ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า : สหราชอาณาจักรกับไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 19, 2012 14:48 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า : สหราชอาณาจักรกับไทย

1. ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร
1.1 การส่งออก
  • สินค้าส่งออกหลัก : เครื่องจักรกล น้ำมันดิบ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ เครื่องจักรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยา เครื่องมือทาง

การแพทย์ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เครื่องบินและอากาศยาน พลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น

  • มูลค่าการส่งออก : 511,979 ล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2011)
  • ประเทศคู่ค้า(ส่งออก)สำคัญ : สหรัฐอเมริกา(12.20%) เยอรมัน(10.37%) สวิสเซอร์แลนด์(7.47%)ฝรั่งเศส(7.24%)

เนเธอร์แลนด์(7.14%) สาธารณรัฐไอร์แลนด์(5.40%) เบลเยี่ยม(4.82%) อิตาลี(3.11%) สเปน(2.96%) จีน(2.74%) 1.2 การนำเข้า

  • สินค้านำเข้าหลัก : น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล อัญมณีและเครื่องประดับ ยานพาหนะ เครื่องจักรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยา

ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

  • มูลค่าการนำเข้า 670,406 ล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2011)
  • ประเทศคู่ค้า(นำเข้า)สำคัญ : เยอรมัน(12.17%) สหรัฐอเมริกา(8.91%) จีน(8.44%) เนเธอร์แลนด์(6.78%)

ฝรั่งเศส(5.80%) นอร์เว(5.66%) เบลเยี่ยม(4.50%) อิตาลี(3.50%) ไอร์แลนด์(3.10%) และแคนาดา(2.96%)

2. การค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรกับประเทศไทย
  • มูลค่าส่งออกจากไทย รวม 3,887.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2554 และ 878.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ม.ค-มี.ค ปี 2555)
  • สินค้าส่งออกจากไทย 10 รายการแรก คือ ไก่แปรรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋อง

และแปรรูป แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ

เครื่องสำอางค์ สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องจักรและส่วนประกอบ

  • มูลค่านำเข้าจากไทย รวม 1,949.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2554 และ 449.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ม.ค-มี.ค. ปี 2555)
  • สินค้าส่งออกมาไทย 10 รายการแรก คือ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา

เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์

เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ

3. สถานภาพทางเศรษฐกิจ
  • การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรยังคงอย่างเปราะบาง ดัชนีเศรษฐกิจสาคัญหลายตัวปรับตัวแย่ลง การขยายตัวของ

GDP ปรับลดลงจากร้อยละ 2.1 ปี 2010 เป็นร้อยละ 0.7 ในปี 2011 อัตราการว่างงานและจำนวนผู้ว่างงาน พุ่งแตะระดับ

ร้อยละ 8.3 เป็น 2.65 ล้านคน(กุมภาพันธ์ 2012) ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อยังคงระดับร้อยละ 3.5 (มีนาคม 2012)

นอกจากนี้ สาหรับในปีงบประมาณ 2012/13 ทั้งปี รัฐบาลขาดดุลงบประมาณทั้งสิ้น 120. พันล้านปอนด์ ยอดหนี้สาธารณะในเดือน

มีนาคม 2553 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2009/10 อยู่ที่ระดับ 1,046.0 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 65.26

ของ GDP

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของสหราชอาณาจักรอยู่ที่ระดับร้อยละ 20.0 โดยอัตราดังกล่าวใช้สาหรับสินค้าและบริการ

ทั่วไป ส่วนสินค้าที่ภาษีอยู่ที่ร้อยละ 0 ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ และวารสารต่างๆ เสื้อผ้า/รองเท้าเด็ก หมวกสาหรับรถจักยาน

และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งหมวกและรองเท้าสำหรับป้องกันใช้ในภาคอุตสาหกรรม และสินค้าพิเศษบางรายการ เช่น อุปกรณ์สาหรับ

