ตลาดข้าวในตะวันออกกลางและแนวโน้มปี 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 20, 2012 14:24 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตลาดข้าวในตะวันออกกลางและแนวโน้มปี 2555

1. สินค้า : ข้าว พิกัดศุลกากร (HS) : 1006
2. การค้าข้าวของของไทยกับตะวันออกกลาง

2.1 หลังจากที่ประเทศอินเดียหยุดส่งออกไปถึง 3 ปี และกลับมาส่งออกข้าวขาวและข้าวนึ่งอีกครั้งเมื่อเดือนกันยายน 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกข้าวของโลก เนื่องจากราคาข้าวส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำทำให้ผู้ซื้อหลายประเทศหันไปซื้อข้าวจากอินเดีย รวมทั้งประเทศผู้ซื้อในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ประเทศผู้ส่งออกข้าวสำคัญทั้งไทยและเวียดนามจึงต้องปรับราคาส่งออกให้สามารถแข่งขันกับอินเดีย นอกจากนี้ปริมาณผลผลิตข้าวของประเทศผู้ซื้อรายสำคัญ อาทิ อินโดนีเซีย และบังคลาเทศได้เพิ่มขึ้นเพราะในฤดูที่ผ่านมาได้ผลผลิตดีเกินเป้าหมาย คาดว่าผลผลิตข้าวของโลกในปี 2555 นี้ จะเพิ่มสูงขึ้นอีก 2.46 ล้านตัน หรือคิดเป็นปริมาณรวม 461.44 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งอาจจะส่งผลให้การสั่งซื้อข้าวในตลาดโลกชะลอตัวลง

2.2 ภาวะส่งออกของไทย มูลค่าการส่งออกข้าวไทยไปกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง(14 ประเทศ) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพอสรุปได้ดังนี้

ปี 2552 มูลค่า 543.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรืออัตราการขยายตัวลดลง 36.4%

ปี 2553 มูลค่า 665.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 22.5%

ปี 2554 มูลค่า 798.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 20.0

ปี 2555 (มค.-มีค.) มูลค่า 132.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือลดลง 52.2% เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยมีผู้ซื้อข้าวไทยรายสำคัญในตะวันออกกลางพอสรุปได้ดังนี้

1. ซีเรีย เป็นผู้ซื้อมูลค่าสูงสุดในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 หรือมูลค่า 36.1 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการขยายตัวเพิ่ม 383.2% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเดียวกันของปี 2554 (ซีเรียเคยเป็นผู้ซื้อข้าวไทยมูลค่ามากเป็นอันดับ 7 ของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง) การผลิตข้าวของซีเรียประสบกับภัยแล้งและการระบาดของ โรคราสนิมที่ทำลายผลผลิตข้าวต่างๆ รวมทั้งการขยายตัวของประชากร ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ได้แก่ อียิปต์ สหรัฐฯ ปากีสถาน อิตาลี ไทย และเสปน

2. อิรัค ผู้ซื้ออันดับ 4 ในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 มูลค่า 16.9 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราลดลง 78.3% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเดียวกันของปี 2554 (อิรัคเคยเป็นผู้ซื้อข้าวไทยมูลค่ามากเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง) รัฐบาลอิรัคงดซื้อข้าวจากสหรัฐฯมาตั้งแต่ปี 2554 แต่ได้สั่งซื้อข้าวบัสมาติจากอินเดียแทนเพราะราคาถูก และเป็นชนิดของข้าวที่ชาวอิรัคนิยมบริโภคเพราะเมล็ดยาว ร่วนซุย

รัฐบาลอิรักได้เปิดประมูลการซื้อข้าวขาวจำนวน 30,000 ตัน และข้าวบัสมาติ 30,000 ตัน เมื่อเดือนเมษายน 2555 และก่อนหน้าได้ซื้อข้าวอินเดียจำนวน 53,000 ตันตามข้อกำหนดของกระทรวงการค้าอิรักและ Grain Board of Iraq (GBI) คาดว่าปี 2555 อิรักจะซื้อข้าวจำนวนประมาณ 1.2 ล้านตันข้าวสาร

