ปลาสวยงามในตลาดออสเตรีย
ในประเทศออสเตรียปลาสวยงามเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภค นอกจากสัตว์ที่ได้รับความนิยมอื่นๆ ได้แก่ สุนัข แมว นก หรือประเภทสัตว์เลื้อยคลาน โดยในปี 2554 ปลาสวยงามมีจำนวนทั้งสิ้น 1,866 ตัว อัตราการเติบโต ร้อยละ 2.4 มากกว่าสุนัขซึ่งเติบโตเพียงร้อยละ 0.3 และแมว ร้อยละ 0.7 ทั้งนี้ในออสเตรียมีผู้ขายส่ง 3 ราย และมีผู้ค้ารายย่อย 280 รายโดยร้านที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ Fressnapf มีร้านในเครือ 104 สาขา มีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 60 และบริษัทฯ ตั้งเป้าจะขยายสาขาครอบคลุมให้ได้ 120 สาขาทั่วประเทศในปี 2555
ขณะนี้การนำเข้าปลาสวยงามมายังออสเตรีย ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบ จากเดิมผู้นำเข้ารายย่อยจะนำเข้าโดยตรงจากต่างประเทศ แต่เนื่องจากมีปัญหาข้อปลีกย่อยในเรื่องการจัดเตรียมเอกสารการนำเข้า หรือค่าใช้จ่ายต่างๆไม่คุ้มทุน ดังนั้นผู้นำเข้ารายย่อยจึงหันไปซื้อจากบริษัทใหญ่ๆที่มีหลายสาขาแทน
ผู้ค้าปลาสวยงามมีหลายรูปแบบ มีทั้งรายเล็กซึ่งอาจมีแค่ตู้ปลาเพียง 2-3 ตู้ จำหน่ายปลาตู้ตัวเล็กๆ สีสันหลากหลาย หรือปลาที่คนนิยมเลี้ยงทั่วไป ไปจนถึงผู้ค้ามืออาชีพที่ขายเฉพาะปลาทะเลที่หายาก และมักมีปลาน้ำลึก ไว้จำหน่ายด้วย นอกจากนั้นยังมีกลุ่มที่อยู่ในระหว่าง 2 กลุ่มนี้ โดยกลุ่มที่มีร้านในเครือจะเป็นที่นิยมกว่า นอกจากนั้นยังมีกลุ่มที่จำหน่ายปลาสวยงามในร้าน ร่วมกับการจำหน่ายสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เช่น ผู้ค้าสัตว์เลี้ยงทั่วไป บริษัทตกแต่งสวน จัดสระน้ำ บริษัทจัดบ้าน โดยกลุ่มเหล่านี้ไม่ได้จัดเข้าในประเภทผู้ค้าปลาสวยงาม อย่างไรก็ตามแนวโน้มธุรกิจการค้าปลาสวยงาม ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื่อมโยงลูกค้ากับผู้ผลิต หรือการจัดเก็บสินค้า
ประเทศสิงคโปร์ถือว่าเป็นศูนย์กลางการนำเข้าและส่งออกปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่ง โดยนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย อินโดนิเซีย ผ่านกรุงเทพฯ และเข้าไปในยุโรปที่มิวนิค สาธารณรัฐเยอรมัน โดยใช้ขนส่งจากประเทศไทยจนถึงมือผู้นำเข้าที่ปลายทาง ประมาณ 36 ชั่วโมงโดยปลาสวยงามที่ใช้ขนส่งจะต้องมีอุปกรณ์ที่จะทำให้ปลาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ถังน้ำเครื่องบรรจุอากาศ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง เป็นต้น นอกจากนี้มีการนำเข้าจากผู้เลี้ยงในประเทศ สโลวะเกีย หรือประเทศในยุโรปตะวันออก รวมถึงรัสเซีย สำหรับประเทศไทยมีผู้เลี้ยงประมาณ 50 ราย รวมทั้งมีการจับจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติด้วย
