รายงานตลาดสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์การเกษตรในสาธารณรัฐเช็ก
สาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศหนึ่งที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งในกลุ่มประชาคมยุโรป ทำเลที่ตั้งใจกลางของทวีปยุโรปทำให้สามารถ เชื่อมโยงการค้าและการขนส่งไปยังยุโรปกลาง ตะวันตก และตะวันออก อีกทั้งยังมีเมืองหลวงที่สวยงามคือกรุงปราก แต่ด้วยสภาพภูมิอากาศที่ ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชในเขตร้อน ดังนั้นอาหารในประเทศสาธารณรัฐเช็กส่วนใหญ่จึงได้มาจากการนำเข้าเป็นหลัก ประเทศไทย เป็นผู้ส่งออกอาหารจากเขตโซนร้อนที่สาธารณรัฐเช็กไม่สามารถผลิตเองได้ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงไม่มีคู่แข่งจากผู้ผลิตภายในประเทศ
ประเภทสินค้าอาหารที่ส่งออกจากไทย ตามลำดับความสำคัญ รายละเอียดในตารางประกอบนี้
FOOD AND AGRICULTURAL IMPORTS FROM THAILAND
TO THE CZECH REPUBLIC
Growth 01-03/ 01-03/ Growth Growth Growth Growth 01-03/ H.S. Commodity 2007 2008 2009 2010 2011 2011 2012 2008% 2009% 2010% 2011% 2012% unit: thous. USD 1604 Canned fish 9 402 11 190 8 911 8 167 9 632 4 356 8 454 19,0% -20,4% -8,3% 17,9% 94,1% 1006 Rice 4 003 10 287 6 076 7 383 8 967 3 644 3 610 157,0% -40,9% 21,5% 21,5% -0,9% 20 Preserved fruits and vegetables 5 884 9 401 4 310 6 493 6 397 1 909 1 641 59,8% -54,2% 50,6% -1,5% -14,0% 2103 Sauces, seasonings, spice-mixtures 935 941 1 157 1 306 1 432 336 369 0,6% 23,0% 12,9% 9,6% 9,8% 1902 Noodles(from 2005 incl. instant noodle soups) 1 007 1 294 1 501 1 247 1 341 383 411 28,5% 16,0% -16,9% 7,5% 7,3% 1605 Canned seafood 649 1 391 1 692 824 1 289 413 58 114,3% 21,6% -51,3% 56,4% -86,0% 2106 Other food preparations 502 579 577 852 885 194 119 15,3% -0,3% 47,7% 3,9% -38,7% 03 Fish, crustaceans and mollucs 1 000 1 070 795 771 795 222 173 7,0% -25,7% -3,0% 3,1% -22,1% (fresh,chilled,frozen or dried) 08 Fruits and nuts 845 840 836 927 699 194 132 -0,6% -0,5% 10,9% -24,6% -32,0% 06 Cut flowers and plants 999 1 149 923 567 526 129 102 15,0% -19,7% -38,6% -7,2% -20,9% 1108 Tapioca starch 657 214 55 393 516 31 41 -67,4% -74,3% 614,5% 31,3% 32,3% 07 Vegetables (fresh,chilled,frozen or dried) 291 421 433 407 251 86 58 44,7% 2,9% -6,0% -38,3% -32,6% 22 Beverages 88 638 123 149 20 6 52 625,0% -80,7% 21,1% -86,6% 766,7% 1905 Rice paper and similar articles 40 264 67 55 20 4 15 60,0% -74,6% -17,9% -63,6% -75,0% Other food items 1 996 2 459 2 216 2 320 2 439 624 832 23,2% -9,9% 4,7% 5,1% 33,3% TOTAL FOOD