คนพิการ เป็นต้น

4. ลู่ทางการค้าและการลงทุนในประเทศ
4.1 ลู่ทางการค้า

ปัจจุบันสหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในสหภาพยุโรป และเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและมีความต้องการสินค้าที่หลากหลาย ประกอบกับที่สินค้าไทยหลายประเภทเป็นที่นิยมรู้จักและอยู่ในความต้องการของตลาดอยู่แล้ว เช่น สินค้าประเภทอาหาร อัญมณีเครื่องประดับ ของใช้/ประดับตกแต่งบ้าน โดยกระแสความนิยมในส่วนของสินค้าอาหาร ให้ความสาคัญกับสุขภาพ และเกษตรอินทรีย์ (healthy and organic) ในส่วนสินค้าทั่วไป สินค้าที่ผ่านกระบวนการการผลิตที่ยั่งยืน/รักษาสิ่งแวดล้อม (environmental friendly/sustainable) และสินค้าที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม/การไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ผลิตในประเทศกำลังพัฒนา (fair trade) มีลู่ทางที่ดีมาก ซึ่งบริษัทผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายต่างแสวงหาแหล่งสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอยู่เสมอ ดังนั้น หากผู้ส่งออกไทยสามารถตอบสนองต่อแนวโน้มของตลาดได้ ก็จะเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้ามายังตลาดสหราชอาณาจักรมากขึ้น 4.2 ลู่ทางการลงทุน 14.2.1 การลงทุนของสหราชอาณาจักรในประเทศไทย : สหราชอาณาจักรเป็นประเทศในกลุ่มสหภาพ ยุโรปที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุด ธุรกิจของ สหราชอาณาจักรที่เปิดดาเนินการอยู่ในไทยมีจานวนประมาณ 600 บริษัท จากสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทย เงินลงทุนโดยตรงจากสหราชอาณาจักร (net flow of FDI) ในไทย ปี 2551 (2008) มีมูลค่า 313.22 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ จากสถิติของสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โครงการลงทุนจากสหราชอาณาจักรที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 283 โครงการ เป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 138,698 ล้านบาท การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมบริการ และสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเบา โดยในปี 2551 (2008) มีโครงการได้รับการส่งเสริม 31 โครงการ มีมูลค่าการลงทุน 9,004 ล้านบาท ธุรกิจของสหราชอาณาจักรที่สำคัญในไทย ได้แก่ TESCO (ธุรกิจค้าปลีก) Boots (ธุรกิจสินค้าสุขภาพ), Triumph (โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์), ธนาคาร HSBC และ Standard Chartered, ธุรกิจพลังงาน BG Group Shell, Unilever, ICI (ปิโตรเคมี), Castrol (น้ำมันหล่อลื่น), GKN (ชิ้นส่วนรถยนต์), Thames Water (ผลิตน้ำประปา) Abbeycrest Thailand Limited(ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ) 4.2.2 การลงทุนของไทยในสหราชอาณาจักร : ในปัจจุบัน การลงทุนโดยตรงของไทยในสหราชอาณาจักร โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม ร้านอาหารไทย และธุรกิจนำเข้า/จัดจำหน่ายสินค้าอาหารไทย/ซุปเปอร์มาร์เก็ตไทย นอกจากนี้ ก็มีธุรกิจนำเข้า/จัดจาหน่ายของใช้/ของประดับตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ สปา และธุรกิจโรงแรม ประเภทธุรกิจที่ไทยมีมูลค่าการลงทุนสูงสุด คือ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจโรงแรม ทั้งนี้ สาหรับธุรกิจร้านอาหารไทย ธุรกิจนำเข้า/จัดจำหน่ายอาหารสินค้าไทย/ซุปเปอร์มาร์เก็ตไทย ธุรกิจนำเข้า/จัดจำหน่ายของใช้/ของประดับ/ตกแต่งบ้าน ธุรกิจนำเข้า/จัดจำหน่ายเครื่องประดับ ธุรกิจสปา นั้น เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (1) ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม : บริษัทเอกชนรายใหญ่ของไทยที่ลงทุนในสาขานี้ มี ดังนี้