3. อิหร่าน นำเข้าข้าวจากไทยในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 มูลค่าการนำเข้าอยู่อันดับ ที่ 12 การนำเข้า ลดลง 51.9% หรือคิดเป็นมูลค่า 9 แสนเหรียญสหรัฐฯ ( อิหร่านเคยเป็นผู้ข้าวมากเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มฯ) การนำเข้าข้าวของอิหร่านในช่วงปีที่ผ่านมา(20 มีนาคม 2554-20 มีนาคม 2555) มีปริมาณ 1.5 ล้านตัน หรือมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัวในเชิงมูลค่า 160%(จากมูลค่า 916 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในจำนวนนี้ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นผู้ส่งออกต่อ (re-exporter)ไปอิหร่าน โดยได้นำเข้าข้าวจากอินเดียมูลค่า 393 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากปากีสถาน 181 ล้านเหรียญสหรัฐไปอิหร่าน

4. เยเมนผู้ซื้อมากอันดับ 2 ในไตรมาสแรกปี 2555 มูลค่า 23.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (เยเมนเคยเป็นผู้ข้าวมากเป็นอันดับ 4 ของกลุ่มฯ) ข้าวสาลีและข้าวเจ้าเป็นอาหารหลักของชาวเยเมนซึ่งมีมูลค่ามากเป็นอันดับสองจากการนำเข้าสินค้าทั้งสิ้นของเยเมน โดยเฉพาะข้าวจ้าวนั้นต้องนำเข้าทั้งสิ้น ส่วนใหญ่นำเข้าข้าวนึ่งจากไทย

แนวโน้มการนำเข้าข้าวและอาหารปีนี้จะยังมีอย่างต่อเนื่อง เพราะการกสิกรรมในเยเมนลดลง เนื่องจากขาดระบบชลประทานที่ดี แม้ว่าเป็นประเทศที่มีน้ำมันแต่ปัจจุบันปริมาณใกล้หมดแล้ว ที่ผ่านมารัฐบาลซาอุดิอาระเบียให้ความช่วยเหลือจัดส่งน้ำมันให้เยเมน แต่โครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดลงวนเดือนพฤษภาคม 2555

5. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นผู้ซื้ออันดับ 5 ของไทยปี 2554 และในไตรมาสแรกปี 2555 ที่มีมูลค่า 71.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราลดลง 47.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2554 แนวโน้มการนำเข้าจากไทยที่อาจจะลดลงในปี 2555 เป็นเพราะผลจากราคาส่งออกข้าวของไทยสูงกว่าราคาข้าวของประเทศคู่แข่งอื่นๆที่สืบเนื่องจากโครงการรับจำนำข้าวฯภายในประเทศของไทย 3. การค้าข้าวของยูเออี

3.1 การนำเข้าข้าว

              มูลค่า            ปริมาณ                มูลค่าขยายตัว +-%
              ปี 2551     1,517 ล้านเหรียญสหรัฐ      1.3 ล้านตัน  +121.6%
              ปี 2552     1,247 ล้านเหรียญสหรัฐ      1.2 ล้านตัน   -17.8%
              ปี 2553     1.33  ล้านเหรียญสหรัฐ      1.5 ล้านตัน    +7.3%

นำเข้าจากประเทศ : อินเดีย 72% ปากีสถาน 22% ไทย 5.5% สหรัฐฯ 0.7% อียิปต์ ศรีลังกา 0.3% เวียตนาม 0.2% จีน บราซิล อุรุกวัย 0.2% ตามลำดับ

3.2 การส่งออกต่อ(Re-export) : ปี 2010 ยูเออีส่งออกข้าวมูลค่า 520.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณ 567,465 ตัน ตลาดรองรับข้าวที่ยูเออีส่งออกต่อที่สำคัญ ได้แก่ อิหร่าน สิงคโปร์ สหรัฐฯ ซาอุดิอาระเบีย อิรัค เทนซาเนีย โซมาเลีย เคนย่า มาเลเซีย คูเวต และบาห์เรน 4. ช่องทางการนำเข้าสู่ตลาดของยูเออี:

              - ผู้นำเข้า               :  ร้อยละ  60
  • นายหน้า (Trader) : ร้อยละ 20
  • ร้านค้าปลีก/ซูเปอร์มาร์เกต : ร้อยละ 20
5. ฤดูกาลสั่งซื้อ : ตลอดปีเพราะเป็นตลาดนำเข้าเพื่อส่งออกต่อ แต่จะมีปริมาณการนำเข้ามากช่วง

