ผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในยุโรปในตลาดเนเธอร์แลนด์
๑.๑ ปัญหาด้านการคลัง: คือประเทศขาดดุลงบประมาณ และ มีหนี้สาธารณะสูง
๑.๒ ปัญหาธนาคาร: คือปัญหาการปล่อยกู้อย่างขาดวินัย ทำให้เกิดหนี้เสีย
๑.๓ ปัญหาเศรษฐกิจหดตัว: คือรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาการขาดดุลโดยการรัดเข็มขัด ในขณะที่เอกชนขาดสภาพคล่อง เกิดปัญหาเศรษฐกิจหดตัวในประเทศ
๒.๑ ภาครัฐฯ: มีหนี้สาธารณะและการขาดดุลงบประมาณในระดับสูงเกินกว่ามาตรฐานของ EU โดยมีสาเหตุหลักๆ คือ การให้สวัสดิการสังคมที่สูงมาอย่างยาวนาน และ การเข้าไปให้การช่วยเหลือแก่ประเทศในยุโรปที่มีปัญหา(1) ซึ่งมีทีท่าว่าหนี้ดังกล่าวจะไม่ได้รับการคืน ดังนั้น ทำให้รัฐบาลจะต้องตัดงบประมาณรายจ่ายเพื่อลดปัญหา และ ลด/เลิกโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การลดการจ้างงาน การไม่เพิ่มเงินเดือนให้กับข้าราชการ การลดการอุดหนุนทางสังคมโดยเฉพาะด้านการสาธารณสุข การขยายอายุเกษียนนานขึ้น การลดเงินเกษียนอายุ การลดการอุดหนุนธุรกิจภาคเอกชนที่ผ่านโครงการของรัฐ เป็นต้น
๒.๒ ภาคการเงิน: ธนาคารเกิดปัญหาด้านสภาพคล่องสืบเนื่องจากปัญหาราคาอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ และ การปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลในยุโรปที่มีปัญหากู้เงิน(2) ทำให้สถาบันการเงินหลักๆ มีปัญหาถูกปรับลดเครดิต และส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อมีความเคร่งครัดมากขึ้น
๒.๓ โครงสร้างรายได้ของภาคเอกชนผูกโยงกับระบบเศรษฐกิจและธุรกิจภายในของสหภาพยุโรปเอง โดยเฉพาะผ่านทางการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาค (export and re-export) และการลงทุน (Regional trade and investment) ทำให้เมื่อยุโรปอื่นเกิดปัญหาจึงส่งผลมายังรายได้ทั้งสองประเทศโดยตรง และ ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังรายได้ของภาครัฐที่จะได้จากภาษี
๓.๑ ความมั่นใจทางเศรษฐกิจ/การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง (private consumption): อันเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคและขาดความมั่นใจในสวัสดิการ/สถานะทางเศรษฐกิจของตนเอง โดยเฉพาะการจ้างงานและสวัสดิการด้านสาธารณสุข โดยเห็นได้จากดัชนีชี้วัดความมั่นใจทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั้งสองประเทศ ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๐๑๐ เป็นต้นมา ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคมพบว่าดัชนีความมั่นใจและการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวดัชช์ลดต่ำลงที่สุดในรอบ ๑๐ ปี
ดังนั้น ผู้บริโภคได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของตน โดยลดการบริโภค/การซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็นลง(3) อาทิ การซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า การซื้อรถยนต์ใหม่ ลดการบริโภคอาหารนอกบ้านและอาหารที่มีราคาแพง แต่หันไปทำกินภายในบ้านและเน้นสินค้า ready to eat เป็นต้น ซึ่งมีผลโดยตรงต่อสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบที่ถือว่าเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยที่ส่งมายังสองประเทศนี้
๓.๒ ความมั่นใจต่อระบบเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายของผู้ผลิตสินค้าลดลง: เนื่องจากการหดตัวของตลาดภายในประเทศ(และภูมิภาค)อย่างต่อเนื่องอันเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและความไม่มั่นใจในเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลเงินยูโรอันอาจเกิดจากวิกฤติทางการเงิน(4) ทำให้ผู้ผลิตสินค้าต้องชะลอการผลิตสินค้าเพื่อป้อนตลาดอันเชื่อมต่อไปยังห่วงโซ่สินค้าวัตถุดิบที่นำเข้าจากประเทศไทย อาทิ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์/มอเตอร์ไซค์สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ Polymers/พลาสติก เป็นต้น โดยห่วงโซ่วัตถุดิบดังกล่าวถึงเป็นสินค้าหลักที่ไทยส่งมายังสองประเทศนี้เช่นกัน
ทั้งนี้ดัชนีชี้วัดความมั่นใจของผู้ประกอบการ/ผู้ผลิตสินค้าลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๐๑๑ เป็นต้นมา และ ดัชนีในเดือนพฤษภาคมถือว่ามีอัตราที่ต่ำสุดในรอบ ๒ ปี
๓.๓ นักธุรกิจขาดสภาพคล่องโดยเฉพาะในกลุ่ม traders และ importers : สืบเนื่องจากปัญหาของสถาบันการเงินประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การปล่อยสินเชื่อหมุนเวียนของธนาคารที่ให้กับผู้นำเข้าเริ่มมีเงื่อนไขที่รัดกุมและทำได้ยุ่งยากมากขึ้น อันส่งผลกระทบโดยตรงไปยังการสั่งซื้อสินค้าและการชำระค่าสินค้าอย่างเห็นได้ชัด
(1) รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ให้ความช่วยเหลือแก่กรีซและไอร์แลนด์ ถึง ๑๓ พันล้านยูโร และให้สัญญา (Commitment) ที่จะให้การช่วยเหลือ
เพิ่มถึง ๖๙ พันล้านยูโร
(2) ธนาคารของเนเธอร์แลนด์ ให้เงินกู้ยืมแก่ประเทศที่มีปัญหา รวมทั้งสิ้น ๗.๘ พันล้านยูโร
(3) ตัวเลขการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(4) เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและสถานะเงินยูโร ผู้บริโภคบางส่วนหันไปถือครองสินค้าที่มีมูลค่า เช่น อัญมณี เครื่องประดับ
ที่มีมูลค่า ทองคำ แทนการถือเงินสดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสินค้าหลักอันหนึ่งของไทย อันถือเป็นผลกระทบเชิงบวกต่อสินค้าไทย
(5) โดยเฉพาะความไม่มั่นใจในเรื่องการออกจากกลุ่มสหภาพของ กรีซ ที่เป็นลูกหนี้รายใหญ่ อันจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเสถียรภาพ
และความผันผวนของเงินยูโร
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์