สถานการณ์สินค้าผักสดในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ยูเออีนำเข้าผักสดจากหลายประเทศทั่วโลกตามฤดูกาลให้ผู้ซื้อในประเทศซื้อหารับประทานสับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดปี การเพาะปลูกในประเทศทำได้จำกัดช่วงอากาศไม่ร้อนจัดหรือเดือนธันวาคม-เมษายน การนำเข้ามีหลายรูปแบบ อาทิ นำเข้าโดยใช้การขนส่งแบบรถตู้เย็น จากประเทศจอร์แดน ซีเรีย เลบานอน อียิปต์ ตุรกี ผลไม้ที่นำเข้าจากอิหร่านขนส่งโดยเรือขนสินค้าพื้นเมืองขนาดเล็ก ผลไม้ที่นำเข้าจากอินเดีย และปากีสถานมีการขนส่งทั้งทางอากาศ/ทางเรือขนาดใหญ่และทางเรือขนสินค้าพื้นเมืองขนาดเล็ก ดังนั้นผลไม้สดจากประเทศดังกล่าวข้างต้นมีต้นทุน การขนส่งไม่สูงนักทำให้ราคาจำหน่ายค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับผลไม้ไทยที่นำเข้าด้วยการขนส่งทางอากาศ
มีสวนปลูกผักในรัฐ Ras Al Khaimah และรัฐ Abu Dhabi (เมือง Al Ain/เมือง Liwa) ผักที่ปลูกได้แก่ ผักสลัด (iceberg lettuce), คึ่นช่าย (celery), ต้นกระเทียม (leeks) บรอคคอลี่ แตงกวา มะเขือเทศ มะเขือม่วง เป็นต้น วิธีการปลูกเป็นแบบสวนเปิด ปลูกใน Green House นอกจากนี้มีสวนผักระบบ Hydroponics เน้นปลูกผักสลัดชนิดต่างๆ
หลังจากที่รัฐบาลขึ้นราคาน้ำมันค่าไฟฟ้า-ประปา เทศบาลของรัฐลดเงินช่วยเหลือผู้ปลูกผัก น้ำบาดาลเป็นน้ำกร่อยและปริมาณลดน้อยลง ทำให้ผู้ปลูกผักหลายรายต้องลดเนื้อที่ปลูกผักลง หรือเปลี่ยนไปปลูกเห็ดที่ใช้น้ำน้อย ปลูกดอกไม้ที่มีคู่แข่งขันน้อยกว่า
ในขณะที่ผักชนิดเดียวกันปลูกในประเทศซาอุดิอาระเบียมีต้นทุกราคาต่ำกว่าเพราะรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินและเทคโนโลยี่ รวมทั้งราคาน้ำมันถูกกว่ายูเออี ดังนั้นจึงมีผู้ปลูกผักในประเทศออกมาเรียนร้องให้รัฐบาลยูเออีให้ความสนับสนุนชาวสวนผักอย่างจริงจัง รวมถึงการกำหนดภาษีนำเข้าผักเพื่อปกป้องสินค้าในประเทศ
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวจีนได้เช่าที่ปลูกผักในประเทศโอมานเขตติดต่อกับยูเออี เพื่อส่งเข้าไปจำหน่ายในยูเอออี ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้าฮ่องกง กวางตุ้ง และคึ่นช่าย เป็นต้น และมีราคาขายปลีกถูกกว่า 30-50% เมื่อเทียบกับผักชนิดเดียวกันที่นำเข้าจากไทย และเป็นตัวแปรทำให้ลดการนำเข้าหลายชนิดจากไทยลดลง แต่ทั้งนี้การเพาะปลูกผักดังกล่าวในโอมานจะทำได้ในช่วงเวลาจำกัดหรือเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน
ยูเออีนำเข้าผักสดภายใต้ระหัส h.s. 0709 ครอบคลุมสินค้าแอสปารากัส มะเขือเปราะ คึ่นช่าย เห็ดนางฟ้าสด เห็ดหอมสด พริกไทย/พริกสด เป็นต้น สถิติการนำเข้าในช่วงปี 2551-2553 มีการเปลี่ยนแปลง พอสรุปได้ดังนี้
ปี 2551 นำเข้ามูลค่ารวมมูลค่า 166.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปี 2552 มูลค่า 164.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือลดลงร้อยละ 1.3
