รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าราชอาณาจักรสเปน พฤษภาคม ๒๕๕๕

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 15, 2012 16:36 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าราชอาณาจักรสเปน พฤษภาคม ๒๕๕๕

๑. สถานการณ์เศรษฐกิจ
  • เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ ธนาคารแห่งชาติของสเปนประกาศอย่างเป็นทางการว่าสเปนได้กลับเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้งในรอบสองปี โดยสเปนมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง จากติดลบร้อยละ ๐.๓ ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี ๒๕๕๔ และติดลบร้อยละ ๐.๔ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ปัจจัยหลักได้แก่ การดำเนินนโยบายด้านการคลังอย่างเข้มงวดในการลดค่าใช้จ่ายภาครัฐและอัตราว่างงานที่สูงเป็นประวัติการณ์
  • รัฐบาลของนายราฆอยซึ่งใช้นโยบายด้านการคลังที่เข้มงวดในการตัดลดค่าใช้จ่ายภาครัฐกาลังประสบปัญหาด้านความเชื่อมั่นจากความไม่แน่นอนของนโยบายคลังของประเทศสเปนหลังจากที่ได้ออกมาให้ความเห็นว่าต้องการปรับลดการตัดค่าใช้จ่ายภาครัฐลงให้น้อยกว่าที่ตกลงใว้กับสหภาพยุโรป จากการขาดดุลงบประมาณปี ๒๕๕๔ ที่ร้อยละ ๘.๕ ของรายได้ประชาชาติ ให้เหลือร้อยละ ๕.๘ ในปี ๒๕๕๕ แทนที่เป็นร้อยละ ๔.๔ ส่งผลให้ภาพความไม่แน่นอนด้านนโยบายการคลังของสเปนถูกตั้งข้อสงสัยและอาจก่อให้เกิดการผิดนัดชาระหนี้ตามมา
  • เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๕ สถาบันจัดระดับความเชื่อมั่นด้านการเงิน เอสแอนด์พี ได้ประกาศลดระดับความเชื่อมั่นต่อความสามารถในการชาระหนี้ระยะยาวของประเทศสเปนจาก A ลงเหลือ BBB+ และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสเปนจะถดถอยต่อเนื่องไปอีกสองปี โดยวิจารณ์นโยบายการตัดลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลที่ยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นและยังไม่สามารถควบคุมการใช้จ่ายภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพพอ และเตือนว่ารัฐบาลสเปนจะต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับวิกฤตการเงินการธนาคาร และเตรียมการช่วยเหลือระบบการธนาคารของสเปนที่กำลังประสบปัญหาหนี้เสียจากฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์
  • ไตรมาสแรกของปีนี้สเปนมีคนว่างงานเพิ่มขึ้นอีกจำนวน ๓๖๕,๐๐๐ คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๙ จากช่วงเวลาเดียวกันในปี ๒๕๕๔ ส่งผลให้สเปนมีจำนวนคนว่างงานสูงถึง ๕.๖๔๐ ล้านคนหรือร้อยละ ๒๔.๔ ของแรงงานทั้งหมดในประเทศ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ ๒๐ ปีของสเปนและสูงที่สุดในสหภาพยุโรป ขณะที่ภาครัฐได้ประกาศปรับโครงสร้างการจ้างงานครั้งใหญ่เพื่อให้ธุรกิจสามารถจ้างงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ขณะที่สหภาพแรงงานต่างสร้างแรงกดดันรัฐบาลโดยการประท้วงทั่วประเทศและคาดว่าการนัดหยุดงานครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง
๒. การค้าระหว่างประเทศของสเปน
  • สเปนค้าขายกับประเทศในสหภาพยุโรปมูลค่าสูงถึงสองในสามของมูลค่าการค้าทั้งหมด โดยประเทศคู่ค้าหลักของสเปนได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ ตามลาดับ ขณะที่ประเทศจีนนับเป็นคู่ค้าที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ ๓ สาหรับประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกไปยังสเปนสูงเป็นอันดับที่ ๕๒ และสเปนส่งออกมายังไทยเป็นอันดับที่ ๕๗
ตาราง๑. ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสเปน
                                      2009     2010      2011       2012       2011 Q4      2012 Q1
                                                                  Forecast                 Forecast
Macroeconomic figures
1. GDP Growth (Year on Year)          -3.7     -0.1       0.7       -1.0           0.3        -0.5
2. Household consumptio n             -4.3      0.7      -0.1       -1.5          -1.1        -1.2
3. Public consumption                  3.3      0.2      -2.2       -6.2          -3.6        -6.8
4. Investment in Construction        -11.9    -10.1      -8.1      -10.0          -8.2       -10.1
5. Investment in Capital Goods       -24.5      5.5       1.6       -5.3          -2.7        -6.2
6. Exports of Goods and Services     -11.3     13.5       9.1        0.5           5.2         2.0
7. Imports of Goods and  Services    -17.5      8.9      -0.1       -9.3          -5.9        -9.7
Other  varia bles
8.Unemployment  (% labour force)      18.0     20.1      21.6       24.1          22.9        24.4
9. Consumer price index               -0.3      1.8       3.2        1.6           2.8         1.9
Source : La Caixa, The Span ish Economy, Monthly Report, March 2012

