ญี่ปุ่นเน้นการเพาะเลี้ยงปลาทูน่าแทนการจับตามธรรมชาติ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 28, 2012 13:29 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ญี่ปุ่นเน้นการเพาะเลี้ยงปลาทูน่าแทนการจับตามธรรมชาติ

กระทรวงการเกษตร ป่าไม้ และการประมง ของญี่ปุ่นร่วมกับ Fisheries Research Agency (FRA) พร้อมด้วย มหาวิทยาลัย Kinki, Tokyo Kaiyou และ Maruhanichiro Suisan ได้เริ่มทำการวิจัยรหัสพันธุกรรม (DNA) ของปลาทูน่าครีบน้าเงิน (Kuro Maguro) เพื่อพัฒนาวิธีการเลี้ยงปลาทูน่าครีบน้ำเงินที่ออกไข่มากและคุ้มทุนในการเลี้ยงอย่างสมบูรณ์แบบใน10 ปีข้างหน้า

เนื่องจากปลาทูน่าครีบน้ำเงินเป็นปลาที่ได้รับความนิยมและความต้องการบริโภคสูงในตลาดอาหารญี่ปุ่น ทำให้ปริมาณปลาทูน่าสายพันธุ์ดังกล่าวลดลงอย่างรวดเร็ว และมีความเสี่ยงกับการสูญพันธุ์ จากสารคดีของสถานีโทรทัศน์ France 24 ของฝรั่งเศสได้มีการถ่ายทาผู้ผลิตสินค้าอาหารทะเลของญี่ปุ่นรายหนึ่งที่พยายามจะพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาทูน่าครีบน้ำเงิน โดยพบกับข้อจำกัดในด้านต่างๆ และผลผลิตที่ออกมาก็ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเนื่องจากรสชาติและสีที่ไม่แดงสดเหมือนกับปลาตามธรรมชาติ

ความพยายามดังกล่าวได้เริ่มขึ้นอีกครั้งโดยหน่วยงานข้างต้นได้พัฒนา DNA Chip เพื่อที่จะวิเคราะห์สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงและออกไข่ได้จานวนมาก โดยเริ่มทำการวิจัย DNA ของทูน่าจากเลือดของปลาซึ่งมี่ Mendelian Factor ถึง 26,400 DNA Chip จะสามารถบอกได้ว่าเนื้อปลามึคุณภาพดีหรือไม่อย่างไร และยังจะบอกได้อีกว่าแม่พันธุ์จะมีความสามารถในการออกไข่มากน้อยเพียงใด พร้อมกับการศึกษาธรรมชาติของปลาซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญแต่ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ เพื่อที่จะเพาะพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีและมีคุณภาพผ่านการคัดสรรไข่ สำหรับพื้นที่ที่จะมีการวิจัยคือ Fisheries Research Center ที่จังหวัด นางาซากิ โดยปัจจุบันกาลังเริ่มสร้างถังขนาดใหญ่เพื่องานวิจัย ซึ่งสามารถควบคุมแสงและอุณหภูมิน้ำ ให้ปลาทูน่าไม่รู้สึกเครียด การวิจัยจะเริ่มต้นในปี 2013 และทางคณะวิจัยคาดว่าประเทศทั่วโลกกาลังจะเข้มงวดกับการจับปลาทูน่าเนื่องจากทรัพยากรทูน่าลดลง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว

มิถุนายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