สถานการณ์เศรษฐกิจภูมิภาคยุโรป

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 21, 2012 15:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์เศรษฐกิจภูมิภาคยุโรป

สถานการณ์เศรษฐกิจที่สำคัญ
ปัจจัยบวก
  • การขยายตัวภาคการส่งออกบางประเทศ เช่น เยอรมนี
  • การขยายตัวภาคธุรกิจ การก่อสร้างเพิ่มขึ้น เช่น เยอรมนี
  • อัตราการว่างงานบางประเทศค่อยๆ ลดลง เช่น เยอรมนี
  • การปรับเพิ่มค่าจ้าง/เงินเดือน เช่น เยอรมนี
ปัจจัยลบ
  • ภาครัฐแบกรับภาระหนี้สาธารณะมากขึ้น
  • แนวทางการแก้ปัญหาของ EU ยังไม่มีความชัดเจน
  • รัฐบาลขาดวินัยทางด้านการคลัง เช่น กรีซ โปรตุเกส
  • สถาบันการเงินมีปัญหา เช่น ไอร์แลนด์ สเปน
  • ธุรกิจล้ม คนตกงานมาก
  • ผู้บริโภคขาดความมั่นใจระบบเศรษฐกิจ ทำให้ความสามารถการซื้อลดลง
มาตรการแก้ปัญหาในยุโรป จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
  • มาตรการแก้ปัญหาสภาพคล่อง ผ่าน ECB อัดฉีดเงินและตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่อง EFSF,ESM
  • มาตรการแก้หนี้สินล้นพ้นตัว ผ่าน Hair Cut ให้กรีซ ควบคู่กับให้ตั้งเงื่อนไขให้ลดการขาดดุล ในเวลาจำกัด
ประเด็นสำคัญในยุโรปที่ต้องจับตาในปัจจุบัน

1. ผลการเลือกตั้งในกรีซ พรรคฝ่ายที่สนับสนุน EU ได้รับชัยชนะให้จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเน้นนโยบายรัดเข็มขัด อาจส่งผลให้มีการลดการใช้จ่ายในประเทศ ลดเงินเดือนพนักงาน ขณะเดียวกันกรีซยังคงใช้เงินสกุลยูโร ทำให้ค่าเงินยังคงตกต่ำ

2. ปัญหาการขาดรายละเอียดของสเปนที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ตลาดกังวลเรื่อง Credit Preferential Status ของเจ้าหนี้เอกชนที่อาจได้รับการชำระคืนหนี้หลังจากเจ้าหนี้ภาครัฐ และภาระหนี้รัฐบาลสเปนที่สูงขึ้น จนทำให้อัตรากู้เงินพันธบัตรรัฐบาลสเปนสูงสุดเป็นประวัติการณ์

3. ตลาดการเงินเริ่มกังวลว่าประเทศใดต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินต่อจากสเปน ขณะนี้มีโอกาสสูงที่ ไซปรัส จะเป็นประเทศถัดไปที่ขอความช่วยเหลือ แต่ที่น่ากังวลคือ ความเสี่ยงที่จะลามไปที่อิตาลี ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในยูโรโซน

4. ความไม่เพียงพอของกองทุนสภาพคล่องชั่วคราว EFSF ที่มีวงเงินเหลือแค่ 2 แสนล้านยูโร ซึ่งไม่พอที่จะช่วยสเปนเพิ่มเติมและอิตาลี ขณะที่กองทุนถาวร ESM ก็ยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

5. ผู้นำยุโรปไม่มีความเด็ดขาดในมาตรการแก้วิกฤติในยุโรป (โดยเฉพาะประเด็น EU-wide Deposit Gurantee และ Eurobond ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยป้องกันการลุกลามของวิกฤติยุโรป) ซึ่งหากที่ประชุมผู้นำยุโรปในวันที่ 28-29 มิ.ย.ไม่มีมาตรการชัดเจน อาจทำให้ตลาดเงินผันผวนมากยิ่งขึ้นในช่วงปลายเดือน

6. บทบาทของประเทศเยอรมนีต่อการสร้างดุลยภาพระหว่าง การเป็นผู้นำในเวทีการเมืองระหว่างประเทศของสหภาพฯ กับ แรงกดดันภายในประเทศของตนเองในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

7. การขยายตัวของความกังวลของประชากรยุโรปต่อปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น อันมีผลต่อจิตวิทยาในการบริโภคและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย2 ด้าน

