ตลาดสินค้าอาหารของประเทศฝรั่งเศส

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 18, 2012 16:50 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตลาดสินค้าอาหารของประเทศฝรั่งเศส

1. การผลิต
1.1 เกษตรกรรมของประเทศฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสถือเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรชั้นนำในสหภาพยุโรป จากสถิติเมื่อปีพ.ศ.2550 พบว่าประเทศฝรั่งเศสมีแหล่งผลิตสินค้าเกษตรจำนวนถึง 326,000 โดยร้อยละ73 เป็นพื้นที่เพาะปลูกที่มีขนาดน้อยกว่า 100 เฮกตาร์ จำนวนเกษตรกรมีประมาณ 700,000 คน ซึ่งคิดเป็นจำนวนประมาณ ร้อยละ 2.7 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด

แหล่งผลิตสินค้าเกษตรแบ่งเป็นประเภทดังนี้

          การเพาะ/ขยายพันธุ์สัตว์         ร้อยละ 41
          ธัญพืชและผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช        ร้อยละ 23
          ไวน์                        ร้อยละ 13
          ผลไม้                       ร้อยละ 3

พืชสวนและตลาดการตกแต่งสวน ร้อยละ 3

การปลูกพืชที่หลากหลายและอื่นๆ ร้อยละ 17

พื้นที่เกษตกรรมทั้งหมดมีจำนวน 29.4 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งรวมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกจำนวน 18.3 ล้านเฮกตาร์ มูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร (ไม่รวมเงินอุดหนุน) มีทั้งหมด 65,700 ล้านยูโร ในปีพ.ศ.2553 คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของ GDP ประเทศฝรั่งเศส

ผลผลิตหลักทางการเกษตรภายในประเทศ (พ.ศ.2553)

ธัญพืชและผลิตภัณฑ์น้ามันพืช ได้แก่

              -  ข้าวสาลี                35.6    ล้านตัน
              -  ข้าวสาลี durum          2.5     ล้านตัน
              -  ข้าวบาเลย์              10.1    ล้านตัน
              -  ข้าวโพด                14.0    ล้านตัน
              -  ข้าว                   120,170 ตัน
              - เมล็ดพันธุ์ rape           4.8     ตัน
              - ทานตะวัน                1.6     ตัน
              - ถั่วเหลือง                140,059 ตัน

พืชอุตสาหกรรม ได้แก่

  • ผัก Beet (สำหรับทาน้ำตาล) 31.8 ล้านตัน
              - น้าตาลอ้อย               2.8    ล้านตัน
              - มันฝรั่ง (รวมทั้งแป้ง)       6.6    ล้านตัน

ผลไม้และผัก ได้แก่

              - ผลไม้                   3.2    ล้านตัน
              - ผัก                     5.8    ล้านตัน
              - ไวน์                    4,542  ล้านลิตร

ปศุสัตว์ ได้แก่

              - วัว                     19.6   ล้านตัว
              - หมู                     14.5   ล้านตัว
              - แพะ                    1.3    ล้านตัว
              - แกะ                    8.0    ล้านตัว
              - ไก่                     192.9  ล้านตัว

อื่นๆ ได้แก่

              - นม                     23,800 ล้านลิตร
              - ไข่                     11,930 ล้านฟอง
ที่มา : Agreste, กระทรวงการเกษตร

1.2 การประมงของประเทศฝรังเศส

จากการสำรวจล่าสุดโดย France Agrimer (องค์การประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าฝรั่งเศส) ในปี พ.ศ.2552-2553 ผลผลิตทางการประมง ได้แก่

                    - Fresh Landings           305,000  ตัน
                    - การเลี้ยงหอย               186,300  ตัน
                    - Frozen landings          154,720  ตัน
                    - การเพาะเลี้ยงปลา            49,960  ตัน

1.3 อุตสาหกรรมอาหารฝรั่งเศส

อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งผลผลิตมีมูลค่า 143,130 ล้านยูโร ในปี พ.ศ.2553 คิดเป็นร้อยละ 7.9 ของ GDP ประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นแหล่งจ้างงานรายใหญ่ที่สุดในภาคอุตสาหกรม โดยมีจำนวนแรงงาน 550,000 คน บริษัทผู้ผลิตอาหารของฝรั่งเศสมากกว่า 30 บริษัท มียอดขายมากกว่า 1,000 ล้านยูโร ซึ่งมีบริษัทรายใหญ่ ได้แก่ กลุ่ม Danone (ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำดื่มบรรจุขวด ธัญพืชและขมปังกรอบ) กลุ่ม Lactails (ผลิตภัณฑ์จากนม) Pernod Ricard (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์) Nestle France, Bongrain (ผลิตภัณฑ์จากนม) Cereol (น้ำมันพืช ) Terrena (นมและเนื้อ) Sodiaal (นมและผลิตภัณฑ์จากนม) กลุ่ม Soufflet (อาหารธัญพืช ) Roquette Freres (อาหารเด็ก ขนมหวาน ซุป ซอส) และ Pomona (ผักและผลไม้สดและแช่แข็ง อาหารทะเล)

