ตลาดเครื่องปรับอากาศในกาตาร์และแนวโน้ม
ลักษระอากาศในภูมิภาคตะวันออกกลางมีความแตกต่างกันมากระหว่างฤดุหนาวและฤดูร้อน กล่าวคือฤดูหนาวอากาศลดต่ำลงเหลือ 10 องศาเซลเซียส ในขณะที่ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัดอุณหภูมิสุงถึง 50 องศาเซลเซียส เครื่องปรับอากาศให้ความเย็นภายในบ้านจึงจำเป็นต่อการอยู่อาศัยในปัจจุบัน เครื่องปรับอากาศที่ใช้อยู่ในกาตาร์มีหลายชนิด แตกต่างกันออกไปตามลักษณะสินค้า คือ
1. เครื่องปรับอากาศแบบติดตั้งหน้าต่าง (Window Type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีระบบการทำงานทุกอย่างอยู่ในเครื่องเดียวกันแต่ข้อเสียคือมีเสียงดังรบกวนขณะเปิดเครื่อง ขนาดของเครื่องปรับอากาศแบบติดตั้งหน้าต่างมีตั้งแต่ 15,200-36,500 บีทียู เคยเป็นเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ติดตั้งง่าย มีขนาดพอเหมาะกับเนื้อที่ของที่อยู่อาศัยบนตึกสุงเนื้อที่จำกัด แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมใช้มากนัก
2. เครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วน (Split Type) ไดรับความนิยมติดตั้งใช้ในบ้านเรือนมากขึ้น
3. ระบบทำความเย็นแบบศูนย์รวม ระบบนี้ใช้น้ำเป็นตัวกลางในการสร้างความเย็น เหมาะใช้กับอาคารขนาดใหญ่ ชนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบันระบบทำความเย็นส่วนกลางแบบมหภาค หรือ District Cooling ซึ่งเป็นระบบที่ส่งน้ำเย็นจากโรงผลิตน้ำเย็นส่วนกลางไปยังแต่ละอาคารผ่านโครงข่ายท่อน้ำ เพื่อทำความเย็นให้กับอาคารต่างๆ การมีระบบ District Cooling ทำให้แต่ละอาคารไม่จำเป็นต้องมีเครื่องทำน้ำเย็นของตนเอง นอกจากนี้ District Coo ling สามารถผลิตความเย็นได้จากพลังงานหลายประเภท เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ พลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงความร้อนเหลือทิ้ง District Cooling จะทำให้ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูงขึ้น และมีโอกาสที่จะนำพลังงานเหลือทิ้งมาใช้ เช่น ความร้อนเหลือทิ้งของโรงผลิตไฟฟา และจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้ความร้อนนั้นเป็นแหลงพลังงานใหกับเครื่องทำน้ำเย็น ดังนั้นจึงเป็นระบบทำความเย็นที่ถูกนำมาใช้มากขึ้นตามกระแสในปัจจุบันที่มีความตื่นตัวในด้านการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และช่วยในการประหยัดพลังงานอีกด้วย
ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า มีโรงงานผลิตและประกอบเครื่องปรับอากาศในกาตาร์ คือ Leminar Air Conditioning Company Qatar (LACQ) ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัทกาตาร์กับบริษัท Leminar Air Conditioning Company ของดูไบ ผลิตเครื่องปรับอากาศยี่ห้อ Hattersley, WEICCO, Rheem, Kessels
มูลค่ารวมของการนำเข้าเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนของกาตาร์ พอสรุปได้คือ
- ปี 2551 มูลค่า 293.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ปี 2552 ไม่มีการรวบรวมสถิตินำเข้า
- ปี 2553 มูลค่า 259.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเทศต่างๆที่นำเข้าและมีส่วนแบ่งตลาดในปี 2553 ได้แก่ จีน สหรัฐฯ ไทย มาเลเซีย อิตาลี ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้
และจอร์แดน ฝรั่งเศส และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส ตามลำดับ
ประเทศไทยส่งสินค้าเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนไปกาตาร์มีมูลค่ามากอยู่ในอันดับต้นๆ หลายปีติดต่อกัน โดยมีประเทศคู่แข่งขันอื่นๆ ที่ส่งสินค้าไปจำหน่ายได้แก่
1. จีนเป็นประเทศที่ส่งสินค้าเครื่องปรับอากาศชนิดติดหน้าต่างและอุปกรณ์ไปจำหน่ายมากที่สุด มีส่วนครองตลาดร้อยละ 22.3 ของสินค้ากลุ่มนี้ สิ้นค้าเป็นยี่ห้อต่างประเทศใช้ฐานการผลิตในจีน
2. สหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งตลาดมากเป็นอันดับ 2 หรือร้อยละ 14.6 เป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศคุณภาพดีส่งไปจำหน่ายยังกาตาร์ สินค้าของประเทศสหรัฐฯ มีราคาจำหน่ายแพงที่สุด แต่เป็นที่ยอมรับในตลาดว่าเป็นสินค้าคุณภาพดี ทนทานต่อการใช้งานในสภาพภูมิอากาศร้อน และเนื่องจากสภาพภูมิอากาศบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาฯ มีอากาศร้อนแห้งคล้ายกับสภาพภูมิอากาศในตะวันออกลาง ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศในประเทศสหรัฐฯ สามารถผลิตสินค้าให้ใช้ได้ดีในสภาพอากาศร้อนแห้ง กระแสความเย็นของเครื่องปรับอากาศสามารถให้ความเย็นได้ในขณะที่ความร้อนภายนอกสูงถึง 50 องศาเซลเซียส และเพื่อให้ราคาสินค้าแข่งขันได้ในตลาดนี้ ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศบางบริษัทได้ย้ายฐานการผลิตมาสู่ประเทศเอเซียมากขึ้น สำหรับภูมิภาคนี้โรงงานของประเทศสหรัฐฯ หลายโรงงานตั้งฐานการผลิตอยู่ในประเทศซาอุดิอารเบียผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปทั่วภูมิภาคนี้
3. ประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศที่ส่งกลุ่มสินค้าเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนไปกาตาร์มากเป็นอันดับ 4 รองจากไทย สินค้าของมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าและเทคโนโลยี่ของประเทศญี่ปุน แตมีราคาถูกกว่าสินค้าที่ผลิตจากญี่ปุ่นถึงร้อยละ 10-15
4. ประเทศเกาหลีใต้ ส่งสินค้าเครื่องปรับอากาศทุกชนิดไปจำหน่าย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี สินค้าของเกาหลีมีเครื่องหมายการค้าของตนเอง คุณภาพของสินค้าดีเป็นที่ยอมรับในตลาด อีกทั้งราคาของสินค้าถูกกว่าประเทศอื่นๆ รวมทั้งของไทย ประมาณร้อยละ 12-20 โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศระบบ District Cooling ของยี่ห้อ LG ได้รับความนิยมซื้อหามาก
5. ประเทศซาอุดิอาระเบีย นับได้ว่าเป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายใหญ่อันดับ 3-4 ของโลก สินค้าที่ส่งไปจำหน่ายในภูมิภาคตะวันออกกลางและในกาตาร์เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของตนเอง และสินค้าที่ผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าและเทคโนโลยี่ของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาของสินค้าของประเทศซาอุดิอาระเบีย ไม่สูงมากเทียบกับสินค้าที่นำเข้าจากญี่ปุ่นหรือเอเซียอื่นๆ ทั้งนี้เพราะความได้เปรียบในด้านการขนส่ง รวมทั้งการได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า เพราะเป็นสินค้าที่ผลิตในกลุ่มประเทศ GCC เฉลี่ยระดับราคาของสินค้าซาอุดิอาระเบียต่ำเท่ากับสินค้าจากเกาหลีและต่ำกว่าสินค้าไทยประมาณร้อยละ 10-20
ช่องทางการนำเข้าเครื่องปรับอากาศมีการนำเข้าผ่านผู้นำเข้า แบ่งได้ 2 ช่องทางคือ
1. ผู้นำเข้าและผู้ค้าส่ง ทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้า ขายส่ง ขายปลีก
2. ตัวแทนจำหน่ายหรือ Distributor ของสินค้ายี่ห้อที่เป็นเอเยต์จำหน่าย โครงสร้างราคา การเสนอราคา และการบวกราคาเพิ่ม
- การเสนอราคา ผู้นำเข้าในรัฐดูไบส่วนใหญ่นิยมให้เสนอราคา C&F กาตาร์เป็นเงินเหรียญสหรัฐ