          - การค้าต่างประเทศยังคงเป็นแหล่งรายได้หลักของสเปน ในปี ๒๕๕๔ สเปนมีมูลค่าการค้ารวม ๖๕๘,๘๙๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นส่งออก ๒๙๖,๕๙๓.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ ๑๖.๕ นำเข้ามูลค่า ๓๖๒,๒๙๘.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ ๑๐.๗ ส่งผลให้สเปนขาดดุลการค้ามูลค้า ๖๕,๗๐๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
          - ในเดือนมกราคม ๒๕๕๕ สเปนมีมูลค่าการค้ารวม ๔๘,๗๘๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นยอดส่งออกรวม ๒๒,๐๗๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี ๒๕๕๔ ร้อยละ ๒.๔นาเข้า ๒๖,๗๐๗ ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ ๑๐.๔ ขาดดุลการค้า ๔,๖๓๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
          - สินค้าส่งออกหลักของสเปน ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักร น้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ เวชกรรม พลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า ผลไม้และถั่วชนิดต่างๆ และผักสด ตามลาดับ
          - สินค้านำเข้าหลักของสเปน ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักร เครื่องจักร ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เวชกรรม เหล็กและเหล็กกล้า พลาสติก เคมีภัณฑ์ ตามลำดับ

๓. การค้าไทย-สเปน
          - ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจทั้งในสหภาพยุโรปและสเปนตลอดจนเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทยในช่วงปลายปี ๒๕๕๔ ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกของไทยมายังสเปนอย่างชัดเจน มูลค่าการส่งออกของไทยมายังสเปนในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๕ ลดลงถึงร้อยละ ๓๖.๖ มีมูลค่า ๒๒๑.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบได้แก่สินค้า ยางพารา (ลดลงร้อยละ ๕๒.๖) เครื่องนุ่งห่ม (ลดลงร้อยละ ๔๔.๓) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ (ลดลงร้อยละ ๖๓.๖) และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ลดลงร้อยละ ๒๑.๖)
          - ทั้งนี้จากการสอบถามสถานการณ์นำเข้าจากผู้นำเข้ารายใหญ่ ในช่วงต้นปี ๒๕๕๕ พบว่าการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยในกลุ่มอาหารสำเร็จรูป อาหารทะเล สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เริ่มมีการส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อได้เป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตามสภาพเศรษฐกิจที่ชะงักงันของสเปนในปี ๒๕๕๕ ยังคงส่งผลให้ธุรกิจการค้าโดยทั่วไปยังคงเงียบเหงา