  • CPF UK (Limited) : ในปี 2545 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จากัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมลงทุนใน CP FOODS (UK) Limited กับนักธุรกิจชาวอังกฤษ เพื่อดำเนินธุรกิจการนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าประเภทเนื้อสัตว์แปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปในสหราชอาณาจักร โดยซีพีเอฟถือหุ้นทางอ้อมในสัดส่วนร้อยละ 52.00 ด้วยทุนจดทะเบียน 300,000 ปอนด์สเตอร์ลิง มีโรงงานผลิตตั้งอยู่ที่ Newmarket, Suffolk มีคนงานประมาณ 100 คน โดยนำเข้าผลิตภัณฑ์ CPF สำเร็จรูป (ready prepared) จากไทยเข้ามา process และบรรจุใหม่ ได้แก่ ไก่ กุ้ง เป็ด และติ่มซา บริษัท CPF UK ดำเนินธุรกิจด้านการ supply สินค้าอาหารให้แก่ทั้งผู้ค้าปลีกรายใหญ่ (อาทิ Tesco; Sainsbury) และผู้ค้าปลีกรายย่อย รวมถึงร้านอาหาร และผู้ผลิตอาหารสาเร็จรูปอื่นๆ โดยเป็นผู้นำเข้าไก่แปรรูปอันดับหนึ่งของไทยในสหราชอาณาจักร มีปริมาณนาเข้าสินค้าสูงถึง 3,000 — 3,500 ตันต่อเดือน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดรวมแล้วถึงร้อยละ 50 ในสหราชอาณาจักร
  • Beer Singh : ที่ผ่านมา เบียร์สิงห์มีการนำเข้ามาจำหน่ายในสหราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่องมา 30 กว่าปีแล้ว โดยผ่านบริษัทผู้นาเข้า/จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว (exclusive distributor) ชื่อ Entbe Ltd ทั้งนี้ ในปี 2009 เบียร์สิงห์ได้เปลี่ยน exclusive distributor เป็น Molson Coors แทน โดยมีการลงนามในสัญญา 5 ปี ปัจจุบัน เบียร์สิงห์มีขายในร้านอาหารไทย รวมทั้งซุปเปอร์มาเก็ต mainstream ได้แก่ Tesco, Sainsbury’s, Waitrose นอกจากนี้ บริษัทได้เปิด representative office ทาหน้าที่ด้านการตลาด ด้วย
  • บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จากัด (มหาชน) หรือ ไทยเบฟ : ได้มีการเปิดตัวเบียร์ช้างอย่างเป็นทางการในสหราชอาณาจักรในปี 2550 และสืบเนื่องจากความสำเร็จของการเป็น main sponsor ใน Premiership club Everton FC ที่ทำให้เบียร์ช้างเป็นที่รู้จักในสหราชอาณาจักรเพียงในเวลาไม่กี่ปี ปัจจุบัน บริษัท International Beverage Holdings (UK) Limited ซึ่งเป็นบริษัทลูกของไทยเบฟ จึงได้เปิด website จำหน่ายเบียร์ช้างทาง on-line ที่ http://www.changbeerstore.com/ โดยมีบริษัท RHA Merchandising เป็น official distributor ของ Chang Beer และ Chang Beer branded merchandise ทาง online นอกจากนี้ International Beverage Holdings (UK) Limited ยังลงทุนในการเข้าถือหุ้นใน Inver House Distillers Limited ซึ่งจำหน่ายสุราวิสกี้ และสุราพรีเมี่ยมต่างๆ ที่ผลิตในประเทศสก็อตแลนด์อีกด้วย
  • Siam Winery Trading Plus Co. Ltd บริษัทในเครือกระทิงแดง ขายไวน์ไทย ยี่ห้อ Monsoon Valley ; Spy Winecooler; Sabai นำเข้าโดย Red Bull UK ปัจจุบันมีขายในร้านอาหารไทย และร้านประเภท off-licences และซุปเปอร์มาเก็ตไทยหลายแห่ง
(2) ธุรกิจโรงแรม บริษัทเอกชนไทยรายใหญ่ที่ลงทุนในสาขานี้ ได้แก่
  • Landmark Group : ได้เข้าซื้อกิจการโรงแรม 4 แห่งในสหราชอาณาจักร คือ Royal Lancaster (ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น Lancaster London — 4 ดาว) ; The Landmark London Hotel ( 5 ดาว) ; K West Hotels & Spa ; Basil Street Apartments ทั้งหมดตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน

(3) ธุรกิจร้านอาหารไทย ซึ่ง จากการสำรวจของสำนักงานฯ ในปี 2554 มีร้านอาหารไทยใน สหราชอาณาจักรจำนวนประมาณ 1,600 แห่ง โดยรวมถึงร้านอาหารไทยที่มีคนไทยเป็นเจ้าของกิจการ และร้านอาหารไทยที่มีต่างชาติเป็นเจ้าของ โดยเป็นการลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ทั้งนี้ สำหรับร้านอาหารไทยที่มีคนไทยเป็นเจ้าของกิจการ ที่มีการลงทุนอย่างจริงจัง คือ ร้าน Patara Fine Thai Cuisine (เจ้าของเดียวกันกับ S&P) มีสาขารวมทั้งสิ้น 4 สาขาในกรุงลอนดอน ในส่วนของร้านอาหารไทยที่มีต่างชาติเป็นเจ้าของ ร้านที่มีสาขามากที่สุด คือ Thai Square โดยมีเจ้าของเป็นชาวยิวซึ่งมีคู่สมรสเป็นคนไทย มีสาขาทั้งสิ้น 18 สาขา ในลอนดอน และปริมณฑล เป็นต้น