ผลผลิตอาหารของฝรังเศส
1,000 ตัน ยกเว้นตามที่ระบุ (1,000 tons unless spec ified)
ผลิตภัณฑ์ธัญพืช (CEREAL PRODUCTS)                                2551       2552       2553
ข้าวสาร (Rice)                                              120.6      108.6      114.3
ข้าวลาลี หรือแป้ง (meslin Wheat  or meslin flour)            3,737.6    4,185.0    3,695.3
แป้งธัญพืชอื่นๆ (Other cereal flo ur)                           119.9       95.7       99.1
ธัญพืชสาหรับทาขนมปัง เค้ก และขนมอบ                              140.6      156.8      156.3
 (Cereal preparation for  bread, cakes, pastry, etc.)
ขนมปังสด (Fresh b read)                                   1,258.8    1,211.6    1,245.3
เค้ก และผลิตภัณฑ์ขนมอบ (Cakes  and pastry products)          1,001.3    1,026.3    1,103.4
บิสกิตหวาน วาฟเฟิล และขนมที่ใกล้เคียงกัน                            57.9       57.9       62.6
 (Sweet biscu its, wafflles and the  like )
ผลิตภัณฑ์เนื้อและเนื้อสด (FRESH MEAT AND MEAT PRODUCTS)            2551       2552       2553
เนื้อวัวสดและเนื้อวัวแช่เย็น (Fresh  or ch illed bovine meat)    1,093.2    1,047.3    1,065.8
เนื้อหมูสดและเนื้อหมูแช่เย็น(Fresh or chilled pork)              1,843.4    1,793.7    1,805.2
เนื้อลูกแกะหรือเนื้อแกะสดและเนื้อลูกแกะหรือเนื้อแกะแช่เย็น               111.1      100.3       95.9
 (Fresh or chilled lamb or sheep)
เครื่องในสัตว์ที่รับประทานได้ สดและแช่เย็น                           196.1      231.7      222.8
 (Edible offal, fresh or chilled)
เนื้อวัวแช่แข็ง (Frozen bovine meat)                            310.6      298.2      313.7
เนื้อหมูแช่แข็ง (Frozen pork)                                   307.1      258.2      232.4
เนื้อสัตว์ปีกสด หรือเนื้อสัตว์ปีกแช่เย็น (Fresh or chilled poultry meat)970.9      924.5      914.3
เนื้อสัตว์ปีกแช่แข็ง (Frozen poultry m eat)                       428.7      416.3      415.2
ไส้กรอก และผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน (Sausage and simila r products)    396.4      399.1      372.2
การเตรียมเนื้อสัตว์ปีก (Poultry meat preparation)                164.6      172.0      173.5
แฮม และผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่คล้ายกัน                                  252.1      250.9      252.7
  ( Hams and  similar prepared meat of swine)
อาหารสำเร็จรูปทาจากเนื้อสัตว์                                    614.1      591.4      490.7
 (Ready to eat meals based on meat)
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (SEAFOOD PRODUCTS)                          2551       2552       2553
ชิ้นเนื้อปลาสด (Fresh fish fillet)                              89.1       93.8      100.9
อาหารสำเร็จรูปทาจากอาหารทะเล                                 128.2      118.7      120.7
 (Ready-to-eat meals based on seafood )
ปลาทูน่ากระป๋อง (Canned  tuna)                                 37.6       35.6       22.7
ปลาแซลม่อนรมควัน (Smoked salmon)                              30.6       32.6         NA
ผลิตภัณฑ์จากนม (DAIRY PRODUCTS)                                2551       2552       2553
นม (Milk)                                                4,469.6    4,261.9         NA
เนยแข็ง (Cheese)                                          1,946.3    1,917.7         NA
ไข่ (Eggs)                                                  874.0      842.0      875.0
เนย (Butter)                                               437.7      415.1         NA
ผลิตภัณฑ์น้ำมันและไขมัน (OILS AND FATS)                           2551       2552       2553
ไขมันหมูและน้ำมันหมู (Pig fats and lard)                        145.2      147.6      152.4
ไขมันวัว (Bovine fats)                                       213.3      217.0      249.3
ไขมันสัตว์ปีก (Poultry fats)                                    68.1       63.7       54.5
น้ำมันพืช (Vegetable o il)
เนยเทียม (Margarin e)                                        91.5       92.5       82.6
ผลไม้แปรรูป (PREPARED OR PRESERVED FRUITS)                    2551       2552       2553
ผลไม้อบแห้ง (Dried fruits)                                      NA       35.2         NA
ผลไม้กระป๋อง (Canned f ruit)                                  50.0       54.5       51.2
ผักไม้แปรรูป (PREPARED OR PRESERVED VEGETABLES)                2551       2552       2553
มันฝรั่งแช่แข็งสำเร็จและแช่อิ่ม                                     331.9      297.7      284.1
 (Frozen potatoes , prepared or preserved (1,000 tons))
ผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ รวมถึงมั่นฝรั่งทอด                               126.4      119.3      120.6
 (Other prepared potatoes  incl. c risp.)
ถั่วและถั่วเขียวกระป๋อง (Canned  beans and peas)                 439.9      418.1      406.6
ข้าวโพดหวานกระป๋อง (Canned  sweetcorn)                       213.2      211.6      220.4
อาหารสำเร็จรูปทำจากผัก (Ready to eat meals based on vegetables)43.5       37.1       40.2
ผลิตภัณพ์ทีมีความหวาน (SWEET PRODUCTS)                           2551       2552       2553
แยมผลไม้ (Fruit jams)                                          NA      447.9         NA
ไอศครีม และไอศครีมผลไม้ (Ice cream and sherbet)               351.8      440.1      443.0
กลูโคส และน้ำเชื่อมกลูโคส (Glucose and glucose sy rup )       1,407.6    1,402.1    1,590.2
อ้อยสด และน้ำตาลจากรากต้นอ้อย (Raw cane and beet sugar)        539.0      635.4      674.5
อ้อยสกัด หรือน้ำตาลสกัดจากรากต้นอ้อย                            3,835.3    4,118.3    4,210.2
 (Refined cane o r beet sugar)
อาหารจากช็อคโกแล็ต (Chocolate food)                          358.4      344.0      327.3
ผลิตภัณฑ์ขนมลูกกวาด (Sugar con fection ary)                    253.5      242.2      255.2
ผลิตภัณฑ์ปรุงรส (SAUCES,CONDIMENTS AND OTHER FOOD PREPARATIONS)100.9      107.3      108.6
น้ำส้มสายชู ( 1000 ลิตร) (Vinegar (Mil. l))
ซอสมะเขือเทศ (Tomato ketchup)                               119.3      115.0      110.5
ผลิตภัณฑ์มัสตาด (Prepard mustard)                               89.5       86.5       88.7
ซอสและเครื่องปรุงรสอื่นๆ (Other sauces and condiments)             NA      146.4      145.6
ผลิตภัณฑ์ปรุงรส (SAUCES,  CONDIMENTS AND OTHER FOOD PREPARATIONS) 2551    2552     2553
อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ รวมถึงพิซซ่าแช่แข็ง                               237.7   236.8    238.1
 (Other ready to eat meals incl. frozen pizza )
อาหารเด็ก (Infant food )                                      195.7   207.2    241.4
ซุป และซุปเนื้อหรือผัก (Soups  and broths )                        262.3   254.7       NA
กาแฟ ชา และโกโก้ (COFFEE, TEA AND COCOA)                       2551    2552     2553
ผงโกโก้ (Cocoa powder)                                        120.7   133.1     76.2
กาแฟอบ (Roasted coffee)                                      138.1   127.4    127.7
น้ำและเครื่องดื่ม (WATER AND SO FT DRINKS)                         2551    2552     2553
น้ำแร่ และน้ำหวาน                                             5,861.4 5,762.0  5,998.2
 ( 1,000 ลิตร) (Mineral and aerated waters (Mil. l))
น้ำอื่นๆ ไม่มีรส ( 1,000 ลิตร)                                   4,918.9 4,658.8  4,386.3
 (Other waters, unsweetened, unflavored (Mil.l))
น้ำอัดลม(1000 ลิตร) (oft drinks (Mil .l))                     4,717.1 4,595.2  4,480.9
เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อื่นๆ (1000 ลิตร)                             923.0   926.3  1,202.3
 (Other non  alcoolic beverages (Mil. l.))
น้ำผลไม้ (JUICES)                                               2551    2552     2553
น้ำส้ม (Orange juice (Mil . l))                                394.5   406.0    514.5
น้ำแอปเปิ้ล (Apple juice (Mil . l))                              72.9    69.3    117.8
น้ำผลไม้ (Other juice)                                         135.6   116.8    136.9
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ALCOHOLIC BEVERAGES)                         2551    2552     2553
สุรา (1,000 ลิตร) (Spirits (Mil. l))                           168.5   163.2    173.0
ไวน์ (1,000 ลิตร) (Wine (Mil.l))                             4,567.2 4,265.4  4,626.9
เบียร์ (1,000 ลิตร) (Beer (Mil.l))                            1,439.3 1,483.6  1,448.9

