สถานการณ์เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาสแรกของปี 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 19, 2012 11:52 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาสแรกของปี 2555

Executive Summary
  • อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวช้าลงที่ร้อยละ 5.3 ในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา คาดว่าอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 5.7 และ 7.5 ในปีถัดไป ซึ่งปรับลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายนที่ร้อยละ 6.1 และ 8.3 ตามลำดับ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและภาคเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่ดีขึ้น
  • ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ราคาสินค้าอาหารมีการแกว่งตัว ทำให้ราคาขายส่งปรับตัวเพิมขึ้นร้อยละ 7.2 และดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ตลอดจนค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้ได้เพิ่มแรงกดดันให้ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น และคาดว่าธนาคารกลางของอินเดียจะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้
  • รัฐบาลกลางของอินเดียจะไม่มีทีท่าที่จะปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์โครงสร้างต่างๆ ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและอำนวยความสะดวกต่อการลงทุนระดับใหญ่ที่จำเป็นต่อประเทศ โดยในปัจจุบันการให้ความสนับสนุนและการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ ของรัฐบาลเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับมาตรการทางการคลังของรัฐบาลก็ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้ภาคธุรกิจยังขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนในอนาคต
  • การขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุนดังกล่าวในอินเดียประกอบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในอัตราที่สูงของอินเดียจะทำให้ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงไปอีกตามแรงกดดันของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น
ภาพรวมเศรษฐกิจอินเดีย
  • การเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสแรกของปี 2555 ทีร้อยละ 5.3 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา โดยคาดการณ์เฉลี่ยทังปีที่ร้อยละ 5.7 เนื่องจากผลประกอบการจากภาคการผลิตภาคการเกษตร การก่อสร้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการคมนาคมขนส่งและการกระจายสินค้าที่อ่อนแอลง ซึ่งทำให้การส่งออกและการนำเข้าสินค้าลดลง ตลอดจนราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจของอินเดียแย่ลง ปัญหาอัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางของอินเดียคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง ในขณะที่ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจต่อโอกาสการลงทุนในระยะยาวลดลงอันเนื่องมาจากความล้มเหลวของรัฐบาลในการปรับปรุงกฎระเบียบโครงสร้างที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศหรือควบคุมการใช้สอยเงินของภาครัฐ
  • จากการสำรวจพบว่าเศรษฐกิจของอินเดียในขณะนียังไม่แย่เท่ากับช่วงกลางปีของปีที่แล้ว โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ในปีนี้โดยการลดลงไปของค่าเงินรูปีที่ 50 จุดในเดือนเมษายนทำให้ช่วยพยุงกำไรจากการค้าต่างประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดียในปี 2555 และ 2556 ยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ดีขึ้น ประกอบกับค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าลงอย่างมากส่งผลให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อมากขึ้นและการดำเนินการใน การปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์โครงสร้างต่างๆ ต่อการดำเนินธุรกิจอย่างจริงจังมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งใหม่ในปี 2557
ผลจากแรงกระทบ
  • คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะโตร้อยละ 5.7 และ 7.5 ในปี 2555 และ 2556 ปรับลดจากการคาดการณ์เดือนที่แล้วที่คาดว่าจะโตที่ร้อยละ 6.1 และ 8.3 ตามลำดับ และคาดว่าจะโตที่ร้อยละ 8.7 ในปี 2557 จากการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น