ประมาณ 2-3 เดือนก่อนเดือนถือศีลอด (Ramadan) (ปี 2555 ประมาณกลางเดือน กรกฎาคม) 6. การแข่งขัน : เป็นการแข่งขันกันเองระหว่างผู้นำเข้า 7. ภาษีนำเข้าจากราคา CIF: ร้อยละ 5 8.สิทธิพิเศษศุลกากร : ไม่มี 9.เอกสารประกอบการนำเข้า: Invoice, Certificate of Origin ประทับ ตรารับรองจากหอการค้าไทย และ Legalize จากสถานทูตประเทศ สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ ในประเทศไทย Bill of Lading และ Packing List 10. กฎระเบียบข้อบังคับอื่นๆ : สินค้าข้าวต้องมีใบรับรองคุณภาพหรือสุขลักษณะ Health หรือ Sanitary Certificate มีป้ายฉลากระบุรายละเอียด ชื่อสินค้า ขนาดน้ำหนัก ประเทศต้นทางผู้ผลิตเดือน/ปีที่ผลิต และหมดอายุ พืชต้องมีใบรับรองปลอดโรค Phytosanitary Certificate ประกอบสำหรับวันหมดอายุข้าวสาร ที่จะต้องพิมพ์ บนถุงข้าว มีระยะเวลา 2 ปี และ Barcode หากเป็นสินค้ายี่ห้อของลูกค้าๆจะส่งบาร์โค้คให้ผู้ผลิต 11. ชนิดข้าวที่ยูเออีนำเข้า: จากการนำเข้าข้าวของยูเออีแต่ละปีที่ผ่านมา สามารถแบ่งชนิดของข้าวตามสัดส่วน พอสรุปได้ดังนี้

1. ข้าวบัสมาติ (นำเข้าสัดส่วน ร้อยละ 70) เป็นการนำเข้าจากอินเดีย และปากีสถาน และเป็นข้าวที่นิยมบริโภคในประเทศสูงสุด หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของการนำเข้าข้าวชนิดนี้ สัดส่วนอีกร้อยละ 70 จะใช้เพื่อส่งออกต่อ (re-export) ไปประเทศอิหร่าน อิรัค กลุ่มประเทศ CIS ฯลฯ

2. ข้าวขาว (White rice 5% broken) (นำเข้าสัดส่วน ร้อยละ 15) เป็นการนำเข้าจากไทย และเวียดนาม ข้าวประเภทนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในตลาดมากนัก เนื่องจากมีคุณสมบัติที่แข็งกว่าและมีเมล็ดสั้นกว่าข้าวบัสมาติ แม้ว่าราคาจำหน่ายปลีกต่อหน่วยจะต่ำกว่าข้าวบัสมาติ ซื้อหาบริโภคโดยคนงานและผู้มีรายได้น้อยในประเทศ การนำเข้าส่วนใหญ่เพื่อการส่งออกต่อ (re-export) ไปยังอิหร่าน อิรัค และเยเมน

3. ข้าวหอมมะลิ (นำเข้าสัดส่วน ร้อยละ 10) นำเข้าจากประเทศไทย เพื่อบริโภคในประเทศ สูงถึงร้อยละ 60 ของการนำเข้า ข้าวหอมมะลิจากไทยมีราคาอยู่ในระดับปานกลางและเป็นที่นิยมบริโภคของชาวเอเซีย โดยเฉพาะชาวฟิลิปปินส์ที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอาหรับอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอีกร้อยละ 40 เป็นการนำเข้าเพื่อส่งออกต่อ (re-export) ไปประเทศอิหร่าน

4. ข้าวนึ่ง (parboiled rice) จากประเทศเวียดนาม ปากีสถาน ไทยและอินเดีย รวมทั้งข้าวเมล็ดสั้นที่นำเข้าจากประเทศอียิปต์ และสหรัฐฯ (นำเข้าสัดส่วน ร้อยละ 5) ข้าวเมล็ดสั้นกลุ่มนี้นิยมบริโภคโดยชาวอียิปต์และชาวอาหรับอื่นๆ อาทิ เลบานอน ซีเรียและปาเลสไตน์ ที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 13. สรุป :

1.ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวอาหรับในตะวันออกกลาง หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศกลุ่มอ่าวอาหรับ GCC อาศัยการนำเข้าทั้งสิ้น ตลาดข้าวในตะวันออกกลางยังมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในปีนี้ปริมาณข้าวจะสูงกว่าความต้องการ ทำให้ราคาลดลง ราคาข้าวไทยในตลาดโลกมีราคาสูงกว่าข้าวของเวียดนามและอินเดียซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยเฉพาะอินเดียอาจประกาศส่งออกเพิ่มเพราะราคาข้าวสูงเป็นเหตุจูงใจ ที่สำคัญประเทศยูเออีเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าและบริการ จึงให้ความสำคัญด้านราคาสินค้า