ที่มา : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, Eurostat

2. การบริโภค

แนวโน้มอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนค่าใช้จ่ายสินค้าอาหารของครัวเรือนฝรั่งเศสลดลงเป็นอย่างมาก จากร้อยละ 20 ในช่วงปี 2503 เหลือน้อยกว่าร้อยละ 14 ปัจจุบันรูปแบบการบริโภคอาหารได้เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก โดยคำนึงถึงเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของอาหารมากยิ่งขึ้น สินค้าอาหารในรูปแบบเดิมๆ ซึ่งมีปริมาณน้ำตาลและไขมันอยู่สูงมีน้อยลงมาก การบริโภคเนื้อวัวลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้สัตว์ปีกและอาหารทะเลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลเรื่องสุขภาพและราคา รูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่และผู้หญิงที่ทางานมากขึ้น มีผลโดยตรงต่อแนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปและอาหารพร้อมรับประทาน แม้ว่าคนฝรั่งเศสจะนิยมทาอาหาร แต่ระยะเวลาที่ใช้ทำอาหารและเตรียมอาหารในแต่ละวันเริ่มลดลง และใช้เวลาโดยเฉลี่ยเพียงแค่ 20 นาทีในวันอาทิตย์ ดังนั้น ด้วยวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ชาวฝรั่งเศสเริ่มนิยมอาหารเช้าแบบ Anglo-Saxon (ประกอบด้วยอาหารเช้าที่ทาจากธัญพืช) มากกว่าอาหารเช้าแบบยุโรป ซึ่งทำให้มีปริมาณความต้องการสินค้าอาหารประเภทจากธัญพืชและขนมปังบิสกิตสำหรับอาหารเช้าเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ จำนวนของผู้บริโภคฝรั่งเศสมองหาวิธีการทำอาหารที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว รวมถึงความชื่นชอบต่อผลิตภัณฑ์อาหารสะดวกซื้อ เช่น พาสต้าซอส น้ำสลัดและอุปกรณ์ช่วยทำครัว ผลิตภัณฑ์อาหารสะดวกซื้อกลายเป็นสินค้าขายดีในตลาดอาหารซึ่งแสดงถึงความนิยมที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เนื้อหรือผักปรุงสำเร็จ อาหารว่างและน้ำอัดลมกลายเป็นที่นิยมอย่างมากมายในหมู่วัยรุ่น อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้บริโภคชาวยุโรปชาติอื่นๆ ชาวฝรั่งเศสค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับรสชาติอาหารและความเป็นธรรมชาติมากกว่าความสะดวกสบาย ดังนั้น อาหารฝรั่งเศสจึงน่าเพลิดเพลินใจมากกว่าเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวันเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ

การคัดเลือกอาหารถือเป็นองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรมท้องถิ่น และผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสค่อนข้างเป็นผู้เชี่ยวชาญในการมองหาสินค้าอาหารที่มีคุณภาพสูง นอกจากนี้ ระดับความรู้และความต้องการจะขึ้นอยู่กับการเข้าถึงข้อมูลที่ดีกว่าและระดับการศึกษาที่สูงกว่า ข้อมูลต่างๆ จะถูกตีพิมพ์โดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้บริโภคและองค์กรสาธารณะ และผู้บริโภคจะคาดหวังกับข้อมูลของสินค้าที่มีรายละเอียดที่จัดทำโดยผู้จัดจำหน่ายและผู้ผลิต ด้วยการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคที่ดี การให้ความสำคัญด้านราคาและความปลอดภัยของอาหารจึงยิ่งต้องมีความสำคัญมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริโภคฝรั่งเศสมีความสามารถในการเปรียบเทียบระหว่างยี่ห้อและผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยไม่ได้ขึ้นอยู่การพิจารณาเพียงด้านราคาและความต้องการเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลของสินค้า การติดตามตรวจสอบได้ และฉลากคุณภาพสินค้าอีกด้วย

