รายงานสรุปสินค้าในความรับผิดชอบ
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส
สินค้าข้าว พฤษภาคม ๒๕๕๕
ปัจจุบันข้าวหอมมะลิไทยในตลาดสหรัฐฯกำลังประสบปัญหาการแข่งขันอย่างรุนแรงจากคู่แข่งขันทั้งที่เป็นสินค้าข้าวนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านของไทยคือเวียดนามและกัมพูชาและจากข้าวสหรัฐฯที่ผลิตได้ในประเทศ
ปัญหาการแข่งขันกับข้าวนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย (เวียดนามและกัมพูชา) คือ
๑. ราคาข้าวหอมมะลิไทยสูงกว่าราคาของข้าวหอมนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านแม้ว่าในขณะนี้ราคาขายปลีกข้าวหอมมะลิไทยหลายๆ
ยี่ห้อจะขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาส่งออกจากประเทศไทยแล้วก็ตาม
๒. มีการนำเข้าข้าวหอมที่เป็นไปในลักษณะผสมข้าวไทยกับข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือ เป็นการนำเข้าข้าวหอมจากประเทศ
เพื่อนบ้านโดยปิดฉลากหลอกลวงว่าเป็นข้าวไทยและวางจำหน่าย ในราคาที่ต่ำกว่าข้าวหอมมะลิไทยที่เป็นข้าวคุณภาพดีเลิศ
๓. ผู้กระจายสินค้าข้าวชาวเวียดนามรายใหญ่รายหนึ่งมีพฤติกรรมไปในทางทุ่มตลาดราคาข้าวหอม มะลิยี่ห้อของตนในลักษณะของการ
ทำความพยายามที่จะยึดครองตลาดข้าวหอมมะลิในสหรัฐฯ
๔. ผู้บริโภคสหรัฐฯที่เป็นคนเชื้อสายเวียดนามหรือกัมพูชาจะให้ความสนใจที่จะซื้อข้าวที่มีการ โฆษณาว่าเป็นข้าวนำเข้าจากประเทศ
บ้านเกิดของตนมากกว่าการซื้อข้าวไทยแม้ว่าข้าวไทยจะมี คุณภาพที่ดีกว่าก็ตาม ทั้งนี้นอกจากเหตุผลเรื่องความคุ้นเคยรสชาติของ
ข้าวแล้วยังมีเหตุผลใน เรื่องของความรักชาติเข้ามาเป็นเงื่อนไขเพิ่มขึ้น
ปัญหาการแข่งขันกับข้าวสหรัฐฯที่ผลิตได้ภายในประเทศ ปีนี้สหรัฐฯผลิตข้าวได้เป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็ประสบปัญหาส่งออกข้าวได้น้อย ทำให้เกิดสภาวะข้าวล้นตลาดภายในประเทศ ราคาขายปลีกที่ปกติจะต่ำกว่าราคาข้าวหอมมะลิของไทยอยู่แล้วก็ยิ่งต่ำลงไปอีก ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ราคาเป็นเงื่อนไขสำคัญสูงสุดในการตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค ข้าวไทยจึงอยู่ในสภาวะที่เสียเปรียบอย่างมากในตลาดสหรัฐฯ
