สถานการณ์สินค้าอิเล็คทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน 2555
1.1 การแข่งขันกับบริษัทผู้ผลิตโทรทัศน์จากเกาหลี Samsung และ LG ทำให้ผู้ผลิตญี่ปุ่นต่างระดมกลยุทธ์ต่างๆเพื่อความอยู่รอด ปี 2011 บริษัทใหญ่ทั้ง 3 แห่งคือ Panasonic, Sony และ Sharp ต่างประสบการขาดทุน Panasonic ขาดทุน 7 แสนล้านเยน Sony 4.5 แสนล้านเยน และ Sharp 3.7 แสนล้านเยน ซึ่งทุกบริษัทมีรายได้ต่ำที่สุดเท่าที่เคยมา
ยอดขายในประเทศในปี 2011 ลดลงร้อยละ 21 จากปี 2010 จำนวน 19.82 ล้านเครื่อง จากการจบโครงการ eco-point และการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอล
ส่วนตลาดโลกนั้น Samsung และ LGรวมกันครองส่วนแบ่งตลาดโทรทัศน์ ร้อยละ 40 และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ Sony,Panasonic และ Sharp ต่างมีแนวโน้มลดลง ในตลาดโทรทัศน์ LCD ซึ่งราคาต่อหน่วยจะตกลงปีละร้อยละ 30 Samsung และ LG กลับได้เปรียบจากการ ที่ค่าเงินวอนตกต่ำ
ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตญี่ปุ่นต่างต้องปรับตัว Sony จะลดพนักงานลง 10,000 คน ภายในเดือนมีนาคม 2013 ประมาณร้อยละ 6 ของพนักงานทั้งหมด Panasonic จะลดพนักงานกว่า 3,000 คนเช่นกัน และหยุดทำการผลิตที่โรงงานในเมืองอะมากาซากิ Toshiba จะหยุดการผลิตโทรทัศน์ที่โรงงานในจังหวีดไซตามะ ลดจำนวนรุ่นของโทรทัศน์ลงร้อยละ 60 วางแผนจะเพิ่มการขายในประเทศกำลังพัฒนาร้อยละ 45 และ Hitachi จะเลิกการผลิตโทรทัศน์ภายในประเทศทั้งหมด
บริษัทผู้ผลิตญี่ปุ่น หวังว่าการพัฒนาเทคโนโลยีจอภาพ OEL ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่า ความคมชัดของสีมากกว่าจะทำให้ญี่ปุ่นกลับฟื้นขึ้นมาได้
1.2 สมาร์ทโฟนเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งในโตเกียวกำลังพัฒนา application ที่ใช้ในสมาร์ทโฟนเพื่อดึงดูดนักศึกษา มหาวิทยาลัยโตโย สร้าง app 300 หน้าสำหรับ iPhone และสมาร์ทโฟน ผู้ใช้สามารถชมวิดีโอ 60 เรื่องแสดงภาพนักศึกษาพูดถึงเหตุผลในการตัดสินใจเข้าศึกษาในคณะต่างๆ วิธีการสอน การใช้ชีวิตในแต่ละวัน มหาวิทยาลัยเมจิ ใช้ iMeiji app สำหรับ iPhone แสดงภาพวิดีโอ 800 เรื่อง มีทั้งพิธีเริ่มการศึกษา และพิธีจบการศึกษา รวมทั้งรายละเอียดคณะ และวิชา บางส่วนเป็นภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาแลกเปลี่ยน ส่วนมหาวิทยาลัยโตเกียว โพลีเทคนิคได้ออก app สำหรับ iPad พัฒนาโดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัย มีภาพ 50 ภาพ รวมทั้งภาพคลาสเรียน และ นักศึกษา
นอกจากนี้ สมาร์ทโฟนมือสองเป็นที่ชื่นชอบสำหรับผู้ที่ชอบเปลี่ยนโทรศัพท์ ยอดจำหน่าย สมาร์ทโฟนมือสองในปีนี้ มากกว่า 1 ล้านเครื่อง ในร้าน Softmap สาขา Akihabara ขายเฉลี่ยวันละ 30 เครื่อง และในวันหยุด 40 เครื่อง เปรียบเทียบกับวันละ 15-20 เครื่องในปีที่แล้ว คาดว่ายอดจำหน่าย สมาร์ทโฟนมือสองจะเพิ่มเป็น 1.84 ล้านเครื่องในปี 2013
ส่วนราคาจำหน่าย รุ่น GalaxySIILTE โดย DoCoMo ราคามือสองจำหน่ายที่ 29,800 เยน เปรียบเทียบกับหากอัพเกรดจากรุ่นเก่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายถึง 50,000-60,000 เยน โดยปรกติบริษัทผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่จะลดราคาพิเศษโดยมีสัญญาบริการราว 2 ปี ค่าซื้อค่อนข้างถูก แต่หากจะยกลิกสัญญาก่อน 2 ปีจะมีค่าใช้จ่ายเป็นหลักหมื่นเยน
2.1 กระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้บริษัทหยุดการผลิตหลอดไฟแบบมีไส้ เปลี่ยนเป็นผลิตหลอดไฟ LED เพื่อให้ผู้บริโภค และสำนักงานต่างๆหันมาใช้หลอดไฟ LED ซึ่งประหยัดพลังงานแทน เป็นมาตรการหนึ่งในการประหยัดพลังงานโดยขอความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเนื่องจากใกล้ถึงฤดูร้อนซึ่งเป็นฤดูที่ใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้าจำนวนมาก
หลอดไฟ LED จะกินไฟประมาณ 1 ใน 5 ของหลอดไส้ และคงทนกว่า 40 เท่า แต่มีราคาแพง บริษัทชั้นนำ เช่น Toshiba และ Mitsubishi Electric ได้หยุดการผลิตหลอดไส้ไปแล้ว ยกเว้น สินค้าบางรายการที่ไม่สามารถใช้หลอดไฟ LED ทดแทนได้ Panasonic จะหยุดทำการผลิตภายในสิ้นปีนี้ การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยประหยัดพลังงานโดยลดการบริโภคพลังงานได้ถึงร้อยละ 80 หากมีการเปลี่ยนทั้งประเทศจะประหยัดได้ถึง 5 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งเป็นปริมาณที่ใช้ใน 1.4 ล้านครัวเรือน