แนวโน้มอื่นๆ ประกอบด้วย :
  • อิทธิพลอย่างสูงของการท่องเที่ยวในต่างประเทศ รายการโทรทัศน์และการประชาสัมพันธ์ ด้านอาหารในเครือข่ายการจัดจาหน่ายสาหรับตลาดขนาดใหญ่
  • การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์เป็นผลิตภัณฑ์จากพืชเนื่องจากผู้บริโภคต้องการลดอาหารที่มีไขมัน
  • ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสนิยมอาหารที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้นและใช้ส่วนประกอบอาหารมากขึ้น กระแสนิยมต่อการบริโภคอาหารชนชาติพื้นเมืองที่มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ ตัวอย่างเช่น ในปารีส หนึ่งในสองของร้านอาหาร เปิดใหม่ อยู่ภายใต้แนวคิด "อาหารโลก" และสาขาของซุปเปอร์มาเก็ต/ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่จะมีสินค้าอาหารยี่ห้อเฉพาะของห้างฯ ซึ่งในส่วนของอาหารพื้นเมือง ผู้บริโภคต้องการสินค้าใหม่ๆ เสมอ
  • การรณรงค์ต่อต้านอาหารขยะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการรณรงค์นี้ อาหารอุตสาหกรรมได้เข้ามาแทนที่อาหารพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิตอาหารที่มีคุณภาพในฝรั่งเศสจะมีโอกาสที่ลดลง ทำให้มีการต่อต้านสินค้าต่างประเทศบางชนิดซึ่งเป็นคู่แข่งกับอาหารพื้นเมือง กรณีนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากในปัจจุบัน
  • อาหารชีวจิต และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนากรรมวิธีทางเกษตรกรรมจะส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น
  • การเพิ่มคุณภาพของตราสินค้าและตราสินค้าในส่วนภูมิภาค
  • การพัฒนาของสินค้าอาหารโดยระบุตราสินค้า เช่น "Max H avelar"

โดยสรุป แม้ว่าตลาดผู้บริโภคจะแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มมากขึ้นด้วยเหตุที่มีทางเลือกอาหารที่มากขึ้น รวมทั้งการดำเนินชีวิต รายได้ที่แตกต่างกัน และการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้ายี่ห้อต่างๆมีมากขึ้น เราสามารถที่จะให้ความสำคัญกับแนวโน้มต่างๆ ดังกล่าว ได้แก่ คุณภาพ ราคา สุขภาพ ความปลอดภัยและความพึงพอใจ อีกทั้งผู้บริโภคยังสนใจสิ่งใหม่ๆ แม้ว่าอาหารพื้นเมืองจะกลับมามีความสาคัญอย่างรวดเร็วก็ตาม

ตัวอย่างสินค้าอาหารทีบริโภคในประเทศฝรังเศส Consumption of Selected Foo d Items in France
1,000 ตัน ยกเว้นตามที่ระบุ   (1,000 tons unless specified)              2008          2009       2010
ข้าวสาลี (Wheat)                                                    7,066         6,838      7,075
ข้าวโพด (Corn)                                                       332           261        283
เนื้อวัว (Bovine meat)                                               1,641         1,645      1,645
เนื้อหมู (Pork meat)                                                 2,193         2,163      2,163
เนื้อแกะและเนื้อแพะ (Ship and goat meat)                                243           232        232
เนื้อสัตว์ปีก (Poultry meat)                                           1,482         1,473      1,534
นม (Milk)                                                         4,261         4,187         NA
เนยแข็ง (Cheese)                                                   1,528         1,540         NA
ไข่ไก่ (Eggs)                                                          NA            NA         NA
เนย (Butter)                                                        502           506
มันและน้ามัน (Fats and oils)                                           853           998        989
แอปเปิ้ล (Apples)                                                   1,366         1,333      1,384
ลูกแพร์ (Pears)                                                       288           264        323
ลูกพีช (Peaches)                                                      341           333        366
องุ่น (Grapes)                                                        257           265        261
ส้ม (Oranges)                                                      3,040         2,904      2,878
มะเขือเทศสด (Fresh tomato es)                                        851           828        801
มะเขือเทศแปรรูป ( Processed tomatoes)                               1,144         1,131      1,230
มันฝรั่ง (Potatoes)                                                  3,194         3,291      2,969
น้ำตาลขาว (Sugar (equivalent white sugar))                         1,981         2,233      2,099
ไวน์ ( 1000 ลิตร)  (Wine (Mil. l))                                  2,973         3,092      2,956
ที่มา : INSEE, Eurostat