  • ถึงแม้ว่าดัชนีราคาขายส่งสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (WPI) มีอัตราคงที่ที่ร้อยละ 5 ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่อัตราเงินเฟ้อทัวไปปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เนื่องจากราคาสินค้าอาหารที่เพิมขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าลงถึงร้อยละ 12 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันโลกที่ลดลงอย่างมากในเดือนเมษายน ประกอบกับไม่มีทีท่าว่ารัฐบาลจะยินยอมให้เพิ่มราคาน้ำมันดีเซล จึงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทัวไปจะเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 7 จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.4
  • ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจอินเดียจะปรับตัวช้าลง ซึ่งทำให้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างจริงจังในช่วงปี 2556 แต่ในขณะนี้ธนาคารกลางของอินเดียยังคงไม่สามารถใช้มาตรการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากหากยังไม่สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ก็อาจส่งผลให้ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงมากขึ้น จึงคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงระดับเดิมไปจนถึงปี 2556 การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่แท้จริงจะมีการขยายตัวอย่างปานกลางจนกว่าค่าเงินเฟ้อจะลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่แท้จริงจะยังโตต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาที่ร้อยละ 5-6 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8 ในปี 2556
  • จากการประกาศบัญชีประชาชาติรายไตรมาสงวดเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่ามีการลดลงเล็กน้อยในภาคการลงทุนในปี 2554 อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบการใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในอินเดียมักจะถูกปรับเปลียนอยู่เสมอ โดยจากการประกาศล่าสุดการลงทุนถูกประมาณการว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในปี 2554 อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าในปี 2555 การลงทุนจะปรับตัวลดลง ก่อนจะเพิ่มขึ้นในปี 2556 (ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยอดขายของยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ขนาดกลางและใหญ่ลดลงร้อยละ 11 จากปีก่อนหน้า)
  • จากแรงกดดันทางเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ค่าเงินรูปีอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ในขณะที่อินเดียมีโอกาสในการได้ประโยชน์จากการเป็นประเทศเป้าหมายในการลงทุนธุรกิจระหว่างประเทศในระยะยาว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอินเดียทีผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรทำให้ลดความน่าดึงดูดจากการลงทุนจากต่างประเทศลง ซึ่งความล้มเหลวในการพัฒนาประเทศของอินเดียอาจส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบมากขึ้น (อาจถึงร้อยละ 4 ของ GDP) ซึ่งอาจทำให้ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงไปอีก
ภูมิหลังเศรษฐกิจอินเดียในช่วงทีผ่านมา
  • เศรษฐกิจอินเดียทีผ่านมามีอัตราการเติบโตทีมากกว่าร้อยละ 9 ติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปี ตังแต่ปี 2546 - 2550 ซึ่งไม่เพียงจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็วควบคู่ไปกับเศรษฐกิจของจีน แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีอัตราการลงทุนต่อ GDP ที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.1 ในปี 2545/2546 เป็นร้อยละ 33 ในปี 2550/2551 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตทียั่งยืนของเศรษฐกิจอินเดียซึ่งเกือบถึงร้อยละ 8 ต่อปี อย่างไรก็ตาม อินเดียยังคงต้องมีการพัฒนาประเทศอีกมาก จากข้อมูล IMF พบว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนอินเดียเท่ากับ 1,389 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 ในขณะทีเกณฑ์ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ หรือ PPP เท่ากับ 3,694 เหรียญสหรัฐฯ ซึงน้อยกว่าตัวเลขของจีนที่ 5,414 เหรียญสหรัฐฯ และ 8,382 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