(4) ธุรกิจนำเข้า/จัดจาหน่ายสินค้าไทย และซุปเปอร์มาร์เก็ตไทย โดยส่วนใหญ่ที่มีคนไทยเป็นเจ้าของกิจการจะเป็นร้านขนาดกลาง-เล็ก ทั้งนี้ ธุรกิจนำเข้า/จัดจำหน่ายสินค้าอาหารเอเชียรวมถึงอาหารไทยที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่มักเป็นของชาวจีน เกาหลี และญี่ปุ่น เนื่องจากมีเงินทุนมากกว่า

(5) ธุรกิจสปา : การลงทุนของไทยในธุรกิจสปา ส่วนใหญ่เป็นการเปิดร้านให้บริการนวดแผนไทย/สปาไทย ซึ่งมีจำนวนปานกลาง แต่ที่มีคุณภาพมีเพียงไม่กี่ราย บางแห่งจะใช้ผลิตภัณฑ์ สปาไทยที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ร้าน Sabai Leela ใช้ผลิตภัณฑ์สปาไทย ยี่ห้อ Thann นอกจากนี้ บางผลิตภัณฑ์สปาไทยที่มีชื่อเสียง เช่น Erb มีการนำเข้าและจัดจำหน่ายโดย exclusive distributor ใน สหราชอาณาจักร และประสบความสำเร็จค่อนข้างสูงโดยมีจาหน่ายในร้านลักษณะ beauty salon/retreat ระดับหรูทั่วสหราชอาณาจักร แต่ปัจจุบัน Erb ยังไม่มีการลงทุนเปิดกิจการอย่างจริงจังในสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ ข้อจำกัดของการขยายตัวของธุรกิจให้บริการนวดแผนไทย/สปาไทย คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้/ความเชี่ยวชาญด้านการนวดแผนไทย

5. กิจกรรมส่งเสริมการค้าของกรม

การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่สำคัญๆในสหราชอาณาจักร การจัดคณะผู้แทนการค้าจากสหราชอาณาจักรมาเยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (in store promotion) ร่วมกับผู้นำเข้า/ผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่รวมถึงห้างสรรพสินค้าชั้นนำในสหราชอาณาจักร การส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทย และการประชาสัมพันธ์เผยแพร่สินค้าไทย

6. ประเด็นการค้าที่สำคัญ

สินค้าอาหารจัดเป็นกลุ่มสินค้าที่ทางการสหราชอาณาจักรมีกฎหมาย ระเบียบและมาตรการต่างๆกำหนดไว้ค่อนข้างมาก รวมทั้งด้านสุขอนามัยและการควบคุมตรวจสอบการนำเข้าและจัดจำหน่ายที่เข้มงวดกวดขัน ด้วยเหตุผลด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริโภค ประกอบกับที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปรากฎว่ามีการตรวจพบเชื้อโรคและการแพร่ระบาดของโรคต่างๆที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางมากขึ้น รวมทั้งการตรวจพบสารเจือปนที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ตลอดจนความวิตกเกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มาจากการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตด้านการตกแต่งพันธุกรรม หรือ GMOs (Genetically Modified Organisms) เป็นต้น จึงทำให้มีการออกกฎระเบียบใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาก สหราชอาณาจักรในฐานะประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ต้องกำหนดนโยบายด้านการนำเข้า และกฎระเบียบทางการค้า ที่สอดคล้องกับของอียู ประเด็นการค้าที่สาคัญในปัจจุบัน ได้แก่

(1) การเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าอาหารนำเข้าจากไทย :

สืบเนื่องมาจากกฎระเบียบของสหภาพยุโรป Commission Regulation (EC) No. 669/2009 แก้ไขโดย Commission Regulation (EU) 212/2010 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2010 ที่ควบคุมอย่างเข้มงวดการนำเข้าสินค้าอาหาร และอาหารสัตว์ที่มีแหล่งกำเนิดจากพืชที่จัดว่าเป็นสินค้า ‘high risks’ จากประเทศนอกสหภาพยุโรปบางประเทศ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพของสาธารณะจากการมีการตกค้างของสารปนเปื้อน และ/หรือมีการตกค้างของยาฆ่าแมลง โลหะหนัก (เช่น cadmium; lead; Ochratoxin A) สี Sudan dyes และ aflatoxins ในปริมาณสูงกว่ามาตรฐาน โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2553 ซึ่งประเทศที่เข้าข่าย จะมีรายชื่อปรากฏใน Annex ของ Commission Regulation (EU) 212/2010 ประกอบด้วย อาร์เจนติน่า บราซิล จีน กาน่า อินเดีย ไนจีเรีย Uzbekistan เวียดนาม ปากีสถาน โดมินิแคนรีพลับบลิค ตุรกี และไทย

