ศูนย์หม่อนไหมบันเตียแดก (Bantey Dek Sericulture Station)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 21, 2012 14:38 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ศูนย์หม่อนไหมบันเตียแดก (Bantey Dek Sericulture Station)

นายณัฐ วิมลจันทร์ ที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ได้รับมอบหมายจากเอกอัครราชทูตให้เป็นผู้แทนเดินทางร่วมกับ H.E. Chan Sarun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง (MAFF) และคณะ เพื่อเยี่ยมชมศูนย์หม่อน

ไหมบันเตียแดก (Bantey Dek Sericulture Station) เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2555 อ. เกียนสวาย จ. กันดาล โดยมีข้อมูลโดยสรุป ดังนี้

From Silk to Food Security : ประเทศกัมพูชาซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีการผลิตผ้าไหมมาเป็นเวลานาน ในปีหนึ่งต้องนำเข้าเส้นใยไหมกว่า 400 ตันหรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากกัมพูชาขาดการพัฒนาการเพาะปลูกและเทคโนโลยีการผลิตรวมทั้งการบริหารจัดการที่ดี

MAFF จึงร่วมกับองค์การอาหารโลก (FAO) ริเริ่มโครงการ "From Silk to Food Security" โดยหน่วยงานกำกับดูแลการเกษตร (GDA) และคณะกรรมการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (OVOP) เป็นผู้ดำเนินการ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยบรรเทาความยากจนและยกระดับความเป็นอยู่ของชาวชนบทโดยการสร้างอาชีพผ่านการพัฒนาระบบการผลิตผ้าไหมตั้งแต่การเพาะปลูกไร่หม่อน

ปัจจุบัน : โครงการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2010

  • พฤศจิกายน 2012 โดย FAO เป็นผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณจำนวน 470,000 เหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบันมีกิจกรรมที่ได้

ดำเนินการแล้ว ได้แก่

  • ก่อตั้งศูนย์วิจัยหม่อนไหมจำนวน 2 แห่งที่จังหวัดกัมปงสปือและจังหวัดกันดาล
  • แปลงปลูกต้นหม่อนขนาด 1 เฮกตาร์ในจังหวัดกัมปงสปือ และขนาด 2.3 เฮกตาร์ในจังหวัดกันดาล รวมทั้งแปลงสาธิต

ในหลายจังหวัด เช่น จ.ตาแก้ว เป็นต้น

  • จัดเก็บสายพันธุ์หม่อนไหม จากกัมพูชา เกาหลีและเวียดนาม รวม 26 สายพันธุ์
  • ก่อตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงหนอนไหม และห้องทดลองเพื่อควบคุมโรคหนอนไหม รวมถึงมีการทดลองเลี้ยงหนอนไหม

สายพันธุ์ผสม (Hybrid) 16 สายพันธุ์

  • การจัดฝึกอบรมทั้งด้านเทคนิคและเทคโนโลยีการปลูกต้นหมอนและเลี้ยงหนอนไหม เพื่อให้การผลิตเส้นไหม

มีผลผลิตและคุณภาพสูง เพื่อให้มีรายได้สำหรับสตรีในกัมปงสะปือ และจ.ตาแก้ว เพื่อให้มีรายได้

3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อทุก 2 เดือน

เป้าหมายในอนาคต

Dr. Mey Kalyan, Senior Advisor ในกลุ่มที่ปรึกษาเศรษฐกิจชาติ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโครงการกล่าวถึงเป้าหมายของโครงการว่าจะต้องผลิตเส้นใยไหมเพื่อชดเชยการนำเข้า 400 ตันให้ได้ ซึ่งจะต้องใช้พื้นที่ปลูกหม่อนประมาณ 4,000 เฮกตาร์และใช้แรงงาน 80,000 คน ทั้งนี้ ได้จัดทำร่างโครงการ"From Silk to Food Security" ระยะที่ 2 แล้วโดยจะเริ่มในปี 2013 นี้ ใช้งบประมาณ 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ข้อสังเกต
  • H.E. Chan Sarun ให้ความสนใจโครงการดังกล่าวมากและกล่าวว่าในอนาคตผ้าไหมจะเป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญของกัมพูชา

เป็นอย่างเช่นเดียวกับข้าว

  • Dr. Mey Kalyan ให้ความสนใจต่ออุตสาหกรรมการผลิตและการทอผ้าไหมของไทยเป็นอย่างมาก โดยกล่าวว่าอุตสาหกรรม

ผ้าไหมไทยก้าวหน้าไปไกลกว่ากัมพูชา ดังนั้นหากฝ่ายไทยมีกิจกรรมหรือการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องแล้ว

ตนและคณะเจ้าหน้าที่โครงการจะขอไปศึกษาดูงาน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ

เมษายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