ข้อมูลการจัดตั้งร้านอาหารและภัตตาคารในประเทศราชอาณาจักรสเปน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 18, 2012 14:30 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลการจัดตั้งร้านอาหารและภัตตาคารในประเทศราชอาณาจักรสเปน

๑. ข้อมูลทั่วไป

ปัจจุบันนี้ร้านอาหารไทยยังคงมีน้อยมาก เช่น ในกรุงมาดริดที่มีประชากรประมาณห้าล้านคน มีร้านอาหารไทยอยู่ประมาณ ๑๐ แห่ง เนื่องจากอาหารไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายและยังไม่เป็นที่นิยมของชาวสเปนส่วนมากที่บริโภคอาหารรสไม่จัด ยกเว้นชาวสเปนที่ได้เคยเดินทางไปประเทศไทยและได้ลองบริโภครสชาติอาหารไทยมาแล้วเท่านั้น ดังนั้น จึงทำให้มีโอกาสสูงสาหรับการลงทุนเปิดร้านอาหารไทยในสเปน

๒. ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม

กรุงมาดริด บาร์เซโลนา เซบิญา บิลเบา มะละกา หมู่เกาะบาเลอาริก (Palma de Marllorca และ Ibiza) หมู่เกาะคานารี (Tenerife และ Las Palmas de Gran Canaria)

๓. กฎระเบียบสุขอนามัย

๓.๑ พนักงานทุกคนต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบ การรักษาความสะอาด การเก็บรักษาอาหารจาก Conselleria de Sanidad แห่งกระทรวงสาธารณสุข และได้รับใบรับรองว่าได้ผ่านการอบรมสาหรับแสดงต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกครั้งที่มีการเข้าไปตรวจสอบ

๓.๒ การเก็บรักษาเนื้อสัตว์ ผักสด และอาหารแช่แข็งนั้น ร้านอาหารจะต้องมีตู้เย็นแบ่งประเภท ดังนี้

  • ตู้แช่เนื้อสัตว์ อุณหภูมิ ๔ องศาเซลเซียส
  • ตู้แช่ผักสด อุณหภูมิ ๗ องศาเซลเซียส
  • ตู้แช่แช็งสำหรับอาหารแช่แข็ง

๓.๓ อุปกรณ์ครัวต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานครัวอุตสาหกรรม

๓.๔ เจ้าหน้าที่ของกระทรางสาธารณสุขสามารถขอเข้าตรวจสอบร้านอาหารและภัตตาคารได้ทุกเวลา โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า การตรวจสอบร้านอาหารและภัตตาคารที่ปฏิบัติถูกกฎระเบียบจะทำปีละ ๒ ครั้ง ส่วนร้านอาหารและภัตตาคารที่พบว่าทาผิดกฎระเบียบอาจถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดจนกว่าจะมีการแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย

๓.๕ การลงโทษ ขั้นแรกจะตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ขั้นที่สองจะตักเตือนและปรับ ส่วนขั้นสุดท้ายจะปรับปละสั่งปิดกิจการ

๔. หลักเกณฑ์และเอกสารการขอใบอนุญาตเปิดกิจการร้านอาหารและภัตตาคารไทย

๔.๑ ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย เพื่อขอออกวีซาประเภทธุรกิจ และเตรียมเอกสาร ดังนี้

  • รูปถ่าย ๔ ใบ
  • Bank Statement
  • จดหมายเชิญหรือหลักฐานการทาธุรกิจของตัวเอง

๔.๒ เมื่อได้รับวีซาประเภทธุรกิจ ๔๕ วัน ในการเข้าประเทศราชอาณาจักรสเปนแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องติดต่อสานักงานทนายความที่มีการทางานครบวงจร โดยมีฝ่ายนิติกร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายภาษี และฝ่ายแรงงาน และเตรียมเอกสาร ดังนี้

  • สำเนาหนังสือเดินทางพร้อมต้นฉบับ
  • สำเนาวีซา
  • ใบรับรองประวัติจากกรมตารวจ
  • ใบรับรองแพทย์ หลักฐานเงินลงทุน
  • ใบแสดงการประกันสุขภาพ
  • ยื่นคาร้องขอใบสาคัญถิ่นที่อยู่ (Residencia)
  • รูปถ่าย ๔ ใบ
๕. ข้อมูลทางกฎหมายกฎระเบียบการจ้างงาน

๕.๑ การเข้าทำงานในประเทศราชอาณาจักรสเปนนั้นปกติใช้สำนักงานทนายความเป็น ตัวแทนในการยื่นคำร้องขอต่อกระทรวงแรงงานของสเปน โดยยื่นผ่านสถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ ๒๓ อาคารเลครัชดา ถนนรัชดาภิเษก โทร. ๐- ๒๖๖๑-๘๒๘๔-๘ เวลาทำการตั้งแต่ ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์

๕.๒ การจะเดินทางไปทำงานในสเปนสามารถขึ้นทะเบียนโครงการของศูนย์พัฒนาอาหารไทยและครัวไทยสู่ครัวโลก โทร. ๐-๒๙๓๘-๑๑๐๒

๕.๓ ผ่านบริษัทจัดหางานทั่วไปที่จดทะเบียนถูกต้องต่อกรมการจัดหางาน และเสียค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้แก่บริษัทจัดหางานตามที่กฎหมายกำหนด

๖. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๖.๑ Ministerio de Trabajo y Asunto s Sociales (กระทรวงแรงงานและกิจการสังคม) ใบอนุญาตทางาน บัตรประกันสังคม (Instituto Nacional de Seguridad Social จากสำนักงานสาขาที่จะตั้งร้านอาหาร)

๖.๒ Ministerio de Economia y Hacienda (กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง) บัตรประจาตัวผู้เสียภาษี (C.I.F.)