ด้านการเงิน

(1) ผลกระทบการเงินทางตรงในภาพรวมมีไม่มาก เพราะสถาบันการเงินไทยที่ไปลงทุนในยุโรปมีเงินลงทุนน้อยมาก

(2) ผลกระทบการเงินทางอ้อม สถาบันการเงินไทยอาจมีความเสี่ยงจากคู่ค้าสถาบันการเงินในยุโรปประสบปัญหาขาดทุนจากการลงทุน

ในยุโรป (Counterparty Risk) นอกจากนี้ ตลาดเงินทุนโลกที่ผันผวน ซึ่งจะทำให้ราคาหลักทรัพย์ในไทยและค่าเงินบาท

ผันผวนตาม Sentiment ของนักลงทุนโลก

ด้านการค้า

(1) ผลกระทบทางตรง หากวิกฤติกระจายไปทั่วทั้งสหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 10% ของการส่งออกรวมของไทยซึ่งถือว่า

ค่อนข้างมาก ผู้ประกอบการที่ค้าขายสินค้าและบริการกับประเทศในยุโรปจะได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลดลง ทั้งจากยอดขาย

ที่ลดลงและค่าเงินยูโรที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินบาท โดยกลุ่มสินค้าส่งออกที่อาจได้รับผลกระทบมากกว่าสินค้าอื่น

ได้แก่ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อัญมณีเครื่องประดับ เครื่องนุ่งหม ยาง และแผงวงจรไฟฟ้า

(2) ประเทศคู่ค้าของไทยอื่น ๆ เช่น จีน สหรัฐ และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรปสูงถึง 30% ของการส่งออกรวม

ของไทย จะได้รับผลกระทบ ก็อาจทำให้ไทยได้รับผลกระทบในทางอ้อมด้วย

(3) ผู้ประกอบการไทยที่ค้าขายกับประเทศที่ประสบกับวิกฤตก็จะมีความเสี่ยงจากคู่ค้าที่ล้มละลายหรือคู่ค้าที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

(4) การตัดงบประมาณรายจ่ายควบคู่กับการปฏิรูปตลาดแรงงาน ระบบประกันสังคม และการลดค่าจ้าง จะทำให้การใช้จ่ายในประเทศ

น้อยลงส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าน้อยลงตามไปด้วย

(5) ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาค ทำให้การใช้จ่ายหดตัว และส่งผลการซื้อสินค้าลดลงโดยเฉพาะสินค้าที่

ไม่จำเป็นต่อการบริโภค

แนวนโยบายในการรองรับความผันผวน

ด้านการเงิน

(1) เน้นการสร้างความเชื่อมั่นให้สาธารณชนได้รับทราบถึงฐานะสถาบันการเงินที่ดี (กองทุน BIS สูง NPLต่ำ Exposure

ต่างประเทศต่ำ) และเสถียรภาพต่างประเทศที่แข็งแกร่งของไทย (ทุนสำรองฯสูงกว่าหนี้ต่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล

หนี้สาธารณะต่ำ

(2) ให้คณะกรรมการ Emergency Economic Resolution Committee ที่ประกอบด้วยหน่วยงานกำกับการเงินทั้งหมด

Monitor Exposures ของสถาบันการเงินไทย (ทั้งธนาคาร กองทุนรวม บริษัทประกัน) อย่างใกล้ชิด (สาเหตุที่ต้องใช้

กรรมการในลักษณะนี้ เพราะประเทศไทยใช้ระบบกระจายการกำกับสถาบันการเงิน ธปท.ดูแบงก์ กลต.ดูกองทุนรวม คปภ.

ดูประกัน แต่วิกฤติยุโรป แบงก์ กองทุน ประกัน มีความเชื่อมโยงกันใกล้ชิดมาก)

(3) ดูแลสภาพคล่องเงินบาทและเงินดอลลาร์ในระบบให้พอ สภาพคล่องเงินบาทไม่น่าห่วง เพราะมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบถึง

2.1 ล้านล้านบาท แต่ในช่วงวิกฤติ ทั่วโลกมักขาดสภาพคล่องดอลลาร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกรรมต่างประเทศของไทย

ทั้งนี้ ธปท.สามารถทำ Swap Line กับธนาคารกลางประเทศต่างๆได้ ส่วนกระทรวงการคลัง หากจำเป็น อาจกู้ต่างประเทศ