ITEMS 28 298 42 138 29 672 31 861 35 209 12 531 16 053 48,9% -29,6% 7,4% 10,5% 28,1% OTHER ITEMS 788 918 1 175 788 1 141 518 1 556 035 1 319 856 339 279 339 006 49,0% -2,9% 36,3% -15,2% -0,1% TOTAL 817 216 1 217 926 1 171 190 1 587 896 1 355 065 351 810 3 355 059 49,0% -3,8% 35,6% -14,7% 0,9% Source: Czech Statistical Office, May 2012 POSITION OF THAILAND ON THE CZECH MARKET IN THE YEAR 2011 ________________________________________________________________________ HS CODE PRODUCT MARKET SHARE OF POSITION OF THAILAND THAILAND ON IN 2011 CZ MARKET ________________________________________________________________________ 2008 20 Canned pineapples 55,00 % No. 1 1604 Canned fish 12,60 % No. 2 1605 Preserved/processed seafood 15,14 % No. 2 1006 Rice 15,20 % No. 2 ________________________________________________________________________ Source: Czech Statistical Office, May 2012 สับปะรดกระป๋อง สถานการณ์การตลาดในปัจจุบัน สับปะรดกระป๋องเป็นสินค้านำเข้าหลักอันดับหนึ่งจากประเทศไทย เนื่องจากเป็นผลไม้เขตร้อนที่ผู้บริโภคคุ้นเคยและนิยมเลือกซื้อ เป็นประจำ จึงทำให้มีความต้องการของตลาดกว่า 8 พันตันต่อปี แต่ด้วยสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกจึงต้องอาศัยการนำเข้า พฤติกรรมของผู้บริโภค จากสถิติทางราชการรายงานว่า สับปะรดกระป๋องร้อยละ นำเข้าเพื่อใช้ในกลุ่มธุรกิจการจัดเลี้ยง โดยอุตสาหกรรมการผลิตขนม คบเคี้ยวมีอัตราการใช้สับปะรดกระป๋องมากเป็นอันดับหนึ่ง อันดับสองเพื่อการจัดจำหน่ายในห้างในซุปเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต สับปะรดกระป๋องแบบหั่นชิ้นจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าแบบแว่นทำให้ขายได้กำไรมากกว่า โดยส่วนใหญ่แล้วผู้บริโภคจะเลือกซื้อสับปะรดกระป๋อง จากราคาเป็นหลัก เพราะถือว่าหากราคาขึ้นสูง ยังมีผลไม้อื่นที่สามารถทดแทนกันได้ เช่น พีชกระป๋อง, แอปปริคอท, ส้ม และฟักทอง เป็นต้น สับปะรดกระป๋อง จะนิยมมอบเป็นของขวัญช่วงคริสมาสต์ ทำให้ความต้องการมีมากขึ้นตามลำดับ ดังจะเห็นได้ว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี มีการบริโภคสับปะรดกระป๋องมากที่สุด รวมถึงผลไม้กระป๋องเขตร้อนอื่นๆ เพื่อใช้สำหรับบริโภคโดยตรง, ใช้ตกแต่งหน้าคริสมาสต์เค้ก, อบขนมปังต่างๆ รวมทั้งใช้ในการจัดเลี้ยง การบรรจุภัณฑ์ของสับปะรดกระป๋องจากประเทศไทยร้อยละ 62 เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบร้อยละ 19 โดยปริมาณรวมของขนาดบรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักไม่เกิน 1กิโลกรัมต่อหน่วย IMPORT STATISTICS IMPORTS OF CANNED PINEAPPLES HS 2008 20 TO THE CZECH REPUBLIC VALUE MARKET SHARE GROWTH COUNTRY (IN THOUS. USD) (%) (%) Q1/ Q1/ Q1/ Q1/ 2010 2011 2011 2012 2010 2011 2012 2011 2012 Thailand 4 311 4 681 1 482 1 193 70,21 54,99 63,87 8,58 -19,50 Indonesia 37 2 220 27 450 0,60 26,08 24,09 5900,00 1566,67 Germany 1 177 806 256 122 19,17 9,47 6,53 -31,52 -52,34 Austria 246 490 225 68 4,01 5,76 3,64 99,19 -69,78 Italy 124 60 21 14 2,02 0,70 0,75 -51,61 -33,33 Vietnam 13 59 0 0 0,21 0,69 0,00 353,85 x South Africa 31 49 12 1 0,50 0,58 0,05 58,06 -91,67 Turkey 0 33 0 0 0,00 0,39 0,00 x x Poland 58 26 11 0 0,94 0,31 0,00 -55,17 -100,00 Other countries 143 88 1 20 2,33 1,03 1,07 -38,46 1900,00 TOTAL 6 140 8 512 2 035 1 868 100,00 100,00 100,00 38,63 -8,21 Source: Czech Statistical Office, May 2012 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋องรายหลักของสาธารณรัฐเช็ก ในปี ไทยมีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 55 รองมาเป็น ประเทศอินโดนิเชียร้อยละ 26 , เวียดนามร้อยละ 0.7 และแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นคู่แข่งของไทยทั้งนี้ การนำเข้าสับปะรดกระป๋องจากกลุ่มสหภาพ ยุโรป เช่น เยอรมัน, ออสเตรเลีย, อิตาลีและโปแลนด์ ล้วนแต่เป็นสับปะรดกระป๋องที่นำเข้าจากแถบเอเชียทั้งสิ้น รวมทั้งประเทศไทย เพราะกลุ่มสหภาพยุโรปก็มีสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกสับปะรด ดังนั้นการนำเข้าสับปะรดกระป๋องจากไทย จึงถือว่ามีปริมาณมากกว่า ร้อยละ 55 ช่องทางการจัดจำหน่าย สับปะรดกระป๋องที่วางขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต ส่วนใหญ่รับมาจากผู้นำเข้าท้องถิ่นอีกต่อหนึ่ง การส่งสินค้าสับปะรดกระป๋องส่วนใหญ่ส่งมาทางเรือที่ท่า HAMBURG ประเทศเยอรมันหรือมีบางกรณีใช้ท่าเรือ ROTTERDAM ประเทศ เนเธอร์แลนด์และขนส่งต่อมายังสาธารณรัฐเช็กโดยทางรถยนต์ เพราะไม่มีพื้นที่หรือท่าเรือติดทะเล ศักยภาพในการแข่งขัน การแข่งขันทางด้านราคา ถือเป็นปัจจัยหลักของตลาดสับปะรดกระป๋อง อีกทั้งความเที่ยงตรงในการส่งสินค้าตามสัญญาที่กำหนดก็ถือ เป็นส่วนสำคัญของการทำธุรกิจกับร้านค้าปลีก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการขาย ระหว่างผู้ส่งออกจากไทยและผู้นำเข้าท้องถิ่น ต้องส่งสินค้า ตรงเวลาเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องค่าปรับ ทั้งนี้ธุรกิจค้าปลีกอาจเรียกค่าปรับจากผู้นำเข้าท้องถิ่นในกรณีที่ ผู้ส่งออกไทยพลาดการส่งสินค้าตามเวลา เป็นต้น ขนาดของตลาดและความต้องการของสินค้า ความต้องการของตลาดปลากระป๋องและปลาแช่แข็ง (HS 1604 ) ของสาธารณรัฐเช็กมีกว่า 20.5 ล้านกิโลกรัมต่อปี ซึ่งได้จากการ นำเข้าทั้งสิ้น เพราะสาธารณรัฐเช็กไม่มีพื้นที่ติดทะเล ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปมีอัตราการบริโภคกว่า 1.4 ล้านกิโลกรัมต่อปี ในปี 2554 สาธารณรัฐเช็ก นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากประเทศไทย กว่า 3 ล้านกิโลกรัม จากความต้องการของตลาดทั้งหมด 7 ล้านกิโลกรัมต่อปีพฤติกรรม ผู้บริโภค สาธารณรัฐเช็กมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่โดยคนรุ่นใหม่ในเมืองหลวงจะคำนึงถึงสุขภาพ และหันไปบริโภคปลามากขึ้น ในปี 2553 สาธารณรัฐเช็กมีการบริโภคปลากว่า 5.6 กิโลต่อคน และมีอัตราความต้องการอาหารทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะเป็นส่วน น้อยเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปอื่นๆ ที่มีการบริโภคปลาเฉลี่ยอยู่ที่คนละ 12 กิโลกรัมต่อปี รูปแบบการบริโภคของชาวเช็กนิยมบริโภค ปลาน้ำจืดคิดเป็นอัตรา 1กิโลต่อคนต่อปี ช่วงเวลาที่มีการบริโภคปลามากที่สุดคือ เทศกาลคริสมาสต์ และอีสเตอร์ ทำให้ผู้จำหน่ายท้องถิ่นต้อง สนองความต้องการถึง 19 ตันต่อปี ซึ่งกว่าครึ่งใช้สำหรับบริโภคภายในประเทศ และอีกครึ่งเพื่อการส่งออก จากสถิติของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ประจำสาธารณรัฐเช็ก รายงานว่าปลาทะเลนั้นมีการบริโภคมากกว่าถึง 4เท่า ด้วยเหตุผลของความหลากหลายของชนิด และราคาที่ถูกกว่า จากสถิติของการบริโภคปลาในสาธารณรัฐเช็ก จากการสำรวจของสหภัณฑ์การประมง ระบุว่าปลากระป๋องมีส่วนแบ่งในตลาดผู้บริโภค ปลาถึงร้อยละ 20 โดยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือปลาทูน่ากระป๋องคิดเป็นส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 37% รองลงมาเป็นปลาแฮริ่งคิดเป็นร้อยละ 15% ปลาซาดีนและปลา sprats ร้อยละ12%และปลาแม็กเคอเรลร้อยละ 4.5 ตามลำดับ IMPORT STATISTICS IMPORTS OF CANNED FISH HS 1604 TO THE CZECH REPUBLIC VALUE MARKET SHARE GROWTH COUNTRY (IN THOUS. USD) (%) (%) Q1/ Q1/ Q1/ Q1/ 2010 2011 2011 2012 2010 2011 2012 2011 2012 Poland 18 578 19 416 4 702 3 180 26,39 25,39 11,85 4,51 -32,37 Thailand 8 167 9 632 4 356 8 454 11,60 12,60 31,50 17,94 94,08 Germany 10 791 9 233 2 411 2 327 15,33 12,08 8,67 -14,44 -3,48 Spain 4 275 5 483 1 125 1 630 6,07 7,17 6,07 28,26 44,89 Italy 3 450 5 055 757 1 443 4,90 6,61 5,38 46,52 90,62 Denmark 2 858 3 968 959 400 4,06 5,19 1,49 38,84 -58,29 Philipines 3 669 3 462 2 616 474 5,21 4,53 1,77 -5,64 -81,88 Latvia 2 599 2 967 826 743 3,69 3,88 2,77 14,16 -10,05 Estonia 2 013 2 703 1 249 600 2,86 3,54 2,24 34,28 -51,96 Othercountries13 998 14 542 4 533 7 587 19,88 19,02 28,27 3,89 67,37 TOTAL 70 398 76 461 23 534 26 838 100,00 100,00 100,00 8,61 14,04 Source: Czech Statistical Office, May 2012 สาธารณรัฐเช็ก มียอดการนำเข้าปลากระป๋องจากประเทศไทยมากเป็นอันดับสอง