นอกจากนี้ กฎระเบียบดังกล่าวกำหนดให้พริก (chilli) ผลิตภัณฑ์จากพริก (chilli products) curcuma และ น้ำมันปาล์ม (อาหาร) นำเข้าจากทุกประเทศที่สาม จะถูกสุ่มตรวจสี sudan dyes ในอัตราการสุ่มตรวจ 20% ณ ด่านนำเข้าที่กาหนด

ในส่วนของไทย สินค้านำเข้าจากไทยที่เข้าข่ายต้องถูกตรวจสอบตามกฎระเบียบดังกล่าว คือ ผักสด แช่เย็น หรือแช่แข็ง 3 รายการ ประกอบด้วย ถั่วฝักยาว (yard long beans) พิกัดภาษี 07082000 ; มะเขือ (aubergines) พิกัดภาษี 07093000 ; และกระหล่า (brassica vegetables) พิกัดภาษี 0704 โดยจะถูกกักเพื่อสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง (pesticides residues) ว่าสูงกว่าค่า MRL (Maximum Residue Limit) หรือไม่ ในอัตราการสุ่มตรวจ เข้มที่ 50% ณ ด่านนำเข้าที่กำหนดไว้ (Designated Point of Entry-DPEs)

ทั้งนี้ ในส่วนของการตรวจสอบสภาพสินค้า (physical checks)รวมถึงการวิเคราะห์โดยห้องปฏิบัติการ ระยะเวลาของการตรวจสอบจะเป็นไปตามความเป็นไปได้ทางเทคนิค และสินค้าจะได้รับการปล่อยต่อเมื่อผลการตรวจสอบแสดงว่าเป็นไปตามมาตรฐาน โดยค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าผักทั้ง 3 รายการมายังสหภาพยุโรปได้รับผลกระทบอย่างมาก สำหรับการดำเนินการของฝ่ายไทยเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการบังคับใช้มาตรการสุ่มตรวจ 50% ล่าสุด สคร. ณ กรุงลอนดอน ได้รับแจ้งจากสานักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศ ประจาสหภาพยุโรป ว่า กรมวิชาการเกษตร จะใช้การจัดประเภทผู้ส่งออกที่มีระบบการควบคุมความปลอดภัยสินค้าที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เป็นแนวทางในการบรรเทาปัญหาและเจรจากับฝ่ายสหภาพยุโรปต่อไป นอกจากนี้ ได้ขอความร่วมมือจากผู้ส่งออกผักดังกล่าวของไทย ส่งออกเฉพาะสินค้าที่ได้มาตรฐาน เนื่องจาก EU จะมีการทบทวนเปอร์เซ็นต์การสุ่มตรวจภายใต้กฎระเบียบนี้ทุก 4 เดือน หากพบว่าสินค้าที่มีค่าสารตกค้างเกินมาตรฐานมีจานวนลดลงอย่างต่อเนื่อง การเจรจาต่อรองเพื่อขอให้สหภาพยุโรปปรับลดเปอร์เซ็นต์การสุ่มตรวจลงเป็นระดับปกติก็จะมีความง่ายมากขึ้น

7. นโยบายการค้า

กฎระเบียบการนำเข้าและมาตรการทางการค้าของสหราชอาณาจักร

7.1 การออกใบอนุญาตนำเข้า (Import Permit)

Department of Business, Innovation and Skill (BIS) รับผิดชอบในการออกใบอนุญาตนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม

เฉพาะที่เป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า เช่น อาวุธปืนและเครื่องกระสุน วัตถุนิวเคลียร์ และผลิตภัณฑ์เหล็กเหล็กกล้า รวมทั้งสินค้า

สิ่งทอบางรายการจากประเทศเบลารุส จีน มอนเตเนโกร เกาหลีเหนือ และอุซเบกิสถาน

Department of Environment, Food and Rural Affairs (DEFRA) รับผิดชอบออกใบอนุญาตนำเข้าสินค้าเกษตร