2.ยูเออีมีตลาดส่งออกต่อที่สำคัญคืออิหร่านและอิรัค ซึ่งเป็นชาวตะวันออกกลางที่นิยมบริโภคข้าวจากไทยอย่างสม่ำเสมอ โดยมากมักจะนำเข้าข้าวชนิด 5% และนำเข้าครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้นำเข้าจะขายส่งให้กับผู้ค้า ที่นำเข้าไปยังตลาดอิหร่านเพื่อจำหน่ายต่อไป โดยมีผู้นำเข้าหลักๆรายใหญ่อยู่ประมาณ 10 ราย นอกจากนั้นมีผู้นำเข้าจำนวนไม่มากนักที่นำเข้าไม่สม่ำเสมออีกประมาณ 30 ราย

3. ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นตลาดข้าวระดับบนได้รับการยอมรับ คู่แข่งในตลาดระดับเดียวกับข้าวหอมมะลิไทยคือข้าวบาสมาติของอินเดีย แต่ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทั้งข้าวหอมมะลิและข้าวบัสมาติ รวมทั้งราคาข้าวบาสมาติของอินเดียก็อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าข้าวหอมมะลิของไทย ทำให้ผู้บริโภคจะเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายกัน ข้าวหอมมะลิที่นิยมใช้บริโภคในยูเออีส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่มีจำนวนมาก เช่น ชาวฟิลิปปินส์ และผู้บริโภคกลุ่มใหม่คือชาวจีนที่เข้าไปทำงานอยู่ในยูเออีเป็นจำนวนมากขึ้นประมาณ 120,000 คน ข้าวหอมมะลิไทยมีจำหน่ายหลายยี่ห้อมากขึ้น แต่จากการสำรวจตลาดพบว่าขณะนี้ข้าวหอมของไทยเผชิญปัญหาการปลอมปนเกือบทั้งสิ้น อาทิ การใช้ข้าวหอมมะลิไทยจำนวนเล็กน้อยปนข้าวขาว 5% ใช้ข้าวปทุมปนข้าวขาว ผู้นำเข้าบางบริษัทใช้ข้าวเวียตนามระบุบนบรรจุภัณฑ์ว่า Thai Jasmine Rice/ Made in Thailand

สำนำงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

พฤษภาคม 2555

มูลค่าส่งออกข้าวไทยไปกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง (14 ประเทศ) ปี 2552-2555 (ม.ค.-มี.ค.)
ที่   ประเทศ               มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐ                  อัตราขยายตัว %
                   2552    2553   2554   มค-มีค  2555    2552    2553    2554    มค-มีค 2554  มค-มีค 2555
1   ซีเรีย            6.2    61.9   12.1      36.1       -77.3   895.5   -80.5      -60.8        383.2
2   เยเมน         102.6    79.5   73.3      23.5        37.9   -22.5    -7.8       28.8          0.6
3   ซาอุดิอาระเบีย   132.1    93.2   82.5      18.9        30.9   -29.5   -11.5      -15.9        -12.4
4   อิรัก           122.4   230.5  309.4      16.9       -53.9    88.3    34.2      108.2        -78.3
5   ยูเออี           62.6    59.7   71.6      14.3       -33.5    -4.6    20.0       89.0        -47.0
6   อิสราเอล        45.9    55.2   48.1      13.8         6.5    20.1   -12.8      -16.5          2.1
7   กาตาร์          10.9    12.3    9.9       2.9        -8.4    12.1   -19.2      -31.9         47.2
8   คูเวต            6.2     6.2    8.3       1.3        -8.1     0.5    33.4       27.7        -50.9
9   บาห์เรน          7.7     6.4    4.9       1.2         4.8   -16.6   -23.4       12.9        -25.0
10  จอร์แดน         11.1     8.5    6.0       1.1       -36.9   -23.0   -29.7      -29.7        -19.9
11  เลบานอน         4.8     6.1    8.2       1.1        42.1    28.1    34.1       22.4        -33.1
12  อิหร่าน          16.0    36.9  150.1       0.9       -79.9   130.7   306.7    4,563.3        -99.1
13  โอมาน           1.8     2.7    7.3       0.4       -98.2    47.3   174.4       30.7        -51.9
14  ตุรกี            12.0     5.2    5.6       0.3       -38.4   -56.7     8.9        7.0        -85.1
ตะวันออกกลาง 14    543.0   665.0  798.1     132.8       -36.4    22.5    20.0       91.2        -52.2
ประเทศ
  ไนจีเรีย          577.4   639.2  775.2      85.3        -8.0    10.7    21.3       70.2        -41.7

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