แต่สำหรับปลาทูน่ากระป๋องจากประเทศไทยถือ เป็นผู้นำตลาด ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 82 โดยมีสเปนและอิตาลีเป็นคู่แข่งที่สำคัญในกลุ่มสหภาพยุโรป ส่วนฟิลิปินส์ และเวียดนาม ถือเป็นคู่แข่งที่แข็งแกร่งจากแถบเอเชีย การนำเข้าทูน่ากระป๋องส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมคือ ทูน่ากระป๋องแบบสับละเอียด เพราะสามารถนำไปประกอบการรับประทาน เช่น ใช้ทาขนมปัง หรือใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร อีกทั้งยังนำไปใช้ในกลุ่มธุรกิจจัดเลี้ยง เป็นต้น ถ้าเปรียบเทียบราคาปลาทูน่าของ ไทยจะถูกกว่าปลาทูน่าที่นำเข้าจากอิตาลีเป็นอย่างมาก โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ GIANA ซึ่งเป็นของ GASTON Co. เป็นบริษัท ท้องถิ่นที่นำเข้าปลากระป๋องจากประเทศไทยที่ใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าทูน่ากระป๋องจากอิตาลีจะมีราคาแพง แต่ก็เต็มไปด้วยคุณภาพ โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมคือ RIO MARE ซึ่งนำเข้า จากอิตาลีโดยบริษัท BOLTON CZECHIA Co. ผลจากการโฆษณาและทำกิจกรรมทางการตลาดอย่างหนักทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงคุณภาพเป็นอย่างดี IMPORTS OF PRESERVED/PROCESSED SEAFOOD HS 1605 TO THE CZECH REPUBLIC VALUE MARKET SHARE GROWTH COUNTRY (IN THOUS. USD) (%) (%) Q1/ Q1/ Q1/ Q1/ 2010 2011 2011 2012 2010 2011 2012 2011 2012 Ireland 1 069 2 646 300 0 19,47 31,07 0,00 147,52 -100,00 Thailand 824 1 289 413 58 15,01 15,14 5,29 56,43 -85,96 Spain 436 978 193 105 7,94 11,48 9,57 124,31 -45,60 Poland 894 837 250 6 16,28 9,83 0,55 -6,38 -97,60 Germany 715 599 249 121 13,02 7,03 11,03 -16,22 -51,41 Bangladesh 246 437 144 18 4,48 5,13 1,64 77,64 -87,50 China 134 354 113 102 2,44 4,16 9,30 164,18 -9,73 France 147 267 3 2 2,68 3,14 0,18 81,63 -33,33 Indonesia 148 184 9 227 2,70 2,16 20,69 24,32 2422,22 Other countries 877 925 154 458 15,97 10,86 41,75 5,47 197,40 TOTAL 5 490 8 516 1 828 1 097 100,00 100,00 100,00 55,12 -39,99 Source: Czech Statistical Office, May 2012 ด้านผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ15.14 โดยส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็ง รองจาก ไอร์แลนด์ซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 31.07 ทำให้ประเทศไทยตกเป็นอันดับสองด้านการนำเข้าอาหารทะเลแปรรูป (HS 1605 ) โดยมีอัตราการนำ เข้าในปี 2554 ถึง 120 thous.kg ทั้งนี้คู่แข่งที่สำคัญในแถบเอเชียคือ บังคลาเทศ, อินโดนีเชีย, เวียดนาม, อินเดีย, จีน ช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้นำหลักประเภทสินค้าปลากระป๋องและอาหารทะเลส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงกับ ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือไฮเปอร์มาร์เก็ต โดยมีการจัดหา ผู้ส่งสินค้าด้วยตนเอง โดยสินค้าปลากระป๋องมีตลาดหลักคือ กลุ่มผู้ซื้อโดยตรงจากตลาดค้าปลีกเพื่อบริโภคในครัวเรือน และกลุ่มธุรกิจการจัดเลี้ยง ต่างๆ สำหรับอาหารทะเลกระป๋องจะเน้นหนักไปที่กลุ่มธุรกิจการจัดเลี้ยงเป็นหลัก ศักยภาพการแข่งขัน สาธารณรัฐเช็กมีแนวโน้มอัตราการเติบโตของตลาดปลากระป๋องเพิ่มมากขึ้น โดยมีแหล่งนำเข้าดั้งเดิมคือจากประเทศไทย แต่ทว่าการ เข้าร่วมกลุ่มสหภาพยุโรปของสาธารณรัฐเช็กทำให้ประเทศไทยต้องแข่งขันอย่างหนักกับประเทศในแถบยุโรป เช่น โปร์แลนด์, เยอรมัน, สเปน, อิตาลี โดยเฉพาะอิตาลีที่มีการสร้างแบรนด์ RIO MARE ให้เป็นที่รู้จักผ่านการโฆษณา ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์เช่นกัน เพราะจากสถิติการสำรวจข้อมูลของผู้นำเข้าพบว่า การโฆษณาทำให้มียอดขายผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้นถึงแม้ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพง ข้าว สถานการณ์ตลาดในปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกข้าว ดังนั้นข้าวในประเทศสาธารณรัฐเช็กทั้งหมดจึงได้มาจากการนำเข้า สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่าการบริโภคข้าวของประชากรในสาธารณรัฐเช็กคิดเป็นค่าเฉลี่ยประมาณ 4.5 กิโลต่อคนต่อปี โดยภาพรวมแล้ว สาธาณรัฐเช็กบริโภคข้าว 60-70 พันตันต่อปี ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภคข้าวคือกลุ่มครัวเรือนที่ซื้อสินค้าผ่านทางซุปเปอร์มาร์เก็ต และกลุ่ม ธุรกิจอาหาร (โรงแรม, ภัตตาคาร, ร้านอาหาร, โรงเรียน, โรงพยาบาล, โรงอาหารในบริษัท) พฤติกรรมผู้บริโภค จากสถิติของผู้นำเข้ารายใหญ่ระบุว่า ข้าวที่นำเข้ากว่าร้อยละ 60 ไปสู่ร้านค้าปลีก ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ40 นำไปใช้ในอุตสหกรรม ผลิตอาหาร การบริโภคข้าวส่วนใหญ่เป็นเพียงอาหารประกอบอาหารหลัก เช่นเดียวกับมันฝรั่ง และพาสต้า ซึ่งก็เป็นที่นิยมรับประทาน ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในปี 2553 มีอัตราการบริโภคมันฝรั่งคนละ70 กิโลกรัมต่อปี อัตราการบริโภคข้าวคุณภาพดี (ราคา 34,26 K ต่อกิโลกรัม) คนละ 1กิโลกรัมต่อปี ส่วนอัตราการบริโภคพาสต้า (ราคา 35,36 Kc . ต่อกิโลกรัม) นั้นอยู่ที่ประมาณคนละ 6.6 กิโลกรัมต่อปี CONSUMPTION OF RICE VS. POTATOES AND PASTA PER CAPITA IN THE CZECH REPUBLIC (unit: kg) Item 1990 1995 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 Rice 4,3 4,4 4,6 4,4 4,8 5,0 4,6 4,0 5,2 4,9 4,9 4,2 4,5 Potatoes 77,9 76,5 77,0 75,3 76,0 73,6 73,0 72,5 70,0 69,5 71,4 64,9 67,3 Pasta 3,5 3,8 6,5 6,5 6,0 5,6 6,2 6,2 6,2 7,5 6,1 6,6 7,1 Source: The Statistic Yearbook