ปศุสัตว์ และอาหารที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์นม ไข่ สินค้าประมง สัตว์มีชีวิต ต้นพืช

เมล็ดพืชบางชนิด และอาหารบางประเภทที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ เป็นต้น

7.2 ระบบภาษีนำเข้า

จำแนกพิกัดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าตามระบบ Harmonised System (H.S.) และประเมินจัดเก็บภาษีนำเข้าคิดตามมูลค่า

(Ad Valorem) โดยยึดอัตราภาษีตามที่สภาพยุโรปกำหนด (The European Community Common Customs Tariff)

7.3 ระเบียบขั้นตอนการนำเข้า

สินค้าที่นำเข้าต้องผ่านขั้นตอนทางศุลกากรตามปกติ และชำระภาษีขาเข้า แต่ผู้นำเข้าต้องเสียภาษีอื่นตามที่กาหนดด้วย เช่น

ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

การจัดส่งตัวอย่างสินค้า สิ่งตีพิมพ์โฆษณา และสินค้าหีบห่อทางไปรษณีย์สามารถกระทำได้ แต่สินค้าตัวอย่างจะต้องมีการระบุ(Mark)ด้วยการพิมพ์คำว่าตัวอย่างสินค้าหรือ Sample หรือทำตำหนิด้วยการเจาะหรือตัดบางส่วนของตัวสินค้าด้วย

7.4 การชำระเงินค่าสินค้า การชำระเงินค่าสินค้าส่วนใหญ่ด้วย Letter of Credit (L/C)

7.5 เอกสารประกอบการนำเข้า/เอกสารที่ต้องใช้ในการประกอบเพื่อผ่านพิธีทางศุลกากร : Bill of Lading, Certificate

of Origin, Commercial Invoice, Import Licence (กรณีเป็นสินค้าควบคุมนาเข้า), Health or Sanitary

Certificate เป็นต้น

7.6 การควบคุมเงินตราต่างประเทศ

สหราชอาณาจักรไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนปริวรรตเงินตรา แต่ในการโอนเงินออกนอกประเทศในบางกรณีต้องเป็นไป

ตามกฎหมายป้องกันการฟอกเงิน

7.7 ลักษณะธุรกิจของประเทศ

สหราชอาณาจักรเป็นตลาดที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายต่างมักมีการนำกลยุทธ์ด้านการตลาดใหม่ๆมาใช้

เพื่อให้เข้าถึงผู้ซื้อหรือผู้บริโภคมากขึ้น โดยในการนำเข้าและจัดจำหน่ายมีช่องทางที่ค่อนข้างหลากหลายส่วนใหญ่ผ่านทางบริษัทผู้

นำเข้าและจัดจำหน่ายที่มีเครือข่ายด้านการตลาดที่กว้างขวาง ห้างสรรพสินค้าและห้างซุปเปอร์มาเก็ตรายใหญ่ และการนำเข้า

โดยบริษัทที่ไปลงทุนหรือร่วมลงทุนทำการผลิตในต่างประเทศ รวมทั้งการนำเข้าโดยผ้ำเข้ารายขนาดกลางและขนาดเล็กที่มี

จำนวนเพิ่มขึ้นมาก

7.8 สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์

สหราชอาณาจักรห้ามการนำเข้าสินค้าปลอมแปลง ลอกเลียนแบบ สินค้าที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร

และลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะสินค้าประเภทเทปเพลง ภาพยนตร์ ซอฟแวร์ และผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น

8. แนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้า

การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าในระดับนโยบาย กฎระเบียบ และมาตรการด้านการนำเข้า ส่วนใหญ่ต้องอาศัยการเจรจาในระดับรัฐบาลสหภาพยุโรป หรือในระดับทวิภาคีหากเป็นปัญหากฎระเบียบหรือมาตรการ แนวทางปฏิบัติภายในที่กำหนดโดยทางการของสหราชอาณาจักรเอง

ส่วนปัญหาและอุปสรรคทางการค้าในระดับบริษัทเอกชนจะต้องดำเนินการด้วยวิธีการเจรจาและไกล่เกลี่ยประนีประนอม หรือผ่านกระบวนการพิจารณาตัดสินของศาล ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงประนีประนอมกันได้ แต่บริษัทผู้ผลิตและส่งออกไทยควรยึดปฏิบัติตามแนวทางดำเนินธุรกิจสากลด้วยการมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ถูกต้อง การปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายในเรื่องคุณภาพ รูปแบบ และกำหนดการส่งมอบสินค้าอย่างเคร่งครัด

