การเปิดกิจการภัตตาคาร/ร้านอาหารไทยในเยอรมนี
ภัตตาคารและร้านอาหารไทยในเยอรมนีมีจำนวนกว่า 400 ร้าน ประกอบด้วยร้านอาหารไทยเต็มรูปแบบ และประเภทที่จำหน่ายอาหาร Fast Food ซึ่งส่วนใหญ่เปิดบริการอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเบอร์ลิน แฟรงก์เฟริต มิวนิค ฮัมบูร์ก โคโลญจน์ และดึสเซิลดอร์ฟ เป็นต้น เจ้าของกิจการมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้แก่ เยอรมันที่มีสามีหรือภรรยาเป็นคนไทย ชาวเวียดนาม อินโดนีเชีย ลาว และจีน ส่วนใหญ่การตกแต่งภายในร้านจะไม่ได้เป็นไทยเต็มรูปแบบ แต่ได้กลิ่นอายความเป็นไทยจากของประดับตกแต่งบางอย่าง เนื่องจากการตกแต่งแบบไทยเต็มรูปแบบมีค่าใช้จ่ายสูง ยกเว้นบางร้าน เช่น ศาลาไทย (กรุงเบอร์ลิน โพสต์ดัม และฮัมบูร์ก) หรือ บ้านไทย (กรุงเบอร์ลิน และดึสเซิลดอร์ฟ) เพราะมีทุนทรัพย์และได้รับการสนับสนุนจากบริษัทในประเทศไทย จำนวนที่นั่งของแต่ละร้านนั้น โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 30 - 80 ที่นั่ง มีเพียงร้านในบางเมืองมีที่นั่งเกินกว่า 100 ที่นั่ง ส่วนใหญ่จะดำเนินกิจการโดยชาวเยอรมันหรือเวียดนาม สำหรับรายการอาหารที่เสนอมีการปรุงแต่งรสชาดเป็นแบบไทยๆ แต่ลดความเผ็ดลงเพื่อให้ผู้บริโภคซึ่งกว่าร้อยละ 90 ที่มิใช่คนไทยรับประทานได้ อย่างไรก็ตาม ชาวเยอรมันจำนวนมากสามารถรับประทานอาหารไทยที่มีรสเข้มข้นและเผ็ดได้เก่งไม่แพ้คนไทย เนื่องจากมีความคุ้นเคยและเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยบ่อย จึงมีความเคยชินกับรสชาดจัดของอาหารไทย ในด้านราคาของอาหารไทยของร้านไทยเต็มรูปแบบนั้น มีราคาโดยเฉลี่ย ดังนี้
2. สลัดและยำต่างๆ 3 - 8 " (120 - 320 บาท) 3. แกงจืด ซุ๊ป 3 - 7 " (120 - 280 บาท) 4. อาหารเมนคอร์ส - ประเภทไก่ 11 " (440 บาท)
- ประเภทเนื้อวัวและเป็ด 12 " (480 บาท)
- ประเภทปลา 10 - 18 " (400 - 720 บาท) - อาหารทะเล 15 - 25 " (600 - 1000 บาท) (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร = 40 บาท)
สำหรับราคาอาหารตามร้านไทยประเภทจานด่วน Fast food (ภาษเยอรมันเรียก Imbiss) ซึ่งมีจำนวนมากตามเมืองใหญ่ในเยอรมนี ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจะเป็นชาวต่างชาติ และจ้างคนเอเชีย(ไทยและเวียดนาม) ปรุงอาหารไทยจำหน่าย มีราคาย่อมเยากว่า โดยเฉลี่ยประมาณ 4 - 12 ยูโร เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น อุปกรณ์ตกแต่งร้าน ค่าเช่า และค่าจ้างพนักงานน้อยกว่าภัตตาคารเต็มรูปแบบ จึงทำให้สามารถเสนอขายในราคาที่ต่ำกว่าได้ ในส่วนยอดการจำหน่ายของร้านอาหารไทยนั้น โดยทั่วไปแต่ละเดือนจะต้องมีรายได้ตั้งแต่ 10,000 ยูโรขึ้นไป หากต่ำกว่านี้จะไม่สามารถดำเนินกิจการได้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายประจำของแต่ละเดือนสูง เช่น ค่าเช่าร้านไม่ต่ำกว่า 1,000 ยูโร ค่าจ้างพนักงานรวมภาษี ค่าประกันสังคมและค่าธรรมเนียมอื่นๆ รายละประมาณ 1,800 ยูโร ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ แก๊ส ไฟฟ้า น้ำประปา ตั้งแต่ 1,000 - 1,500 ยูโร นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับวัตถุดิบและเครื่องใช้ในการปรุงอาหาร ที่ขึ้นปริมาณจะขึ้นอยู่กับจำนวนลูกค้าของแต่ละร้าน ราคาวัตถุดิบและเครื่องใช้ในการปรุงอาหาร ได้แก่ ผัก ผลไม้สด