มกราคม - มีนาคม ๒๐๑๒ % แหล่งอุปทาน เมตริกตัน ๒๐๑๐ เมตริกตัน ๒๐๑๑ เมตริกตัน ๒๐๑๒ เปลี่ยนแปลง ๑๒/๑๑ ทั่วโลก ๑๔๑,๐๑๗.๖๗ ๑๔๑,๘๖๙.๐๒ ๑๔๘,๖๙๐.๑๙ ๔.๘๑ ๑ ประเทศไทย ๑๐๖,๘๒๘.๙๐ ๙๒,๖๗๓.๒๒ ๙๙,๑๐๑.๒๑ ๖.๙๔ ๒ อินเดีย ๑๘,๘๑๗.๗๐ ๒๐,๙๒๒.๗๙ ๒๘,๓๕๙.๑๑ ๓๕.๕๔ ๓ เวียดนาม ๒,๖๙๐.๑๑ ๓,๕๓๒.๙๗ ๕,๔๕๗.๒๖ ๕๔.๔๗ ๔ ปากีสถาน ๓,๗๗๔.๑๖ ๔,๑๐๒.๖๔ ๔,๔๑๘.๐๑ ๗.๖๙ ๕ บราซิล ๕๙๕.๒๗ ๑,๕๘๒.๒๔ ๓,๘๗๑.๙๗ ๑๔๔.๗๑ ๖ อิตาลี ๑,๘๒๑.๓๐ ๑,๗๙๔.๘๙ ๑,๙๗๙.๕๑ ๑๐.๒๙ ๗ อุรุกวัย ๑๖๙.๐๐ ๑๒,๕๗๔.๐๕ ๑,๕๑๓.๖๖ -๘๗.๙๖ ๘ คานาดา ๑,๐๖๗.๖๖ ๘๔๓.๕๕ ๑,๒๘๓.๘๔ ๕๒.๑๙ ๙ จีน ๗๑๒.๒๓ ๖๙๒.๘๘ ๕๘๘.๙๔ -๑๕.๐๐ ๑๐ กัมพูชา ๑๔๕.๕๓ ๒๘๕.๕๒ ๕๕๐.๘๘ ๙๒.๙๔
ในจำนวนข้าวนำเข้ารวมทั้งสิ้น ๑๔๘,๖๙๐.๑๙ เมตริกตัน ประมาณร้อยละ ๘๙.๒๘ หรือ ๑๓๒,๗๔๘.๘ เมตริกตัน เป็นการนำเข้าข้าวสีแล้วทั้งหมดหรือบางส่วนและร้อยละ ๗๓.๐๓ เป็นการนำเข้าจากประเทศไทย
มกราคม - มีนาคม ๒๐๑๒ % มกราคม - มีนาคม ๒๐๑๒ % แหล่งอุปทาน ปริมาณนำเข้า ปริมาณนำเข้า เปลี่ยน ราคานำเข้าเฉลี่ย ราคานำเข้าเฉลี่ย เปลี่ยน เมตริกตัน เมตริกตัน แปลง ๑ เมตริกตัน ๑ เมตริกตัน แปลง ๒๐๑๑ ๒๐๑๒ ๑๒/๑๑ ๒๐๑๑ ($) ๒๐๑๒ ($) ๑๒/๑๑ ทั่วโลก ๙๗,๐๔๑.๑๐ ๑๐๒,๒๕๑.๙๔ ๕.๓๗ ๑,๐๐๐.๐๐ ๑,๑๒๐.๐๐ ๑๒.๐๐ ๑ ประเทศไทย ๗๒,๙๒๕.๗๙ ๗๙,๓๖๒.๕๒ ๘.๘๓ ๑,๐๕๐.๐๐ ๑,๑๕๐.๐๐ ๙.๕๒ ๒ อินเดีย ๖,๘๙๗.๓๔ ๑๒,๖๓๒.๐๘ ๘๓.๑๔ ๑,๒๙๐.๐๐ ๑,๑๙๐.๐๐ -๗.๗๕ ๓ เวียดนาม ๑,๘๙๘.๕๕ ๔,๓๑๔.๘๔ ๑๒๗.๒๗ ๖๒๐.๐๐ ๖๙๐.๐๐ ๑๑.๒๙ ๔ บราซิล ๙๗.๓๙ ๒,๒๖๒.๘๒ ๒,๒๒๓.๓๙ ๖๕๐.๐๐ ๖๑๐.๐๐ -๖.๑๕ ๕ อิตาลี ๑,๐๖๕.๘๘ ๑,๐๕๐.๒๕ -๑.๔๗ ๑,๕๕๐.๐๐ ๑,๔๕๐.๐๐ -๖.๔๕ ๖ ปากีสถาน ๑,๐๒๓.๘๒ ๘๗๓.๘๖ -๑๔.๖๕ ๑,๐๑๐.๐๐ ๑,๑๗๐.๐๐ ๑๕.๘๔ ๗ อุรุกวัย ๑,๐๒๔.๙๙ ๕๗๗.๒๘ -๙๕.๒๐ ๕๔๐.๐๐ ๖๙๐.๐๐ ๒๗.๗๘ ๘ กัมพูชา ๑๙๐.๐๒ ๔๖๖.๙๗ ๑๔๕.๗๕ ๗๑๐.๐๐ ๙๓๐.๐๐ ๓๐.๙๙ ๙ คานาดา ๒๔.๒๗ ๔๑๙.๑๗ ๑,๖๒๗.๓๐ ๗๔๐.๐๐ ๘๖๐.๐๐ ๑๖.๒๒ ๑๐ จีน ๕๔๓.๒๐ ๑๓๓.๐๘ -๗๕.๗๐ ๑,๕๒๐.๐๐ ๑,๙๗๐.๐๐ ๒๙.๖๑
จากสถิติในระยะสามเดือนแรกของปี ๒๐๑๒ จะเห็นได้ว่าการนำเข้าข้าวจากเวียดนามและกัมพูชามีอัตราการขยายตัวสูงมากคือร้อยละ ๑๒๗.๒๗ และ ๑๔๕.๗๕ ตามลำดับ
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