9. การเตรียมความพร้อมด้านธุรกิจและการเข้าสู่ตลาด

9.1 ศึกษารูปแบบตลาด

เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายจึงต้องมีการนำกลยุทธ์ด้านการตลาดใหม่ๆมาใช้เพื่อดึงดูด

ความสนใจและเข้าถึงผู้ซื้อหรือผู้บริโภคมากขึ้น รวมทั้งในการพัฒนาคุณภาพรูปแบบสินค้าและแสวงหาสินค้าที่มีคุณภาพดีและรูปแบบที่

แปลกใหม่ส่งป้อนตลาดอยู่เสมอ ส่วนในการนำเข้าและจัดจำหน่ายมีช่องทางที่ค่อนข้างหลากหลาย

ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตและส่งออกไทยจึงควรทำการศึกษาติดตามข้อมูลความเคลื่อนไหวของตลาด เพื่อสามารถกำหนดช่องทางที่จะเข้า

สู่ตลาด รวมทั้งในการพัฒนาคุณภาพรูปแบบสินค้าให้ทันต่อความต้องการของตลาด และการวางตำแหน่ง(Position) ของสินค้าได้

อย่างเหมาะสม

9.2 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า

การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการเข้าร่วมหรือไปเยือนงานแสดงสินค้าสำคัญๆทั้งใน

สหราชอาณาจักรและประเทศแถบยุโรปที่เป็นศูนย์กลางจัดงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศที่สาคัญ นับเป็นช่องทางที่จะช่วยให้

สามารถพบกับผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าโดยตรงได้มากขึ้น รวมทั้งได้ทราบภาวะความต้องการของตลาด และการพัฒนาคุณภาพรูปแบบสินค้า

ใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการเข้าสู่ตลาดได้ดียิ่งขึ้น

9.3 การดำเนินกิจกรรมด้านการตลาด

การดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดอื่นๆ เช่น การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ การส่งเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า การเดินทางไป

สำรวจตลาดและพบปะเยี่ยมเยียนผู้ซื้อหรือผู้นาเข้า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายร่วมกับผู้นำเข้า/จัดจำหน่าย และการนำ

กลยุทธ์ด้านการตลาดใหม่ๆมาใช้เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจำหน่าย เป็นต้น

9.4 การจัดหาตัวแทนนำเข้าหรือจัดจาหน่าย

จากการที่เป็นตลาดที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง และมีช่องทางการนำเข้าจัดจำหน่ายที่ค่อนข้างหลากหลาย โดยส่วนมากมักผ่าน

ทางบริษัทผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายที่มีเครือข่ายด้านการตลาดที่กว้างขวาง รวมทั้งการนำเข้าโดยบริษัทผู้นำเข้าขนาดกลางและ

ขนาดเล็กที่มีเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นตัวแทนจัดหาสินค้าให้กับบริษัทรายใหญ่ ห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาเก็ต

ขนาดใหญ่ ประกอบกับเป็นตลาดที่มีกฎระเบียบที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งอาจทาให้เป็นการยากต่อการเข้าสู่ตลาดสำหรับบริษัทผู้ผลิตและ

ส่งออกที่ขาดข้อมูลและความรู้ความเข้าใจสภาพตลาดได้ดีเพียงพอ ดังนั้น การจัดหาบริษัทตัวแทนนำเข้าหรือจัดจำหน่ายที่มีความรู้

ความสามารถอย่างเหมาะสมก็อาจจะช่วยให้การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

9.5 พฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศ

  • ความนิยมสินค้า/รูปแบบสินค้า

เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกาลังซื้อสูง แต่ก็เป็นตลาดที่ค่อนข้างมีความหลากหลาย ผู้บริโภคชาวอังกฤษระดับบนมีรสนิยมสินค้าที่มี

คุณภาพดี ทันสมัย และตามแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล สินค้าแบรนด์เนมที่มีชื่อเสียง เป็นผู้นำในด้านคุณภาพมาตรฐาน

และแฟชั่น จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่เป็นผู้ซื้อระดับสูงที่มีกำลังซื้อมาก แต่ก็ยังมีกลุ่มผู้ซื้อระดับกลาง ระดับล่างที่นิยม