เครื่องกระป๋อง และของแห้งต่างๆ ที่จำหน่ายตามร้านค้าของชำชาวเอเชีย นั้น โดยทั่วไปมีราคาจำหน่ายของผักและผลไม้สดระหว่าง 9 - 12 ยูโร (360 - 480 บาท) ต่อ 1 กิโลกรัม ผักชีประมาณ 20 ยูโร/กก. หากของสดเหล่านี้เป็นสินค้าที่นำเข้าจากประเทศใกล้เคียงในยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี หรือตุรกี จะมีราคาจำหน่ายระหว่าง 5 - 8 ยูโร (200 - 320 บาท) ต่อ 1 กิโลกรัม เป็นต้น ส่วนเครื่องกระป๋องและของแห้งต่างๆจะ มีราคาสูงกว่าราคาต้นทุนในประเทศไทยโดยเฉลี่ยประมาณ 100 - 400 บาท เป็นค่าขนส่ง ภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม สืบเนื่องจากราคาผักสดของไทยมีราคาสูง จึงมีการดัดแปลงใช้ผักพื้นบ้านและที่นำเข้าจากประเทศใกล้เคียงแทนผักจากไทย สัดส่วนการใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงต่างๆ ที่นำเข้าจากประเทศไทยในอัตราประมาณร้อยละ 70 - 80 ของปริมาณทั้งสิ้นที่ใช้ในแต่ละร้าน นอกจากนี้ ผักสดของไทยมีปัญหาด้านสุขอนามัย มีการพบแมลง สารเคมี ตกค้างมาก สินค้าที่นำเข้าจากไทยจึงถูกตรวจอย่างเข้มงวด ทำให้ตั้งแต่ต้นปี 2554 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีผักสดสำคัญๆ ของไทยเข้าสู่ตลาดเยอรมนีน้อย และมีสินค้านำเข้ามากจากเวียดนาม ลาวและกัมพูชา ซึ่งจากการสอบถามผู้นำเข้าได้ทราบว่า สินค้าเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นผลผลิตของไทยที่ส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ก่อนที่จะส่งต่อไปเยอรมนี เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบ จนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ปรากฏว่าสินค้าไทยที่นำเข้าผ่านประเทศอื่นๆ มีปัญหาถูกห้ามนำเข้า
- ต้องมีวีซ่าถาวรที่อนุญาตให้ประกอบอาชีพได้
- ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการประกอบธุรกิจเช่น ไม่เป็นบุคคลล้มละลายมีสุขภาพสมบูรณ์ไม่เป็นโรคติดต่อใดๆ เป็นต้น
- ต้องผ่านการอบรมทั่วไปของหอการค้าในท้องที่นั้นๆ ในเรื่องการประกอบกิจการร้านอาหาร เกี่ยวกับสถานที่ ด้านความเหมาะสม ความสะอาด สุขอนามัยภายใน ร้าน และในการจัดเตรียมอาหาร รวมทั้งความปลอดภัยของบุคคลในสถานที่ทำงาน
Ordungsamt เจ้าหน้าที่ผู้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการร้านอาหาร Gewerbeaufsichtsamt เจ้าหน้าที่ดูแลความถูกต้องของสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะในด้านสุขอนามัย Berufsgenossenschaft เจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยในระหว่างการทำงาน Gesundheitsamt เจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องการตรวจสุขภาพ และสุขอนามัยของ บุคคลที่เกี่ยวข้องในร้านอาหาร
อนึ่ง เนื่องจากเยอรมนีเป็นประเทศสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 16 แคว้นที่มีการปกครองอย่างอิสระ ชื่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละแคว้นอาจแตกต่างกันบ้าง 2.3 กฎ ระเบียบ สุขอนามัย 1) ด้านความสะอาด
ประเทศเยอรมนีมีกฎ ระเบียบ ด้านสุขอนามัยอาหารและเครื่องดื่มที่เคร่งครัด เจ้าของกิจการร้านอาหารและกิจการที่เกี่ยวข้องกับการขายอาหาร จะได้รับใบอนุญาตประกอบการ เมื่อได้ผ่านการตรวจสอบด้านสุขอนามัย และความสะอาดจาก Gesundheitsamt แล้ว 2) ด้านสถานที่