๖.๓ Registro Mercantil (สำนักงานทะเบียนการค้าของเมืองหรือเขตที่จะตั้งร้านอาหาร) ทะเบียนการค้า

๖.๔ Ayuntamiento (เทศบาลหรือสาขาเทศบาลเมืองที่จะตั้งร้านอาหาร) ขอความเห็นชอบแบบแปลนร้านอาหาร

๖.๕ Consejeria de Turismo (กระทรวงการท่องเที่ยว) ขอใบอนุญาตประกอบกิจการ (expediente de apertura หรือ comunicac i๓n de apertura o reanudaci๓n de la actividad) เมื่อให้ความเห็นชอบเมนูอาหารและราคา และตรวจสอบร้านอาหารแล้ว

๗. ค่าใช้จ่ายต่างๆ

_________________________________________________________________________________

                      ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ                                จำนวนเงิน (ยูโร)

_________________________________________________________________________________

                    - เงินลงทุนขั้นต่ำ                                         ๖๐,๐๐๐ ยูโร
                    - ค่าใช้จ่ายในการทำใบอนุญาตถิ่นที่อยู่ (Residencia)             ๑,๓๐๐ ยูโร
                    - ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ                                      ๖,๐๐๐ ยูโร
                    - ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการค้า                             ร้อยละ ๑๐ ของทุนจดทะเบียน
                    - ค่าประกันสังคมของผู้ลงทุนขั้นต่ำคนละประมาณ                   ๒๐๐ ยูโร/เดือน
                    - ค่าเช่าร้านเดือนละ                                      ๒๐ ยูโร/ตร.ม.
                    - ภาษีการค้าประมาณขั้นต่ำ                                  ๑,๐๐๐ ยูโร/ปี
                    - ภาษีค่าเช่า                                            ร้อยละ ๑๘ (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
                    - ภาษีรายได้                                            ร้อยละ ๒๐ ของรายได้

_________________________________________________________________________________

                      การลงทุนเปิดร้านอาหารไทย                               จำนวนเงิน (ยูโร)

_________________________________________________________________________________

  • ไม่จำเป็นต้องมีผู้ร่วมลงทุน
  • เงินลงทุน (โดยประมาณ) ของร้านอาหารประเภทต่างๆ เช่น
                       *  ภัตตาคารระดับดี                                    ๑๒๐,๐๐๐ ยูโรขึ้นไป
                           *  ภัตตาคารระดับกลาง                             ๖,๐๐๐-๑๒๐,๐๐๐ ยูโร
                           *  อาหารจานด่วน                                 ๓,๐๐๐-๖,๐๐๐ ยูโร

_________________________________________________________________________________

๘. หลักฐานการนำเข้าพ่อครัว แม่ครัวและการขอใบอนุญาตทางาน

๘.๑ นายจ้างหรือส่วนใหญ่ใช้สำนักงานทนายความเป็นตัวแทนดำเนินการยื่นคาร้องขอต่อกระทรวงแรงงานของสเปนโดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้

เอกสารของลูกจ้างคนไทย ได้แก่

  • สำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้า จำนวน ๔ ชุด
  • รูปถ่ายพื้นสีขาว จำนวน ๔ ใบ เอกสารของนายจ้างสเปน ได้แก่
  • สัญญาว่าจ้างทางาน จำนวน ๔ ชุด
  • บัตรประจำตัวของบริษัท
  • ผู้มีอานาจลงนามแทนบริษัท
  • หนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจ้างและเหตุผลของการจ้างคนไทย
  • หลักฐานการจ่ายภาษีของบริษัท
  • หลักฐานการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมให้กับลูกจ้าง

๘.๒ เมื่อกระทรวงแรงงานรับเรื่องแล้วจะประทับตราเอกสารทุกใบและคืนให้กับนายจ้าง ๑ ชุด โดยนายจ้างจะส่งเอกสารที่ได้รับการประทับตราไปให้ลูกจ้างที่ประเทศไทย ลูกจ้างหรือตัวแทนจะยื่นคาร้องขอ วีซาต่อสถานเอกอัครราชทูตสเปนประจาประเทศไทย พร้อมกับเอกสารดังกล่าวโดยเพิ่มเอกสารดังนี้

  • รูปถ่าย ๔ ใบ
  • ใบรับรองแพทย์
  • ใบรับรองการตรวจสอบประวัติจากกรมตำรวจ

๘.๓ หลังจากสถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทยได้รับคำร้องแล้วจะประทับตราบนเอกสารทุกใบแล้วคืนให้กับลูกจ้างหรือตัวแทน และลูกจ้างหรือตัวแทนจะต้องส่งเอกสารดังกล่าวไปให้นายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างที่สเปน เพื่อให้ดำเนินการไปยื่นต่อกระทรวงแรงงานของสเปนอีกครั้งหนึ่ง และรอการพิจารณาของกระทรวงแรงงานอีกประมาณ ๓ เดือน ยกเว้นหากเป็นช่วงฤดูร้อนอาจใช้เวลารอนานกว่านั้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริด

พฤษภาคม ๒๕๕๕


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