3. การค้าสินค้าอาหาร
          การนำเข้าอาหารที่ส้าคัญในประเทศฝรังเศส  Major Food Imports in France
1,000 ตัน ยกเว้นตามที่ระบุ   (1,000 tons unless specified)           2009        2010        2011
เนื้อวัว สด,แช่เย็น,แช่แข็ง (Fresh, chilled, frozen beef)           325,586     320,121     287,540
เนื้อหมู สด,แช่เย็น,แช่แข็ง (Fresh, chil led, frozen pork)          342,323     351,211     345,902
เนื้อแกะหรือเนื้อแพะ สด,แช่เย็น,แช่แข็ง                               129,377     117,222     108,432
 (Fresh, chilled, frozen sheep or goat)
เครื่องในสัตว์ (Edible offal)                                     77,869      76,240      64,396
เนื้อสัตว์ปีก สด,แช่เย็น,แช่แข็ง (Fresh, chilled, frozen poultry)     310,233     346,264     369,745
ปลาเค็ม สด,แช่เย็น,แช่แข็ง (Fresh, chilled, f rozen,  salted fish)552,816     574,751     577,421
อาหารทะเลที่มีเปลือกแข็ง สด,แช่เย็น,แช่แข็ง                           125,291     131,746     124,846
 (Fresh, chilled, frozen crustaceans)
อาหารทะเลอื่นๆ สด,แช่เย็น,แช่แข็ง                                  110,178     120,659     112,919
  ( Other fresh, chilled, frozen  seafood)
นม ครีม และผลิตภัณฑ์อื่นๆจากนม                                   1,048,878   1,165,043   1,110,956
 (Milk, c ream andother milk products)
เนย (Butter)                                                 144,171     160,317     154,380
เนยแข็ง (Cheese)                                              285,529     275,538     271,817
ผักสด (Fresh vegetables)                                    2,035,237   2,090,634   2,081,081
ผักแช่แข็ง (Frozen vegetables)                                  459,950     490,238     517,130
ผลไม้และถั่ว (Fruits and nuts)                                3,149,238   3,248,285   3,108,490
กาแฟ (Coffee)                                                355,947     365,458     353,194
ข้าวสาลี และ (meslin  Wheat and meslin)                        364,697     681,803     519,413
ข้าวโพด (Corn)                                                347,457     348,220     481,643
ข้าว (Rice)                                                   501,890     460,550     518,041
แป้งธัญพืช (Cereal flour)                                       223,413     239,562     234,922
แป้ง (Starches)                                               151,273     167,881     164,610
ไขมันและน้ำมัน (Fats and oils)                                1,953,086   1,843,452   1,884,911
เนื้อแปรรูปและเนื้อสำเร็จ ( Prepared or prese rved meat)            97,837      94,283      96,241
ปลากระป๋อง (Canned fish)                                      191,636     181,793     186,272
อาหารทะเลแปรรูปและสำเร็จ (Prepared or pre served crustaceans)   48,296      50,625      49,947
น้ำตาลและกากน้ำตาล (Sugar and molasses)                      1,204,310   1,151,488   1,222,522
ขนมลูกกวาด (Sugar confectionary)                               90,783      96,146      98,353
เมล็ดโกโก้  (Cocoa beans)                                      163,004     137,067     145,494
อาหารจากชอคโกแลต (Chocolate food)                            344,888     370,862     402,728
พาสต้าและกูสกูส (Pasta and cou scous)                           389,574     382,163     398,905
ขนมปัง,ขนมอบ,เค้ก ฯลฯ (Bread, pastry, cake, etc.)              574,951     597,828     622,897
ผักแปรรูปและสำเร็จ (Prepared or preserved  vegetables, frozen)  514,776     566,603     603,396
ผักกระป๋อง (Canned vegetables)                                 643,340     647,175     639,625
ผลไม้กระป๋อง (Canned fruits)                                   362,686     380,167     391,457
1,000 ตัน ยกเว้นตามทีระบุ   (1,000 tons unless specified)           2009        2010        2011
ผักแปรรูปและสาเร็จ (Prepared or preserved vegetables, frozen)   514,776     566,603     603,396
ผักกระป๋อง (Canned vegetables)                                 643,340     647,175     639,625
ผลไม้กระป๋อง (Canned fruits                                    362,686     380,167     391,457
ซอสมะเขือเทศ (Tomato ketchup and sauces)                      128,924     140,658     134,231
ซอสชนิดอื่นๆและเครื่องปรุงรส (Other sauces a nd codiments)         153,167     133,747     129,196
ไอศกรีม (Icecream an d similar)                               100,026     101,769      97,583
น้าแร่,น้าหวาน ) 1000 ลิตร ( Mineral, aerated water (1,000 l)    268,224     385,170     368,544
น้าอัดลม ) 1000 ลิตร ( Soft drinks (1,000 l)                    876,349     858,595     806,350
ไวน์ ) 1000 ลิตร (Wine (1,000 l)                               585,565     595,123     679,059
ที่มา : World Trade Atlas

Suppliers อาหารในตลาดฝรั่งเศส
                                       2552        2553         2554     2553/2552   2554/2553
กลุ่มประเทศ EU 27                      35,902      36,414       41,491        1.4%       13.9%
เบลเยี่ยม ( Belgium)                    6,938       6,996        7,860        0.8%       12.3%
สเปน ( Spain)                         6,389       6,610        7,132        3.5%        7.9%
เยอรมันนี ( Germany)                    5,904       5,827        6,933       -1.3%       19.0%
เนเธอร์แลนด์ (Netherlands)              5,676       5,601        6,384       -1.3%       14.0%
อิตาลี ( Italy)                         4,092       4,031        4,589       -1.5%       13.8%
สหราชอาณาจักร (United Kingdom)         2,740       2,767        3,299        1.0%       19.2%
ไอร์แลนด์ (Ireland)                       834         853        1,002        2.3%       17.5%
เดนมาร์ก (Denmar k)                      722         797          779       10.4%       -2.3%
แอฟริกา (AFRICA)                       2,833       2,961        3,106        4.5%        4.9%
โมรอกโก (Morocco)                       881         900          934        2.2%        3.8%
ไอเวอรี่โคท ( Cote d'Ivoire)              689         653          555       -5.2%      -15.0%
กลุ่มประเทศ (MERCOSUR)                  1,337       1,257        1,716       -6.0%       36.5%
บราซิล (Brazil)                          399         309          565      -22.6%       82.8%
อาร์เจนตินา ( Argentina )                 283         316          435       11.7%       37.7%
อาเชียน (ASEAN)                          907         892        1,014       -1.7%       13.7%
ไทย (Thailand)                          373         378          423        1.3%       11.9%
เวียดนาม (Vietnam)                       190         202          239        6.3%       18.3%
อินโดนีเชีย ( Indonesia)                   223         186          189      -16.6%        1.6%
สวิสเซอร์แลนด์ (Switzerland)               787         883        1,138       12.2%       28.9%
สหรัฐอเมริกา (United States)              497         533          690        7.2%       29.5%
จีน (China )                             393         430          517        9.4%       20.2%
ตุรกี (Turkey)                            340         388          399       14.1%        2.8%
อื่นๆ (Others)                          1,748       1,791        2,255        2.5%       25.9%
ทัวโลก (World)                        44,744      45,549       52,326        1.8%       14.9%
ที่มา: World Trade Atlas

          จากสถิติ  การนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศที่สำคัญในตลาดฝรั่งเศสไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ( GPS ) แทบไม่มีผลต่อประเทศผู้ส่งออกเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ในจำนวนร้อยละ 50 ของการนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 1 ตลอดช่วงที่ผ่านมา แท้จริงแล้ว นโยบายการค้าของสภาพยุโรปช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศสภาพยุโรป 15 ประเทศ  ดังจะเห็นได้จากส่วนแบ่งตลาดสินค้าอาหารจากสัดส่วนร้อยละ 74 เป็นร้อยละ 76 ในช่วงเดียวกัน
          อย่างไรก็ตาม  ตั้งแต่ประเทศยุโรปตะวันออกได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2547 มีการส่งออกอาหารมายังประเทศฝรั่งเศสของประเทศเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศโปแลนด์ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็นร้อยละ 1.56 เทียบกับร้อยละ 0.27  ในช่วงก่อนการเข้าเป็นสมาชิกสภาพยุโรป ประเทศไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากระบบ GSP ในช่วงปี พ.ศ. 2540 ถึงปี  พ.ศ. 2547 สาหรับสินค้าหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอาหารทะเลซึ่งถูกตัด GSP  ทำให้ส่วนแบ่งตลาดอาหารไทยลดลงจากร้อยละ 0.74 เหลือร้อยละ 0.52 ในช่วงปี พ.ศ. 2539 ถึงปีพ.ศ. 2546 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2548 ที่ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี สัดส่วนสินค้าอาหารไทยในตลาดฝรั่งเศสนั้นกลับมาอยู่ที่ระดับก่อนหน้าถูกตัด GSP โดยมีสัดส่วนร้อยละ 0.8 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา

อาหารส่งออกที่สำคัญของไทยในตลาดฝรั่งเศส
                                    2000    2005   2009    2010    2011   05/00   09/05  10/09   11/10
ข้าว (Rice)                          29.6    53.4  188.8   101.3   102.9   80.4%  253.6% -46.3%    1.5%
กุ้งแช่แข็ง (Frozen shrimps)            24.7    11.0   44.4    66.2    69.2  -55.5%  303.6%  49.1%    4.5%
ปลากระป๋อง และปูอัด                    21.2    30.4   46.4    40.0    54.1   43.4%   52.6% -13.8%   35.3%
 (Canned fish and surimi preparations)
ผลไม้กระป๋อง (Canned fruits)          15.9    20.0   28.8    25.8    35.7   25.8%   44.0% -10.4%   38.4%
เนื้อสัตว์ปีก ( Poultry meat)             4.7     2.0   14.4    18.8    25.8  -57.4%  620.0%  30.6%   37.2%
โกโก้ (Cocoa butter)                    -     7.6   28.9    24.4    20.5          280.3% -15.6%  -16.0%
เส้นพาสต้า และเส้นบะหมี่                  2.7     4.9    8.5    10.7    12.9   81.5%   73.5%  25.9%   20.6%
 (Pasta and noodles)
เนื้อปลาแช่แข็ง (Frozen fish fillets)    6.7    11.1   11.4    12.6     9.7   65.7%    2.7%  10.5%  -23.0%
ผักสด ผักแช่แข็ง ผักอบแห้ง                10.0     7.0    8.4     9.8     9.7  -30.0%   20.0%  16.7%   -1.0%
 (Fresh, frozen, drie d vegetables)
ผลไม้สด ผลไม้แช่แข็ง ผลไม้อบแห้ง           5.2     7.0    7.6     9.2     9.7   34.6%    8.6%  21.1%    5.4%
 ( Fresh, frozen, dried fruits)
ซอสและเครื่องปรุงรส                     3.4     4.7    6.7     8.9     9.0   38.2%   42.6%  32.8%    1.1%
 (Sauces and condim ents)
น้ำตาลอ้อย(Cane sugar)                   -       -    1.0     1.5     6.8                  50.0%  353.3%
ปลาหมึกแช่แข็ง                          7.0     6.5    4.5     5.1     5.9   -7.1%  -30.8%  13.3%   15.7%
 (Frozen squi ds and octopus)
น้ำผลไม้ (Fruit juice)                 1.8     1.7    2.1     2.5     4.6   -5.6%   23.5%  19.0%   84.0%
ขนมปัง, ขนมอบ,ขนมเค้ก                  1.5     0.9    1.9     1.9     3.0  -40.0%  111.1%   0.0%   57.9%
 (Bread, past ries, cakes)
น้ำอัดลม (Soft drinks)                 2.4     2.7    2.0     3.0     2.7   12.5%  -25.9%  50.0%  -10.0%
น้ำซุป ( Soup and broths)              0.5     0.5    0.6     2.1     2.6    0.0%   20.0% 250.0%   23.8%
ปลาแช่แข็งอื่นๆ                          0.7     6.9    7.5     2.6     2.5  885.7%    8.7% -65.3%   -3.8%
 (Frozen fish other than fillets )
ปูกระป๋อง (Canned crab)               13.6     4.2    4.1     4.2     2.5  -69.1%   -2.4%   2.4%  -40.5%
ข้าวโพดกระป๋อง (Canned sweetcorn)      1.2     1.7    3.5     2.0     2.3   41.7%  105.9% -42.9%   15.0%
น้ำผึ้ง (Honey)                           -       -    0.0     0.8     2.2                2566.7%  175.0%
เบียร์ (Beer)                          0.5     0.6    0.8     1.0     1.1   20.0%   33.3%  25.0%   10.0%
อื่นๆ (Others)                         7.2    13.6   19.4    25.1    18.9   88.9%   42.6%  29.4%  -24.7%
รวม Total                          148.2   202.4  372.7   378.2   423.1   36.6%   84.1%   1.5%   11.9%
ที่มา: World Trade Atlas

4. กฎระเบียบทางการค้า
          ในฐานะสมาชิกของสภาพยุโรป ประเทศฝรั่งเศสจึงต้องใช้กฎระเบียบของ EU  อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกควรจะทราบถึงความแตกต่างในการประยุกต์ใช้ของกฎหมายของ EU กับกฎระเบียบของประเทศตน ซึ่งเห็นได้จากหลายกรณีในปัจจุบัน

เอกสารประกอบการนาเข้าสินค้าอาหาร มีดังนี้
          - Commercial  invoice -Bill of lading or air waybill)
          - หนังสือรับรองแหล่งกาเนิด (Certificate of origin )
          - เอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งออกโดยหน่วยงานไทยที่มีอำนาจในเรื่องดังกล่าว ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ เช่น ใบรับรองสุขอนามัยพืช (phytos anitary ce rtificate and/ health certificate)

ข้อกำหนดต่างๆเกี่ยวกับใบรับรอง
          - ผลิตภัณฑ์นม, เนื้อสัตว์ และ อาหารทะเล  รวมทั้งอาหารแปรรูปที่มีเนื้อสัตว์ หรือส่วนผสมของสัตว์อยู่ด้วยนั้น จะต้องได้รับการรับรองจาก EU การส่งสินค้าทุกครั้งจะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยสัตว์ และ/หรือ ใบรับรองสุขอนามัยที่ลงนามโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานไทยที่มีอานาจในเรื่องดังกล่าว เพื่อรับรองว่าการส่งสินค้านั้นเป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ
          - ผักและผลไม้ : การส่งสินค้าใดๆก็ตามมายังประเทศฝรั่งเศส หรือสภาพยุโรป ต้องมีใบรับรอง สุขอนามัยพืชที่ออกโดยเจ้าพนักงานของไทย