- มีจำนวนห้องน้ำเพียงพอ เป็นอัตราส่วนตามขนาดของร้าน แยกออกเป็นห้องน้ำหญิง ห้องน้ำชาย เช่น หากพื้นที่ของร้านมีขนาดระหว่าง 150
- 300 ตารางเมตร ต้องมีห้องน้ำหญิง 4 ห้อง ชาย 2 ห้อง
- มีทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ- ด้านความสะอาดของครัว และอุปกรณ์ที่ใช้ จะมีเจ้าหน้าที่จาก Gewerbeaufsichtamt และ Gesundheitsamt มาทำการตรวจสอบดูแลความสะอาดก่อนที่จะเปิดทำกิจการ และเมื่อเปิดทำการปกติ จะมีเจ้าหน้าที่ทั้งสององค์กร มาตรวจสอบเป็นระยะๆ โดยไม่มี การแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- ยื่นคำร้องต่อ Ordnungsamt พร้อมเอกสารเกี่ยวกับสถานที่ที่จะจัดทำเป็นร้านอาหาร เช่น แปลน แผนผังของร้าน สัญญาเช่าร้านเป็นต้น
- เจ้าหน้าที่จาก Gewerbeaufsichtsamt จะทำการตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมของสถานที่ และแจ้งให้ Ordnungsamt ทราบต่อไป
- สำหรับพนักงานที่ประจำอยู่ในครัว ได้แก่ พ่อครัว แม่ครัว รวมทั้งพนักงานล้างจาน จะต้องผ่านการตรวจสุขภาพและมีหนังสือรับรองว่ามีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ ไม่มีโรคติดต่อใดๆ เป็นต้น
2.5 ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ จำนวนเงิน(ยูโร) - เงินลงทุนขั้นต่ำ/งบประมาณในการลงทุนต่อตารางเมตร 5,000
- ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายการขอใบอนุญาตต่างๆ
และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นต้น ประมาณ 1,500.- - ค่าเช่าร้าน/พื้นที่ (ราคา/ตารางเมตร/เดือน) เมืองใหญ่ (ขึ้นอยู่กับที่ตั้ง) 70 - 150.-/ตรม. เมืองเล็กๆ 20 -50.-/ตรม. - ค่าเช่าร้านอาหารจานด่วน 1,500 - 3,000.-/เดือน - ภาษี (ภาษีป้าย ภาษีการค้า สรรพสามิต ภาษีโรงเรือน ฯลฯ) 10-20%
การเป็นเจ้าของร้านไม่มีข้อจำกัดใดๆ เรื่องสัดส่วนคนไทย-คนเยอรมันหรือคนชาติอื่นๆ
- สัดส่วนการร่วมลงทุน
กรณีคนไทยเข้าร่วมทุนเปิดร้านฯ ร่วมกับชาวเยอรมัน แล้วแต่ข้อตกลงเป็นรายๆไป
- เงินลงทุน (โดยประมาณ) ของร้านอาหารประเภทต่างๆ เช่น
ภัตตาคารระดับดี 200,000.- ร้านอาหารระดับกลาง 100,000.- อาหารจานด่วน Corner/Kiosk, all you can eat 50,000 - 75,000.-
- กรณีรับช่วงต่อจากกิจการเดิมที่เคยเป็นร้านอาหารมาก่อน
ร้านทั่วไป 10,000 - 20,000.- ร้านระดับดี 30,000.- - 50,000.- ขึ้นไป 3. หลักเกณฑ์การนำเข้าพ่อครัว แม่ครัว 3.1) คุณสมบัติพ่อครัว แม่ครัว เจ้าของกิจการหรือนายจ้างจะเป็นผู้จัดหาพ่อครัว/แม่ครัวสำหรับร้านของตนเอง โดยว่าจ้างผู้ที่มีใบอนุญาตทำงานที่อาศัยอยู่ในเยอรมนี หรือเดินเรื่องขอคนใหม่จากประเทศไทย ซึ่งจะมีข้อกำหนดสำหรับพ่อครัว/แม่ครัวเรื่องระดับการศึกษา ดังนี้
- ผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 (ป.6) ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
- ผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ปี
- ผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือระดับวิทยาลัย หรือระดับปริญญาตรี ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี
นอกจากนี้ต้องมีความรู้ภาษาเยอรมันและอังกฤษเล็กน้อย และได้ผ่านการทดสอบที่ดำเนิน การโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งตามที่ ZIHOGA สำนักงานจัดหางานสำหรับโรงแรมและภัตตาคารเยอรมนียอมรับ ดังนี้