มาช่วยเสริมได้

(4) เรื่องความผันผวนของค่าเงิน ในภาพรวม เป็นหน้าที่รับผิดชอบของธปท.ที่ intervene ดูแลค่าเงินให้มีเสถียรภาพ

ส่วนในระดับจุลภาค กระทรวงการคลัง ต้องมอบให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น Exim Bank ช่วยผู้ประกอบการ

โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก SME เรื่องเกี่ยวกับ Hedging ประกันความเสี่ยง รวมทั้งช่วยเรื่องสภาพคล่องการเงิน

ให้แก่ผู้ส่งออกนำเข้า ที่อาจขาดสภาพคล่องชั่วคราวในช่วงวิกฤติ

(5) ในระดับมหภาค ควรให้กระทรวงการคลังออกระเบียบเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า (อันสืบเนื่องจากการอนุมัติงบฯล่าช้า

ในช่วงต้นปี) ให้สามารถมาเร่งเบิกจ่ายให้ทันภายในสิ้นปีงบประมาณ เพื่อให้ทดแทนรายได้การส่งออกที่อาจลดลงจากวิกฤติยุโรป

ด้านการค้า

(1) สัดส่วนการค้าไทยกับประเทศที่ประสบกับวิกฤต ได้แก่ กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน มีสัดส่วนเพียงไม่ถึง 2%

ของการส่งออก ซึ่งไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวมนัก แต่หากวิกฤตขยายไปยังทั้งสหภาพยุโรปซึ่งมีสัดส่วนการ

ส่งออกถึงร้อยละ 10 ของการส่งออกรวม ก็จะส่งผลกระทบมาก

(2) เน้นหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดยุโรป โดยมุ่งเน้นที่ประเทศที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจยังโตดีและมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายกระตุ้น

เศรษฐกิจมากขึ้น เช่น ประเทศในเอเชียตะวันออก

(3) ลดต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ทั้งคุณภาพและราคา

(4) จัด segment เน้น niche market

สถานการณ์ด้านการค้าการลงทุนไทยและเป้าหมายการส่งออก
เป้าหมายการส่งออก +5% ตารางการค้ากับสหภาพยุโรปรอบ 4 เดือน (ม.ค. - เม.ย. 55) 10 รายการ
สหภาพยุโรป   มค-ธค54  มค-เมย55
          21,529.68  6,156.55   คอมพิวเตอร์  อัญมณี   ไก่แปรรูป   ผลิตภัณฑ์ยา    เครื่องนุ่งห่ม    เครื่องใช้ไฟฟ้า
1 15        (12.04)               580.0    504.2   271.0      256.3       251.1         233.7
                     (-15.64)     13.10)  (10.25)  (1.94)    (11.31)     (21.56)       (30.54)

                  ยางพารา      เครื่องปรับอากาศฯ     แผงวงจรไฟฟ้า     รวม 10 สินค้า
                   213.4          205.6              200.7          2,940.9
                  (46.62)        (40.81)            (18.64)
สินค้าที่ขยายตัวสูง
          - เพชร/พลอย/เครื่องประดับเทียม
          - อุปกรณ์ก่อสร้าง ประเภท น็อต สกรู แผ่นเหล็กประเภท Flat Rolled Sheet
          - ผลิตภัณฑ์พลาสติก
          - เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น
          - รองเท้าพื้นยาย/พลาสติก
          - อะหลั่ย

สินค้าที่หดตัวสูง
          - คอมพิวเตอร์ (ไตรมาสแรกยุโรปนำเข้าจากเวียดนามเพิ่มขึ้น 24%  อินเดียเพิ่มขึ้น 70% อินโดนีเซีย 12.4%)
          - อัญมณี (3 เดือนนำเข้าจากไทยลดลงเฉพาะที่เป็นเครื่องเงินและ เครื่องประดับโดยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไต้หวัน สิงคโปร์ ยุโรปตะวันออก ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย)
          - ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง (เฉพาะที่เป็นยางธรรมชาติ ซื้อจาก จีน และยุโรปตะวันออก ใส้ในยางนำเข้าจากจีน ไต้หวัน บังคลาเทศมากขึ้น)
          - เครื่องนุ่งห่ม (ที่เป็น Knitted  ซื้อจากกัมพูชา ฮ่องกง ยุโรปตะวันออก ฟิลิปปินส์ และลาวเพิ่มขึ้น ที่เป็น Woven และ Silk ซื้อจากกัมพูชา เวียดนาม และบังคลาเทศเพิ่มขึ้น เส้นด้ายซื้อจากเม็กซิโก UAE สิงคโปร์  ส่วนที่เป็นส่วนที่เป็นผ้าผืน และผ้าถักตัวเลขไม่ลด)
          - รถยนต์ (ลดลงเฉพาะที่เป็นรถยนต์ รถบรรทุกโดยนำเข้าจาก จีน ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และยุโรปตะวันออก)
          - เครื่องใช้ไฟฟ้า (มีการนำเข้าจากเวียดนามเพิ่มขึ้น 237%)
          - เครื่องปรับอากาศ (มีการนำเข้าจากอินเดีย เวียดนาม ลิทัวเนียนอร์เวย์ UAE รัสเซียเพิ่มขึ้น)