ปี 2553 มูลค่า 180.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1
ผักสดในกลุ่มนี้ที่นำเข้าจากไทยมากได้แก่ แอสปารากัส มะเขือเปราะ คึ่นช่าย เห็ดนางฟ้าสด เห็ดหอมสด พริกไทยสด พริกเหลือง พริกขี้หนู(จินดา)เขียว/แดง เป็นต้น ส่วนใหญ่ สินค้าจากไทยมีราคาสูง เนื่องจากสินค้าขนส่งทางอากาศที่มีค่าระวางสินค้าแพง
ในขณะที่รัฐดูไบมีฟาร์มปิด (Green House) ทดลองปลูกผักไทย อาทิผักคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง มะเขือเปราะ ได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ และมีแผนการตลาดเพื่อใช้ส่งขายให้โรงแรมและร้านอาหารไทยในยูเออีและประเทศใกล้เคียงต่อไป
ผักสดของไทยยังมีความต้องการใช้เพราะความนิยมรับประทานอาหารไทย ทำให้มีการเปิดร้านอาหารไทยเพิ่มขึ้น แม้แต่โรงแรมที่ไม่มีร้านอาหารไทยแต่ได้จ้างพ่อครัวไทยสำหรับทำอาหารไทยเป็นเมนูเสริมเพื่อดึงดูดลูกค้า
ยูเออีนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากไทยเมื่อปี 2551 มูลค่า 8.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนตลาด ร้อยละ 5.3
ปี 2552 นำเข้าลดลงเล็กน้อยเป็นมูลค่า 8.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5
และอัตราการขยายตัวในเชิงมูลค่าลดลงร้อยละ 7.4
ปี 2553 ยูเออีนำเข้าเพิ่มเป็นมูลค่า 8.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งตลาดสินค้า ร้อยละ 4.6
และอัตราการขยายตัวในเชิงมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7
- ผู้นำเข้า /ขายส่ง ร้อยละ : 90
- ซูเปอร์มาร์เกต ร้อยละ : 10
ไม่มีภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม
ได้แก่ Invoice, Certificate of Origin ประทับตรารับรองจากหอการค้าไทยและ Legalize จากสถานทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในประเทศไทย Bill of Lading, Packing List และ Health Certificate หากเป็นสินค้าพืชผักและผลไม้สดต้องมี Phytosanitary Certificate
นิยมบรรจุผักในถุงพาสติกใสน้ำหนัก 250-500 กรัมพร้อมสำหรับขายปลีก และบรรจุในกล่องใหญ่เพื่อขนส่ง หากเป็นสินค้าสำหรับส่งโรงแรมหรือร้านอาหารเจ้าประจำ ผู้นำเข้าจะแจ้งรายการให้ผู้ส่งออกบรรจุผักแยกกล่อง เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการขนส่ง ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่นำเข้าสินค้าเองนิยมนำมาบรรจุในถาดโฟมเพื่อขายปลีกในร้าน
พริกขี้หนู(จินดา)เขียว/แดง ผู้นำเข้านิยมนำเข้าพริกสดเรียงเม็ดเป็นระเบียบสวยงามในถาดโฟมน้ำหนักถาดละ 150-200 พร้อมตั้งขายปลีก ราคาจำหน่ายปลีกถาดละ 1.10-2.00 เหรียญสหรัฐฯ
9.1 แม้ว่าประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะมีประชากรเพียง 6.2 ล้านคน ผักสดเป็นสินค้าที่ต้องอาศัยการนำเข้า เพราะภาวะอากาศไม่สามารถอำนวยให้เพาะปลูกได้ตามความต้องการบริโภค ผักสดของไทยที่จัดอยู่ในกลุ่ม Exotic ที่มีคุณภาพดีเมื่อเทียบกับผักชนิดเดียวกันจากประเทศอื่น เช่น ศรีลังกา อินเดีย