ข้อกำหนดการติดฉลาก
          รายละเอียด/วิธีการบริโภคหรือข้อมูลสำหรับผู้บริโภค (consumer code) กำหนดให้ฉลากทุกชนิดใช้ภาษาฝรั่งเศสไม่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะมาจากแหล่งกาเนิดใดก็ตาม
          เอกสารที่ใช้ในธุรกิจและการทาธุรกรรมทุกอย่าง รวมถึงฉลาก, ภาชนะบรรจุ และสินค้า จะต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น หากชื่อใดก็ตามสามารถเทียบเท่ากับภาษาฝรั่งเศสจะต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น โดยต้องระบุ
          - ชื่อผลิตภัณฑ์, ปริมาณสุทธิ (หน่วยเมตริก), วันแสดงอายุสินค้าที่สามารถวางขายได้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียได้ หรือ วันที่แนะนำการบริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เน่าเสีย, ชื่อและที่อยู่ หรือ หมายเลขประจาตัวผู้นำเข้าของ EU จะต้องอยู่ในบริเวณเดียวกันกับฉลาก
          - ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต, ผู้บรรจุภาชนะ หรือผู้จำหน่าย ที่อยู่ในสภาพยุโรป
          - รายการส่วนประกอบ สมุนไพรและเครื่องเทศ เรียงลำดับตามปริมาณที่ใช้ในกระบวนการการผลิต
          - รายการสารปรุงแต่งและสารกันบูดทุกชนิดในฉลากของทุกผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ว่าจะเป็นชื่อกลุ่มเฉพาะ หรือ โดยเลข E (E-number)
          - สำหรับอาหารแช่แข็งนั้นควรที่จะแสดงอุณหภูมิที่สูงที่สุดสำหรับการเก็บรักษา
          - สำหรับสินค้าอาหารกระป๋องที่บรรจุของเหลวอยู่ด้วย จะต้องแสดงน้ำหนักสุทธิบนฉลาก ในกรณีที่ไม่มีของเหลวอยู่ด้วย ต้องระบุหน่วยเมตริก -น้ำหนักสุทธิ, น้ำหนักผลิตภัณฑ์  หรือน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ในกรณีที่ไม่มีของเหลวอยู่ด้วย ต้องระบุหน่วยเมตริก

กฏระเบียบเรื่องบรรจุภัณฑ์
          นอกเหนือจากข้อบังคับของสภาพยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีกฎระเบียบของตนเองในด้านบรรจุภัณฑ์ หรือข้อกำหนดขนาดของสิ่งบรรจุสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารหลายประเภท ซึ่งรวมถึง เบียร์, เครื่องดื่มประเภทหมัก (fermented beverages), ธัญพืชอาหารเช้า (breakfast cereal), ผักและผลไม้พร้อมรับประทาน (pre-packed), เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์, กาแฟ, นม, น้ำมันและน้ำส้มสายชู, ไอศครีม, ปลาแช่แข็ง, ผักและผลไม้แช่แข็ง, ผักและผลไม้แห้ง และ อาหารสัตว์

5. กลยุทธทางการตลาด
          ต้องตรวจสอบข้อจากัดและกฎข้อบังคับในการเข้าสู่ตลาด
             - ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาพยุโรปและฝรั่งเศส รวมทั้งรายการระบุ ร้อยละของส่วนประกอบและสารปรุงแต่งในผลิตภัณฑ์
             - ควรทราบถึงอากรนาเข้าเพิ่มเติมจากจานวนร้อยละของน้าตาล, ไขมันนม, โปรตีนและแป้งของนม
          วิเคราะห์บุคคลิกลักษณะของผู้บริโภค, แนวโน้มของตลาดภายในประเทศ  และปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และราคาตามความเหมาะสม
             - ร่างเค้าโครงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ : โดยเฉพาะด้านรสชาติ, สุขภาพ, โภชนาการ และการบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (regional indication) ฯลฯ
             - พัฒนาการบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจสาหรับตลาดฝรั่งเศส บรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในซุปเปอร์มาเก็ต/ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (เทียบเท่ากับพนักงานขาย) การบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเป็นหัวใจสำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารของชนชาติต่างๆ (ethnic food product ) ที่จะเจาะตลาดเฉพาะ (niche market) ในฝรั่งเศส
             - ระบุถึงช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต/ไฮเปอร์มาเก็ต, ผู้นำเข้า/ผู้จัดจำหน่ายสินค้า, ตัวแทนท้องถิ่น ควรที่จะเตรียมตัวที่จะส่งตัวอย่างสินค้าด้วย
             - การแสดงสินค้าและการส่งเสริมการขายสินค้าภายในห้างร้าน การแสดงสินค้า เช่น SIAL, ANUGA หรืองานแสดงสินค้าอาหารของชนชาติต่างๆ เป็นวิธีการแนะนำสินค้าใหม่ที่ดีมาก ส่วนการส่งเสริมการขายสินค้าในห้างร้านนั้นจะช่วยให้ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ของไทย
             - ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ผู้ส่งออกชาวไทยจะต้องมีข้อมูลสินค้าอย่างละเอียด โดยต้องมี อายุผลิตภัณฑ์ (shelf life), การรับรองอายุผลิตภัณฑ์ขณะจัดส่ง, ขนาดของผลิตภัณฑ์, รูปของผลิตภัณฑ์, EAN(Barcode ), ข้อมูลโลจิสติก  ( อาทิ หน่วยขาย, ขนาดของกล่อง, จำนวนของกล่องต่อ palette หรือ/และ container) และข้อมูลทางด้านราคา (ราคาปกติ, ราคาที่ลดแล้ว , จำนวนน้อยที่สุดที่สามารถสั่งของได้)
             - เอกสารทางธุรกรรม / การส่งออก เอกสารทุกประเภทสาหรับการทาธุรกรรมและการส่งออก  จะต้องส่งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมถึงเอกสารเฉพาะที่สานักงานจัดซื้อของซุปเปอร์มาเก็ต/ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ต้องการ โดยพนักงานที่มีความรู้เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวเป็นอย่างดีเท่านั้น จะต้องเป็นผู้กรอกเอกสาร เนื่องจากข้อผิดพลาดหรือการตีความเอกสารผิดจะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ Supplier และลูกค้าเป็นอย่างมาก การทาธุรกรรมหลายครั้งไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการบริการมีข้อบกพร่องด้านเอกสารทางธุรกิจและการส่งออก ผู้ซื้อชาวฝรั่งเศสจำนวนมากในฝรั่งเศสจะชื่นชอบผู้จัดจำหน่ายที่สามารถไว้วางใจในเรื่องนี้ได้