ตาราง ๒ สถิติการค้าระหว่างไทย-สเปน
                                                                                หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปี                   ปริมาณการค้ารวม                  ส่งออก                นำเข้า            ดุลการค้า
                    มูลค่า     สัดส่วน     %        มูลค่า       %         มูลค่า      %
๒๕๕๑ (๒๐๐๘)     ๑,๘๗๕.๕        ๐.๕    ๘.๓     ๑,๓๔๓.๐     ๑.๗      ๕๓๒.๕     ๒๙.๗        ๘๑๐.๔
๒๕๕๒ (๒๐๐๙)     ๑,๑๘๙.๒        ๐.๔  -๓๖.๕       ๗๙๔.๘   -๔๐.๘      ๓๙๔.๔    -๒๕.๙        ๔๐๐.๔
๒๕๕๓ (๒๐๑๐)     ๑,๕๘๗.๒        ๐.๔   ๓๓.๔     ๑,๑๒๑.๓    ๔๑.๐      ๔๖๕.๙     ๑๘.๑        ๖๕๕.๔
๒๕๕๔ (๒๐๑๑)     ๑,๗๐๑.๐        ๐.๔    ๗.๗     ๑,๑๒๙.๔     ๐.๗      ๕๗๑.๖     ๒๒.๖        ๕๕๗.๘
๒๕๕๕ (๒๐๑๒)      ๓๙๙.๓๖        ๐.๓  -๑๖.๕       ๒๒๑.๔   -๓๖.๖      ๑๗๗.๙     ๓๗.๗         ๔๓.๕
ม.ค. - มี.ค.
มูลค่าการค้า
  • สเปนเป็นคู่ค้าของไทยที่มีมูลค่าการค้าสูงเป็นอันดับที่ ๗ ของไทยในตลาดสหภาพยุโรป ในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมามูลค่าการค้าสองฝ่ายลดลงอย่างมาก จากมูลค่า ๑,๘๗๕.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี ๒๕๕๑ ลดลงเหลือ ๑,๑๘๙.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี ๒๕๕๒ หรือลดลงถึงร้อยละ ๓๖.๕ สาเหตุหลักจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
  • ในปี ๒๕๕๓ มูลค่าการค้ากลับมาขยายตัวถึงร้อยละ ๓๓.๔ ที่มูลค่า ๑,๕๘๗.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ในปี ๒๕๕๔ อัตราการขยายตัวเริ่มชะลอตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนตัวอันเป็นผลมาจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย ส่งผลให้มูลค่าการค้าสองฝ่ายขยายตัวเพียงร้อยละ ๗.๑ มูลค่า ๑,๗๐๑.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • ในช่วง ๓ เดือนแรกของปี ๒๕๕๕ มูลค่าการค้าสองฝ่ายยังคงลดลงที่ร้อยละ ๑๖.๕ มูลค่า ๓๙๙.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออก
  • สเปนเป็นตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงเป็นลาดับที่ ๓๑ ของไทย มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสเปนในปี ๒๕๕๓ ขยายตัวถึงร้อยละ ๔๑ ที่มูลค่ารวม ๑,๑๒๑.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • ในปี ๒๕๕๔ มูลค่าการส่งออกของไทยยังขยายตัวเพียงร้อยละ ๐.๗ มีมูลค่า ๑,๑๒๙.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในช่วง ๓ เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกของไทยยังคงลดลงถึงร้อยละ ๓๖.๖ มูลค่า ๒๒๑.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ สินค้าในกลุ่มวัตถุดิบ ได้แก่ ยางพารา เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน รถยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ เลนส์ และสินค้าในกลุ่มอาหาร ได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง ผลไม้แปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง นอกจากนี้สเปนยังเป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทยในยุโรป
ตาราง ๓ สินค้าส่งออกของไทยไปสเปน