สินค้าที่คุณภาพรูปแบบที่แตกต่างกันไป รวมทั้งกลุ่มผู้ซื้อที่มีความสนใจพิเศษ เช่น กลุ่มผู้บริโภคที่เน้นให้ความสาคัญด้านความ

ปลอดภัยและสุขภาพ กลุ่มผู้ให้ความสนใจต่อสภาพแวดล้อมและความเป็นธรรมต่อสังคม(Fair Trade) เป็นต้น

  • ราคาสินค้า

กลุ่มผู้ซื้อระดับบนมักนิยมสินค้าที่มีคุณภาพรูปแบบทันสมัยแม้มีราคาแพง

กลุ่มผู้บริโภคระดับกลางนิยมสินค้าที่มีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพมาตรฐานและประโยชน์ในการใช้งาน

ส่วนผู้ซื้อในระดับล่างนิยมสินค้าที่มีราคาถูกกว่า

ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายจึงต้องวางตำแหน่งสินค้าและราคาที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ซื้อหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

9.6 การติดต่อนัดหมายทางธุรกิจ

ควรมีการจัดเตรียมข้อมูลอย่างเพียงพอเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากนักธุรกิจชาวอังกฤษมักสนใจ

ในข้อมูลรายละเอียดและมีข้อมูลความต้องการสินค้าที่ชัดเจน โดยควรติดต่อประสานงานล่วงหน้ากับนักธุรกิจคู่เจรจาทางธุรกิจ

เพื่อทราบข้อมูลความต้องการ และเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอเกี่ยวกับตัวสินค้า คุณภาพ รูปแบบ ระยะเวลาการส่งมอบ

สินค้าที่แน่ชัด

Website ที่น่าสนใจ

www.bis.gov.uk (Department for Business, Innovation, and Skills)

www.uktradeinvest.gov.uk (UK Trade & Investment)

www.defra.gov.uk (Department of Environment, Food & Rural Affairs)

www.food.gov.uk (UK Food Standards Agency)

www.customs.hmrc.gov.uk (HM Customs and Excise)

www.statistics.gov.uk (Office for National Statistics)

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า : สหราชอาณาจักรกับไทย
1. การค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรกับทั่วโลก
1.1 การส่งออก
  • สินค้าส่งออกหลัก
  • มูลค่าการส่งออก
  • ประเทศคู่ค้า(ส่งออก)สำคัญ
1.2 การนำเข้า
  • สินค้านำเข้า
  • มูลค่าการนำเข้า
  • ประเทศคู่ค้า(นำเข้า)สำคัญ
2. การค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรกับประเทศไทย
  • มูลค่าส่งออกจากไทย
  • สินค้าส่งออกจากไทย 10 รายการแรก
  • มูลค่านำเข้าจากไทย
  • สินค้าส่งออกมาไทย 10 รายการแรก
3. สถานภาพทางเศรษฐกิจ
4. ลู่ทางการค้าและการลงทุนในประเทศ

4.1 ลู่ทางการค้า

4.2 ลู่ทางการลงทุน

4.2.1 การลงทุนของสหราชอาณาจักรในประเทศไทย

4.2.2 การลงทุนของไทยในสหราชอาณาจักร

(1) ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม :

(2) ธุรกิจโรงแรม

(3) ธุรกิจร้านอาหารไทย

(4) ธุรกิจนำเข้า/จัดจาหน่ายสินค้าไทย และซุปเปอร์มาร์เก็ตไทย

(5) ธุรกิจสปา 5. กิจกรรมส่งเสริมการค้าของกรม 6. ประเด็นการค้าที่สาคัญ 7. นโยบายการค้า

7.1 การออกใบอนุญาตนาเข้า (Import Permit)

7.2 ระบบภาษีนำเข้า

7.3 ระเบียบขั้นตอนการนำเข้า

7.5 เอกสารประกอบการนำเข้า/เอกสารที่ต้องใช้ในการประกอบเพื่อผ่านพิธีทางศุลกากร

7.6 การควบคุมเงินตราต่างประเทศ

7.7 ลักษณะธุรกิจของประเทศ

7.8 สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์ 8. แนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้า 9. การเตรียมความพร้อมด้านธุรกิจและการเข้าสู่ตลาด

9.1 ศึกษารูปแบบตลาด

9.2 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า

9.3 การดำเนินกิจกรรมด้านการตลาด

9.4 การจัดหาตัวแทนนำเข้าหรือจัดจาหน่าย

9.5 พฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศ

9.6 การติดต่อนัดหมายทางธุรกิจ

------------------------------------------

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

พฤษภาคม 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