มายาวนานนั้น เป็นหนึ่งในสินค้า Madein-Italy เหมือนกับสินค้าอื่นๆ ให้ชัดเจนขึ้น



                                 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
                                                พฤษภาคม ๒๕๕๕

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