6. แนวทางการเข้าหากลุ่มผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่
          สำนักงานผู้จัดซื้อส่วนกลาง ( Central Buying Offices) เป็นผู้รับผิดชอบในการลงรายการผลิตภัณฑ์และให้ข้อมูลที่ให้ในการต่อรองกับ supplier อย่างไรก็ตาม ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่หรือสานักงานท้องถิ่นอาจจะออกรายการเป็นของตนเองโดยไม่ผ่านทางส่วนกลางที่กล่าวข้างต้น
          การเจรจาต่อรองกับสำนักงานผู้จัดซื้อส่วนกลางที่ประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้หมายถึงการที่จะประสบความสำเร็จในการทาธุรกิจระยะยาวในประเทศฝรั่งเศส  ผู้ส่งออกชาวไทยจะต้องพยายามสร้างสัมพันธ์และติดต่อสื่อสารกับร้านค้าต่างๆที่รับซื้อสินค้าของตนอย่างสม่าเสมอด้วย กล่าวคือ การที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อของสำนักงานผู้จัดซื้อส่วนกลางนั้นถือเป็นขั้นตอนที่สาคัญขั้นตอนหนึ่ง  แต่ก็อาจจะกลายเป็นโอกาสเดียวเท่านั้น   เว้นแต่ว่าจะสามารถขายสินค้าให้กับร้านค้าได้ ดังนั้นต้องมีผู้จัดจำหน่ายสินค้าหรือตัวแทนท้องถิ่นด้วย
          ถึงแม้ว่าการขายโดยตรงไปยังห้างค้าปลีกขนาดใหญ่  และซุปเปอร์มาร์เก็ตจะยังเป็นไปไม่ได้  แต่สาหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มนั้น ควรจะมีตัวแทนเป็นคนกลางในการติดต่อระหว่างสำนักงานส่งออกและผู้จัดซื้อของร้านค้า

การติดต่อครั้งแรกกับผู้ซื้อ
          การติดต่อนัดหมายกับผู้ซื้อนั้น ควรติดต่อผ่านทางไปรษณีย์หรือแฟกซ์ แทนการใช้อีเมล์  บางรายจะต้องกรอกแบบฟอร์มก่อนการนัดหมายการเข้าพบได้ กลุ่มร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ส่วนมากต้องการให้ผู้จัดจำหน่ายแสดงรายละเอียดต่างๆของบริษัทก่อนที่จะสามารถนัดวันเข้าพบได้ เช่น ผลประกอบการ, สถานการณ์ทางการเงิน, ลูกค้าปัจจุบันของบริษัททั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ (โดยเฉพาะใน ฝรั่งเศส) การติดต่อทางจดหมายเป็นภาษาฝรั่งเศสถือว่าเป็นการได้เปรียบในการแข่งขัน

การเจรจาต่อรองและการชาระเงิน
          การเจรจาต่อรองกับกลุ่มผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่  จะเป็นเรื่องค่อนข้างยากสาหรับผู้ส่งออกที่ยังขาดประสบการณ์หรือเป็นรายเล็ก
          ก่อนอื่น ผู้ส่งออกจะต้องกรอกข้อมูลในบัตรที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนทุกรายการ  (ดูตัวอย่าง บัตรผลิตภัณฑ์ที่แนบท้าย)  นอกจากนี้ บ่อยครั้งกลุ่มผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่อาจจะต้องการให้ผู้จัดจำหน่าย กรอกแบบฟอร์มที่เรียกว่า "ระเบียบวิธีปฏิบัติของ supplier " (supplier code of conduct) เอกสาร  ดังกล่าวรวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่สำนักงานผู้จัดซื้อส่วนกลางต้องการนั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการประสบความสำเร็จในการทาธุรกิจ  ดังนั้น บุคลากรที่มีความสามารถควรเป็นผู้จัดทำและส่งเอกสารดังกล่าว หากมีจุดอ่อนในการทำเอกสารอาจจะทำให้การประกอบธุรกิจล้มเหลว  แม้ว่าผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายจะน่าดึงดูดและมีความสามารถในการแข่งขันสูงก็ตาม
          อนึ่ง ผู้ซื้อชาวฝรั่งเศสค่อนข้างจะพอใจกับใบเสนอราคาที่ใช้เงินสกุลยูโร
          ผู้ส่งออกชาวไทยควรทราบด้วยว่า การขอส่วนลด ( marges arrire ) จากบริษัทสาขาของซุปเปอร์มาร์เกต/ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในฝรั่งเศสนั้น มีอัตราตั้งแต่ร้อยละ 10-25
          ซุปเปอร์มาร์เกต/ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในฝรั่งเศส ส่วนมากแล้วจะแบ่งสินค้าออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สินค้าราคาประหยัด (premier prix), สินค้าเฉพาะของร้านค้า ( private label) และสินค้ายี่ห้อของประเทศ/ของนานาชาติ
          ข้อกำหนดในการชำระเงินในประเทศฝรั่งเศสยังไม่มีมาตรฐานที่ตายตัว  อย่างไรก็ตามโดยปกติบริษัทในฝรั่งเศสส่วนมากจะใช้ข้อกำหนด เช่น การชำระเงิน 60 วัน นับจากวันสุดท้ายของเดือนที่ใบกากับสินค้าได้ลงวันที่ไว้ (60 days end of month) ข้อกำหนดในการชำระเงินจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของสัญญา ซึ่งผู้จัดซื้อมักจะนิยมมาตรฐานดังกล่าว


                                 ************************************************
                                                                   สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงปารีส
                                                                                              พฤษภาคม 2555

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