ตลาดที่ขยายตัวไม่ติดลบ : ออสเตรีย  ไอร์แลนด์

ปัญหาอุปสรรคด้านการค้าการลงทุนที่ต้องการผลักดันด้านนโยบาย
1. ปัญหาอุปสรรคด้านการค้าการลงทุน
          - ภาคการเงินขาดเสถียรภาพ
          - กฎหมายหลายฉบับมิได้รับการนำออกไปเป็นกฎหมายภายในของประเทศสมาชิก ทำให้เกิดความลักหลั่นในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ
          - กฏระเบียบต่างๆ มีมาก ขาดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ บริษัทต่างๆ ไม่มาลงทุน หรือย้ายฐานการดำเนินธุรกิจไปยังประเทศที่สาม
          - กฎระเบียบของ EU ด้านความคุ้มครองสุขอนามัยความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องอาหารมีความเข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าของไทย เช่น ปัญหาแมลงและสารตกค้างในผักไทย 16 ชนิด, GMO  นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอย่าง Greenpeace สอดส่องและรายงานเรื่องสิ่งแวดล้อม/แรงงาน/สังคม เป็นระยะๆ และนำลงสื่อต่างๆ โดยใช้วิธีการตัดต่อเรื่อง/ภาพให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดจนมีผลกระทบต่อยอดจำหน่ายสินค้า/การนำเข้าสินค้าไทย เช่น สถานีโทรทัศนืของเยอรมันไปถ่ายทำสารคดีฟาร์มกุ้งไทย โดยอ้างว่าใช้พื้นที่ป่าชายเลนและกดขี่แรงงานพม่า
          - การกีดกันการนำเข้าแรงงานไทย เช่น พ่อครัว แม่ครัว และพนักงานนวด ทำให้เป็นอุปสรรคต่อ การทำธุรกิจร้านอาหารไทย และสปาไทยในสหภาพยุโรป
          - สหภาพยุโรป มีความแตกต่างทางภาษามาก ประกอบกับแรงงานไทยขาดความรู้ด้านภาษา ต่างประเทศ จึงทำให้โอกาสในการทำงานในสหภาพยุโรปมีน้อย

2. จุดอ่อน-จุดแข็งของสหภาพยุโรป
          2.1 จุดอ่อน
          - ค่าครองชีพสูง ค่าจ้างแรงงานสูง
          - ความแตกต่างด้านภาษา ทำให้เกิดช่องว่างและขาดแนวร่วมในบางเรื่อง
          - อัตราการเกิดต่ำ จำนวนประชากรมีแนวโน้มลดลง อาจส่งผลให้เกิดการเสียเปรียบด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากขาดรายได้/การใช้จ่ายจากคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน
          - จำนวนคนตกงานสูง ส่งผลให้มีการก่ออาชญากรรมสูง

          2.2 จุดแข็ง
          - เป็นตลาดใหญ่ (single market) อำนาจซื้อและอำนาจต่อรองสูง และไม่มีข้อกีดกันระหว่างกัน
          - มี Potential ด้านการลงทุน
          - ระบบการคมนาคมสามารถเชื่อมต่อกันได้ทุกประเทศ สะดวกในการขนส่งสินค้า Logistics

โอกาสการค้าการลงทุนของไทย
          - กลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กรีซ สเปน โปรตุเกส ไอร์แลนด์
          - ร้านอาหารไทย เนื่องจากอาหารไทยเป็นเป็นที่ชื่นชอบ โดยอาจลงทุนในธุรกิจขนาดเล็ก
          - การบริการสปา/นวดไทย แต่ต้องปรับรูปแบบ การบริหารจัดการให้มีความเป็นมืออาชีพและจำเป็นต้องปรับปรุง และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และการสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ ให้กับร้านนวดไทย
          - การท่องเที่ยว โดยการดึงนักท่องเที่ยวให้ไปใช้บริการที่ไทย หรือการลงทุนด้าน home stay อสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้เกษียณอายุ ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

กลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ
          - เทคโนโลยี / R&D  ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิต การรักษาสิ่งแวดล้อม วิธีการบริหารงานอย่างเป็นระบบมาปรับปรุงการผลิตสินค้า กิจการของไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกมากขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้ามากขึ้นและลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว ด้วยการร่วมมือเป็น partner ทางการค้า โดยไทยเรียนรู้ด้าน know-how และนำผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำในอุตสาหกรรมต่างๆ มาผลิตสินค้าและส่งกลับไปขายยังตลาดสหภาพยุโรปและตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมอาหาร ไทยควรมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง สามารถผลิตเครื่องจักรเองได้ ลดการพึ่งพานำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ และยังสามารถส่งไปจำหน่ายให้กับกลุ่มประเทศส่งออกสินค้าอาหารได้
          - การจ้างบริษัทในสหภาพยุโรปผลิตสินค้า  การจ้างผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในสหภาพยุโรปสามารถทำได้ง่ายและใช้งบประมาณการลงทุนน้อยกว่าการขยายฐานการผลิตโดยการมาซื้อ/ตั้งโรงงานในสหภาพยุโรป และยังสร้างความสะดวกในการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในประเทศในสหภาพยุโรปอีกด้วย
          - การลงทุนด้านพลังงานทางเลือก  พลังงานทางเลือกที่สำคัญที่น่าจะเข้ามาทดแทนพลังงานที่จะขาดหายไปหลังการเลิกใช้พลังงานจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้แก่ พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อน ในขณะเดียวกันไทยเป็นประเทศเมืองร้อน มีปริมาณแสงอาทิตย์ประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน ก็น่าจะเป็นโอกาสที่จะชักชวนนักลงทุนจากสหภาพยุโรปไปลงทุนในไทย ด้านการการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนของแสงอาทิตย์
          - การลงทุนด้านธุรกิจหลังการขายเพื่อสร้างตลาดส่งออกให้กับสินค้าไทย  สินค้าประเภทชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนเครื่องใช้อิเล็คโทรนิกส์ต่างๆ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย หากประเทศไทยมีการลงทุนด้านการบริการหลังการขายต่างๆ เช่น การซ่อมแซม การซ่อมแซมเครื่องจักร หรือการซ่อมแซมเครื่องใช้อิเล็คโทรนิกส์ต่างๆ ก็จะทำให้สามารถเพิ่มขนาดการส่งออกชิ้นส่วนของสินค้าดังกล่าวได้
          - การลงทุนด้าน Bio Plastic ไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ลำดับ 2 ของโลกรองจากบราซิล มีนักลงทุนจากยุโรป มาลงทุนผลิต Lactic Acid  จากน้ำตาล เพื่อนำไปผลิต Bio Plastic เป็นภาชนะบรรจุที่ย่อยสลายได้ ซึ่ง สหภาพยุโรปมีนโยบายที่จะไม่เก็บภาษีสำหรับสินค้าประเภท Bio Plastic จึงเป็นตัวอย่างการร่วมวิจัย และการลงทุนที่ดี และยังมีโอกาสในการส่งออกอีกด้วย
          - เรื่องกฎระเบียบต่างๆ  คณะกรรมการธิการยุโรปมีนโยบายที่จะปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ให้มีความโปร่งใส ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น เพื่อให้เกิดความคล่องต้วในการดำเนินธุรกิจและเพิ่มความชัดเจนในการพิจารณาใบอนุญาตเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถคาดผลของการพิจารณาได้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ และส่งผลให้ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น สามารถทุ่มเททรัพยากรให้แก่การวิจัยและพัฒนาได้มากขึ้น
          - SMEs หลายฝ่ายในสหภาพยุโรปเห็นว่าควรให้การสนับสนุน SMEs ทั้งในด้านการหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ การวิจัยและพัฒนาตลอดจนการให้ความคุ้มครองผ่านระบบสิทธิบัตรที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งน่าจะมีการผลักดันในเวทีการประชุมคณะกรรมาธิการยุโรปในอนาคต



                                                             สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
                                                                                              มิถุนายน 2555

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