  • ถึงแม้ว่าจะมีการถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 2551 และอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งในตัวเมืองและชนบทเป็นจำนวนมาก การเลือกตั้งที่ผ่านมาในปี 2552 อินเดียสามารถจัดตังรัฐบาลผสมที่มีพรรค the United Progressive Alliance (UPA) เป็นแกนนำรวมกับพรรคอิสระที่มีขนาดเล็กกว่าได้ ซึ่งต่างจากการจัดตั้งรัฐบาลของอินเดียที่ผ่านมาที่ประกอบไปด้วยหลายๆ พรรคซึ่งทำให้เพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาลส่วนภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การจัดตังพรรคผสมโดยมีพรรค UPA เป็นแกนนำซึ่งทำให้รัฐบาลมีเสียงอำนาจมาก ทำให้ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างระเบียบต่างๆ เป็นไปได้ช้า ซึ่งจะเห็นได้จากความล่าช้าในการนำระบบภาษีบริการและภาษีสินค้าของประเทศมาใช้ และตั้งแต่ปี 2553 การเมืองของอินเดียถูกโจมตีอย่างหนักจากการทุจริตในการขายสัมปทานช่องสัญญาณโทรศัพท์ระบบ 2 G ในปี 2551 (ทั้งนี้ การให้สัมปทานดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปจนหมดในช่วงต้นปี 2555)
  • ภาคเกษตรกรรมถือเป็นภาคหลักของเศรษฐกิจในอินเดีย ซึ่งมีประชากร 2 ใน 3 ของประเทศอาศัยอยู่ตามชนบทและประชากรวัยทำงานมากกว่าครึ่งทำงานในภาคนี้ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 11 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2552 ภาคเกษตรกรรมมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 2.5 ต่อปี ซึ่งทำให้สัดส่วนของภาคเกษตรกรรมต่อเศรษฐกิจทั้งหมดของอินเดียลดลงจากร้อยละ 25.7 ในปี 2541 เหลือร้อยละ 17 ในปี 2552 โดยภาคเศรษฐกิจทีมีการขยายตัวมากขึ้น คือ การกระจายสินค้า การคมนาคม การสื่อสาร การเงิน และการให้บริการทางธุรกิจ ภาคธุรกิจก่อสร้างก็มีการขยายตัวมากขึ้นที่ร้อยละ 9 ต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว ในส่วนภาคอุตสาหกรรมมีผลประกอบการในระดับปานกลาง โดยมีภาคการผลิตโตทีร้อยละ 7.3 ต่อปี และด้านสาธารณูปโภคซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อโครงสร้างขันพื้นฐานของเศรษฐกิจอินเดียมีอัตราการเติบโตอย่างเชื่องช้าที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาหลักต่อการพัตนาประเทศในอนาคต นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังต้องเผชิญกับความลำบากในการหาที่ตั้งโรงงานที่เหมาะสมด้วย
  • จากการขยายตัวของภาคบริการที่ทำให้อินเดียมีประชากรที่มีรายได้ในระดับกลางมากขึ้น ทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้ในชนบทกับภาคอุตสาหกรรมลดลง การเพิ่มขึ้นของรายได้ประกอบกับการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ยืมทำให้ประชากรใช้จ่ายเงินไปกับสินค้าประเภทคงทนมากขึ้น เช่น รถยนต์ โทรศัพท์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ได้จำกัดอำนาจในการซื้อของผู้บริโภคในตัวเมืองและชนบท และหากเศรษฐกิจของอินเดียมีการเติบโตในอัตราทีสูงอย่างยั่งยืนติดต่อกันเป็นหลายทศวรรษ ก็จำเป็นต้องให้ประชากรที่มีจำนวนมากขึ้นมีฐานะความเป็นอยู่เหนือกว่าระดับค่าครองชีพขันพื้นฐานด้วย โดยการเพิ่มอัตราผลผลิตในภาคเกษตรกรรม เพิ่มมาตรฐานการศึกษา และพัฒนาเมืองต่างๆ ให้รองรับกับการเคลือนย้ายประชากร
  • ในช่วงศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจอินเดียเริมมีการส่งออกมากขึ้น โดยมีการส่งออกในภาคบริการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมซอฟแวร์และการให้บริการส่วนงานธุรกิจโดยบุคคลที่สาม ( business outsourcing) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.6 ของ GDP ในปี 2553 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.2 ในปี 2540 และสัดส่วนการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.5 เป็นร้อยละ 13.8 ของ GDP ทั้งนี้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการลงทุนจากต่างประเทศในอินเดีย
  • การเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจอินเดียในช่วงปี 2546 - 2550 ส่งผลให้การขาดดุลงบประมาณของภาครัฐที่ร้อยละ 5.9 ของ GDP ในปี 2545 ลดลงเป็นร้อยละ 2.7 ในปี 2550 อย่างไรก็ตาม ต่อมาภายหลังเศรษฐกิจอินเดียชะลอตัวลง ทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 6.7 ในปี 2552 ซึ่งถือว่าเป็นการขาดดุลในระดับสูง ทำให้รัฐบาลมีความพยายามที่จะลดการขาดดุลดังกล่าวลง โดยตั้งเป้าให้เหลือที่ร้อยละ 4.1 ในปี 2555 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการตามเป้าได้ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการอุดหนุนราคาน้ำมันเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงได้ตังเป้าการขาดดุลงบประมาณใหม่ ในปี 2555 ที่ร้อยละ 5.1 ของ GDP

นายศศินทร์ สุขเกษ/ นางสาวภัทรมน กนิษฐานนท์ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ

มิถุนายน 2555


แท็ก อินเดีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