2.2 บริษัทชั้นนำเช่น NEC และ Hitachi และบริษัทอื่นๆรวม 70 บริษัทได้รวมกลุ่มกันเพื่อใช้ iPhone และ iPad ในการทำงาน จากเดิมที่ใช้ โปรแกรม Windows ของ Microsoft เนื่องจากเห็นว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ตั้งแต่ การรับรองลูกค้า ไปจนถึงการจัดการสินค้าในร้านจำหน่ายกลุ่มนี้จะร่วมกันพัฒนา application ฝึกอบรมพนักงาน และใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งจะช่วยเหลือสมาชิกที่ต้องการจะขาย app ในตลาดต่างประเทศ แต่เดิม Apple มุ่งที่จะขายสินค้าให้ลูกค้าและไม่ได้ช่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยี่แก่บริษัท แต่กลุ่มจะต่อรองกับ Apple ให้บอกข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนา app เพื่อให้สมาชิกสามารถพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ในบริษัทของตนได้อย่างรวดเร็ว
2.3 บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ใช้กลยุทธ์การผลิตสินค้าหลายๆรายการในโรงงานเดียวกัน เช่น Toshiba กำลังสร้างโรงงานผลิตเครื่องซักผ้าในที่เดียวกับโรงงานผลิตโทรทัศน์ LCD ใกล้ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย โดยจะเริ่มผลิตเครื่องซักผ้าปลายปีนี้ และจะใช้อุปกรณ์ในโรงงานผลิตเครื่อง ซักผ้า ผลิตโทรทัศน์ LCD ด้วย การใช้โรงงานที่เดียวผลิต 2 สินค้าทำให้บริษัทสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากอุปกรณ์ และคนงาน เพราะว่าฤดูการผลิต 2 สินค้าไม่ตรงกัน Toshiba วางแผนที่จะส่งสินค้าจาก
จาการ์ตาเพิ่มขึ้นเป็น 7 ล้านยูนิตภายในปี 2015 และเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 500,000 ยูนิตต่อเดือนจากเดิม 300,000 ยูนิต จากการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ทำให้สามารถจำกัดการลงทุนเหลือเพียง 1 พันล้านเยน ส่วน Sony ได้ควบรวมหน่วยการผลิตของโรงงาน 7 แห่งไว้ที่หน่วยการผลิตของบริษัท Sony EMCS เพื่อจะสร้างความร่วมมือกันระหว่างโรงงาน และใช้ระบบการผลิตที่ยืดหยุ่นทำให้สามารถสลับการผลิตสินค้าแต่ละโรงงานได้
2.4 Sharp ประกาศจะขยายความร่วมมือกับ Hon Hai Group ของไต้หวันในการผลิตสินค้าตั้งแต่สมาร์ทโฟนจนถึงการผลิต จอภาพ LCD ขนาดใหญ่ที่โรงงานในเมืองซาไก โอซากา โดย Hon Hai จะจัดส่งสินค้าล๊อตแรกในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งเร็วกว่าเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนตุลาคม ประธานคนใหม่ ทากาชิ โอกุดะ ได้ประกาศกลยุทธ์ว่าจะร่วมกับ Hon Hai ทำธุรกิจสมาร์ทโฟนในจีนในปี 2013 โดยใช้ฐานการผลิตร่วมกัน Sharp จะเน้นการผลิตสมาร์ทโฟนประสิทธิภาพสูงในขณะที่ Hon Hai จะเน้นในส่วนโทรศัพท์มือถือกลุ่มที่แตกต่างกัน โรงงานผลิตที่เมืองซาไกจะเพิ่มปริมาณการผลิตจากเดิม ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 90 ในเดือนกรกฎาคม โดยจะแยกการทำงาน และแบ่งพนักงานจำนวน 1,300 คนจากบริษัทแม่
ยอดการส่งออกสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ลดลงในเดือนเมษายน 2555 มีมูลค่า 7.25 แสนล้านเยน ลดลงร้อยละ 1.9 จากเดือนเมษายน 2554 โดยสินค้าส่วนใหญ่ปรับลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ลดลงร้อยละ 8.2 มาตรวัดไฟฟ้าลดลงร้อยละ 16.5 เครื่องจักรธุรกิจลดลงร้อยละ7.5 แผงวงจรลดลงร้อยละ 6.3 หลอดไฟลดลงร้อยละ 17.3 และเซมิคอนดักเตอร์ลดลงร้อยละ 17.4 ส่วนสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.6 โดยวิดีโอเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.7 อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์อุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 อุปกรณ์สื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9
ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ในเดือนมีนาคม 2555 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น มูลค่า 7.11 แสนล้านเยน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากเดือนมีนาคม ปี 2554 การนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์อุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 อุปกรณ์สื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ระบบสื่อสารวิทยุ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 ส่วนสินค้าที่นำเข้าลดลง ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ส่วนบุคคล ลดลงร้อยละ 40.1 ระบบโทรคมนาคม ลดลงร้อยละ 12.6 เครื่องจักรธุรกิจลดลงร้อยละ 18.6 แผงวงจรลดลงร้อยละ 10.6 หลอดไฟลดลงร้อยละ 14.6
สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ นครโอซากา
19 มิถุนายน 2555
April 2012 Exports of Electronics from Japan
____________________________________________________________________________________________
April 2012 2012 total to date million yen % million yen %
____________________________________________________________________________________________
Consumer electronic equipment 73,916 175.6 271,783 124.7 Video equipment 71,712 177.7 262,023 124.9 Audio equipment 2,204 127.2 9,760 120.7 Industrial electronic equipment 105,130 103.3 436,745 103.7 Communications equipment 30,908 118.9 117,516 113.9 Telecommunications systems 398 92.9 1,514 103.7 Radio communication systems 30,510 119.3 116,001 114.0 Computers and related equipment 29,596 99.0 126,855 97.5 Electronic application equipment 27,192 108.5 121,103 106.5 Electric measuring instrumentation 17,029 83.5 69,341 96.0 Electronic business machines 405 92.5 1,930 96.9 Electronic components and devices 546,194 91.8 2,134,007 90.7 Electronic components 122,855 90.9 461,470 91.8 Passive components 42,660 82.3 159,883 83.6 Connecting components 51,503 94.9 190,474 95.4 Electronic boards 22,324 93.7 87,469 93.4 Transducers 3,701 103.8 13,825 110.6 Others 2,667 162.2 9,818 166.1 Electronic devices 236,006 91.0 955,493 90.0 Electronic tubes 1,981 82.7 8,225 88.0 Discrete semiconductors 61,973 82.6 226,774 81.7 Integrated circuits (ICs) 172,051 94.5 720,494 93.0 Parts and accessories 187,333 93.4 717,045 91.0 TOTAL 725,241 98.1 2,842,535 95.0
____________________________________________________________________________________________
ที่มา : JEITA Press Release on Jun.1, 2012 / Exports of Electronics from Japan
March 2012 Imports of Electronics into Japan
___________________________________________________________________________
March 2012 2012 total to date
million yen % million yen %
___________________________________________________________________________
Consumer electronic equipment 55,577 59.9 158,772 60.2 Video equipment 42,250 54.1 119,095 53.4 Audio equipment 13,327 90.3 39,676 97.3
Industrial electronic equipment 361,158 114.6 1,004,840 117.6
Communications equipment 139,910 124.6 423,406 142.6 Telecommunications systems 1,195 87.4 2,914 76.6 Radio communication systems 138,715 125.1 420,492 143.4 Computers and related equipment 172,670 109.8 454,680 104.6 Electronic application equipment 32,587 102.3 83,067 99.6
Electric measuring instrumentation 14,842 119.9 40,902 115.8
Electronic business machines 1,149 81.4 2,786 70.6 Electronic components and devices 294,429 101.0 828,694 94.1 Electronic components 39,147 103.3 108,488 102.0 Passive components 8,872 92.0 24,465 90.5 Connecting components 8,676 96.2 24,069 96.4 Electronic boards 7,511 89.4 20,994 86.5 Transducers 9,568 109.3 26,818 109.0 Others 4,520 215.7 12,142 220.5 Electronic devices 137,866 100.0 394,581 90.9 Electronic tubes 469 85.4 1,871 116.3 Discrete semiconductors 20,971 93.6 62,058 95.5 Integrated circuits (ICs) 116,426 101.3 330,651 90.0 Parts and accessories 117,416 101.5 325,625 95.7 TOTAL 711,163 101.7 1,992,306 99.7
___________________________________________________________________________
ที่มา : JEITA Press Release on Jun.1, 2012 / Imports of Electronics into Japan