of the Czech Republic, 2012 IMPORT STATISTICS IMPORTS OF RICE 1006 TO THE CZECH REPUBLIC COUNTRY VALUE (thous. USD) MARKET SHARE (%) GROWTH (%) 01-03/ 01-03/ 01-03/ 01-03/ 2010 2011 2011 2012 2010 2011 2012 2011 2012 Italy 28 866 36 303 10 203 8 332 58,42 61,54 52,77 25,76 -18,34 Thailand 7 383 8 967 3 644 3 610 14,94 15,20 22,87 21,45 -0,93 Poland 3 825 4 061 652 1 342 7,74 6,88 8,50 6,17 105,83 Greece 303 1 902 345 537 0,61 3,22 3,40 527,72 55,65 India 1 120 1 644 328 308 2,27 2,79 1,95 46,79 -6,10 Netherlands 1 070 1 071 278 306 2,17 1,82 1,94 0,09 10,07 Cambodia 124 651 238 125 0,25 1,10 0,79 425,00 -47,48 Belgium 589 589 176 128 1,19 1,00 0,81 0,00 -27,27 Hungary 485 539 90 129 0,98 0,91 0,82 11,13 43,33 Pakistan 436 398 37 106 0,88 0,67 0,67 -8,72 186,49 Spain 282 327 66 80 0,57 0,55 0,51 15,96 21,21 Other countries 4 924 2 536 619 785 9,97 4,30 4,97 -48,50 26,82 TOTAL 49 407 58 988 16 676 15 788 100,00 100,00 100,00 19,39 -5,33 Source: Czech Statistical Office, May 2012. ตลอดระยะเวลา5 ปีที่ผ่านมา(2550-2555)ประเทศไทยยังครองตำแหน่งอันดับ 2 ของผู้ส่งออกข้าวสู่สาธารณรัฐเช็ก ส่วนแบ่งทาง การตลาดของประเทศไทยในปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 15.2 รองจากประเทศอิตาลีซึ่งเป็นผู้นำตลาดข้าวโดยมีส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 61.5 ในปี 2555 ตั้งแต่สาธารณรัฐเช็กเข้าร่วมกลุ่มเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปในปี 2547 การซื้อขายข้าวจึงเน้นไปกับผู้ผลิตข้าวในยุโรป เนื่องจากเป็นเขตการค้าเสรี ดังนั้นจึงทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของอิตาลีแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ประเทศไทยเป็นอันดับสอง ตามมาด้วย อันดับสามคือ โปแลนด์ ซึ่งในปี 2554 มีอัตรานำเข้าร้อยละ6.9 ตามมาด้วยกรีช อินเดีย และเนเธอร์แลนด์ ข้อได้เปรียบด้านภาษีจากผู้ผลิตภูมิภาคยุโรป คือตั้งแต่สาธารณรัฐเช็กเข้าร่วมกลุ่มเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป จึงหันไปทำการค้ากับ ผู้ผลิตข้าวในยุโรป เนื่องจากเป็นเขตการค้าเสรี ส่วนภาษีการค้าของประเทศที่อยู่นอกกลุ่มยุโรปก็เปลี่ยนไปจากเดิมที่ร้อยละ0 ในเรื่องของปริมาณ ปี 2554 และ2553 ประเทศไทยมีการนำเข้าข้าวสู่สาธารณรัฐเช็กถึง 9,255 ตันและ 7,477 ตัน ส่วนอิตาลีนำเข้า 42,703 ตัน และ 43,407 ตัน ตามลำดับ ช่องทางการจัดจำหน่าย สินค้าข้าวใช้การขนส่งด้วยการนำเข้าทางเรือ โดยส่วนใหญ่ส่งมาทางเรือที่ท่า HAMBURG หรือมีบางกรณีใช้ท่าเรือ ROTTERDAM และขนส่งมายังสาธารณรัฐเช็กโดยทางรถยนต์ การบรรจุภัณฑ์ของผู้นำเข้ารายใหญ่จะมีการนำเข้าข้าวมาแล้วบรรจุภัณฑ์เอง