9.2 จากการที่ชาวอาหรับและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น มีผลให้รู้จักอาหารไทยหลายชนิด ร้านอาหารไทยในยูเออีเปิดขึ้นหลายแห่งมากขึ้นเพื่อตอบสนองรสนิยมผู้บริโภคอาหารไทย รวมทั้งการวางจำหน่ายผักไทยใน ซุปเปอร์มาร์เกตมากขึ้น สินค้าผักผลไม้สดไทยยังมีโอกาสขยายตัว
9.3 ปัญหาการขนส่งผักของไทยที่ต้องขนส่งทางอากาศเป็นส่วนใหญ่ แต่มีค่าระวางขนส่งสูง อันเป็นอุปสรรคในการแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งขันอื่นๆที่ขนส่งทางอากาศ หรือขนส่งด้วย วิถีทางอื่นๆทำให้ผักจากประเทศเหล่านั้นมีราคาถูกกว่าสินค้าไทย ดังนั้นปัญหาค่าระวางการขนส่งทาง อากาศและค่าบรรจุหีบห่อที่มีราคาสูง อาจเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดนี้
9.4 ข้อแนะนำในการเลือกผู้นำเข้าเนื่องจากในตลาดขายส่งผักผลไม้ในดูไบ จะมีผู้นำเข้า รายสำคัญที่มีลูกค้ารายใหญ่ เช่น Supermarket chain โรงแรม ภัตตาคาร Catering มักจะเป็นผู้นำเข้าที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้ ส่วนผู้นำเข้าระดับกลางและเล็กมีหลายราย เป็นที่เชื่อถือได้ และดำเนินกิจการมานาน ในขณะที่อีกหลายรายผู้ส่งออกไทยจะต้องระมัดระวัง เพราะการค้าขายผักผลไม้ ผู้ส่งออกมักเสียเปรียบ เพราะวิธีการซื้อขายที่ขาดเอกสารผูกมัดให้ผู้ซื้อต้องชำระเงิน กอร์ปกับลักษณะการ จัดตั้งกิจการของผู้นำเข้าในดูไบ จะต้องมีการจดทะเบียนในลักษณะ Sponsorship ซึ่งตัว Sponsor จะมิได้ดำเนินการ แต่จะระบุผู้ร่วมจดทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการซึ่งมักจะเป็นชาวต่างชาติ การจดทะเบียน ดังกล่าวจะเป็นข้อมูลอย่างดีว่า ผู้นำเข้าที่จะร่วมกิจการทางการค้า และเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้มีชื่อระบุไว้ใน ทะเบียนการค้าหรือไม่ แนะนำให้ผู้ส่งออกไทยขอสำเนาการจดทะเบียน ก่อนส่งสินค้า เพื่อป้องกันปัญหาข้อพิพาทส่งสินค้าแต่ไม่ได้รับเงินค่าสินค้า และผู้ส่งออกไม่สามารถติดตามหรือหาตัวผู้นำเข้าได้
ราคา$US:
สินค้า 1 กก. _______________________________ 1 กระเพรา 6.55 2 โหระพา 6.55 3 ผักชีฝรั่ง 7.91 4 ขึ้นฉ่าย 9.55 5 ต้นกุ๋ยฉ่าย 7.91 6 ผักบุ้งจีน 6.55 7 ผักคะน้า 6.82 8 ถั่วฝักยาว 8.05 9 มะเขือพวง 7.91 10 มะเขือปราะ 6.82 11 ลูกมะกรูด 8.05 12 ใบมะกรูด 12.28 13 ใบชะพลู 8.19 14 กระชาย 7.91 15 ตะไคร้ 6.00 16 ข่า 6.00 17 พริกขี้หนูสวน 9.82
18 พริกไทยอ่อน 14.19
19 หน่อไม้ฝรั่ง 10.64
20 หน่อไม้ฝรั่งเล็ก 7.91
21 ชะอม 8.19 22 หน่อไม้ไทย 6.82
23 ผักกาดหอมริมหยัก 8.19 _______________________________
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ
พฤษภาคม 2555