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

                                                    มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
        รายการ                    ๒๕๕๒      ๒๕๕๓       ๒๕๕๔        ๒๕๕๕       % D ๕๔/๕๕
                                                                ม.ค.-มี.ค.      ม.ค.-มี.ค.
1. ยางพารา                        ๕๐.๕     ๑๓๐.๑      ๑๘๖.๕        ๓๔.๐        -๕๒.๖
2. เครื่องนุ่งห่ม                     ๑๔๘.๑     ๑๗๔.๓      ๑๔๔.๖        ๒๕.๒        -๔๔.๓
3. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ      ๘๐.๒     ๑๔๓.๕      ๑๑๔.๘        ๑๙.๗        -๖๓.๖
4. เคมีภัณฑ์                         ๔๐.๙      ๒๙.๓       ๕๓.๐        ๑๐.๙         ๒๖.๒
5. รถยนต์และส่วนประกอบ              ๑๗.๓      ๖๑.๕       ๕๓.๙        ๑๐.๕        -๒๑.๖
6. ผลิตภัณฑ์ยาง                      ๓๐.๑      ๓๙.๘       ๕๑.๖        ๑๐.๓        -๑๒.๓
7. เม็ดพลาสติก                      ๑๓.๑      ๑๖.๒       ๒๙.๔         ๘.๔        -๓๗.๙
8. เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ     ๒๒.๖      ๒๗.๒       ๒๕.๔         ๘.๒         ๑๑.๕
9. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป             ๒๔.๓      ๓๐.๒       ๔๐.๓         ๘.๐        -๑๔.๒
10. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์         ๑๕.๗      ๑๗.๙       ๒๙.๒         ๖.๖         ๒๕.๗
รวม     10  รายการ               ๔๔๒.๘     ๖๖๙.๙      ๗๒๘.๗       ๑๔๑.๘        -๔๑.๐
มูลค่ารวม                          ๗๙๔.๘   ๑,๑๒๑.๓    ๑,๑๒๙.๔       ๒๒๑.๔        -๓๖.๖
หมายเหตุ :   สัดส่วน  =  การค้าสองฝ่ายต่อการค้ารวมของไทยทั้งหมด   %D = % การเปลี่ยนแปลง

การนำเข้า
          - มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสเปนของไทยในปี ๒๕๕๓ ขยายตัวร้อยละ ๑๘.๑ มีมูลค่ารวม ๔๖๕.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
          - สำหรับปี ๒๕๕๔ มูลค่าการนำเข้าจากสเปนของไทยขยายตัวร้อยละ ๒๒.๖ มูลค่า ๕๗๑.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในช่วง ๓ เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการนำเข้าจากสเปนยังคงขยายตัวที่ร้อยละ ๓๗.๗ โดยสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากสเปนคือสินค้าทุนและวัตถุดิบเป็นหลัก ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์ และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และสินค้าในกลุ่มอาหาร ได้แก่ อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้

          ดุลการค้า ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ในปี ๒๕๕๓ ไทยได้เปรียบดุลการค้าจากสเปน ๖๕๕.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี ๒๕๕๔ ไทยได้เปรียบ ๕๕๗.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไทยยังคงได้เปรียบดุลการค้าสเปนมูลค่า ๔๓.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๕

ตาราง ๔ สินค้านำเข้าจากสเปนของไทย
                                                                      มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
                                                    มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
        รายการ                    ๒๕๕๒      ๒๕๕๓       ๒๕๕๔        ๒๕๕๕       % D ๕๔/๕๕
                                                                ม.ค.-มี.ค.      ม.ค.-มี.ค.
1. เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์         ๑๘.๐      ๒๒.๕       ๒๑.๖        ๒๖.๕         ๕๑๑.๒
2. เครืองจักรและส่วนประกอบ           ๔๐.๙      ๕๕.๑       ๖๕.๐        ๒๒.๑          ๖๐.๑
3. เคมีภัณฑ์                         ๕๓.๕      ๗๕.๖       ๖๙.๘        ๑๗.๕           ๑.๐
4. ผลิตภัณฑ์โลหะ                     ๑๖.๒      ๒๕.๖       ๔๖.๗        ๑๔.๕          ๘๓.๓
5. ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม       ๔๘.๘      ๔๓.๓       ๔๖.๐        ๑๒.๙          ๑๕.๖
6. สัตว์น้ำแช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูป       ๒๕.๒      ๓๐.๕       ๗๐.๙        ๑๐.๘          ๗๑.๗
7. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน                ๔.๓       ๔.๓        ๔.๘        ๑๐.๔         ๗๔๖.๙
8. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์        ๑๘.๓      ๒๐.๗       ๒๔.๘         ๗.๒          ๔๗.๓
9. พืขและผลิตภัณฑ์ที่ทาจากพืช            ๑๔.๙      ๑๙.๑       ๑๙.๕         ๕.๔           ๘.๓
10. สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์             ๑.๙       ๖.๒       ๑๒.๙         ๕.๐          ๗๓.๖
รวม     10  รายการ                 ๒๔๒     ๓๐๒.๘      ๓๘๑.๙       ๑๓๒.๒          ๗๖.๘
มูลค่ารวม                          ๓๙๔.๔     ๔๖๕.๙       ๕๗๑.๖      ๑๗๗.๙          ๓๗.๗
หมายเหตุ :       สัดส่วน  =  การค้าสองฝ่ายต่อการค้ารวมของไทยทั้งหมด    %D   = % การเปลี่ยนแปลง
ที่มา สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากรมศุลกากร

๔. สินค้าที่มีศักยภาพ
          - ขณะที่ยางพาราและสินค้าอุตสากรรมจากไทยมีมูลค่าการส่งออกลดลงอย่างมากตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๔ สินค้าที่ยังคงมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดี ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า เส้นใยประดิษฐ์ และอัญมณีและเครื่องประดับ
          - สินค้าอาหารที่มีศักยภาพ ได้แก่ สินค้าในกลุ่มอาหาร เช่น ข้าวหอมมะลิ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
          - อาหารไทยเริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันมีร้านอาหารไทยในสเปน ยังคงมีจำนวนเพียง ๔ ร้านในกรุงมาดริดและประมาณ ๒๐ ร้านในสเปนและมีซุปเปอร์มาเก็ตเอเชียจานวน ๔ ร้านในกรุงมาดริดซึ่งทั้งหมดมีเจ้าของเป็นชาวจีนและมีสินค้าอาหารไทยวางจำหน่ายไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตาม สินค้าอาหารไทยยังคงก็มีลู่ทางขยายตลาดได้อีกมาก ทั้งนี้ การสนับสนุนให้มีการสร้าง supply chain จึงน่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางการส่งออกสินค้าอาหาร และส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยในการใช้วัตถุดิบจากประเทศไทยในราคาที่ถูกลงได้
          - สินค้าอาหารสำเร็จรูปแบบอุ่นในเตาไมโครเวฟกำลังเป็นที่นิยมสูงขึ้นเรื่อยๆซึ่งปัจจุบันเริ่มมีธุรกิจของไทยเข้ามาเปิดกิจการค้าปลีกสินค้าในกลุ่มนี้มากขึ้น โดยรายการอาหารที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ผัดไทยกุ้งสด ข้าวราดแกงเขียวหวาน เกี๊ยวน้ำ เป็นต้น
          - ผลิตภัณฑ์ สปาและธุรกิจสปา/นวดแผนไทยมีลู่ทางขยายตลาดและธุรกิจได้ดี โดยเฉพาะ ณ สถานที่ ท่องเที่ยวและสนามกอล์ฟชั้นนาในสเปน
          - เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าเป็นสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดค้าปลีกสเปน โดยการส่งออกเกือบทั้งหมดเป็นการรับจ้างผลิตและส่งออกภายใต้แบรนด์ของสเปน ทั้งแบรนด์ในกลุ่มตลาดราคาปานกลาง เช่น แบรนด์ Fantastica ซึ่งสั่งตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปและรองเท้าสตรีจากไทย รวมถึงแบรนด์ที่มีชื่อเสียงของสเปน ได้แก่ ZARA, Mango, Mussimo Dutti เป็นต้น โดยสินค้าจากไทยได้รับการยอมรับในด้านความปราณีตของการตัดเย็บในราคาที่เหมาะสม
          - สินค้าเครื่องหนัง ได้แก่ กระเป๋าหนังสตรี กระเป๋าสตางค์ เข็มขัดและเครื่องหนังอื่นๆ นับเป็นสินค้าที่มีศักยภาพของไทยอีกกลุ่มหนึ่งในการเข้าสู่ตลาดค้าปลีกของสเปน โดยที่ผ่านมามีธุรกิจสเปนแสดงความประสงค์จะร่วมธุรกิจกับไทยจำนวนหลายราย


                                                                  สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริด
                                                                                             พฤษภาคม ๒๕๕๕

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