ประเมินสภาพเศรษฐกิจอิหร่าน ณ เดือนมิถุนายน 2555
หากพิจารณาจาก Purchasing power parity (PPP) เศรษฐกิจอิหร่านมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 18 ของโลก และมีตลาดขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอิหร่านร้อยละ 2.6 อัตราการว่างงานในอิหร่านร้อยละ 12 -22 และอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 15 -20 ต่อปี อิหร่านมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ามันดิบและก๊าซธรรมชาติ และน้าเข้าสินค้าอาหาร สิ่งทอ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป จากต่างประเทศ
ในปี 2554 ไทยส่งออกสินค้าไปอิหร่านเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 985.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.19 เมื่อเทียบกับปี 2553 และไทยน้าเข้าสินค้าจากอิหร่านเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 139.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 50.39 เมื่อเทียบกับปี 2553 ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับอิหร่าน เป็นมูลค่า 845.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2555 มูลค่าการส่งออกของไทยไปอิหร่านลดลงร้อยละ 37.68 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 เนื่องจากปัญหาการคว้าบาตรทางการค้าจากสหรัฐ อเมริกาและสหภาพยุโรปที่ทวีความรุนแรงขึ้น
มูลค่าการส่งออกไม่ต้ากว่าปี 2554 สินค้าเป้าหมายได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ อะไหล่และอุปกรณ์รถยนต์ สินค้าวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้าน สินค้าเครื่องดื่มชูก้าลัง (Energy Drink) สินค้าไก่แช่แข็ง สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ดอกกล้วยไม้ไทย เป็นต้น บริการเป้าหมายได้แก่ การศึกษา สปาและการนวดแผนไทย บริการ Re-export และ Logistic เป็นต้น
เนื่องจากอิหร่านถูกคว่ำบาตรจากสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ไทยปฏิเสธรับ L/C ที่เปิดมาจากประเทศอิหร่าน หรือแม้แต่ผ่านประเทศที่ประเทศปลายทางเป็นอิหร่าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยอย่างรุนแรง หากไทยมีนโยบายเสริมสร้างช่องทางอ้านวยความสะดวกในการช้าระค่าสินค้าระหว่างนักธุรกิจไทยและอิหร่าน ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศให้เพิ่มมากขึ้นมหาศาล เช่นเจรจากับรัฐบาลอิหร่านเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter Trade) กับอิหร่าน หรือการทำข้อตกลงระบบการค้าหักบัญชีกับอิหร่าน (Account Trade) ก็จะช่วยหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการคว้าบาตรฯ ได้
จุดอ่อน ในปี 2555 อิหร่านถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติเพิ่มมากขึ้น โดยสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ประกาศระงับนำเข้าน้ามันจากอิหร่านตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2555 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ระบบ SWIFT ตัดธนาคารอิหร่านออกจากระบบอีกด้วย ทำให้ ผู้นำเข้าอิหร่านประสบปัญหาการช้าระค่าสินค้าและการน้าเข้าสินค้าอย่างรุนแรง นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการที่อิหร่านไม่ได้เป็นประเทศสมาชิก WTO ประกอบกับมีนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมและตลาดภายในประเทศ ทำให้มีกฎระเบียบการค้าต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้ามากมาย
จุดแข็ง อิหร่านเป็นประเทศที่มีประชากรกว่า ๗๖ ล้านคน และมีทรัพยากรน้ามันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล โดยรายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมันและสินค้าปิโตรเคมี ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อสูง ตลาดอิหร่านมีคู่แข่งน้อยและเมื่อสามารถเข้าตลาดได้จะสามารถครองตลาดได้เกือบทั้งหมด อุปสรรคต่างๆ ของอิหร่าน ได้กลายเป็นโอกาสทองของผู้ส่งออกไทยที่จะเปิดตลาดสินค้าและบริการในตลาดที่มีคู่แข่งน้อยและเป็นตลาดใหม่ ซึ่งหากผู้ส่งออกไทยสามารถบุกเบิกตลาดอิหร่านได้ก่อน ก็จะสามารถยึดหัวหาด ครองส่วนแบ่งตลาดได้ก่อนประเทศอื่นๆ
สินค้าที่มีโอกาสขยายตลาดอิหร่านได้แก่ ข้าว ผลไม้ อาหารทะเลแปรรูป เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ผักกระป๋อง เช่น ข้าวโพดอ่อน ไม้ Medium-density fibreboard (MDF) กระดาษ ยางพารา สินค้าชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ สินค้าชิ้นส่วนตู้เย็น เครื่องท้าความเย็น เครื่องปรับอากาศ สินค้าหัตถกรรมและเครื่องไม้ เพื่อใช้เป็นของขวัญหรือของตกแต่งบ้าน ส้าหรับการลงทุนที่มีศักยภาพในอิหร่านได้แก่การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เนื่องจากอิหร่านมีวัตถุดิบและอุตสาหกรรมน้ามันสามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีปลายนำเพื่อการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมประมงเป็นอีกอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนเช่นกัน เนื่องจากทางชายฝั่งตอนใต้ของอิหร่านติดกับอ่าวเปอร์เซียที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้านานาชนิด
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน
มิถุนายน 2555