- การบวกราคา สินค้าเครื่องปรับอากาศมีการแข่งขันสูง สินค้าจำหน่ายออกรวดเร็ว ไม่มีการเก็บสต๊อกมากนัก มีช่วงฤดูการจำหน่ายแน่นอน การบวกราคา พอสรุปได้ดังนี้
- ผู้นำเข้า/ค้าส่ง บวกราคาเพิ่มประมาณร้อยละ 15-30
- ผู้ค้าปลีกจะบวกราคานำเข้าประมาณร้อยละ 20-30
กาตาร์ไม่มีการควบคุมและข้อจำกัดการนำเข้า ภาษีนำเข้าประมาณร้อยละ 5 ของราคาซีไอเอฟ โดยมีเอกสารประกอบการนำเข้าตามปกติ คือ Invoice, Certificate of Origin, (ประทับตรารับรองโดยหอการค้าและรับรองโดยสถานทูตกาตาร์ในประเทศไทย) Bill of lading และ Packing List
ฤดูการจำหน่ายสินค้าเครื่องปรับอากาศจะขายได้ดีประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศ และของภูมิภาคตะวันออกกลาง
1. สถานการณ์ตลาดเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนในประเทศกาตาร์นับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะมีการก่อสร้างเกิดขึ้นมากมาย แนวโน้มการขยายตัวของเครื่องปรับอากาศจากไทยขยายตัวตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 ไทยส่งออกไปกาตาร์มูลค่า 13.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 209.1 เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2554
2. สภาพการแข่งขันของตลาดเครื่องปรับอากาศในกาตาร์จะรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จากการแข่งขันจากผู้ผลิตในประเทศ GCC ใกล้เคียงและกับคู่แข่งขันผู้ส่งออกจากประเทศเอเซียอื่น ๆ อาทิ จีน ไทย เกาหลีใต้
3. ความต้องการเครื่องปรับอากาศในประเทศกาตาร์ จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการก่อสร้างบ้านพัก โรงแรม อาคารสำนักงานร้านค้า โดยเฉพาะการก่อสร้างสำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกหรือWorld Cup 2022 โดยจะก่อสร้างสนามแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะใช้เทคโนโลยี่ระดับสูง 12 แห่ง สนามดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ใช้พลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติ และปล่อยมลพิษต้นเหตุโลกร้อนน้อยที่สุด โดยเฉพาะจะนำไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ได้มาป้อนให้กับระบบปรับอากาศของทุกสนาม รวมทั้งการสร้างระบบขนส่งรถไฟฟ้า
ดังนั้นการส่งสินค้าเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์เครื่องทำความเย็นไปในประเทศกาตาร์จะต้องเน้นสินค้าประหยัดพลังงานและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ
พฤษภาคม 2555
Qatar import Air conditioning, equipment & parts during 2008-2010
(H.S.code 8415)
_________________________________________________________________________
2008 M.S. 2009 2010 M.S. Country Value $US % Value $US %
_________________________________________________________________________
1 China 45,923,292 15.6 N/A 57,838,667 22.3 2 USA 37,936,078 12.9 N/A 37,749,457 14.6 3 Thailand 34,176,104 11.6 N/A 27,079,585 10.5 4 Malaysia 16,649,288 5.7 N/A 21,068,177 8.1 5 Italy 30,271,736 10.3 N/A 16,723,741 6.5 6 Saudi Arabia 18,265,447 6.2 N/A 13,216,316 5.1 7 S. Korea 18,223,882 6.2 N/A 11,761,731 4.5 8 Jordan 8,783,705 3.0 N/A 11,060,769 4.3 9 France 11,279,175 3.8 N/A 7,598,650 2.9 10 U.A.E. 15,426,034 5.3 N/A 7,506,446 2.9 Subtotal 236,934,741 80.6 N/A 211,603,539 81.7 Others 56,870,521 19.4 N/A 47,480,825 18.3 World 293,805,262 100.0 N/A 259,084,364 100.0
_________________________________________________________________________