Value in Mio USD % Share % Change Rank Country 2009 2010 2011 2011 - 11/10 - 1 Germany 1,90 1,91 2,44 59,1 28,0 2 Czech Republic 0,98 0,94 1,06 25,6 12,0 3 Thailand 0,21 0,20 0,15 3,8 -22,8 4 Indonesia 0,14 0,15 0,12 3,0 -15,0 5 Slovakia 0,01 0,02 0,06 1,5 195,6 6 Sri Lanka 0,10 0,12 0,04 1,1 -63,4 7 Singapore 0,01 0,09 0,04 1,0 -52,6 8 Taiwan 0,01 0,00 0,03 0,7 2.479,2 9 Colombia 0,04 0,02 0,02 0,6 4,8 10 Philippines 0,02 0,02 0,02 0,5 2,6 17 Vietnam 0,00 0,00 0,01 0,2 0,0 19 Malaysia 0,09 0,06 0,01 0,2 -89,8 Total 4,18 4,50 4,13 100,0 -8,3 Source of Data: Eurostat สถิติการส่งออกของปลาสวยงามของประเทศไทยไปทั่วโลก Value in Mio USD % Share % Change Rank Country 2009 2010 2011 2011 -11/10- 1 Hong Kong 2,60 2,39 3,47 15,6 45,3 2 United States 2,47 2,71 3,00 13,5 10,5 3 Singapore 1,66 2,38 2,06 9,3 -13,4 4 Taiwan 1,63 1,47 2,02 9,1 37,7 5 China 0,61 1,22 1,54 6,9 25,7 6 Iran 1,01 1,14 1,18 5,3 4,0 7 Japan 1,31 0,67 0,69 3,1 2,5 8 Russia 0,49 0,46 0,68 3,1 49,2 9 Turkey 0,20 0,40 0,67 3,0 69,3 10 Korea, South 0,36 0,41 0,59 2,7 46,3 35 Austria 0,06 0,04 0,08 0,3 92,4 Total 18,13 18,73 22,22 100,0 18,7 Source of Data: Thai Customs Department อัตราภาษีการนำเข้าปลาสวยงามในประเทศออสเตรีย อัตราภาษีนำเข้าปลาสวยงามเข้ามาในประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป อยู่ระหว่างร้อยละ 0-16 ทั้งนี้เมื่อผู้ส่งออกต้องการส่งสินค้าควรจะเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนที่ www.exporthelp.europa.eu สำหรับเอกสารที่จะต้องยื่นเมื่อต้องการส่งออกไปในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ได้แก่ commercial invoice, Freight document, packing list, customs value declaration, freight insurance และ single administration document (SAD)* กฎระเบียบการนำเข้า ในระยะที่ผ่านมาได้มีการออกกฎระเบียบเพิ่มเติมสำหรับสินค้าปลาสวยงาม เพื่อเป็นการคุ้มครองสายพันธุ์ และปลาที่นำมาเลี้ยง ตลอดจนเพื่อสุขภาพของสัตว์ ได้แก่ ระเบียบศุลกากร ระเบียบด้านความปลอดภัยของสัตว์ และระเบียบด้านสุขภาพของสัตว์ ทั้งนี้ระเบียบศุลกากรถือว่าเป็นกฎระเบียบระดับประเทศ เนื่องจากจะดำเนินการตรวจสอบทันทีที่สินค้าเดินทางถึงท่าเรือหรือท่าอากาศยานของประเทศแรกที่สินค้าจะเข้า ในกรณีที่มีการสำแดงเอกสารไม่ถูกต้อง ได้แก่ใบรับรองผิด บกพร่อง ไม่ได้ใช้ภาษาที่กำหนดไว้ หรือไม่มีใบรับรอง สินค้าจะถูกส่งกลับ สำหรับใบรับรองต่างๆที่สหภาพยุโรปต้องการ ได้แก่ ใบตรวจโรคและใบปลอดโรคของปลาสวยงามของประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของปลา และต้องเป็นประเทศที่ไม่ได้ถูกประกาศว่ามีการ ระบาดของไวรัสในปลา เช่น Spring viremia of carp (SVC), Koi herpesvirus (KHV) ซึ่งอาจมีการสุ่มตรวจสอบได้ นอกจากนั้นยังข้อกำหนดสำหรับการส่งออกปลาสวยงามว่า ประเทศผู้ส่งออกจะต้องเป็นสมาชิก OIE ซึ่งได้แก่ องค์กรที่ให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพอนามัยสัตว์ และประเทศนั้นๆจะต้องมีเครื่องมือในการตรวจสอบโรคของปลา และในกรณีการส่งออกปลาน้ำลึก จะต้องเป็นประเทศที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สหภาพยุโรปได้ขึ้นทะเบียนให้แล้ว ผู้สนใจเรื่องกฏระเบียบเพิ่มเติมสามารถหาข้อมูลได้ที่ http://www.ornamental-fish-int.org/uploads/Ic/jT/IcjTqiL33cuu8x_2oA_Mbw/Legislation.pdf บรรจุภัณฑ์สำหรับปลาสวยงาม เพื่อเป็นการระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยในระหว่างการขนส่ง โดยทางอากาศ องค์กรการบินระหว่างประเทศ ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการขนส่งสัตว์มีชีวิต โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบรรจุสินค้า การติดป้ายสินค้า การให้อาหารและน้ำระหว่างการขนส่ง โดยผู้ส่งออกต้องมีเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงให้เจ้าหน้าที่ ทั้งนี้กฎระเบียบดังกล่าวจะปรับปรุงทุก 2 ปี โดยผู้ส่งออก สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ http://www.iata.org/ps/publications/Pages/live-animals.aspx) การขนส่งปลาสวยงามอยู่ภายใต้ข้อกำหนดสำหรับบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ปลาเงินปลาทอง หรือปลาจากเขตร้อน(tropical fish)คือContainer Requirements 51 และสำหรับปลาคราฟ ปลาขนาด 100 เซ็นติเมตร หรือฉลาม ขนาด 40-100 เซ็นติเมตร และปลาสเตอร์เจียน จะอยู่ภายใต้ Container Requirements 52 ข้อควรระวังในการบรรจุปลาสวยงามเพื่อการขนส่ง การบรรจุปลาเพื่อขนส่งจะต้องใส่ในถุงพลาสติก 2 ชั้น เพื่อกันการรั่ว แตก กรณีที่ปลามีครีบแหลมคม ควรมีกระดาษหลายๆชั้นห่อไว้ระหว่างถุงพลาสติก 2 ถุงด้วย ทั้งนี้ถุงพลาสติกจะต้องใส่ในกล่องโฟมกันความร้อน โดยให้ในถุง มีอัตราส่วนของน้ำ 1 ต่ออากาศออกซิเจน 2 ส่วน กรณีของปลาขนาดใหญ่ จะต้องให้มีปริมาณน้ำมากพอให้ท่วมตัวปลา บรรจุภัณฑ์จะต้องจัดทำด้วยความระมัดระวังเพื่อให้แน่ใจว่าปลาสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตลอดการเดินทาง 48 ชั่วโมง ทั้งนี้ภายนอกบรรจุภัณฑ์จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าสินค้าภายในได้แก่ ปลามีชีวิต และด้านใดเป็นด้านตั้งขึ้น และอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับปลา เป็นต้น การดำเนินธุรกิจในประเทศออสเตรีย ในประเทศออสเตรียไม่มีงานแสดงสินค้า โดยเฉพาะสำหรับสินค้าปลาสวยงาม ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้าจะไปเข้าเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าในประเทศเยอรมัน ซึ่งงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ Interzoo ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในเดือนพฤษภาคม สำหรับในปีนี้จัดขึ้น ณ เมือง Nrnberg ในระหว่างวันที่ 17 - 20 พฤษภาคม 2555 ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.interzoo.com ในปีนี้จะมีผู้ส่งออกของไทยเข้าร่วมงานได้แก่ บริษัท Siam Tropical Fish สมาคมผู้ค้าปลาสวยงาม สมาคมที่สำคัญของผู้ค้าปลาสวยงามในออสเตรีย ได้แก่ sterreichischer Verband fr Vivaristik & kologie (VV) ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลด้านกิจกรรม และอื่นๆของสมาคมได้ที่ www.oevvoe.org อย่างไรก็ตามขณะนี้ข้อมูลดังกล่าวมีเฉพาะภาษาเยอรมันเท่านั้น สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเวียนนา พฤษภาคม 2555