ปีทองตลาดก่อสร้างใน GCC
การก่อสร้างในประเทศตะวันออกกลาง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ หรือ GCC จะเกิดขึ้นหลายโครงการในช่วงปี 2555-2559 โดยมีปัจจัยหนุนจากนโยบายรัฐบาล นำโดยซาอุดิอาระเบียที่จะมีโครงการใหม่ๆเกิดขึ้นมากที่สุด สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะมีโครงการก่อสร้างเกิดขึ้นในกรุงอาบูดาบี ประเทศกาตาร์มีโครงการขนาดใหญ่เพื่อรองรับ Word cup ในปี 2022 และอิรักที่เร่งฟื้นฟูสาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐาน โดยเฉพาะโรงงานไฟ้าที่ยังขาดแคลนเพราะเสียหายจากสงครามหลายครั้งที่ผ่านมา
หลังจากที่เกิดกระแสการต่อต้านความไม่เป็นธรรมในสังคมและในการบริหารนโยบายของรัฐบาล ปัญหาราคาอาหารแพง เกิดขึ้นในหลายประเทศ ทำให้รัฐบาลในตะวันออกกลางหันกลับมาทบทวนนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน โดยได้กำหนดไว้เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เน้นให้ความสำคัญกับการมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และการกระจายรายได้เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจของประชาชน
สำหรับประเทศมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพิงรายได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ โดยได้ลงทุนก่อสร้างโครงการต่างๆ เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต ดังนั้นโอกาสในการเข้าไปลงทุนรับงานก่อสร้างในประเทศเหล่านี้จึงมีแนวโน้มแจ่มใส
มูลค่าการก่อสร้างที่เปิดประมูลในช่วงปี 2012-2016 ของกลุ่มประเทศ GCC ในตะวันออกกลาง มีดังต่อไปนี้
ที่ ประเทศ มูลค่าทั้งสิ้น โครงการก่อสร้าง 1 ซาอุดิอาระเบีย 119 สร้างมหาวิทยาลัย โรงเรียน โรงพยาบาล บ้านพัก ขยายสนามบินนานาชาติ สร้างทาง รถไฟใหม่ ปรับปรุงซ่อมแซมถนน 2 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 75 โครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม พลังงาน สาธารณูปโภคต่างๆ ขยายสนามบินนานาชาติ ท่าเรือ ขนส่งมวลชน และโครงการบ้านพักอาศัย ในเขตรอบนอกกรุงอาบูดาบี 3 โอมาน 30 ปรับปรุงขยายสนามบินสร้าง runway เพิ่ม สร้างถนน สะพาน โรงผลิตไฟฟ้าและน้ำประปา 4 กาตาร์ 26 โครงการก่อสร้างเกี่ยวกับสนามกีฬา โรงแรม โครงการรองรับ World 230 สิ่งก่อสร้างรองรับธุรกิจท่องเที่ยว/พักผ่อนหย่อน Cup ปี 2022 ใจและความบันเทิง 5 คูเวต 25 สร้างเมืองธุรกิจแห่งใหม่ (Silk city) โครงการท่า เทียบเรือสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์และถนน ข้ามทะเลยาว 25 กม. ทางรถไฟและโครงการ รถไฟฟ้า โรงพยาบาลและมหาวิทยาลัย ปรับปรุงและขยายโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มผลผลิต 6 บาห์เรน 10 สร้างที่พักอาศัยจำนวน 23,000 ยูนิต ขยาย สนามบิน สร้างถนนและท่าเรือ 7 อิรัค 35 สร้างที่พักอาศัย โรงผลิตไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน สร้างถนน มูลค่า : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อนาคตของอาคารเขียวในตะวันออกกลาง โครงการที่จะก่อสร้างส่วนใหญ่มีข้อบังคับใช้ โดยจะต้องออกแบบเป็นอาคารเขียว Green building รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นในด้านการอนุรักษ์พลังงานทดแทน และการดูแลสิ่งแวดล้อม นอกจากการออกกฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ในการออกแบบอาคารเขียวแล้ว ยังมีการกระตุ้นในด้านอื่นด้วย อาทิ เพื่อช่วยลดต้นทุนด้วยการลดค่าวัสดุก่อสร้างลงตามโครงการต่างๆ อาคารเขียวหมายถึงการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานในทุกๆที่ใช้อุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สถานที่ก่อสร้างที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี ประหยัดน้ำ-ไฟ และประหยัดพลังงานทั้งระบบจึงจะเป็นอาคารเขียวที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งดเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใส่ใจเพราะแนวโน้มอนาคตจะเกิดขึ้น คือการมีทรัพยากรลดน้อยลง การเติบโตของประชากรมากขึ้น จึงส่งผลให้มีการก่อสร้างอาคารเขียวมากขึ้น รัฐบาลในกลุ่ม GCC ให้ความสำคัญเกี่ยวกับระบบนิเวศ มีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะที่ดูแลการก่อสร้างอาคารเขียว ทำให้อาคารที่จะเกิดใหม่แทบทุกอาคารเป็นอาคารเขียว และที่เห็นเป็นรูปธรรมคือการสร้างเมือง Masdar ในกรุงอาบูดาบี ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นเมืองประหยัดพลังงาน ปลอดควันพิษและขยะ การแสวงหาแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์พลังงาน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศจากภาวะโลกร้อน รวมทั้งการพัฒนาให้เป็นเมืองที่มีการใช้ทรัพยากรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน เมืองแห่งอนาคตนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3750 ไร่ จะเป็นเมืองใหม่เพื่อรองรับประชากรราว 50,000 คน ภายในเมืองประกอบด้วย ที่พักอาศัย ศูนย์ธุรกิจ และสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะสถาบัน Masdar ที่จะเป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยและค้นคิดนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ที่สนใจรับงานก่อสร้างในต่างประเทศจะต้องเริ่มหันมาศึกษาความรู้ทำความ เข้าใจต่อโครงสร้างการก่อสร้างอาคารสีเขียวให้มากขึ้น เพื่อให้สอดรับตามเทรนด์โลกที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องอนุรักษ์ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลประเทศเหล่านี้ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ พฤษภาคม 2555