ส่วนใหญ่จะบรรจุเป็นชนิดกล่องหรือถุง อยู่ที่ 0.5-1 กิโลกรัม ทั้งนี้ผู้นำเข้าจะมีการจัดจ้างผู้ขนส่ง เพื่อทำการจัดส่งให้กับผู้บริโภคต่อไป โดยข้าวจะมีตลาดหลักคือ กลุ่มผู้ซื้อโดยตรงจากตลาดค้าปลีก เพื่อบริโภคในครัวเรือน และกลุ่มธุรกิจการจัดเลี้ยงต่างๆ ชื่อของผลิตภัณฑ์มีสองแบบคือ บรรจุภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ของตัวเอง และบรรจุภายโดย ใช้ชื่อของบริษัทค้าปลีก เช่น ผู้นำเข้าข้าว PODRAVKA - LAGRIS นำเข้าข้าวมาบรรจุภัณฑ์ส่งจำหน่ายให้ห้าง TESCO ภายใต้ชื่อ "TESCO" และผู้นำเข้าข้าว PODRAVKA - LAGRIS Co . ยังจำหน่ายข้าวภายใต้ยี่ห้อ "LAGRIS" อีกด้วยส่วนผู้นำเข้าข้าว VITANA ใช้ชื่อสินค้า "BASK" หรือ "VITANA"ทั้งสองชื่อ ในการขายสินค้าของบริษัทเพื่อสร้างความนิยมในตัวสินค้า ศักยภาพทางด้านการตลาด การพิจารณาศักยภาพการเจริญเติบโตในอนาคตของสินค้าข้าวจากประเทศไทยในสาธารณรัฐเช็ก ยังคงเป็นตลาดผู้บริโภครายใหญ่ โดยจะต้องตระหนักในเรื่องราคาเป็นสำคัญ และควรพิจารณาทางด้านการค้าของข้าวราคาถูกร่วมด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อสภาพเศรษฐกิจดีขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคดีขึ้น ทำให้มีความต้องการข้าวคุณภาพดีเพิ่มขึ้น เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กไม่สามารถปลูกข้าวได้ และคนทั่วไปขาดความรู้สินค้าเกษตรที่แตกต่างไปจากประเทศของตน ตัวอย่างเช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับข้าวหอมมะลิในกลุ่มธุรกิจด้านภัตตาคาร, โรงแรม, ธุรกิจจัดเลี้ยง เป็นต้น เนื่องจากข้าวหอมมลิมีลักษณะพิเศษ ที่คุณภาพ และความหอมใช้เสริฟคู่กับอาหารเอเชีย อีกประการที่จะส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ข้าว คือ ต้องจัดให้มีการแนะนำให้ชิมสินค้า ตามซุปเปอร์ มาร์เก็ต หรือ ไฮเปอร์มาร์เก็ต มีการสอนการหุงข้าวที่ถูกวิธี มีการแจกแผ่นปลิวคุณสมบัติของข้าวหอมมะลิ เป็นต้น TOP 10 RETAIL COMPANIES IN THE CZECH REPUBLIC (ranked by turnover) No. GROUP / COMPANY TURNOVER (in CZK bil.) 2010 2011 1. Schwarz CR 63,2 65,5 Kaufland hypermarkets 40,0 42,0 Lidl CR supermarkets 23,2 23,5 2. Rewe CR 51,1 53,6 Billa supermarkets 22,2 22,6 Penny Market (discount stores) 28,9 31,0 3. Tesco Stores CR 47,5 51,0 Tesco hypermarkets Tesco department stores Tesco supermarkets Tesco Express stores 4. Ahold Czech Republic 42,3 44,0 Albert hypermarkets Albert supermarkets 5. Makro Cash & Carry CR 33,1 32,5 6. Globus CR 26,1 27,0 7. Geco Tabak 17,7 20,2 8. SPAR CR 13,0 14,1 Interspar hypermarkets 12,3 13,4 Spar supermarkets Spar Sumava 0,7 0,7 9. OBI CR 9,3 9,4 10.-11. IKEA 8,5 8,2 10.-11. Peal 8,7 8,2 TOP 10 T O T A L 312 325