Dusit Thani College วิทยาลัยดุสิตธานี
902 หมู่ 6 ถนนศรีนครินทร์ ซีคอนสแควร์
บางบอน เขตประเวศ กทม. 10260
โทร: 0066 2 361 7805
แฟกซ์: 0066 2 361 7811 ถึง 3
E-Mail: dtcollege@dtc.ac.th
www.dtc.ac.th
Suan Dusit International Culinary School
โรงเรียนการอาหารนานาชาติ สวนดุสิต
295 ถนนราชสีมา เขตดุสิต กทม. 10300
โทร: 0066 2 668 7450 ถึง 9 ต่อ 1161 , 1171
แฟกซ์: 0066 2 243 5779
E-Mail: chefschool@dusit.av.th
www.chefschool.dusit.ac.th
Thai - Swiss Culinary Education Center
21/848 หมู่ 12 ซอย 4 ถนนบางนาตราด กม. 2
บางนา กทม. 10260
โทร: 0066 2 399 1099
แฟกซ์: 0066 2 749 3933
E-Mail: thaicook@loxinfo.co.th
www.thai-culinary.com
- หนังสือมอบอำนาจให้กรมการจัดหางานเป็นตัวแทนในการจัดส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศ(Power of Attorney)
- หนังสือแสดงความต้องการจ้างคนหางานในตำแหน่งต่างๆ และจำนวนที่ต้องการจ้าง เงื่อนไขการว่าจ้าง โดยระบุตำแหน่ง ประเภท หรือลักษณะของงาน อัตราค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน ระยะเวลาการจ้าง และสวัสดิการอื่นๆ ที่ลูกจ้างจะได้รับ (Demand Letter)
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของนายจ้าง (Company Registration Documentation)
- สัญญาจ้างที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม (Employment Contract) *เอกสารราชการของประเทศนายจ้าง ที่อนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติ ให้เข้าไปทำงานในประเทศนั้นได้ (Document granting permission for the Thai Workers to work in the country)
- พ่อครัวหรือแม่ครัวติดต่อโดยตรงกับทางร้านอาหารที่อยู่ในเยอรมนี
- ติดต่อผ่านกรมจัดหางาน ซึ่งขณะนี้กรมการจัดหางานโดยศูนย์ทะเบียนคนหางาน และการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศโดยรัฐฯ ได้ให้บริการคัดเลือกและจัดส่งคนหางานไปทำงานกับนายจ้างในต่างประเทศ อีกทั้งเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยเสียค่าใช้จ่ายน้อย
พ่อครัวและแม่ครัวที่สนใจจะไปทำงานในประเทศเยอรมนี ต้องจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ยื่นแสดงต่อสถานทูตเยอรมัน เพื่อการออกวีซ่าสำหรับการพำนักในเยอรมนีนานเกิน 90 วัน โดยทางสถานทูตจะส่งคำร้องของท่านไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่รับผิดชอบ เพื่อเสนอพิจารณาอนุมัติวีซ่าต่อไป การพิจารณาจะใช้เวลานาน 2 เดือนหรือมากกว่า ทั้งนี้สถานทูตฯ จะออกวีซ่าให้ได้ก็ต่อเมื่อได้รับคำตอบอนุมัติจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเยอรมนีแล้วเท่านั้น โดยจะมีหนังสือแจ้งผลวีซ่าให้ผู้ยื่นคำร้องขอทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ในขณะเดียวกันพ่อครัวและแม่ครัวสามารถยื่นคำร้องขอให้สถานทูตรับรองเอกสารเหล่านี้ได้ เรียกว่ารับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง โดยไม่จำเป็นต้องมีคำแปลแต่อย่างใด เพราะสามารถแปลในเยอรมนี และยื่นแสดงต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเยอรมนี
หลักฐาน เอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการยื่นขอวีซ่า มีดังนี้
- แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าที่กรอกข้อความครบถ้วน 2 ชุด
- รูปถ่ายสำหรับติดหนังสือเดินทาง 3 รูป *หนังสือเดินทางฉบับจริง
- หลักฐานทางการเงิน แสดงว่าสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ในขณะที่พำนักอยู่ใน เยอรมนี
- หนังสือสัญญาว่าจ้างทำงาน และหนังสือรับรองการทำงานจากนายจ้างเดิม/บริษัทเดิม
- หนังสือรับรองผ่านการทดสอบคุณสมบัติออกโดยบริษัท Thai Swiss Culinary Education Center หรือ Dusit Thani College หรือ Suan Dusit International Culinary School
- ใบรับรองแพทย์
- สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จะต้องแสดงหนังสือยินยอมของบิดามารดาหรือบุคคลที่มี อำนาจปกครองตามกฎหมาย ทั้งนี้เอกสาร / หลักฐาน ทั้งหมดที่ยื่นแสดงต่อสถานทูต จะต้องถ่ายสำเนาอย่างละ 2 ชุด
ค่าธรรมเนียมวีซ่าในขณะนี้ คือ 60 ยูโร จะคิดเทียบเป็นเงินสกุลบาทในวันที่นำหนังสือเดินทางไปขอประทับตราวีซ่า
วีซ่าทำงานเป็นพ่อครัว แม่ครัวมีอายุสูงสุด 4 ปี โดยจะต่ออายุวีซ่าให้แบบปีต่อปีจนครบ 4 ปี เมื่อครบแล้วต้องเดินทางกลับประเทศไทย โดยอาจขอต่อวีซ่าเพื่ออาศัยอยู่ในเยอรมนีได้อีกไม่เกิน 3 เดือน สำหรับเตรียมตัวขนย้ายสำภาระกลับประเทศไทย โดยไม่อนุญาตให้ทำงาน การขอวีซ่าทำงานใหม่จะทำได้เมื่อพ้น 3 ปีไปแล้วนับจากวันที่เดินทางออกจากเยอรมนี 3.4 ค่าแรงและสวัสดิการของพ่อครัว/แม่ครัว 1) ค่าจ้าง
ค่าจ้างของพ่อครัว/แม่ครัวของร้านอาหารต่างๆ ในเยอรมนี ขึ้นอยู่กับเมืองที่ตั้ง เมืองเล็กๆ ค่าครองชีพต่ำ จะมีค่าจ้างต่อเดือนตั้งแต่ 1,000 ยูโรขึ้นไป เมืองใหญ่ๆ จะมีค่าจ้างเดือนละ 1,300 - 2,000 ยูโร ในเงินค่าจ้างนี้ เจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบเรื่องการประกันสังคม ได้แก่ เบี้ยประกันสุขภาพ การประกันการตกงาน ประกันอุบัติเหตุ อีกประมาณ 20% ของเงินค่าจ้าง และในส่วนของพนักงานอีกประมาณ 20% ได้แก่ เบี้ยประกันทางสุขภาพ เงินประกันการว่างงาน เงินบำนาญ และภาษีเงินได้ 2)สวัสดิการของพ่อครัว/แม่ครัว
- อาหารและที่พัก พ่อครัว/แม่ครัว ที่จ้างจากเมืองไทยเจ้าของกิจการส่วนใหญ่ควร จัดเตรียมที่พักไว้ให้ด้วย และอาจมีอาหารให้ทาน 2 - 3 มื้อ
- วันหยุด สัปดาห์ละ 1 วัน
- วันลาพักผ่อน ปีละ 26
- 30 วันทำการ (เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการว่าจ้าง จ้างแรงงานของสหพันธ์ฯ)
อาจหาเพิ่มเติมได้จากสถานที่ดังต่อไปนี้
1. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน (สำนักงานฝ่ายแรงงาน)
Lepsiusstrasse 64/66
12163 Berlin
Tel: +49 (30) 794 81 231, 794 81 232
Fax: +49 (30) 794 81 518
E-Mail: labour_berlin@hotmail.com
Website: http://germany.mol.go.th
2. สมาคมร้านอาหารไทยในเยอรมนีฯ
Thailaendischer Gaststaettenverband Deutschland e.V.
c/o Sala Thai Restaurant
Brandsende 6
20095 Hamburg
Tel: +49 (40) 335 788
Fax +49 (40) 326 738
E-mail: info@thai-restaurant.de
Web site: www. thai-restaurant.de
3. Zentralstelle fuer Arbeitsvermittlung (ZAV) ZIHOGA
Villemombler Str. 76
53123 Bonn
Tel: +49 (0)228 / 713 -10 25
Fax: +49 (0)228 / 713 -11 22
E-Mail: Bonn-ZAV.zihoga@arbeitsagentur.de
Internet: www.arbeitsagentur.de
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน
มิถุนายน 2555